ขนมเดือนสิบ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

วันทำบุญเดือนสิบใกล้เข้ามาแล้ว วันนี้เอาขนมเดือนสิบมาฝาก คนใต้ที่ไกลบ้านอาจจะคิดถึงบรรยากาศเก่า ๆ



ขนมบ้า


  ขนมบ้า เปรียบเสมือน การละเล่นที่ให้ผู้ตายเล่น เช่น สะบ้า




ขนมเบซำ, ขนมเจาะรู, ขนมเจาะหู, ขนมดีซำ


         ขนมดีซำ เปรียบเสมือนเบี้ยหรือเงินที่ให้ผู้ตายใช้ในระหว่างใช้เวรกรรมในนรกภูมิ



ขนมเทียน


ขนมเทียน ใช้แทนหมอนหนุน



ขนมพอง


 ขนมพอง เปรียบเสมือนแพให้ผู้ตายใช้เป็นพาหนะข้ามห้วยแห่งทุกข์และบาป
          หรือเวรกรรมต่างๆ



ขนมลา


ขนมลา เปรียบเสมือนเสื้อผ้าเพื่อให้ผู้ตายสวมใส่ในนรกภูมิ


วันรับตายาย  ในวันงานจะถือเป็นเสมือนวันรวมญาติที่จะทยอยกันมาร่วมกันทำบุญ "รับตายาย" ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ไปจนถึงวันแรม 15 ค่ำซึ่งถือเป็นวันสุดท้ายแล้วที่บรรพบุรุษของครอบครัวตนจะต้องกลับยมโลก จะร่วมกันทำบุญครั้งสุดท้ายที่เรียกว่า   "ส่งตายาย" ซึ่งถือเป็นวันสำคัญที่สุด


http://www.khonthai.com/Vitithai/month%2010.htm ขอบคุณข้อมูลค่ะ


ประเพณีบุญเดือนสิบ เป็นประเพณีที่สำคัญประเพณีหนึ่งที่จะทำให้คนอยู่ไกลบ้านได้กลับมาร่วมทำบุญกัน เพื่อแสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ


จำได้ว่าเมื่อตอนเด็ก ๆ ก่อนถึงวันรับตายาย ย่าจะสั่งให้หามะพร้าวไว้เยอะ ๆ เพื่อเคี่ยวสำหรับทำน้ำมันมะพร้าว เพื่อเอาน้ำมันไว้สำหรับทอดขนมบ้า ขนมเบซำ 


การเคี่ยวน้ำมันมะพร้าวเดี่ยวนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว เพราะคนไม่นิยมใช้น้ำมันมะพร้าวกันแล้ว แต่นึกถึงบรรยากาศเก่า ๆ ได้กินขี้มัน (กากที่เหลือจากได้น้ำมันมะพร้าว) ขี้มันใหม่ ๆ เอามาซาวข้าวสวยร้อน ๆ อร่อยค่ะ ใครเคยกินยกมือขึ้น......


เตรียมครกทิ่มแป้งไว้ให้สะอาด.... ก่อนวันทำบุญ 1-2 วันก็จะทิ่มแป้งข้าวเหนียว และข้าวจ้าว ไว้ทำขนม ทิ่มแป้งใต้ถุนบ้าน ร่อนแป้ง เอาแป้งไปปิ้งไฟบ้าง....กิจกรรมหลายอย่างเลือนลาง เพราะเกิดขึ้นนานแล้ว (เริ่มแก่เริ่มลืม)


วันทอดขนมบ้า ขนมเบซำก็สนุก ลูกสาว ลูกสะไภ้ ช่วยกันทำรอบกะทะใต้ถุนบ้าน กว่าจะเขี่ยขนมกันเสร็จ เมาค่ะ เมามัน ไม่ใช่สนุกอย่างเมามันนะคะ เวียนหัวกับกลิ่นน้ำมันค่ะ


เมื่อทำขนมเสร็จก็จะแบ่งขมไว้สำหรับไปวัด แล้วจะนำขนมไปให้คนเฒ่าคนแก่ ญาติสนิทมิตรสหายกัน เพื่อจะได้เอาไปทำบุญและแลกเปลี่ยนแบ่งปันกัน


กาลเวลาเหล่านั้น กิจกรรมเหล่านั้นเริ่มหายไป เดี่ยวนี้ไม่มีให้เห็น มีแต่ร้านค้าที่ทำขนมเพื่อขาย แต่ก็สะดวกดีสำหรับผู้ซื้อ เพราะขนมเหล่านี้ไม่ค่อยจะมีคนชอบสักเท่าไหร่ แต่ก็มีการพัฒนารสชาดขนมให้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก


เล่าเรื่องเก่า ๆ เหมือนกันตัวเองแก่ซัก 50 ปีแน่ะ ยังค่ะ ยังไม่ถึง เอาแค่น้ำจิ้มก่อนค่ะ ไว้ให้คนคอนอย่างยายอี๊ดมาเล่าต่อดีกว่าค่ะ.....


วันนี้ลองชิมขนมก่อนนะคะ แล้วค่อยมาต่อกันเรื่องการจัดหมรับ....(หมับ) เขียนยากมาก .....ในวันทำบุญนะคะ

ความเห็น

มีความหมายดีมากค่ะน้องนี พี่ก็ไม่ค่อยจะสันทัด....แต่ลองหาข้อมูลแล้วเพิ่งจะรู้ความหมายหลาย ๆ อย่าง ไว้รอผู้สันทัดมาเล่าเพิ่มเติมอีกนะคะ.....

เมื่อก่อนจะมีคนส่งมาให้ทานทุกปี เด๋วนี้ห่างหายไปนานไม่ได้กินเลย


แก้วเคยกินขนมลา 2 แบบ แบบแผ่นแห้งเหมือนที่พี่แจ้วลงรูป อันนี้จะส่งมาทางไปรษีย์ เพราะเก็บไว้ได้นาน    ส่วนอีกแบบจะนุ่มกว่า และมีน้ำตาลเยิ้มๆ อันหลังนี่จะชอบมาก ดึงชิมทีละเส้นๆเป็นสนุกๆได้ด้วย


คิดถึงจังเลยค่ะ


 

 

ขนมลาแบบที่ลงรูปเป็นขนมลาแบบกรอบ ๆ ค่ะ ไม่หวานมาก อีกแบบที่แก้วว่า แบบนิ่ม ๆ จะหวานกว่า อร่อยกว่า เค้าเรียกลาเช็ด...หรือ ลาเช็ดทะ (ลาเช็ดกระทะ) เพราะวิธีการทำเหมือนทำขนมฝอยทอง (คิดเอาเอง) คือเอาผ้าหรือสำลีชุบน้ำมันแล้วมาเช็ดกระทะให้ลื่น แล้วใช้แป้งที่ผสมเรียบร้อยแล้วใส่กระป่องที่มีรู ๆๆๆ มา แกว่งบนกระทะ ออกมาเป็นเส้น ๆ สานกัน.... วิธีทำน่าดูมาก.... อร่อยค่ะ เก็บไว้ได้นานด้วยค่ะLaughing

แก้วเคยลองขอเขาทำขนมลาด้วย ตอนหยอดสายแป้ง แบบที่พี่แจ้วบอกเลย ใช้กระป๋องเจาะรู แต่น้ำหนักมือไม่เที่ยง ตระแกรงที่ออกมา บางเส้นก็หนา มีปม บางเส้นก็ทับกันจนแน่น ไม่สวยเป็นระเบียบอย่างที่ผู้เฒ่าผู้ใหญ่ทำกัน


ดูเหมือนแกว่งง่ายๆ แต่จริงๆแล้ว อาหารไทย ต้องอาศัยฝีมือและความชำนาญในการทำมาก


 

 

ขนมน่าทาน มากเลย ครับ ขอบคุณ สำหรับ ข้อมูล ประเพณี ด้วย ครับ

ที่บ้านคุณยายกำลังเตรียมของไปวัดค่ะ ที่บ้านเรียกบุญแจกข้าว

เล่าสู่กันบ้างค่ะ บุญแจกข้าว กรายข้าวสาก รับตายาย จะมาแนวเดียวกันรึเปล่า จะรอค่ะ

บุญแจกข้าว เป็นคำเรียกประเพณีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของคนภาคอิสาน(ไทยลาว)จังหวัดศรีสะเกษ(และปริมณฑล)


ซึ่งจะทำในวันเพ็ญเดือนสิบ


วิธีการ คือ นำอาหารทุกอย่างที่ปรุงสุกแล้ว เช่น หมู ปลา ไก่ ข้าวเหนียวนึ่ง กล้วย เผือกมัน ผักต่างๆ ผลไม้ต่างๆ ที่หาได้ตามท้องถิ่น


(ส่วนใหญ่มักถือว่ายิ่งมีอาหารมากหลากหลายชนิดบรรพบุรุษก็จะได้รับและอวยพรให้ลูกหลานเจริญยิ่งๆขึ้นไป)


นำมาซอยเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อหยิบแต่ละชิ้นมาห่อรวมกันในใบตองตามแนวยาวของใบตองและเย็บเป็นหนึ่งคู่


แล้วจะนำไปวางหรือแขวนไว้ตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่คนในหมู่บ้านเคารพบูชา พร้อมกับอธิษฐานจิตให้ท่านมารับไป


ที่บ้านจะทำ 50 -60 คู่และคุณยายจะนำไปเซ่นไหว้ ตามที่ต่างๆค่ะ ปีนี้ไม่ได้ไปเองยังไม่มีรูปให้ดูค่ะ


 

อยากกินทุกอันเลย โดยเฉพาะขนมลากับขนมเทียน^^

สุดมือสอย ก็ปล่อยมันไป^^ ธรรมะ จากท่าน ว.วชิรเมธี

พี่ชอบขนมเทียนมากที่สุด อย่างอื่นไม่ค่อยจะกิน แต่ที่แปลกใจมากที่สุด ลูกชายอยู่ ป.2 ชอบขนมเบซำมาก......Sealed

หน้า