ผลการเพาะเห็ดขอนขาว

หมวดหมู่ของบล็อก: 

 

จากความพยายามที่จะทดลองเพาะเห็ดขอนขาวเองที่บ้าน โดยทำทิ้งไว้เมื่อเดือน มกราคม53

ช่วงนั้นได้เชื้อเห็ดมาจากจังหวัดศรีสะเกษ โดยความบังเอิญ ประกอบกับได้ตัดแต่งกิ่งมะม่วงหลายต้น

ก็เลยเป็นที่มาของขั้นตอนการทำ แบบสรุป(ส่วนแบบละเอียดดูจากเวปเรื่องการเพาะเห็ดขอนขาวของนักเรียนแห่งหนึ่ง จำชื่อโรงเรียนไม่ได้ค่ะ)

1.ตัดกิ่งมะม่วงเป็นท่อน ใช้สว่านเจาะรูห่างๆ ลึกประมาณ 2นิ้ว เจาะในขณะที่ไม้ยังไม่แห้ง

2.หยอดเชื้อเห็ดลงประมาณ 8-10 เมล็ด (ที่เป็นเมล็ดเพราะว่าโรงเพาะเชื้อเขาใช้เมล็ดนุ่นเป็นตัวเดินเชื้อ)

3.ใช้ขี้เลื่อยปิดรูให้แน่น นำไปวางไว้ในร่ม ทิ้งไว้ให้เชื่อเห็ดเดินทั่วไม้ และสภาพอากาสเหมาะสมเห้ดจะออกดอกมาให้เก็บเองภายใน 3-6 เดือน ตามคุณภาพของเชื้อและการเก็บรักษา

อีกวิธีหนึ่งที่ไม่ยุ่งยากมากนักและน่าสนใจเลยขออนุญาตก๊อปมาฝากดังนี้ค่ะ

http://www.doae.go.th/library/html/detail/vegetable/hedrom_index.html

 

การ เพาะเห็ดลมและเห็ดขอนขาว

เห็ดลม เป็นชื่อที่เรียกกันทางภาคเหนือ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า เห็ดบด เห็ดขอนดำ หรือ เห็ดกระด้าง ในธรรมชาติมักพบขึ้นกับไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้เต็ง รัง เทียง ตะเคียน และไม้กระบาก เป็นต้น
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lentinus polychrous Lev.
เห็ดขอนขาว มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Lentinus squarrosulus Mont. ในธรรมชาติมัก พบขึ้นบนไม้แข็งเช่นเดียวกัน

  • วัสดุอุปกรณ์

1. อาหารเพาะ
2. หัวเชื้อเห็ดลมและเห็ดขอนขาว
3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7"x13" 8"x13" หรือ 9"x13" ฯลฯ
4. คอพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 นิ้ว
5. สำลี ยางรัด
6. ถังนึ่งไม้อัดความดัน
7. โรงเรือนหรือสถานที่บ่มเส้นใย และเปิดดอก

  • อาหารเพาะ
    • สูตรที่ 1
      • ขี้เลื่อยแห้ง (ไม้ยางพารา, ไม้มะขามฯลฯ) 100 กิโลกรัม
      • รำละเอียด 3-5 กิโลกรัม
      • ปูนขาว หรือ แคลเซียมคาร์บอเนต หรือยิปซั่ม 0.5-1 กิโลกรัม
      • น้ำตาลทราย 2-3 กิโลกรัม
      • ผสมน้ำ ปรับความชื้น 50-55 กิโลกรัม
    • สูตรที่ 2
      • ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ 100 กิโลกรัม
      • แอมโมเนียมซัลเฟต 1 กิโลกรัม
      • ปูนขาว 1 กิโลกรัม
      • ผสมส่วนผสมทั้ง 3 ชนิด หมักกับน้ำประมาณ 2-3 เดือน
      • กลับกองประมาณ 3-4 ครั้ง นำไปผสมกับรำละเอียด 3 กิโลกรัม
      • น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม
      • ปรับความชื้นประมาณ 50-55 เปอร์เซ็นต์
  • วิธีเพาะ

