ไผ่ตงลืมแล้ง

ที่มา : http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture03&content=62343

“ไผ่ตงลืมแล้ง” หน่อทั้งปีไม่มีขน [26 ก.ย. 50 - 17:45]

ไผ่ตง เป็น อาหารอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมรับประทานมาแต่โบราณ โดยใช้หน่ออ่อน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า หน่อไม้ไผ่ตง ซึ่งมีรสหวาน นำไปแกงกับเนื้อไก่ ปลา หรือเนื้อวัว นำไปต้มจืดกระดูกหมู (เมนูนี้นิยมกันมาก) แกงเปรอะ ต้มเป็นผักเคียงใช้จิ้มกับน้ำพริกกะปิ น้ำพริกน้ำปู๋ น้ำพริกแก๋ หรือปรุงอย่างอื่นอีกมากมาย รับประทานอร่อยมาก แต่ไผ่ตงที่พบเห็นและนิยมรับประทานกันเป็นประจำนั้น ส่วนใหญ่แล้ว เปลือกหุ้มหน่ออ่อน หรือ หุ้มหน่อไม้ไผ่ตง จะมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมทั่วทั้งเปลือก ทำให้เวลาจะแกะเปลือกเพื่อเอาเนื้อในไปใช้ ประโยชน์เกิดอาการรำคาญ ผู้ซื้อรับประทานจึงต้องให้ผู้ขายแกะเปลือกให้

แต่ สำหรับ “ไผ่ตงลืมแล้ง” มีลักษณะพิเศษคือ เปลือกหุ้มหน่ออ่อน จะเกลี้ยงไม่มีขนปกคลุมเลย เวลาแกะเอาเนื้อในจึงสะดวกสบายมาก เป็นไผ่ตงที่มีหน่อตลอดปี น้ำท่วมต้นก็ไม่ตายทนแล้งอีกต่างหาก จะแล้งขนาดไหนยังแทงหน่ออ่อนให้เก็บรับประทาน หรือเก็บขายได้ ตลอดปี จึงถูกตั้งชื่อว่า “ไผ่ตงลืมแล้ง” (ปกติฤดูแล้งไผ่ตงจะไม่มีหน่อ)

นอก จากนั้น “ไผ่ตงลืมแล้ง” ยังเป็นหน่อไม้ที่มี กรดยูริก ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเกาต์น้อยมาก จึงสามารถรับประทานได้อย่างเต็มที่ และที่สำคัญเนื้อไม้ หรือลำไผ่ของ “ไผ่ตงลืมแล้ง” ยังเป็นไผ่ที่มอดไม่กินอีกด้วย เวลานำไปสร้างบ้านไม้ไผ่ หรือทำเฟอร์นิเจอร์ จึงมีความทนทานได้นานกว่าไม้ไผ่ชนิดใดๆ

ไผ่ตงลืมแล้ง เป็นพันธุ์นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซียนานกว่า 5 ปีแล้ว อยู่ในวงศ์ GRAMINEAE เป็นไม้ยืนต้นตระกูลหญ้า ต้นสูงได้กว่า 20 เมตร ลำต้นตรง เป็นข้อหรือปล้อง ขนาดของลำต้นใหญ่ เนื้อไม้หนา ยอดอ่อน หรือ หน่ออ่อนมีเปลือกหุ้มสีเขียว ไม่มีขนตามที่กล่าวข้างต้น โผล่เหนือดินเรียกว่า หน่อไม้ ไผ่ตง เนื้อในรสชาติหวานกรอบอร่อยมาก ขนาดของหน่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 5-7 กิโลกรัมต่อหัว มีหน่อตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ มีต้นหรือหน่อขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผง “คุณก็อต-คุณหลง” ตรงกันข้ามกับโครงการ 15 ราคาสอบถามกันเอง

การปลูก “ไผ่ตงลืมแล้ง” มีลักษณะทนต่อทุกสภาพอากาศ ทนแล้งได้ดี น้ำท่วมไม่ตาย ปลูกได้ในดินทั่วไป และมีหน่อให้เก็บรับประทาน หรือเก็บขายตลอดปี จึงเหมาะที่จะปลูกเป็นพืชครัวและพืชเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง

สรรพคุณ ทางสมุนไพรของไผ่ตงทุกชนิด คือ ใบแห้ง ต้มน้ำดื่มขณะอุ่นเป็นยาขับปัสสาวะ ขับและฟอกโลหิตระดูเสียในสตรี แก้มดลูกอักเสบ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ราก ขับปัสสาวะ และ แก้ไตพิการดีมากครับ.

