เตรียมตัวสักนิด ก่อนคิดบริจาคโลหิต

หมวดหมู่ของบล็อก: 

บ่อยครั้งเวลาที่ไปบริจาคโลหิต จะพบคนที่หน้ามืด วิงเวียน และเป็นลม วันนี้เห็นคนเป็นลมนอนคว่ำอยู่ที่พื้น บางคนก็นั่งหน้าซีดอยู่บนเตียงบริจาค บางคนก็เลือดไม่ไหลต้องเจาะกันหลายครั้ง อาการเหล่านี้เกิดจาก การไม่ได้เตรียมตัว หรือเตรียมตัวไม่พร้อมก่อนการบริจาค เช่นนอนน้อย ไม่ทานอาหารมาให้ครบมื้อ ดื่มน้ำน้อยเกินไป เป็นต้น

ตัวเราเองตอนบริจาคครั้งแรกก็เป็นแบบนั้น คือไม่ได้กินข้าวเช้าก่อนไปบริจาค ดื่มน้ำน้อย พอเจาะเลือดก็ไหลช้า แต่ในช่วงคัดกรองก็โดนให้โอวาทไปยกใหญ่ จนจำได้มาถึงทุกวันนี้ ที่ต้องเตรียมตัวให้พร้อม แต่แม้เราจะเตรียมตัวก่อนก็ยังพลาดนิดหน่อย วันนี้แม้จะกินอาหารครบมื้อ แต่กินไม่เยอะ พยาบาลที่คัดกรองก็บอกว่าให้ไปกิน ก๋วยเตี๋ยวก่อนค่อยมาบริจาค ทั้งๆ ที่ความเข้มข้นของเลือดก็ไม่มีปัญหา แต่เพื่อป้องการอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับผู้บริจาค ดังนั้นพยาบาลเลยแนะนำให้กินเพิ่ม ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีต่อตัวเราเอง เพราะเมื่อเราทำตามคำแนะนำ การเจาะเลือดก็ผ่านไปได้ด้วยดี ไม่มีอาการวิงเวียนศรีษะ แต่พยาบาลบางคนก็ไม่ได้ถามคำถามเหมือนกันในการคัดกรอง เพราะน้องเรากับเรา กินเหมือนกัน แต่น้องเราไม่ถูกถามเรื่องกินเลยผ่าน แต่ก็ชวนกันไปกินเพิ่มเพื่อความปลอดภัย

พยาบาลเตือนคนที่จะเป็นลมในระหว่างบริจาคฯ ว่าการให้เป็นเรื่องที่ดี แต่การให้ที่ดีไม่ควรทำให้ผู้ให้เดือดร้อนหรือเป็นอันตราย ถ้าผู้บริจาคฯ เป็นลมที่ศูนย์ฯ พยาบาลยังช่วยดูแลได้ แต่ถ้าไปเป็นลม หมดสติข้างนอก ใครจะดูแล จะเกิดอันตรายอะไรขึ้นบ้างแล้วมันคุ้มกันไหมถ้ามันเป็นแบบนั้น

ฟังแล้วก็ได้คิด เพราะเราก็ไม่เคยคิดเรื่องพวกนั้นเลย คิดแค่ว่าอยากบริจาค ก็ไป แต่ลืมคิดไปว่าหากเราเป็นอะไรไป จะเกิดอะไรขึ้น และเลือดที่ไม่สมบูรณ์จะคุ้มค่ากับต้นทุนในการเตรียมเลือดก่อนนำไปให้ผู้ป่วยหรือไม่ สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ ด้วยการเตรียมความพร้อม ทานอาหารให้ครบมื้อในปริมาณที่เหมาะสม นอนให้เพียงพอ ขั้นต่ำ 6 ชั่วโมง ไม่อยู่ในช่วงทานยาปฏิชีวนะ และดื่มน้ำมากก่อนการบริจาค นะคะๆ ฝากข้อคิดไว้สำหรับท่านที่ยังไม่เคยบริจาคโลหิต และคิดจะบริจาคเป็นครั้งแรก 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เวบสภากาชาด

http://blood.redcross.or.th/content/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87

