เส้นทางสังเวชนียสถาน 8

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ต่อจากตอนที่แล้วครับ เส้นทางสังเวชนียสถาน 7

กุสินารา

ก้มกราบแทบพระบาท

มหาปรินิพพานสถูป

นักบวช

ร้านค้าริมทาง

ที่แขวนห้อยๆเหมือนซองแชมพู คือ หมาก ครับ

ภาพนี้บอกไม่ถูกว่าคืออะไร มีกระต๊อบเล็ก เตียงนอน จักรยาน เตาไฟ หม้อ กาน้ำ

นี่ก็ร้านค้า มีสินค้า ขนมกรุบกรอบยี่ห้อเดียวกับบ้านเรา

ถึงวัดไทย

ภายในวัด สวยงามมากครับ

สถานพยาบาล

หมอชีวกโกมารภัจจ์

สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย

ตำรวจรักษาความสงบเรียบร้อย ใช้อาวุธ มือเปล่า

ความเห็น

มี ความสุขไป กับ ลุงพูน ครับ ไป จนถึงที่แบบนี้ เลย มีโอกาศ ต้อง ไป ให้ ได้ครับ

ต้องพูดว่า ต้องมีโอกาสได้ไปนมัสการ ครับ

ร้านขายของริมทาง...คล้ายบ้านเราริมทางมีร้านขายพวงมาลัย...แต่บ้านเขาขายหมาก...ดูแห้งแล้งมากเลยร้อนมั๊ยลุงพูน

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

พวงมาลัยตามข้างถนน นี่ไม่เห็นเลยครับ ร้านขายของที่อยู่ตามชนบท จะเป็นร้านเล็กๆ หมากจะเป็นสินค้าที่ขายผู้ใหญ่ ส่วนขนมที่ขายเด็กๆ ไม่ค่อยมีครับ พวกเขายากจนกันมากครับ ไม่ค่อยมีเงินที่จะใช้จ่ายกันฟุ่มเฟือย (เหมือนบ้านเรา)ครับ ช่วงที่ผมไป เช้าๆอากาศยังหนาวๆ แต่พอสายๆ บ่ายๆก็ร้อนครับ

ขอบคุณค่ะ คุณลุงพูน มหาปรินิพพานสถูป ...ได้เห็นภาพพลอยรู้สึกว่าจิตเป็นกุศลไปด้วยค่ะ ที่คุณลุงพูนว่าสักวันต้องไปนิพพานให้ได้นั้น ...เป็นประโยคที่สำคัญมากค่ะ จำได้ว่าสมัยเรียนมัธยมปลาย อาจารย์สอนวิชาศีลธรรมท่านเคยพูดเสมอว่าขอให้ได้ตั้งจิตไปถึงนิพพานให้ได้ ตั้งจิตบ่อยๆเหมือนตอกย้ำเป้าหมายที่โชคดีได้เกิดมาเป็นมนุษย์ อ่ยู่ในยุคสมัยที่ยังมีพุทธศาสนาและได้เรียนรู้พระพุทธศาสนาด้วย เหลือแต่เพียงการลงมือปฏิบัติ ...ขอบคุณมากนะคะ

          ภาพแรก เป็นพระพุทธรูป ปางปรินิพพาน ซึ่งตั้งอยู่ในมหาปรินิพพานสถูป ภาพถัดมาเป็น มกุฏพันธนเจดีย์ เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

          เพื่อนๆหลายคนได้เข้ามาอ่าน แล้วคิดว่าตนคงไม่มีโอากาสได้ไปนมัสการสังเวชนียสถาน เหล่านี้ ผมจึงแนะนำไปว่า ให้ตั้งจิตไว้ว่า สักวันหนึ่งเราก็จะมีโอกาสได้มานมัสการ เช่นกัน คือให้คิดในเชิงบวกไว้ก่อน หรือให้ตอกย้ำความตั้งใจว่าได้ไปแน่ๆ

          ส่วนตัวของผมนั้นคิดว่า การไปเพียงครั้งเดียวไม่น่าจะพอ คราวต่อๆไป ต้องเตรียมความพร้อมด้านความรู้และภาคปฏิบัติเอาไว้ก่อน ส่วนจะไปถึงฝั่งพระนิพพานเมื่อไหร่นั้น ก็ต้องสั่งสมบุญกันอีกยาวนาน ครับ

