การสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

 

 

สวัสดีเพื่อนสมาชิกบ้านสวนพอเพียงทุกท่านครับ ผมนั่งดูภาพนี้ของไร่สุโขทัยนี้ดีทำให้จินตนาการถึงสารคดีที่ดูทางโทรทัศน์เรื่องเกี่ยวกับความแห้งแล้งเช่น ทุ่งหญ้าสวันนาในแอฟริกาที่สัตว์จำนวนมากต่างรอคอยฝน ประเทศไทยเราอาจจะไม่ถึงขนาดนั้นแต่ในอนาคตไม่ช้าก็อาจจะเกิดขึ้นได้ ถ้าหากเรายังไม่สามารถหยุดยั้งการรุกล้ำป่าไม้ต้นน้ำได้ (ผมเคยนั่ง off road เข้าป่าก็หลายที่อยู่ อาทิเช่นที่ จ.กาญจนบุรี ในอุทยานเลยนะครับ ข้างนอกก็มีต้นไม้ขึ้นขับเข้าไปไม่เกินครึ่งชั่วโมง ไหงกลายเป็นทุ่งข้าวโพดเต็มไปหมดเลย ทางภาคอิสาน (ไม่เว้นแม้แต่จังหวัดสุโขทัย) ก็สวนยางพาราเต็มไปหมด หรือนั่งดูโทรทัศน์ที่จ.น่านเฮลิคอปเตอร์บินสำรวจก็มีลักษณะคล้าย ๆ กัน ป่าไม้หัวล้านอยู่ตรงกลาง)

หลังจากบ่นตามประสาวัยรุ่น (แก่แล้ว) ก็อยากจะพูดถึงเรื่องการสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) ความจริงระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีหรือ IT ในบ้านเราก็มีการพัฒนาไปมากพอสมควร หลาย ๆ หน่วยงานก็มีการประยุกต์นำมาใช้งาน เช่น ปริมาณฝน ปริมาณน้ำในเขื่อน สภาพภูมิอากาศ การจำแนกแผนที่ดิน ฯลฯ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าแต่ละหน่วยงานมีการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอกรวม ทั้งเกษตรกรอย่างเรานำมาใช้ได้คุ้มค่าแล้วหรือยัง (หมายถึงสังเคราะห์ให้เรียบร้อยแล้วนำผลที่ได้มาแจ้งแก่เกษตรกร อาทิ ปรากฏการณ์เอลนิโญ) เพราะบางครั้งการตีความจากข้อมูลดิบของแต่ละบุคคล (ที่ขาดความรู้ความชำนาญอาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย หรือแม้กระทั่งผู้เชี่ยวชาญก็ยังอาจเกิดขึ้นได้ดังข่าวที่ออกมา กรมชลประทานบอกระวังน้ำท่วม (อาจจะเฉพาะพื้นที่บางจังหวัดหรือภาคใต้เป็นต้น) ในขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาบอกระวังภัยแล้ง (อาจจะครอบคลุมทั้งประเทศ) จึงขอถือโอกาสนี้มาแนะนำการใช้ประโยชน์เบื้องต้นจากการสำรวจระยะไกล 

เพื่อน ๆ สมาชิกบ้านสวน ฯ หลาย ๆ ท่านอาจจะมีโอกาสก้าวเท้าเดินไปดูสวนดูไร่ของตัวเองตามต้องการ แต่สำหรับผมโอกาสสำหรับทำเช่นนั้นค่อนข้างยาก เนื่องด้วยระยะทางที่อยู่อาศัยกับไร่สุโขทัยนี้ดีไม่ใช่ระยะใกล้ ๆ เลย ฉะนั้นนอกจากโทรศัพท์สอบถามญาติ ๆ (บางครั้งก็เกรงใจเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ) ก็พยายามใช้ระบบข้อมูลเทคโนโลยีที่มีอยู่ตอบคำถามที่เราสงสัยบ้างเป็นบางครั้ง อาทิเช่น ฝนตกไหม? แทนที่จะโทรศัพท์สอบถามเป็นครั้ง ๆ เปิด website www.thaiwater.net ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์กรมหาชน) ก็พอจะมีข้อมูล (ใกล้เคียงกับความจริง เนื่องจากสถานีเก็บข้อมูลแต่ละที่มีความห่างกันพอสมควร แล้วฝนเดียวนี้ก็ชอบตกเป็นหย่อม ๆ ด้วย –บางทีเดินข้ามแยกไฟแดงไปไม่เห็นฝนก็มี 55) ข้อมูลปริมาณน้ำฝนแต่ละจังหวัด หรือที่วัดได้ตามสถานีวัดน้ำฝนแต่ละแห่ง

อีกหนึ่ง website www.satda.tmd.go.th ที่น่าจะเป็นประโยชน์ในตอนนี้คือแผนภาพถ่ายดาวเทียมของกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งได้นำเสนอไปในคราวที่แล้ว สำหรับกรมอุตุมิยมวิทยา www.tmd.go.th ก็มีข้อมูลเยอะเหมือนกัน

ยังมีอีกหลาย ๆ websites รวมทั้ง Apps บนมือถือ iOS Android ที่เปิดโอกาสในการเข้าถึง (สำรวจ) ข้อมูลจากระยะไกล น่าจะมีประโยชน์กับเกษตรกรทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ถ้ามีโอกาสจะลองมานำเสนออีกครั้งครับ สวัสดีครับ Laughing

ความเห็น

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ การมีเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ดีก็ช่วยเราได้เยอะเลยนะครับSmile

“นานุวัฒน์ ทำเกษตรให้สนุกและมีความสุข”

ครับ นำมาแนะนำเผื่อเป็นประโยชน์กับเพื่อนสมช.

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

ดีครับ เทคโนโลยีช่วยได้เยอะ ถ้าร้จักใช้ครับ

ครับ ถ้าเรารู้จักใช้ IT ที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

ดีจังค่ะ พ่อน้องถ้วยฟู ....น่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับ สมช.หลายท่าน นะคะ...พี่บัว ด้วยค่ะ

ขอบคุณครับ

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

วันก่อนลูกสาวลองใช้กูรู ตามหาบ้าน ลิตเติ้ลเฮ้าส์ พุทไธสง ส่งให้แม่ดูได้รายละเอียดของภาพชัดเจนมากค่ะ

ดีใจด้วยที่ลูกสาวช่วยคุณแม่ได้เป็นอย่างดีครับLaughing 

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

CoolCoolขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

ขอบคุณพี่อ้อยหวานพาท่องเที่ยวเช่นกันครับ Laughing

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

หน้า