1. บรรจุอาหารเพาะลงในพลาสติกทนร้อน กดให้แน่น สูงประมาณ 2/3 ของถุง
2. รวบปากถุง สวมคอพลาสติก พับปากถุงลงมา ดึงให้ตึง รัดยางให้แน่น อุดด้วยสำลี หุ้มทับด้วยกระดาษหรือฝาครอบพลาสติก
3. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อ ที่อุณหภูมิ 90-100 องศาเซลเซียส สม่ำเสมอ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่งโมง จากนั้นทิ้งให้เย็น
4. นำถุงพลาสติกที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว มาใส่เชื้อจากหัวเชื้อเห็ดที่เตรียมไว้ โดยทั่วไปจะเลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง เขย่าให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายออก และใส่ลงในถุงอาหารประมาณถุงละ 15-20 เมล็ด โดยปฏิบัติในที่สะอาดไม่มีลมโกรก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคและแมลง
5. นำไปวางในโรงเรือนหรือสถานที่สำหรับบ่มเส้นใย อุณหภูมิประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส เพื่อให้เส้นใยเจริญ

  • การเจริญของเส้นใยเห็ดลม
    เส้นใยเห็ดลมใช้เวลาในการเจริญเต็มอาหารเพาะน้ำหนัก 800-1,000 กรัม ประมาณ 30-35 วัน จากนั้นเส้นใยจะค่อยๆ เริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีส้ม
    จนถึงสีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำ โดยเฉพาะเมื่อถูกอากาศและแสงระยะเวลาการเจริญทางเส้นใยจนเริ่มให้ดอกเห็ด ขึ้นกับสายพันธุ์ โดยเฉลี่ยใช้เวลา
    ประมาณ 80-90 วัน
  • การเจริญของเส้นใยเห็ดขอนขาว
    คล้ายกับเห็ดลม แต่มีระยะเวลาการเจริญทางเส้นใยตั้งแต่เพาะเชื้อจนเริ่มให้ดอกเห็ด เฉลี่ย 20-30 วัน
  • โรงเรือนเปิดดอก
    โรงเรือนเปิดดอกเห็ดลมและเห็ดขอนขาว ควรให้มีแสงผ่านเข้าภายในโรงเรือนได้ประมาณ 60-70% มีช่องเปิดปิดสำหรับถ่ายเทอากาศ อาจใช้ตาข่ายพรางแสงมุงหลังคาและฝา และในกรณีฤดูฝน มุงหลังคาทับด้วยคา หรือวัสดุกันน้ำ
  • การเปิดถุงและการกระตุ้นให้เกิดดอก
    เปิดจุกสำลี หรือตัดปากถุง วางในโรงเรือน ให้ความชื้นโดยการให้น้ำในโรงเรือนและบริเวณก้อนเชื้อ ให้มีความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%
    ปรับโรงเรือนให้มีสภาพร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 33-36 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-3 วัน ดอกเห็ดจะเริ่มงอก จากนั้นปรับอุณหภูมิในโรงเรือน
    ให้ลดลงมีอากาศถ่ายเทได้ดี ความชื้นสัมพันธ์ 60-70% มีแสงสว่างปานกลางเพื่อให้ดอกเห็ดเจริญเติบโตต่อไป ในระหว่างให้ผลผลิตแต่ละครั้งเส้นใยเห็ดลมจะพักตัวประมาณ 15-20 วัน ส่วนเห็ดขอนขาวจะทยอยให้ผลผลิต
  • การเก็บดอกเห็ด
    ควรเก็บส่วนต่างๆของดอก ให้หลุดออกจนหมด เพื่อป้องกันการเน่าเสียจากเศษหรือส่วนของดอกเห็ดที่เหลือติดค้างอยู่ที่ก้อนเชื้อ ขนาดของดอกเห็ดที่เก็บขึ้นกับความต้องการของผู้เพาะ ดอกเห็ดอ่อนจะมีราคาสูงกว่าดอกเห็ดที่บานเต็มที่ และมีความเหนียวน้อยกว่าเห็ดบาน

