ขนมเดือนสิบ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

วันทำบุญเดือนสิบใกล้เข้ามาแล้ว วันนี้เอาขนมเดือนสิบมาฝาก คนใต้ที่ไกลบ้านอาจจะคิดถึงบรรยากาศเก่า ๆ



ขนมบ้า


  ขนมบ้า เปรียบเสมือน การละเล่นที่ให้ผู้ตายเล่น เช่น สะบ้า




ขนมเบซำ, ขนมเจาะรู, ขนมเจาะหู, ขนมดีซำ


         ขนมดีซำ เปรียบเสมือนเบี้ยหรือเงินที่ให้ผู้ตายใช้ในระหว่างใช้เวรกรรมในนรกภูมิ



ขนมเทียน


ขนมเทียน ใช้แทนหมอนหนุน



ขนมพอง


 ขนมพอง เปรียบเสมือนแพให้ผู้ตายใช้เป็นพาหนะข้ามห้วยแห่งทุกข์และบาป
          หรือเวรกรรมต่างๆ



ขนมลา


ขนมลา เปรียบเสมือนเสื้อผ้าเพื่อให้ผู้ตายสวมใส่ในนรกภูมิ


วันรับตายาย  ในวันงานจะถือเป็นเสมือนวันรวมญาติที่จะทยอยกันมาร่วมกันทำบุญ "รับตายาย" ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ไปจนถึงวันแรม 15 ค่ำซึ่งถือเป็นวันสุดท้ายแล้วที่บรรพบุรุษของครอบครัวตนจะต้องกลับยมโลก จะร่วมกันทำบุญครั้งสุดท้ายที่เรียกว่า   "ส่งตายาย" ซึ่งถือเป็นวันสำคัญที่สุด


http://www.khonthai.com/Vitithai/month%2010.htm ขอบคุณข้อมูลค่ะ


ประเพณีบุญเดือนสิบ เป็นประเพณีที่สำคัญประเพณีหนึ่งที่จะทำให้คนอยู่ไกลบ้านได้กลับมาร่วมทำบุญกัน เพื่อแสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ


จำได้ว่าเมื่อตอนเด็ก ๆ ก่อนถึงวันรับตายาย ย่าจะสั่งให้หามะพร้าวไว้เยอะ ๆ เพื่อเคี่ยวสำหรับทำน้ำมันมะพร้าว เพื่อเอาน้ำมันไว้สำหรับทอดขนมบ้า ขนมเบซำ 


การเคี่ยวน้ำมันมะพร้าวเดี่ยวนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว เพราะคนไม่นิยมใช้น้ำมันมะพร้าวกันแล้ว แต่นึกถึงบรรยากาศเก่า ๆ ได้กินขี้มัน (กากที่เหลือจากได้น้ำมันมะพร้าว) ขี้มันใหม่ ๆ เอามาซาวข้าวสวยร้อน ๆ อร่อยค่ะ ใครเคยกินยกมือขึ้น......


เตรียมครกทิ่มแป้งไว้ให้สะอาด.... ก่อนวันทำบุญ 1-2 วันก็จะทิ่มแป้งข้าวเหนียว และข้าวจ้าว ไว้ทำขนม ทิ่มแป้งใต้ถุนบ้าน ร่อนแป้ง เอาแป้งไปปิ้งไฟบ้าง....กิจกรรมหลายอย่างเลือนลาง เพราะเกิดขึ้นนานแล้ว (เริ่มแก่เริ่มลืม)


วันทอดขนมบ้า ขนมเบซำก็สนุก ลูกสาว ลูกสะไภ้ ช่วยกันทำรอบกะทะใต้ถุนบ้าน กว่าจะเขี่ยขนมกันเสร็จ เมาค่ะ เมามัน ไม่ใช่สนุกอย่างเมามันนะคะ เวียนหัวกับกลิ่นน้ำมันค่ะ


เมื่อทำขนมเสร็จก็จะแบ่งขมไว้สำหรับไปวัด แล้วจะนำขนมไปให้คนเฒ่าคนแก่ ญาติสนิทมิตรสหายกัน เพื่อจะได้เอาไปทำบุญและแลกเปลี่ยนแบ่งปันกัน