อยากชม ความสวยงามภายในวัดไทย ที่หลายคนกล่าวขาน

 

ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

ภาพวัดไทยกุสินารา ได้มาเพียงแค่นี้ครับ บันทึกต่อจากนี้จะพยายามใส่ภาพวัดให้มากขึ้นครับ

ไม่ใช่แค่ภาพวัดวาอาราม แต่เข่นที่เคยนำเสนอทุกๆตอน อย่างต่อเนื่อง ภาพอะไรก็ตามที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เล่าขานเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า คุณลุงพูน และท่านที่ได้ไปกราบ นมัสการ ปูชนียสถานที่สำคัญยิ่ง (หรือแม้แต่ พวกเราส่วนมากที่ไม่มีโอกาส) ได้ระลึกว่า พระพุทธองค์ทรงประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน จริง จะทำให้ศรัทธา ปิติ ตั้งมั่น ในการปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน ของพระพุทธองค์ว่า มีจริง และทำให้จิตใจ สงบ และเดินตามรอยพาดำเนิน มรรคแปด ศีล สมาธิ ปัญญา ได้เร็วขึ้น

 

ภาพอะไรที่เกี่ยวกับพระพุทธองค์ ไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้ ป่า เขา ที่มีใน พุทธประวัติ ที่ยังไม่ได้ลงในตอนแรกๆ นำกลับมา เรียบเรียง เพิ่มเติม จักเป็นพระคุณยิ่งครับ

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

             ผมคิดว่าลุงพูนยังไม่ใด้อ่านแล้วจะทำอย่างไรถึงจะเจอผมเลยใช้วิธีนี้เลยครับผมลงใว้ตั้งแต่วันที่  28 เมษายน ครับแล้วก็แจกกิ่งไผ่ด้วยแต่หมดแล้วครับ


             ไผ่สามารถปลูกได้ทุกฤดูแต่ต้องมีน้ำเพียงพอ  ขุดหลุมกว้าง 50  ซม. ยาว 50 ซม.  ลึก 15  ซม.  ต้นไม้ทุกชนิดไม่ต้องขุดหลุมลึก  หากปลูกลึกน้ำและปุ๋ยจะลงไปไม่ถึง  นำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกผสมกับดินที่ขุดขึ้นมาหลุมละ 1 กก. แล้วกลบรากไผ่ลงไป  ใช้หญ้าหรือฟางคลุมไว้ หรือ เลี้ยงหญ้าไว้แล้วคอยตัดให้สั้น  จะทำให้ต้นไม้โตเร็ว  เพราะหญ้าหรือเศษพืชที่เราใช้คลุมรากต้นไม้ไว้  จะทำให้ดินไม่ร้อน  รากจะหากินบริเวณผิวดิน  เพราะมีปุ๋ยและน้ำ  ทำให้น้ำระเหยช้า  ทำให้ประหยัดน้ำ  การทำงานของจุลินทรีย์ ทำงานต่อเนื่องทำให้จุลินทรีย์ทำการย่อยสลาย  เศษพืชต่างๆ กลายเป็นปุ๋ยแก่ต้นไม้อย่างรวดเร็ว  หากไม่มีวัสดุคลุมดิน  น้ำในดินจะแห้งภายใน 1 วัน  แต่หากคลุมไว้จะอยู่ได้นานหลายวัน  แล้วแต่สภาพดิน

การใส่ปุ๋ย  ควรเน้นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก  ใส่ทุก 3 เดือนสามต้นต่อกระสอบ      


 


การใส่ปุ๋ยเคมี หากหน่อออกแล้วใส่ปุ๋ย เดือนละ 1 กำมือ ไม่ควรให้ปุ๋ยโดนหน่อจะทำให้หน่อเน่าได้


 


การให้น้ำ  การสังเกตว่าให้น้ำเพียงพอหรือไม่  หลังจากให้น้ำเสร็จขุดดินดูว่าน้ำลงไปในดินลึก 1 ฝ่ามือ หรือ 15 ซม. ก็พอ  เพราะรากหากินระดับนี้  และทำให้ประหยัดน้ำ


 


ธรรมชาติของไผ่  จะออกหน่อเมื่อใบแก่แล้ว  หากปล่อยให้หน่อเจริญกลายเป็นต้น  ไผ่จะไม่ให้หน่อเนื่องจากจะใช้สารอาหารสร้างลำต้น  สร้างใบ  จนกว่าใบจะแก่  การทำให้หน่อขุดได้ทั้งปีให้ขุดหน่อไปเรื่อยๆ อย่าปล่อยให้เจริญเป็นลำต้น ไผ่ทุกพันธุ์หากให้น้ำและป๋ยสม่ำเสมอจะให้หน่อวันละ 15 ถึง 20 กิโลกรัมต่อไร่ต่อวัน หากฤดูแล้งราคาแพงเป็นรายใด้ที่ดีพอสมควรแต่ปลูกเพื่อกินก็จะมีกินตลอดปี


 


การเลือกไผ่มาปลูกควรหาพันธุ์ที่มีกิ่งก้านน้อยจะทำให้ดูแลสวนง่ายไม่รก หากปลูกไผ่พันธุ์ใหญ่ให้คอยตัดต้นให้สั้น


 


การปลูกไผ่เพื่อจำหน่ายหน่อหรือลำต้นควรปลูกอย่างน้อย 2 พันธุ์ขึ้นไปเพราะไผ่จะมีอายุขัยหลายสิบปีแต่หากตายจะตายพร้อมกันทั้งหมด(พันธุ์เดียวกัน)  หากตายจะได้ขยายพันธุ์เองไม่ต้องหาซื้อ


 


การเลี้ยงต้นในช่วงที่มีไผ่ป่าออกมากหรือหน่อไม้มีราคาถูกให้ปล่อยเป็นลำ  ไผ่แต่ละชนิดมีขนาดไม่เหมือนกัน  หากเป็นไผ่พันธุ์เล็ก  เช่น ไผ่เลี้ยง  บงหวาน  ปลูกระยะ  2 x 4  เมตรใช้พันธุ์ 200 ต้นต่อไร่ หรือ 3 X 4  เมตรใช้พันธุ์ 133 ต้นต่อไร่ ก็ได้  แล้วปล่อยให้มีลำแม่สัก 5 – 6 ต้นช่วงปล่อยให้หน่อเจริญเป็นลำควรปล่อย 3 ต้นก็พอ   หากเป็นพันธุ์ใหญ่  ปลูกระยะ 4 X 4 เมตรใช้พันธุ์ 100 ต้นต่อไร่  ปล่อยให้มีลำแม่ 4 ต้น  ช่วงปล่อยให้หน่อเป็นลำปล่อย 2 ต้น  สาเหตุที่ไม่ปล่อยเป็นลำใหม่ทั้งหมดเพราะว่าการจะหน่อมากน้อยไม่เกี่ยวกับต้นใหม่หรือต้นแก่  แต่อยู่ที่ตาใต้ดินต่างหากหากตาแก่หน่อจะน้อยและเล็ก หากปลูกแบบนี้จะให้หน่อภายใน 3 เดือนหลังจากปล่อยเป็นลำ ที่เหลืออีก 9 เดือนก็ขุดๆๆๆ หน่ออย่าหยุด


 


ไม่ควรเอาแกลบดำ  หรือใบไผ่  มาคลุมแบบกองสุมลำต้นตลอดเวลา  จะทำให้หน่อออกด้านข้างลำต้น  แล้วตาที่อยู่ใต้ดินจะแก่แล้วไม่มีหน่อ  เพราะหน่อที่เกิดจากใต้ดินจะใหญ่  เพราะมีดินรองรับ  และมีตาที่เกิดจากข้างหน่อใต้ดินแล้วจะเจริญเป็นหน่อต่อไปอีก


 


การตัดยอดทิ้ง  หากเป็นไผ่ที่สูงใหญ่จะใช้เวลาการเจริญเติบโตนาน  กว่าจะเจริญถึงความสูงของไผ่นั้น  และกว่าจะแตกใบจนแก่  จะใช้เวลานาน  ให้ตัดยอดเหลือแค่ 3 – 4 เมตร  หรือเลี้ยงใว้ตามความยาวที่ต้องการ  จะทำให้มีหน่อได้เร็ว การเลี้ยงกิ่งไม่ควรใว้กิ่งมากกะแค่ไม่ให้แสงส่องถึงพื้นก็พอก็คือว่าใบรับแสงได้ทั้งหมด


 


การไว้ลำ  ควรปล่อยให้ลำที่จะเจริญเป็นต้นแม่ขยายออกเป็นแนวเดียวกับ แนวปลูก  ไม่ควรให้ลำขยายออกมาในช่องทางเดิน  จะทำให้ทำงานลำบาก  กิ่งที่มีมากเกินไปให้ตัดทิ้งบ้างหรือหากจะตอนกิ่งให้ตัดปลายกิ่งทิ้งใว้แค่ 50 ซม.ก็พอ  


 


      


 



 


        ไผ่ตงลืมแล้งหรือไผ่กิมซุ่ง เป็นไผ่ที่น่าปลูกที่สุด เป็นไผ่ขนาดค่อนข้างใหญ่ขนาดของลำกว้างถึง 5 ถึง 6 นิ้ว   สูงได้ถึง 20 เมตร เป็นไผ่ที่ไม่ผลัดใบจึงเป็นที่มาของชื่อไผ่ตงลืมแล้ง  จึงให้หน่อได้ตลอดปี  ไผ่ชนิดอื่นจะผลัดใบในฤดูร้อนประมาณเดือนมีนาคมหรือเมษายน ซึ่งหน่อนอกฤดูกำลังราคาแพงและหยุดให้หน่อจนกว่าใบจะแก่อีกครั้ง  หน่อไผ่พันธุ์นี้มีรสชาติดีทานดิบขมนิดๆ ต้มสักครู่เดียวจะไม่ขมเลย แต่ไผ่พันธุ์นี้  มีกิ่งก้านมาก  ต้องคอยตัดแต่งกิ่งด้านล่างไม่ให้มีมากหรือตอนออกไปจะทำให้สวนไม่รก  ทำงานสะดวก  หรือหากจะตอนกิ่งก็ตัดกิ่งนั้นให้ยาว  เท่าที่เราต้องการก็พอ


 


           


 


  ไผ่บงหวานเป็นไผ่ขนาดเล็ก หน่อรสชาติหวานทานดิบได้เลยไม่ขมผัดใส่กุ้งหรือเนื้อทำอาหารอะไรก็อร่อยผัดพอเนื้อสุกก็ทานได้ สูงประมาณ 10 เมตร เป็นไผ่ที่ต้องการการดูแลพอสมควรเพราะกิ่งก้านมาก หากปลูกแล้วไม่ค่อยมีเวลาดูแลไม่แนะนำให้ปลูกมันจะเอาแต่แตกกิ่งแล้วไม่มีหน่อสักทีหากไม่คอยตัดแต่งกิ่ง และลำต้นออกชิดกันแน่น ใว้ลำแม่กอละ 6  ต้น ไผ่บงหวานเป็นไผ่ที่มีกิ่งก้านมากควรตัดแต่งกิ่งเสมอหากปล่อยไว้สวนจะรกและหน่อจะออกช้าเพราะไผ่จะออกหน่อเมื่อใบแก่แล้ว หากตัดกิ่งทิ้งไปใบจะแก่เร็วมีหน่อเร็ว


 



 


ไผ่เลี้ยง ลำต้นสูงประมาณ 5-6 เมตร   เมตรเป็นไผ่ขนาดเล็ก  กิ่งก้านน้อย ให้หน่อนอกฤดูเร็ว ไม่ต้องคอยตัดแต่งกิ่งแต่รสชาติตอนต้มแล้วออกขมนิดๆ


 



 


ไผ่เป๊าะ เนื้อไม้ใช้ประโยชน์ได้น้อยแต่หน่อรสชาติดี เหมาะสำหรับปลูกจำหน่ายหน่อและผลิตกระดาษหรือเชื้อเพลิง


 


 


 


ภาพไผ่ซางหม่นลำสวย ลำต้นสูงประมาณ 15 เมตร ขนาดเท่าประป๋องโค้ก กิ่งก้านน้อย กอสวย


 



 


ไผ่เหลืองใช้ประดับตกแต่งสถานที่แต่ต้องคอยตัดไม่ให้สูง


 



 


ไผ่สีสุก ลำต้นสูงใหญ่หน่อทานอร่อย  แต่หนามเยอะมาก


 


การนำไผ่ไปใช้ประโยชน์


 


อุตสาหกรรมประมงทะเล    ไผ่รวก, ไผ่เลี้ยง ,ไผ่ด้ามขวาน


 


อุตสาหกรรมไม้เสียบอาหาร,ตะเกียบ  ไผ่ซางป่า,ไผ่ซางหม่น   


 


อุตสาหกรรมจักสาน   ไผ่บง, ไผ่ข้าวหลาม ,   ไผ่ซางป่า ,ไผ่ซางหม่น, ไผ่ซางนวล, ไผ่ซางป่า


 


อุตสาหกรรมหน่อไม้กระป๋อง  ไผ่ตง, ไผ่หก


 


อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์    ไผ่ซางบ้าน, ไผ่ซางหม่น, ไผ่ซางนวล, ไผ่บงคาย, ไผ่เลี้ยง ,ไผ่ตง ไผ่หก, ไผ่ตงลืมแล้ง, ไผ่กิมซุ่ง


 


อุตสาหกรรมผลิตไม้ปาร์เก้ ไผ่ซางหม่น, ไผ่ซางนวล, ไผ่ตงลืมแล้ง


 


อุตสาหกรรมกระดาษ ใช้ไผ่ได้ทุกชนิด


 


ไผ่เพื่อบริโภค ไผ่ตงลืมแล้ง ไผ่กิมซุง ไผ่บงหวาน ไผ่เลี้ยง ไผ่เป๊าะ ไผ่ซางหม่น ไผ่ซางหวาน ไผ่ซางนวล ไผ่หม่าจู ไผ่หก     ไผ่ตง


 


การตอนกิ่งไผ่


 


การลือกกิ่งไผ่ให้เลือกกิ่งที่ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป กิ่งควรอายุ 5 เดือนชึ้นไป หากออ่อนเกินไปพืชจะคายน้ำมากและเนื้อเยื่อยังไม่สมบูรณ์ หากแก่เกินไปตาที่จะแตกเป็นกิ่งเป็นหน่อจะแก่ทำให้โตช้า


 


การทำถุงขุยมะพร้าว นำขุยมะพร้าวแช่น้ำใว้ประมาณหนึ่งคืน แล้วบีบน้ำพอหมาดๆ อัดใส่ถุงขนาด 3 x 5 นิ้ว รัดปากให้แน่น


 



 


      การตอนแบบฉีกกิ่ง ใช้มีดหรือขวานฟันจากข้อด้านบนจนกิ่งฉีกออกจากต้นจากนั้นนำขุยมะพร้าวใส่ถุงมาหุ้มใว้กับโคนกิ่งรัดใว้ให้แน่นหากถุงขุยมะพร้าวโดนแดดมากให้หากระดาษหรือใบใม้ใบตองมาหุ้ม แล้วมัดกิ่งที่ฉีกออกมัดกับลำต้นไม่อย่างนั้นฉีกหลุดลงไป


 



 


การตอนแบบบากใต้กิ่งนำเลื่อยหรือมีด เลื่อยให้เกิดแผลลึกใต้กิ่งประมาณ 1ใน 3 ของ โคนกิ่งแล้วนำถุงขุยมะพร้าวหุ้มใว้ให้แน่นหากถุงขุยมะพร้าวโดนแดดมากให้หากระดาษหรือใบใม้ใบตองมาหุ้ม


 



 


การปักชำ เลือกต้นที่มีอายุประมาณหนึ่งปี มาตัดเป็นข้อ โดยหนึ่งต้นใช้หนึ่งข้อ ให้ตัดใต้ข้อสัก 1 นิ้ว ควรใช้เลื่อยตัด และด้านบนจะเหลือความยาวพอสมควรแล้วฝังลงในดินให้ตาอยู่ใต้ดินและเอียงกระบอกประมาณ 45 องศาเแล้วนำน้ำเทลงไปในกระบอกให้เต็ม


 


การแยกเหง้า เลือกลำต้นประมาณ 1 ปีมาปลูก


อ่าน

หน้า