  •  
    • เห็ดขอนขาว ควรเก็บดอกขณะที่หมวกเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 3 เซนติเมตร
    • เห็ดลม ควรเก็บดอกขณะที่หมวกเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 5 เซนติเมตร
เห็ดขอนขาว
เห็ดลม
เห็ดลม

ที่มา : http://www.kasetesarn.com/techno/mushroom-lome.html
จัดทำโดย : นางสาวธัญฐิติ มาแสง

ความเห็น

เเว็บบ..มาดูเห็ดSmile

เป็นเห็ดที่น่าสนใจอีกตัวนึง เพราะราคาดีกว่าเห็ดนางฟ้าธรรมดา ในจำนวนเห็นถุงด้วยกัน ถ้าเห็ดนางฟ้าภูฐานขายได้ราคา กิโลละ 30 บาท เห็ดขอนขาวจะได้ตกประมาณ กก.ละ 70-80 บาท แต่เห็ดขอนขาวสามารถหาได้จากตอไม้ธรรมชาติ ส่วนมากในหน้าฝนจะขึ้นบนตอไม้หรือขอนไม้มะม่วง ข้อเสียคือต้องรีบเก็บเพราะเห็ดชนิดนี้แก่เร็ว แก่แล้วจะเหนียว เคี้ยวยาก

วิธีการเพาะบนขอนไม้ของคุณสวนฟักแฟงแตงไทยน่าสนใจค่ะ สามารถเพาะกินในครัวเรือนได้ สนใจอาหารเลี้ยงเชื้อที่ใช้เมล็ดนุ่น คุณสวนฟักแฟงแตงไทยอยู่จังหวัดอะไรคะ  ถ้าเป็นแถบภาคกลางจะใช้เม็ดข้าวฟ่าง การใช้เมล็ดนุ่นเพาะเชื้อแสดงว่าจะต้องมีปริมาณผลผลิตนุ่นที่เยอะมาก

ขอบคุณที่เอาข้อมูลดีๆมาฝาก 

สวัสดีค่ะ

สวนฟักแฟงแตงไทยอยู่จังหวัดสุรินทร์ค่ะ

แต่ได้เชื้อเห็ดมาจากศรีสะเกษ เหตุผลที่เป็นเมล็ดนุ่น น่าจะเป็นเพราะว่าศรีสะเกษมีต้นนุ่นจำนวนมากและหาได้ง่าย

ชาวบ้านมักปลูกไว้ขายทำหมอน และฟูกที่นอนยัดนุ่น ทุกวันนี้เริ่มน้อยลงเพราะคนส่วนมากใช้ที่นอนใยสังเคราะห์

เพราะไม่หนักและมีไรฝุ่น เชื้อรา น้อยกว่า รักษาความสะอาดง่ายกว่า

ใครชอบเห็ดก็น่าสนใจนะ   ทำไว้กินเองก็ดี   ได้กินสดๆ

แอบมาดูห็ด

"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"

หวัดดีน้อง  เป็นไงตั้งใจมาเยี่ยมน้องโดยตรงเลยค่ะ

มาขอเป็นสมาชิกใหม่ค่ะ

เมื่อวาน (11 กรกฎาคม 53) หนูไปอบรมที่โรงแรมเทพนคร จังหวัดบุรีรัมย์ เสียดายที่ไม่มีโอกาสได้แวะเยี่ยม หรือโทรหาพี่กิ่ง


สุรินทร์ -บุรีรัมย์อยู่ใกล้กัน นะคะ

มาดูเห็ดขอนขาว  ไม่เคยกิน เลยอยากเห็นค่ะ สีขาวสมชื่อเลยนะค่ะ

แฟนผมชอบเห็ดมากๆๆๆๆๆๆเฉพาะเห็ดโคนเห็นแล้วขนลุกคือต้องซื้อให้ใด้

จงชนะจิตใจตนเองให้ได้แล้วจะประสบความสำเร็จ

ทานเห็ดบ่อยๆ ..ดีต่อสุขภาพ (แต่ต้องเป็นเห็ดที่ทานได้ ไม่ใช่เห็ดพิษ)

