พลิกชีวิตเกษตรกร..."1 ไร่ 1 แสน"

หมวดหมู่ของบล็อก: 


หน่อยเผอิญอ่านไปเจอโครงการนี้เลยนำมาแชร์ให้เพื่อนสมช. ได้เป็นข้อมูลลองศึกษากันดูนะคะ หากใครสนใจมีรายระเอียดในบทความด้วยคะ


พลิกชีวิตเกษตรกร..."1 ไร่ 1 แสน" ทำง่าย...ไม่ยากจน


โครงการ 1 ไร่ 1 แสน ถือได้ว่าเป็นรูปแบบของเกษตรทฤษฏีใหม่ ตามหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ


มีแนวคิดเสมือนทำพื้นที่ให้เป็น “เกาะ” ด้วยวิธีการขุดลอกคูคลองกว้าง - ลึก 1 เมตร ล้อมรอบบริเวณผืนดิน ขยายคันนาจากปกติที่เคยกว้าง 50 เซนติเมตรเป็น 1.5 เมตร เพื่อให้พื้นที่เพียงพอต่อการปลูกพืชผักผลไม้ท้องถิ่น โดยส่วนที่เหลือจึงเป็นบริเวณแปลงนา โดยแบ่งสัดส่วน


พื้นที่ในอัตรา 30 : 30 : 30 : 10 อันหมายถึง ขุดสระเก็บกักน้ำทำประมงขนาดย่อม 30% พื้นที่ทำนา 30% ปลูกพืชผักผลไม้ 30% และเป็นที่อยู่อาศัย 10% และให้ระบบนิเวศเกื้อกูลต่อกัน


คุณนฤมล ลีศิริกุล รองประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าโครงการ “ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน



1 แสนบาท” เป็นโครงการริเริ่มของภาคเอกชนอย่างหอการค้าไทย ที่อาสาเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เพื่อให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ และรายได้ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยการประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปรับใช้ มีพื้นที่นำร่อง คือบ้านหนองแต้, บ้านบ่อ, บ้านกุดเชียงมี ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น


“นายดุสิต นนทะนาคร ประธานหอการค้าไทย ได้ริเริ่มโครงการทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาทเพื่อต้องการช่วยให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จังหวัดที่เลือกเป็นโครงการนำร่อง คือ จ.ขอนแก่น โดยผลักดันให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทำเกษตรแบบผสมผสาน ทำนา ปลูกพืชเสริมและเลี้ยงสัตว์ เพื่อไว้บริโภคและขายเป็นรายได้”


คุณนฤมล กล่าวต่อว่า หอการค้าจังหวัดขอนแก่น ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนข้อมูล แนะแนวทางในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ทำให้เกิดผลลัพธ์เชิงประจักษ์ที่เห็นชัดเจนขณะนี้คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอย่างเต็มรูปแบบมีรายได้เฉลี่ยถึง 150,000-200,000 บาท ขณะเดียวกันต้นทุนของการทำนา 1 ไร่จากเดิม 10,000 บาท ลดลงหลายเท่าตัวเหลือเฉลี่ยเพียง 2,292 บาทต่อไร่ นับได้ว่าประสบความสำเร็จไม่น้อย


จากความสำเร็จของโครงการ วันนี้ที่บ้านหนองแต้ อ.อุบลรัตน์ ดูคึกคัก มีชีวิตชีวา และกำลังได้รับความสนใจ เมื่อกลายเป็นแหล่งกรณีศึกษามีเกษตรกรจากทั่วประเทศเดินทางมาเยี่ยมชมแปลงต้นแบบ และร้องขอให้หอการค้าขอนแก่นเป็นพี่เลี้ยง ให้ข้อมูลพื้นฐานการทำนาอย่างถูกต้อง ซึ่งคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดขอนแก่นและคณะอนุกรรมการจากอำเภอต่างๆ ได้ลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เดือนละ 2-4 ครั้ง โดยมีเกษตรกรเข้ารับการอบรมครั้งละ 100-200 คน“


ซึ่งขณะนี้มีเกษตรกรได้รับการอบรมโครงการดังกล่าวแล้วมากกว่า 600 คน นอกจากเกษตรกรแล้วยังมีหน่วยงานต่างๆ ทั้งในจังหวัดขอนแก่นและหลายจังหวัดทั่วประเทศ ติดต่อขอดูงาน อาทิ วปอ., สรรพากร, พาณิชย์, เกษตรและสหกรณ์, หอการค้าจังหวัดชัยภูมิ, เกษตรและสหกรณ์จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดสุรินทร์ โดยหอการค้าจังหวัดขอนแก่นตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2554 นี้ จะมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการครบ 840 คน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์ 84 พรรษา


คุณนฤมล กล่าวต่อไปว่า นอกจากโครงการ 1 ไร่ 1 แสนแล้ว ยังได้ขยายเครือข่ายเพื่อเกษตรกร โดยจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและความมั่นใจให้เกษตรกร โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ที่ อำเภอเวียงเก่า และ ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น“หากเกษตรกรรายใดต้องการเข้าอบรมในโครงการ 1 ไร่ 1 แสน สามารถติดต่อผู้ดูแล


โครงการโดย ตรงที่


คุณนฤมล ลีศิริกุล โทร.081-739-6414 หรือที่สำนักงานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น 043-324-990-1 โทรสาร 043-325-949 หรือ คณะอนุกรรมการหอการค้าจังหวัดขอนแก่นประจำอำเภอต่างๆ ในจังหวัดขอนแก่นได้ในทุกวันในเวลาราชการ”


ทั้งนี้วิธีการทำนาของเกษตรกรตามโครงการ 1 ไร่ 1 แสน ก็คือแบ่งแปลงนา


ขนาด 1 ไร่ ออกเป็น 4 ส่วน


ส่วนแรก คือ "คันนา" ขนาดความกว้าง 1.5 เมตร ไว้สำหรับปลูกพืชประกอบ เช่น พริก มะนาว มะรุม โดยพืชที่ปลูกบนคันนา จะสามารถสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกร เหลือจากการขาย สามารถทำเป็นพืชสมุนไพร ใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช


ส่วนที่สอง คือขุดร่องน้ำสำหรับทำประมง เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงกบ เลี้ยงหอย ซึ่งมูลสัตว์เหล่านี้จะกลายเป็นปุ๋ยแก่ข้าว ขณะที่


ส่วนที่สาม คือพื้นที่สำหรับปลูกข้าวและ


ส่วนที่สี่ คือพื้นที่เลี้ยงเป็ดไข่ จะปล่อยเป็ดไปหากินตามแปลงนาได้โดยชาวนาจะปรับสภาพดิน โดยใช้จุลินทรีย์ที่คัดมาเป็นพิเศษในห้องทดลอง แล้วทำระบบนิเวศน์ ใหม่ให้เหมาะสมกับการเกิดแพลงตอนในนาข้าว ถ้าทำได้ จะทำให้เกิดสาหร่ายสีเขียวที่มีประโยชน์ในนาข้าวเป็นจำนวนมาก พวกสัตว์น้ำทั้งหลาย กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ก็ปล่อยให้มันกินกันเองและ เมื่อให้ปุ๋ยกับต้นข้าว


สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือจะมีแมลงปอมาวางไข่เป็นจำนวนมาก กลายเป็นกองทัพอากาศ ทำหน้าที่กำจัดแมลงศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี ส่วนตามคันนา ก็ปลูกพืชที่สร้างรายได้เสริม เช่น พริก มะนาว ข่า ตะไคร้ มะเขือ หอมแดง หรือมะรุม และเลี้ยงสัตว์ประกอบ เช่น เลี้ยงเป็ดไข่ กบ เพื่อเสริมรายได้



เมื่อเข้าช่วงเก็บเกี่ยว พบว่าได้ข้าวติดรวงเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังได้ขายพืชอื่นๆ ที่ปลูกตามคันนาไว้ ขายปลา ขายหอย ขายปู ขายกุ้ง ส่วนข้าวที่ปลูกขายเป็นข้าวหอมนิล กินแล้วมีสรรพคุณเป็นยาช่วยต้านทานโรคได้สารพัด ที่สำคัญชาวนาที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่มีความรู้ และเป็นสมาชิกเครือข่าย


วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรอินทรีย์ตำบลบ้านดง จึงเข้าใจวิธีการนิเวศวิทยา ไม่มีการใช้สารเคมี เป็นการกลับไปทำนาแบบดั้งเดิมเหมือนสมัยปู่ย่าตายาย


 ขอบพระคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์จาก http://thaisaeree.com


 

ความเห็น

เห็นโครงการนี่มาระยะหนึ่งแล้วครับน่าสนใจมากเลยครับ :admire2:

ไม่มีกะเค้ามั้งเนาะ :sweating:

จะหาเงินจากไหนมาซื้อที่ 1 ไร่ น๊อ  :sweating:

 

"แค่พอเพียง...ก็เพียงพอ"

ขอบคุณนะคะ สำหรับข้อมูลดี ๆ ค่ะ :cheer3: :cute: :cute:

 

 

ทำได้ก็ดี  ถ้าไม่ได้ใครรับผิดชอบ  ภาคทฤษฎีได้ครับ  ภาคปฏิบัติอาจจะได้ครึ่งหนึ่ง  ถ้าได้จริงมาเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนซิครับ

เป็นโครงการที่น่าสนใจมากค่ะ ตอนนี้เพิ่งเก็บเงินได้ห้าร้อย ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะมีเงินซื้อที่หนึ่งไร่กับเค้าบ้าง :crying2:

สุดมือสอย ก็ปล่อยมันไป^^ ธรรมะ จากท่าน ว.วชิรเมธี

ขอบคุณมากครับ ที่ขอนแก่นบ้านเราเอง มีโอกาสต้องไปดูแล้วครับ


เป็นโครงการที่ดี ภาคประชาชนต้องร่วมมือร่วมใจ ริเริ่มพร้อมๆกันค่ะ

จริงคะเราต้องเป็นกลุ่มเป็นก้อน การมีคนให้คำแนะนำช่วยได้เยอะ และเราเท่านั้นที่เป็นผู้ลงมือทำ

ตอนนี้ที่ อบต.พลับพลาไชย  อ.อู่ทอง  จ.สุพรรณบุรี  ได้ดำเนินโครงการนี้มาประมาณ  1  เดือนแล้ว เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้มาศึกษาและนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตน  แก้วเป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้ค่ะ  โดยได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่แปลงต้นแบบในพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานีค่ะ

หน้า