บร็อคโคลี่(Broccoli)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

และแล้วเวลาที่รอคอยมาหลายเดือนก็มาถึง


จำไม่ได้ว่าปลูกมานานกี่เดือนแล้วคงประมาณเกือบๆ 4-5 เดือนถึงได้ผลผลิตสมดังรอคอย เมื่อวานตัดเลย


2 ดอกนำไปประกอบอาหารอย่างง่าย ปกติจะผัดใส่เห็ดฟาง แครอท และหมู แต่วันนี้ได้ป่นปลา


(ละเอียดมัจฉา อิอิ)เลยต้มน้ำเดือดๆตามด้วยเกลือ 1 ช้อนชา จากนั้นนำบร็อกโคลี่ลงไปลวกประมาณ


10 วินาที จากนั้นตักขึ้นแช่น้ำเย็นเจี๊ยบทันที...ผลออกมาน่าทึ่งมากเพราะกรอบอร่อย กับป่นปลาช่างเข้ากัน


ได้ดีทีเดียว เด็กๆที่ไม่กินผักก็ชอบมากๆเลย....สำเร็จ !!!


...ขาย 3 ดอกใหญ่ 20 บาท คนซื้อประท้วงเลยว่าขายถูกจังเลย


ก็เพิ่มราคาให้ก็ได้นะค่ะ เอิ๊กๆๆๆ



ชื่อสามัญ : บร็อคโคลี่(Broccoli)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Brassica oleraceae var. italicaบร็อคโคลี่จัดอยู่ในผักตระกูลกะหล่ำ เป็นพืชผักเมืองหนาวซึ่งมีถิ่นเดิมอยู่ทางตอนใต้ของยุโรป เริ่มนำเข้ามาในไทยโดยระยะแรกปลูกแถบภาคเหนือที่มีอากาศเย็น ปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์ให้ทนร้อนมากขึ้น จึงมีการปลูกแพร่หลายในภาคต่างๆ  ลักษณะของบร็อคโคลี่มีใบกว้างสีเขียวอมเทา ขอบใบหยัก ลำต้นใหญ่อวบ ดอกอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม สีเขียวเข้ม นิยมรับประทานส่วนที่เป็นดอกและลำต้น


สรรพคุณและการใช้ประโยชน์บร็อคโคลี่ มีรสชาติหวานกรอบ สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย อีกทั้งมีคุณค่าทางอาหารสูง อุดมไปด้วยเบตา-แคโรทีน(beta-carotene) เส้นใยอาหาร  วิตามิน C   และสารต่างๆอีกหลายชนิด โดยมีรายงานการวิจัยมากมายเกี่ยวกับสรรพคุณในการป้องกันและรักษาอาการโรคต่างๆ อาทิ


มะเร็งเต้านมบร็อกโคลี่ประกอบไปด้วยสารเคมีทางธรรมชาติชื่อ sulforaphane และ indoles ซึ่งมีคุณสมบัติ ในการต่อต้านมะเร็ง จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยจอห์นฮอบกินส์ พบว่า Sulfaraphane ช่วยลดระดับการเผาผลาญฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นตัวผลักดันให้เนื้องอกที่เต้านมเจริญเติบโตขึ้น โดยพบว่า ความเสี่ยงในการพัฒนาเชื้อมะเร็งเต้านมในหนูทดลองลดลงถึง 60 % 


มะเร็งในกระเพาะอาหารโดยปกติแล้ว คนที่เป็นมะเร็งในกระเพาะอาหาร จะเกิดจากการติดเชื้อ Helicobacteri pylori (H. pylori) ซึ่งเป็นแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดแผล ในกระเพาะอาหาร และอาจนำไปสู่การเป็นมะเร็ง ในกระเพาะอาหารได้ โดยสาร sulforaphane ที่อยู่ในบร็อกโคลี่ จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโรค ชนิดนี้ได้    จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยซึคุบะ ประเทศญี่ปุ่น พบว่า เมื่อผู้ป่วยที่ติดเชื้อ H.pylori รับประทานบร็อกโคลีวันละ 100 กรัม(1 ออนซ์) ทำให้เชื้อ H.pylori ลดลง รวมทั้งเอ็นไซม์เพ็บซิน (pepsinogen) ซึ่งอยู่ในเลือด อันเป็นสาเหตุ ที่ทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ ก็ลดลงด้วยเช่นกัน เนื่องจากในบร็อกโคลี่ มีสารอาหารเข้มข้นอย่าง sulforaphane สามารถป้องกันอนุมูลอิสระที่เข้าไปทำลายเซลและทำลาย DNA ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งได้