กาลเวลาเหล่านั้น กิจกรรมเหล่านั้นเริ่มหายไป เดี่ยวนี้ไม่มีให้เห็น มีแต่ร้านค้าที่ทำขนมเพื่อขาย แต่ก็สะดวกดีสำหรับผู้ซื้อ เพราะขนมเหล่านี้ไม่ค่อยจะมีคนชอบสักเท่าไหร่ แต่ก็มีการพัฒนารสชาดขนมให้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก


เล่าเรื่องเก่า ๆ เหมือนกันตัวเองแก่ซัก 50 ปีแน่ะ ยังค่ะ ยังไม่ถึง เอาแค่น้ำจิ้มก่อนค่ะ ไว้ให้คนคอนอย่างยายอี๊ดมาเล่าต่อดีกว่าค่ะ.....


วันนี้ลองชิมขนมก่อนนะคะ แล้วค่อยมาต่อกันเรื่องการจัดหมรับ....(หมับ) เขียนยากมาก .....ในวันทำบุญนะคะ

ความเห็น

ได้ย้อนอดีตนะมาย Laughing

รีบตามสมช ท่านอื่นมาโดยพลันเลย

แต่แวะร่ำลา พี่มานี มานะ..เพิ่งเสร็จ

ยังไม่หมดใช่ไหมครับพี่แจ้ว ผมรู้จักแต่ขนมเทียน

แต่ขอแจมทุกอย่างเลยน่ะครับ

เก็บไว้ได้นานค่ะ ขนมบ้า ขนมเบซำแบบนี้เก็บไว้ได้นานมากค่ะ แปลกมาก ๆ คนโบราณนี่ฉลาดมากเลย ทำแล้วเก็บไว้กินได้นาน เป็นเดือนถ้าเก็บดี ๆ นะ


ส่วนขนมเทียนจะหมดก่อนเลยค่ะ Laughing

เห็นขนมเดือนสิบแล้วอยากกลับบ้าน ลุูกหลานคนใต้ เดือนสิบแล้ว ต้องกลับบ้านไปทำบุญ ประจำปีกัน ใครไม่กลับในกรุงเทพก็มีวัดที่จัดหลายวัดเหมือนกันเช่นวัดบุบผาราม แถวๆฝั่งธนเป็นต้น 

ใช่แล้วพี่ดม คนเฒ่าคนแก่รอลูกหลานกลับบ้านเพื่อทำบุญรับตายาย ส่งตายาย  พี่ดมไม่กลับเหรอคะ.....Laughing

เดือนสิบใกล้เข้ามา ..

.ก่อนรับตายาย ชิมหนมเดือนสิบจากพี่แจ้วก่อน ...กินเป็นแต่หนมเทียนนิ.....

พี่แจ้วทำสวยน่าทานมากกกกก

....ความสุขอย่างแท้จริง ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง....

พอดีพรุ่งนี้ทางโรงเรียนของโกโก้จัดกิจกรรมเรื่องการสืบสานวัฒนธรรมไทย ก็ต้อง เตรียมขนมเดือนสิบไปโรงเรียนด้วย


ที่สำคัญ พี่อยากกินขนมเทียน (กินก่อนตายาย) ส่วนโกโก้ชอบขนมเบซำ ก็เลยต้องซื้อ เพราะถ้าทำเองจะลงทุนเยอะมาก น้ำมันสำหรับทอดก็แพง.....ซื้อดีกว่า แต่เวลาวันส่งตายยาย (บุญหลัง) จะทำที่บ้านแม่ค่ะ

ทั้งนั้นนะคุณแจ้ว ที่อิสานก็มีมีงานบุญข้าวสาก ในวันเพ็ญเดือนสิบเหมือนกันค่ะ

 

 

ยังไม่เคยรับข้อมูลเรื่องบุญข้าวสากเลยค่ะ....ต้องศึกษาว่ามันแตกต่างกันหรือเหมือนกับทางใต้รึเปล่า.....อยากรู้ ๆ   Surprised

นีเป็นคนหนึ่ง  ที่ไม่รู้จักประเพณีนี้


เคยแต่ได้ยินชื่อ ว่าบุญเดือน 10


แต่ไม่รู้เขาจัดเพื่ออะไร


และไม่รู้จักขนมแบบนี้


ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆๆ

หน้า