“นายเกษตร”

สวัสดีครับ

สนใจการปลูกไผ่ตงลืมแล้งครับ รบกวนขอไฟล์ด้วยน่ะครับ

Email:

kop_two@hotmail.com

ตอนนี้กำลังจะลงไผ่อยู่เหมือนกันแต่ไม่รู้ว่าจะลงพันธ์อะไรดี ช่วยแนะนำด้วยครับ

เอทำไมตัวหนังสือของผมเล็กจัง ทั้งๆที่ผมขยายแล้ว แต่เวลาบันทึก กลายเป็นตัวเล็ก

จำหน่ายกิ่งพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้ง  ปลูก 8 เดือน ขุดแซะขายได้ ออกหน่อตลอดปี ทนแล้งได้ดี น้ำหนักหน่อ 1-3 กิโลกรัม ราคาขายหน่อหน้าสวนในหน้าแล้ง กิโลกรัมละ 35-40 บาท หน่อไม่มีขน ต้นไม่มีหนาม ดูแลรักษาง่าย ปลอดสารเคมี 100% ปลอดภัยทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค  เป็นไผ่ตงหวาน หน่อตัน ประกอบอาหารไม่ต้องต้มน้ำทิ้ง  เหมาะสำหรับปลูกไว้ทานในครัวเรือน หรือปลูกเป็นรายได้ให้กับครัวเรือน  น้ำท่วมไม่ตาย ทนแล้งตลอดปี  ปลูกได้ในดินทั่วไป ทนทุกสภาพอากาศ 


 


ราคาจำหน่าย


 


- 1-50 ต้น  ต้นละ 80 บาท


 


-ต้นที่ 51-150 ต้นละ 70 บาท


 


-ต้นที่ 151 ขึ้นไป ต้นละ 60 บาท


 


รับกิ่งได้ที่มีนบุรี กรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ส่งทางพัสดุ+ค่าส่งกิ่งละ 10 บาทค่ะ  ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ


 


089-2106293 , 086-5518942  สนใจดูสวนยินดีต้อนรับค่ะ  สวนอยู่ที่ จ.ปราจีนบุรีค่ะ

ซื้อแค่กิ่งเดียวก็พอครับ

แล้วเอาไปตอนเอา ตอนง่ายมากครับ

อยากลองปลูกที่บ้านบ้างเหมือนกันคะ กำลังหากิ่งพันอยู่ กะว่าจะไปเยี่ยมที่สวนคุณ Prae รบกวนคุณ Prea นะคะ

ยินดีต้อนรับนะคะ  คุณกะปุก ช่วงนี้ที่สวนแพร กำลังแซะหน่อเพื่อจำหน่ายหน้าแล้งค่ะ  ถ้ามาที่สวนที่ จ.ปราจีนบุรี


จะให้แซะหน่อเองและนำกลับไปทานที่บ้านนะคะ:cheer3: :cheer3:

ขอข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกมะนาววงท่อ,การปลูกลืมแล้งและการเพาะเห็ดนะครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

สวัสดีครับ...


ที่บ้านปลูกไผ่กิมซุง 4-5 ต้นแล้ว สนใจอยากได้ไผ่ตงลืมแล้งมาปลูกเพิ่มครับ


Email : Prakit514@gmail.com


เกษตรกรมือใหม่

ขาย จำหน่ายกิ่งพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้ง ไผ่กิมซุง ราคา 26-35 บาท และพันธุ์ไผ่อื่นๆ

หรือเข้าร่วมประมูลกิ่งพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้ง ราคาเริ่มต้นที่ 20 บาท

สนใจตืดต่อ กอล์ฟ  0843620096

เข้าชมเวปไซต์

http://kimsung.myreadyweb.com/product/detail-21257.html

http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=30687.0

หน้า