มะเร็งต่อมลูกหมากจากการ วิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย พบว่าในบร็อกโคลี่ มีสารอาหาร 3,3 -diindolylmethane หรือ DIM ซึ่งมีฤทธิ์ ช่วยต้านฮอร์โมนแอนโดรเจน ให้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่ต่อมลูกหมาก โดยปกติแล้วฮอร์โมนแอนโดรเจนในเพศชายก็คล้ายๆ กับเทสโทสเตอโรน ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรก ๆ เพราะฉะนั้น การรับประทานบร็อคโคลี่ก็จะสามารถยับยั้งการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้


มะเร็งผิวหนังสาร Sulforaphane ที่มีอยู่อย่างมากมาย ในบร็อคโคลี่ มีฤทธิ์ช่วยขับสารพิษของเซลล์มะเร็งผิวหนัง โดยการวิจัยของ มหาวิทยาลัยจอห์นฮอบกินส์ ในสัตว์ทดลองที่ได้รับแสง UV จากการอาบแดดเป็นเวลา 20 สัปดาห์ติดต่อกัน และหลังจากนั้นก็รักษาด้วยการทาสารสกัดจากบร็อคโคลี่ ลงบนผิวหนังเป็นเวลา 11 สัปดาห์ พบว่า บร็อคโคลี่สกัด ทำให้เซลล์ผิวหนังที่กำลังจะตอบสนองต่อการเกิดมะเร็งมีปริมาณลดลง


มะเร็งปอดในทางการแพทย์นั้นมีการวิจัยมาแล้วว่า การรับประทานบร็อคโคลี่เป็นประจำนั้นสามารถช่วยยับยั้งการลุกลาม แถมยังช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็งปอดได้ ทั้งนี้เพราะว่าในบร็อคโคลี่นั้นมีสารที่ชื่อว่า ไอโซธิโอไซยาเนทส์(Isothiocyanates) ที่มีความสามารถช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งปอดนั่นเอง


โรคหัวใจและความดันโลหิตสูงจากการศึกษาเกี่ยวกับ meta-analysis ในกลุ่มทดลองจำนวน 100,000 คน ซึ่งรับประทานบร็อกโคลี ที่อุดมไปด้วยflavonoids เป็นประจำ พบว่าอัตราความเสี่ยง ในการเกิด โรคหัวใจลดลง 20% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้รับสารอาหาร จำพวกflavonoidsนอกจาก นี้ จากการศึกษาของ University of Saskatchewan ในหนูทดลอง ที่มีระดับความดันโลหิตสูง และเกิดการอุดตันของเส้นโลหิต เมื่อกินอาหาร ที่ประกอบไปด้วยบร็อคโคลี่แล้ว พบว่ามีการสร้างเนื้อเยื่อ เพื่อป้องกันอนุมูลอิสระ การอักเสบของหัวใจลดลง รวมทั้งความดันโลหิต ก็ลดลงด้วย


บร็อคโคลีเพื่อสายตาใบผักใบเขียว จะประกอบไปด้วยสารอาหาร ที่อยู่ในกลุ่มของแคโรทีน โดยบร็อคโคลี่ ก็เป็นหนึ่งในนั้น และยังมีแคโรทีน ชื่อว่า lutein และ zeaxanthin ซึ่งมีความจำเป็น ต่อร่างกายที่จะนำไปใช้ เพื่อบำรุงสายตา จากการศึกษา ในกลุ่มคนที่กินบร็อกโคลี มากกว่า 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ พบว่าความเสี่ยง ในการเกิดต้อกระจกลดลง 23% เมื่อเทียบกับคน ที่กินผักน้อยกว่า 1 ครั้ง ต่อเดือน