ประโยชน์ ทางยาดอกบำรุงร่างกาย ชูกำลัง แก้ไข้พิษ   นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับเห็ดขอนขาวคือ การต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันจากสารอนุมูลอิสระ ซึ่งได้จากสารสกัดหยาบของส่วนเซลล์ของเห็ดขอนขาว (Lentinus squarrosulus) ด้วย ethyl acetate

ประโยชน์ของเห็ดนานาชนิด
ชฎาพร นุชจังหรีด
ภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์

        เห็ด เป็นแหล่งอาหารโปรตีนจากธรรมชาติ ที่มีวิวัฒนาการมาจากการประสานเส้นใยจำนวนมากของเชื้อราชั้นสูง และถึงแม้เห็ดจะขาดกรดอะมิโนบางตัวไปบ้าง แต่ในเรื่องของรสชาติและเนื้อสัมผัสนั้น รับรองว่าเห็ดไม่เป็นรองใครในยุทธจักรอาหารอย่างแน่นอน ที่สำคัญเห็ดยังให้คุณค่าทางโภชนาการและมีสรรพคุณทางยา ซึ่งมีคุณสมบัติที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย และช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน อัลไซเมอร์ หลอดเลือดหัวใจอุดตัน และความดันโลหิตสูง เป็นต้น
        เห็ดจัดเป็นอาหารประเภทผักที่ปราศจากไขมัน มีปริมาณน้ำตาลและเกลือค่อนข้างต่ำ และยังเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี เมื่อเทียบกับผักอีกหลายชนิด อีกทั้งยังมีรสชาติและกลิ่นที่ชวนรับประทาน ซึ่งรสชาติที่โดดเด่นนี้ มาจากการที่เห็ดมีกรดอะมิโนกลูตามิคเป็นองค์ประกอบ โดยกรดอะมิโนตัวนี้จะทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นประสาทการรับรู้รสอาหารของลิ้นให้ไวกว่าปกติ และทำให้มีรสชาติคล้ายกับเนื้อสัตว์ นอกจากนี้เห็ดยังอุดมไปด้วยวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินบีรวม (ไรโบฟลาวิน) และไนอาซิน ซึ่งจะช่วยควบคุมการทำงานของระบบย่อยอาหาร ในส่วนของเกลือแร่ เห็ดจัดเป็นแหล่งเกลือแร่ที่สำคัญ โดยมีเกลือแร่ต่างๆ เช่น ซิลิเนียม ทำหน้าที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โปแตสเซียม ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ สมดุลของน้ำในร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทต่างๆ ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ และอัมพาต ส่วนทองแดง ทำหน้าที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของธาตุเหล็ก และที่สำคัญ เห็ดมีองค์ประกอบของพฤกษเคมีที่ชื่อว่า “โพลีแซคคาไรด์”(Polysaccharide) จะทำงานร่วมกับแมคโครฟากจ์ (macrophage) ซึ่งเป็นเซลล์คุ้มกันขนาดใหญ่ที่ออกจากหลอดเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อและจะไปจับกับโพลีแซคคาไรด์ที่บริเวณกระเพาะอาหาร และนำไปส่งยังเซลล์คุ้มกันตัวอื่นๆ โดยจะช่วยกระตุ้นวงจรการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เสริมและช่วยเพิ่มปริมาณและประสิทธิภาพของเซลล์คุ้มกันธรรมชาติ ให้ทำหน้าที่ทำลายเซลล์แปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมถึงพวกไวรัสและแบคทีเรียอื่นๆ ด้วย เห็ดที่มีปริมาณสารโพลีแซคคาไรด์สูง คือ เห็ดหอมหรือเห็ดชิตาเกะ เห็ดนางรม เห็ดหูช้าง และเห็ดกระดุม เป็นต้น และเห็ดอื่นๆ ที่นิยมนำมารับประทาน ได้แก่ เห็ดหลินจือ เห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดกระดุมหรือแชมปิญอง เห็ดโคน และเห็ดเข็มทอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้เห็ดเป็นยาได้อีกด้วย ซึ่งสรรพคุณทางยาของเห็ดมีมากมาย เช่น ช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น สมอง หัวใจ ปอด ตับ และระบบไหลเวียนของโลหิต เนื่องจากชาวจีนจัดเห็ดเป็นยาเย็น เพราะมีสรรพคุณช่วยลดไข้ เพิ่มพลังชีวิต ดับร้อนใน แก้ช้ำใน บำรุงร่างกาย ลดระดับน้ำตาล และคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด ลดความดัน ขับปัสสาวะ ช่วยให้หายหงุดหงิด บำรุงเซลล์ประสาท รักษาอาการอัลไซเมอร์ และที่สำคัญ คือ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
