เก็บฟักข้าว

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ฟักข้าวที่ปลูกไว้ ผมเคยเอาภาพต้นและดอกลงให้ชมกันแล้ว ต้นเจริญเติบโตดี ออกดอกพอสมควรแต่ไม่รู้เป็นอะไรไม่ติดลูกเลย มีอยู่ลูกเดียวโดดๆ ตอนนี้สุกแล้ว จำเป็นต้องปืนบันไดขึ้นไปเก็บลงมา กะว่าจะเอาเมล็ดมาแจกอีกนั่นแหล่ะ ส่วนเนื้อหุ้มเมล็ดมีคนจองแล้ว ไม่รู้มีใครทราบหรือไม่ว่าเนื้อหุ้มเมล็ดของฟักข้าว(ที่สุกแล้ว)เอามาปั่นเป็นเครื่องดื่ม มีประโยชน์มาก ที่เวียตนามเขาผลิตเป็นอาหารเสริมทำเป็นอุตสาหกรรมเลยนะจะบอกให้

ต้องปืนขึ้นหลังคาโรงรถ เพราะเขา(ฟักข้าว)ไต่ขึ้นหลังคาและขึ้นไปบนต้นมะเฟือง(ยักษ์)

ติดตั้ง 1 ลูกแน่ะ แต่ลูกเล็กไปหน่อย ก็ยังดีจะได้มีเมล็ดแจกสมาชิก

ความเห็น

ดอกฟักข้าว (เพศเมีย)

ดอกเพศผู้ครับ

ลูกอ่อน สำหรับ ต้ม ยำ ทำแกง สารพัด

ลูกแก่ แต่ยังไม่ได้ที่ (อายุประมาณ เดือนครึ่ง)

ลูกแก่ ใช้ได้แล้ว อายุ 2 เดือน

ด้านในเมื่อผ่าออก

ฟักข้าวที่ปลูกต้องทำค้างให้แข็งแรง

ทำอาหารการกินได้หลายอย่างเช่น

ทำแยมทานกับขนมปังยามเช้า ก่อนไปทำสวน

ทำไอศกรีมทานพอสายหน่อย

ทำพิชซ่าทานตอนกลางวัน

และทำนำ้ฟักข้าวทานหลังจากทำงานมาเหนื่อยๆ สดชื่นดี

ตกเย็นอาบน้ำด้วยสบู่หอมฟักข้าว

ตกเย็นหลังอาบน้ำทานข้าวหุงด้วยฟักข้าว และแกงจืดยอดฟักข้าว

นอนหลับพักผ่อน พรุ่งนี้ตื่นพบหน้าครอบครัวด้วยความอบอุ่น ทำหน้าที่ตามที่รับผิดชอบ

มิตรภาพไร้พรมแดน

ได้เลยครับคุณกุหลาบพันปี จัดให้ตามคำขอ

ต้องใช้ฟักข้าวสุกนะครับ

1.แยกเยื่อหุ้มเมล็ดออกจากเมล็ดก่อนนะครับ

2.ใช้ชอนควักเอาเนื้อของผลออกมาด้วย (เนื้อจะทำให้น้ำฟักข้าวเนียนนุ่มน่ารับประทานและทำหน้าที่แทนเจลลาตินให้น้ำเป็นวุ้นเข้มข้น)

3.นำเนื้อผลและเยื่อหุ้มเมล็ดมาปั่นรวมกันเติมน้ำเสารส (หรือผลไม้อื่นๆที่มีรสเปรี้ยว) ตามชอบ

ผมใช้ ฟักข้าว 22.5% +น้ำเสาวรส 5% หรือเกินนิดหน่อยถ้าชอบเปรี้ยวมาก + น้ำตาลฟลุกโทส (หรือน้ำตาลทรายก็ได้) 8% ที่เหลือเป็นน้ำปล่าวครับ 65%  (ความเปรี้ยวจะอยู่ที่ประมาณ 4.5 - 5  ความหวานจะอยู่ที่ประมาณ 8-10 Brix)

4.ละลายน้ำตาลในหม้อให้ละลายให้หมดก่อน แล้วเติมส่วนผสมจากข้อ 3 ลงไปคนให้เข้ากันกับน้ำละลาย

สังเกตุการคนครั้งแรกจะเกิดฟองอากาศค่อนข้างมาก แต่เมื่อคนไปเรื่อยๆ ฟองจะลดลงจนหายไป แสดงว่าเข้ากันดีแล้ว