ป้องกันการผิดปกติของเด็กแรกเกิดเมื่อคุณแม่อยู่ ในระยะตั้งครรภ์ สารอาหาร ที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่ง ต่อลูกน้อยคือ กรดโฟลิก ซึ่งมีอยู่มากในบร็อคโคลี่โดยในบร็อคโคลี่ 1 ถ้วยจะมีปริมาณกรดโฟลิกถึง 94 ไมโครกรัม รวมทั้งวิตามินบี โดยกรดโฟลิกและวิตามินบี เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ DNA ของทารกในครรภ์ หากคุณแม่ขาดสารอาหารนี้ไป จะทำให้ระบบประสาทของเซลล์แบ่งตัวอย่างไม่สมบูรณ์ นำไปสู่อาการผิดปกติ ของเด็กแรกเกิด ในกลุ่มอาการท่อระบบประสาทบกพร่อง เช่น โรคพิการทางสมองspina bifida (อาการเยื่อหุ้มไขสันหลังปิดไม่สนิท เด็กอาจเติบโตขึ้นมาพร้อมอาการอัมพาต ไม่สามารถควบคุมการขับถ่าย ทั้งถ่ายหนักและถ่ายเบา)


บร็อคโคลีกับโรคอัลไซเมอร์ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ลอนดอน ระบุว่า มีผักและผลไม้ 5 ชนิดมีสารประกอบที่ทำหน้าที่เหมือนกับยาที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ได้ คือ ผักบร็อคโคลี่ มันฝรั่ง ส้ม แอปเปิ้ล และหัวไชเท้า โดยเฉพาะบร็อคโคลี่มีสารดังกล่าวเยอะที่สุด

ความเห็น

ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ...เพราะสวีทพีก็ไม่ได้ใช้ยานะคะ ...อากาศก็น่าจะพอๆกัน อำนาจเริญกับอุทัย อะคะ

***Sweet pea***

ภาคกลางปลูกจะได้แบบนี้มั้ยนะ

ภาคกลางดินอุดมสมบูรณ์ น่าจะปลูกได้ดีกว่าที่บ้านสวีทพีนะคะ


:confused:

***Sweet pea***

ส่วนมากพืชตระกูลกระหล่ำนี้ปลูกยากมากถ้าอากาศไม่เย็นจริง ปลูกใว้ขายเปล่าครับ งามด้วย เห็นแล้วอยากไปผัดกับหมู

:shy:


อันนี้สวีทพีก็ไม่รู้เหมือนกันค่ะว่ามันปลูกยาก หรือต้องใช้อากาศเย็นๆ เพราะปลูกเพราะอยากปลูกลองดู


เห็นเมล็ดพันธุ์ตามร้านค้าจึงเกิดความสงสัยว่าบ้านเรา...อิสานนี่จะปลูกไม่ได้จริงๆนะรึ


ปีที่แล้วปลูกได้ผลค่ะ เลยประชาสัมพันธุ์กับเพื่อนบ้าน มีหลายคนที่มีผลผลิตมาจำหน่ายในตลาดด้วย


...สำหรับสวีทปลูกทานเองค่ะ เหลือก็ขาย...


:bye:


 

***Sweet pea***

เห็นด้วยค่ะ บล๊อคโคลี่ทำอะไรก็อร่อยทุกเมนู นึ่งกินกับน้ำพริกกะปิยังไปด้วยกันได้เฉยเลย (ให้ไปเลย 10 คะแนนเต็ม)

:cute:


ให้ตั้ง 10 คะแนนเชียว ขอบคุณค่ะ


สงสัยจัง Oddzy เป็นคนจังหวัดอะไรคะนี่ รู้สึกรู้เรื่องอาหารอิสานดีมั่กๆเลย


เป็นคนที่สวีทพีทึ่งมากๆเลย มีความรู้เรื่องพืชผักระดับเทพ อะจ้า


 

***Sweet pea***

แค่ต้ม..เป็นเครื่องเคียงก็แซบแล้ว

แซ่บอิหลี


:bye:

***Sweet pea***

โห.......ดอกกะหล่ำก็คงพอกันใช่ไม๊

เอ๋...ก็เอาแต่ลงเม็ดอย่างเดียวไม่ได้ดูรายละเอียด

ตอนนี้....เถียงกับที่บ้าน  มีแต่คนบอก  คะน้าๆๆๆ   เอ๋ก็ว่า ดอกกะหล่ำๆๆๆ (เหมือนคะน้าแถมต้นก็ผอม)

วันก่อนเล่าให้ผู้ใหญ่โส+มะโหน่ง...เลยสรุปให้ว่า  ดอกกะหล่ำแต่ตอนต้นอ่อน  จะเหมือนคะน้า.....โล่งอก

เท่ากับตอนนี้...ต้องลุ้นอีก 4 เดือน เฮ้อ.....กินไปก่อนะพี่  แล้วเอ๋จะตามไป :crying2: :crying2: :crying2:

ฉันจะปลูก ผัก ให้ลูกทาน

หน้า