 

 

 

น้ำหวานและขนมหลังบริจาคโลหิต

ความเห็น

ขอบคุณจ้า น้องดีสำหรับความรู้ ..ยินดีด้วย นะจ๊ะที่บริจาคโลหิต ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ อนุโมทนาบุญด้วย เลย. ..พี่บัวก็บริจาค ทีสภากาชาดไทย เป็นประจำค่ะ ปีละครั้ง ..ถ้าคิวยังยาว เจ้าหน้าที่ก็แนะนำให้ไปกินข้าวก่อน เหมือนกันค่ะ ...เมื่อครั้งแรก ที่บริจาค..(หลังบริจาคเสร็จ) เจ้าหน้าที่บอกว่า พี่หน้าซีดมาก เลยให้นอน ปรับเตียงให้เท้าสูง 20 นาที ... ครั้งหลังๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่เป็นอะไร ค่ะ

ขอบคุณค่ะพี่บัว ขออนุโมทนากับพี่ด้วยค่ะ  ดูแลสุขภาพเเพื่อบริจาคเลือดกันต่อไปนะคะ

บริจาคไม่ได้อะ เจาะแล้วเลือดมันระเหยหมด 555

"what a wonderful world"

อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ รักเป็นคนนึงที่พยายามจะบริจาคเลือดทุก 3 เดือน ตามที่สภากาชาดบอกไว้ (ตอนนั้นพ่อป่วยต้องใช้เลือด/เกล็ดเลือดเยอะ crying หลังจากพ่อเสียก็เลยอยากบริจาคเลือดเพื่อช่วยต่อชีวิตให้คนอื่นบ้าง) แต่เคยไปบริจาคให้พี่สาวเพื่อนที่ รพ.ศิริราช จนท.เค้าบอกว่าผู้หญิงแค่ 6 เดือน/ครั้ง ก็พอ และให้กินยาที่บำรุงเลือดที่ให้มาอย่างต่อเนื่องด้วยเพื่อสุขภาพที่ดีจะได้บริจาคได้ต่อไปค่ะ เล่าสู่กันฟังค่ะ ยาวเชียว อิอิblush

ขอบคุณค่ะ  ดีก็พยายามจะบริจาคให้บ่อยสุด แต่ต้องดูสุขภาพตัวเองด้วยค่ะ ปีนี้สุขภาพแข็งแรงเลยบริจาคได้ 3 ครั้ง แต่ปีก่อนหน้าอาจจะได้แค่ 1-2 บางช่วงความเข้มข้นเลือดก็ไม่ได้ เพราะเราดูแลตัวเองไม่ดี  แต่ก็จะยังทำต่อไปตราบที่เรายังทำไหว มาดูแลสุขภาพกันนะคะ

Imageพี่บริจาคครั้งแรกคะ ลุ้นมาก แต่ก็ผ่านฉลุยคะ ต้องบริจาคอีกคะ

ความสะดวกสบายมีขาย แต่ความสุขเงินซื้อไม่ได้ เพราะความสุขมิใช่เงิน

ขอบคุณข้อมูลครับ ยังไม่เคยบริจาคเลือด คนผอมๆเค้าให้บริจาคมั๊ย

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ประมาณนี้นะคะพี่เสิน

คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต
1. มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
2. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 70 ปีบริบูรณ์
-ถ้าเป็นผู้บริจาคครั้งแรกต้องอายุไม่เกิน 55 ปี
-ถ้าอายุ 17 ปี ต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง
-ถ้าอายุ 60-70 ปี ต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์
3. มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่อยู่ระหว่างไม่สบายหรือรับประทานยาใดๆ
4. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือติดยาเสพติด
5. สตรีไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา