จุลินทรีย์, EM และ สารเร่ง พด. ต่างกันอย่างไร

หมวดหมู่ของบล็อก: 

จุลินทรีย์

      จุลินทรีย์ หรือ จุลชีวัน หรือ จุลชีพ (อังกฤษ: Microorganism) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย รา และ ยีสต์ เป็นต้น เราสามารถพบจุลินทรีย์ได้ทุกสภาวะแวดล้อม แม้แต่ในสภาวะแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ไม่ได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ได้ เช่น ในน้ำพุร้อนบริเวณภูเขาไฟใต้ทะเลลึก หรือภูเขาไฟธรรมดา ใต้มหาสมุทรที่มีความกดดันของน้ำสูงๆ ในน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิเย็นจัด บริเวณที่มีสภาพความเป็นกรดด่างสูง หรือแม้กระทั่งในบริเวณที่ไม่มีออกซิเจนส่วนใหญ่หมายถึงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือหลายๆเซลล์ โดยแต่ละเซลล์เป็นอิสระจากกัน

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/จุลินทรีย์

     จุลินทรีย์ ทำหน้าที่ในการย่อยสลายวัสดุต่างๆให้เป็นธาตุอาหาร เพื่อให้พืชนำกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการทางธรรมชาติ ซึ่งจุลินทรีย์มีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ

1. ทำหน้าที่ย่อยสลาย
2. ทำ หน้าที่เปลี่ยนแปลงสารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้างซับซ้อน จุลินทรีย์ธรรมชาติ พบมากในป่าไผ่ และบนใบไม้ในป่า การสังเกตจุลินทรีย์ในป่าทำได้โดยง่าย คือ บริเวณที่มีใบไม้ทับถมกันหนา จะพบราสีขาวขึ้นมาก พบตามใบไผ่ ป่าไผ่ ดังนั้น การทำเกษตรธรรมชาติ จึงมีเทคนิคการทำจุลินทรีย์ว่าใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ทำน้ำหมักจากพืชสีเขียว ใช้ทำปุ๋ยหมัก ใช้กับปศุสัตว์ แต่อย่างไรก็ตามการใช้จุลินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพ เกษตรกรต้องใช้อย่างต่อเนื่องและหมั่นเก็บและรวบรวมจุลินทรีย์จากท้องถิ่น ใกล้ตัวมาใช้ เพื่อลดความแข็งกระด้างและมีประสิทธิภาพของจุลินทรีย์อยู่ตลอดเวลา
ที่มา : http://greennetorganic.blogspot.com/2009/07/blog-post_4936.html

    ถ้าไม่มีจุลินทรีย์ ขยะคงล้นโลก ศพบรรพบุรุษคงกองเป็นภูเขา

EM 

EM ย่อมาจากคำว่า   Effective  Microorganisms  ซึ่งมีความหมายว่า "กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ"
     EM ค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้ทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ตามแนวทางของท่านโมกิจิ โอกาดะ ระหว่าง พ.ศ. 2510-2525 ได้พบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในธรรมชาติ เป็นดังนี้
     ทั้งจุลินทรีย์ต้องการอากาศ (Aerobic microorganisms) และจุลินทรีย์ไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic microorganisms) นั้นทำงานร่วมกันในลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูลกันบ้าง และขัดแย้งกันบ้าง  สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มจุลินทรีย์ดี หรือกลุ่มสร้างสรรค์ มีประมาณ 5-10 %
2. กลุ่มจุลินทรีย์ก่อโรค หรือกลุ่มทำลาย มีประมาณ 5-10 %
3. กลุ่มเป็นกลาง มีมากถึง 80-90 %

     ลักษณะการทำงาน
1. ถ้ามีจุลินทรีย์กลุ่มดีหรือกลุ่มสร้างสรรค์มากกว่ากลุ่มก่อโรค โลกจะอยู่ในสภาวะสร้างสรรค์ สะอาด บริสุทธิ์ ปราศจากมลพิษและโรคภัยทั้งปวง
2. ถ้ามีจุลินทรีย์กลุ่มก่อโรคหรือกลุ่มทำลายมากกว่ากลุ่มดี สภาวะโลกจะตรงข้าม คือเกิดมลภาวะเน่าเหม็น มีโรคระบาด เป็นสภาวะทำลาย
3. ส่วนกลุ่มเป็นกลางจะคอยช่วยสนับสนุนจุลินทรีย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนมากกว่าให้สามารถแสดงปฏิกิริยาได้มากยิ่งขึ้น        

http://www.emkyusei.com/na_02.htm

EM เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ของบริษัท อี เอ็ม คิวเซ จำกัด

สารเร่ง พด.