5.น้ำไปพาสเจอร์ไร้ท์ โดยการต้มไฟให้อุณหภูมิ 82 องศา นาน 2 นาที(สังเกตุพอเดือดก็ได้ครับ แต่ผมใช้ termomitor วัด)

ในขณะที่ต้มคนบ่อย ๆ นะครับจะได้ไม่ไหม้ที่ก้นหม้อต้ม ถ้าไหม้ก็หมดกัน เททิ้งถ้าทานไม่ได้

6.เมื่ออุณหภูมิได้ที่แล้วนำไปลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็วด้วยน้ำ โดยนำน้ำใส่กาลมังแล้วนำหม้อต้มไปแช่และกวนไปด้วยให้อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นน้ำเย็นได้ยิ่งดี เหตุผลเพื่อรักษาคุณภาพ กลิ่นและรสชาติของผลไม้ไว้ให้ได้มากที่สุด

7.บรรจุขวดปิดฝาให้สนิท แช่น้ำเย็นอีกครั้งหนึง ก่อนนำเข้าตู้เย็นในช่องธรรมดานะครับ ให้เย็นจัดจะอร่อยมาก ถ้าจะให้ถึงใจต้องแช่น้ำแข็ง สุดยอด (อุณหภูมิน่าจะอยู่ที่ 45-50 องศาซีครับ)

ข้อควรระวัง ควรเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นตลอดเวลา หรือให้อยู่ในความเย็น เก็บไว้ทานได้ ประมาณ 15-20 วัน ไม่เสีย

รสชาติเติมเต็มกันตามความชอบนะครับ

หมายเหตุ: สาเหตุที่ต้มก็เพราะนอกจากจะเป็นการฆ่าเชื้อที่เป็นอันตรายต่อทางเดินอาหารแล้ว ยังเป็นสาเหตุให้เป็นกาเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของไลโคปีนด้วย ซึ่งร่างกายจึงจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ

งานวิจัยจาก ม.สงขลาฯ ครับ  http://pcog.pharmacy.psu.ac.th/thi/article8-51.asp

ส่วนผู้ที่เป็นเบาหวานอยากทานไม่ควรใช้น้ำตาล แต่ให้ใช้สารให้ความหวานที่ไม่เป็นอัตรายต่อร่างกายแทน ส่วนผมใช้ Mollital ครับ ผู้ที่เป็นเบาหวานทานได้น้ำตาลในเลือดไม่ขึ้นครับ

ขอให้สุขภาพแข็งแรงกันทุคนนะครับสำหรับผู้ที่มีฟักข้าวสุกอยู่ในมือ อิอิอิอิ (ล้อเล่น)

มิตรภาพไร้พรมแดน

  น่าสนใจนะคะ สามารถนำมาได้หลายๆ อย่าง อยากทราบผลสบู่ของฟักข้าว บ้างคะ ใช้ดีรึเปล่าคะ สนใจคะWink

 มีจำหน่ายที่ไหนคะ ราคาเท่าไรคะWink

มันเป็นสบู่ที่ทำมาจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวและน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเป็นตัวทำละลายไลโคปีน มันมีน้ำผึ้งด้วย แล้วแต่คนชอบนะ มีทั้งคนชอบและไม่ชอบ บางคนบอกฟองเยอะ แต่ที่ต้องปรับปรุงอย่างมากคือลักษณะของก้อน ถ้าทำคราวหน้าจะให้เหมาะมือมากกว่าเดิม ผมขายในราคาชาวบ้าน ก้อนละ 25 บาท 4 ก้อน 100 บาทครับ ยังไม่รวมค่าส่งครับ มันรักษาผิวพรรณดีเหมือนกัน หนังกำพร้าหลุดดีจังเลย ผมใช้แล้วก็ดีนะ ขาวขึ้น (คงเป็นเพราะขี้ไครหลุดกะมัง ชาวสวน ตากแดนเหงื่อเยอะ) แต่ผิวดีกว่าชาวสวนทั่วไปอยู่บ้าง ถ้าสนใจอาจต้องลองใช้ดู และตอบด้วยตัวเองจะดีที่สุดครับ