      สารเร่ง พด. คือจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ที่พัฒนาโดยกรมพัฒนาที่ดิน ซื่งมีชื่อว่าสารเร่ง พด. เป็นจุลินทรีย์แบบแห้งบรรจุซอง ซึ่งจะมีชื่อ พด. 1 พด. 2 เรื่อยๆไป ซึ่งแต่ละ พด. ก็จะประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพต่างกัน เช่น
พด. 1 สำหรับผลิตปุ๋ยหมัก
พด. 2  สำหรับผลิตปุ๋ยน้ำอินทรีย์
พด. 3  สำหรับผลิตเชื้อเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหุตโรคพืช

รายละเอียดมากกว่านี้ ติดตามได้จาก
http://www.ldd.go.th/service/

สารเร่ง พด. ไปขอรับได้ที่ สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด  ย้ำว่าสถานีพัฒนาที่ดิน ไม่ใช่ที่ดินจังหวัด

      ตามความเข้าใจของผม หลายคนจะรู้จัก EM ซึ่งเป็นชื่อผลิตภัณฑ์ของบริษัท อี เอ็ม คิวเซ จำกัด  โดยที่ไม่รู้ว่า EM ก็คือจุลินทรีย์ ซึ่งคล้ายๆ กับ เราเรียก ผงซักฟอก ว่า แฟ้บ  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปว่า มาม่า

     จะใช้ EM หรือ สารเร่ง พด. ก็เป็นการนำจุลินทรีย์มาใช้งานทั้งสิ้น ส่วนเรื่องประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ก็ต้องลองเองครับ นอกจากนั้นยังมีจุลินทรีย์ท้องถิ่นครับ ที่สามารถทำเองได้แต่ขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยากนิดหนึ่ง

หวังว่าคงเข้าใจเรื่อง จุลินทรีย์ EM สารเร่ง พด. มากขึ้นนะครับ

ความเห็น

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากเลย ขอบคุณสำหรับการนำเสนอข้อมูลดีๆครับ

:embarrassed: ขอบคุณสำหรับสาระที่เป็นประโยชน์ครับ

ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงหรือต่ำอยู่ที่ทำตัว


บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

ไม่ทราบว่า พด. มีอายุการใช้งานเปล่าค่ะ เห็น EM มีวันหมดอายุ

ถ้าจำพวก พด.จะมาในรูปแบบแห้งครับใส่ซองมา เมื่อจะนำมาใช้ต้องผสมน้ำแล้วคนสักประมาณ 10 นาทีใช้ครั้งเดียวให้หมดซอง

EAKAPONG_36@hotmail.com Tel 087 959 9004

ปกติแล้วอายุการเก็บจะกำหนดเพียง 1 ปี
ซึ่งจากการวิจัยของกรมพัฒนาที่ดินเชื้อจุลินทรีย์จะลดลงในปีที่ 2 (เริ่มใช้อัตราส่วนเป็น 2 ซอง โดยจากเดิมใช้ 1 ซอง)
และลดลงอย่างชัดเจนมากในปีที่ 3 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลจุลินทรีย์ EM มากๆเลยครับ เป็นประโยชน์มาก :admire:

ทำ พด 2 ใช้ทั้งฉีดต้นยางและรดหน้าดินครับ  หน้ายางนิ่มครับ ติดต่อขอรับได้ฟรีที่กรมพัฒนาที่ดินครับ  พี่เขาใจดีครับ ส่วนที่ทำหมักพืชเป็นหลัก เคยใช้สัตว์แล้วต้องขอบอกว่ากลิ่นแรงครับ หลังๆเลยใช้พืชหมักเป็นหลักครับกลิ่น OK หน่อยครับ   แต่ EM ไม่เคยใช้ครับ อยากได้ข้อมูลและคำแนะนำด้วยครับ

หน้า