มิตรภาพไร้พรมแดน

คุณกุหลบพันปีครับ พันธุ์ฟักข้าวที่ผมนำมาปลูกเบื้องต้นผมซื้อมาจากเชียงใหม่ครับ แต่หลังจากนั้นผมก็ไ้ด้มาจากนครปฐมเอง ราชบุรีบ้าง และกาญจนบุรี สุดท้ายในป่าที่เมืองกาญเยอะมาก และแถบลุ่มผึ้งราชบุรีก็เยอะ ลูกคล้าย ๆ กันออกรีนิกนึง สาวนลูกกลมก็มี แต่ผมสังเกตุที่ผมปลูกแตกต่างกันไม่มาก ที่เห็นแตกต่างมากคือพันธุ์ของคุณแจ้วพัทลุง ผมคิดว่าจะเก็บรวบรวมข้อมูลฟักข้าวไว้เป็นตำราสำหรับผู้สนใจไว้ศึกษาต่อไป อย่างไงเบื้องต้นควรบรรทึกรายละเอียดทางกายภาพไว้ก่อนแล้วค่อยนำมารวมกัน ส่วนสารที่มีในฟักข้าวควรต้องตรวจสอบด้วยว่าปลูกที่ไหนดีที่สุด พันธุ์อะไรมีไลโคปีนมากที่สุด และเปรียบเที่ยบกับของต่างประเทศด้วยก็จะดี ผมตั้งใจจะทำอยู่ครับ ใครมีพันธุ์ฟักข้าวแปลกแปลกก็ควรจะบรรทึกไว้แล้วนำมารวมกัน เป็นนวัตกรรมผลงานของชุมชนบ้านพอเพียงของเรานี่แหละครับ จะได้ตอบแทนคุณแผ่นดินด้วย ดีไหม๊ครับ ใครเห็นด้วยยกมือขึ้น

มิตรภาพไร้พรมแดน

 เห็นด้วยครับ (ยกมือแล้ว)

แจ้วจะส่งเม็ดฟักข้าวไปให้พี่สุรพลแจกนะคะ อย่างที่บอกค่ะว่าลูกที่เก็บเม็ดยังไม่สุกเต็มที่ การงอกอาจจะไม่ดี แต่ให้พี่สุรพลแจก และเพาะดู แล้วจะหาเม็ดมาแจกเพิ่มเติมนะคะ ขอเข้าร่วมศึกษาด้วยคนค่ะ (ประมาณ 60 เม็ด)

 ส่งมาเลยเดี๋ยวผมส่งต่อให้ ใครอยากได้ไปปลูกแจ้งที่อยู่มาได้เลย ได้ซัก 5 คนๆละ 10 เมล็ด ที่ให้เยอะเพราะกลัวว่าอัตราการงอกจะต่ำ

ตกลงยกมือขึ้นแล้วนะ ผมกำลังคุยกับ ดร.ถาวร วินิจสานันท์ ว่าจะให้ทางมหิดลเป็นผู้วิเคราะห์สารภายในฟักข้าวให้ รวมทั้งการแยกแยะ DNA ของมันด้วยว่าเป็นพันธุ์หรือชนิดเดียวกันหรือไม่จะได้มีผลรับรองทางวิทยาศาสตร์ ลืมแนะนำ ดร.ถาวร อยู่หลักสูตรวิทยาศาสตร์การเษตร คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล กาญจนบุรีครับ ท่านมีความชำนาญทางด้านโรคพืช แต่คิดว่าคงทำได้ อาจจะร่วมกับ ดร.วัชชระ ที่เป็นหัวหน้าหลักสูตรอยู่ปัจจุบัน

ดังนั้นเบื้องตนตองลบกวนคุณแจ้วพัทลุงหากได้มาอีกครั้งให้บันทึกรายละเอียดทางกายภาพไว้ด้วยนะครับ ทั้งลักษณะของใบ ยอด เถา ผล เปลือก เมล็ด และเนื้อเยื่อด้วย หลังจากนั้นค่อยนัดกับทางอาจารย์อีกทีเมื่อเรามีตัวอย่างพร้อมส่วตรวจในห้อง LAB ถ้าบันทึกรายละเอียดแล้วส่งมาที่เมล์ผมก็ได้รับ rattanapongc@hotmail.com โทร: 084-6712237 และอย่าลืมส่งชื่อ นามสกุลจิงมาด้วยนะครับ จะได้รวบรวมรายชื่อคณะผู้วิจัยหรือผู้สนับสนุนข้อมูลเรื่องฟักข้าวครับ ขาดไม่ได้เลยคือชื่อชุมชนบ้านสวนพอเพียง

มิตรภาพไร้พรมแดน

หน้า