        ประโยชน์ทางการแพทย์ของเห็ดชนิดต่างๆ มีดังนี้
        1. เห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะเป็นยาอายุวัฒนะ เพราะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด อีกทั้งยังเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็งด้วย และมีกรดอะมิโนถึง 21 ชนิด มีวิตามิน บี 1 บี 2 สูง พอๆ กับยีสต์ มีวิตามินดีสูงช่วยบำรุงกระดูกและมีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข้หวัด ชาวจีนยกให้เห็ดหอมเป็นอาหารต้นตำรับ “อมตะ”
        2. เห็ดหูหนู เป็นกลุ่มคาร์โบไฮเดรต สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาวในผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายดีขึ้น รวมทั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง เห็ดหูหนูขาว ช่วยบำรุงปอดและไต
        3. เห็ดหลินจือ มีสารสำคัญ เบต้ากลูแคน ซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง คนญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคผู้สูงอายุ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคความดันโลหิตสูง
        4. เห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญอง รูปร่างกลมมน คล้ายกระดุมที่มีขนาดใหญ่ ผิวเนื้อนวล มีให้เลือกทั้งแบบสดหรือบรรจุกระป๋อง มีบทบาทในการรักษาและป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่สุด โดยสารบางอย่างในเห็ดนี้ไปช่วยยับยั้งเอนไซม์อะโรมาเตส (aromatase) ทำให้เกิดการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเอนโดรเจนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลงก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย
        5. เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า และเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดสามอย่างนี้อยู่ตระฉันลเดียวกัน เจริญเติบโตเป็นช่อๆ คล้ายพัด เห็ดนางรมมีสีขาวอมเทา เห็ดนางฟ้ามีสีขาวอมน้ำตาล ขณะที่เห็ดเป๋าฮื้อจะมีสีคล้ำและเนื้อเหนียวหนาและนุ่มอร่อยคล้ายเนื้อสัตว์มากกว่า เชื่อว่าสามารถป้องกันโรคหวัด ช่วยการไหลเวียนเลือด และ
โรคกระเพาะ
        6. เห็ดฟาง เป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทย นิยมเพาะกันบนกองฟางข้าวชื้นๆ โคนมีสีขาว ส่วนหมวกสีน้ำตาลอมเทา หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด ให้วิตามินซีสูง และมีกรดอะมิโนสำคัญอยู่หลายชนิด หากรับประทานเป็นประจำจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันการติดเชื้อต่างๆ อีกทั้งยังช่วยลดความดันโลหิตและเร่งการสมานแผล
        7. เห็ดหลินจือ นอกจากใช้รับประทานแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำไปเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์อีกด้วย เพราะมีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย รวมทั้งกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัส
        8. เห็ดเข็มทอง เป็นเห็ดสีขาว หัวเล็กๆ ขึ้นติดกันเป็นแพ รสชาติเหนียวนุ่ม นำมารับประทานแบบสดๆ ใส่กับสลัดผักก็ได้ ถ้าชอบสุกก็นำไปย่าง ผัดหรือลวกแบบสุกี้ ถ้ากินเป็นประจำจะช่วยรักษาโรคตับ กระเพาะ และลำไส้อักเสบเรื้อรัง
        9. เห็ดโคน ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิด แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ การทดลองทางเภสัชศาสตร์พบว่าน้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบางชนิด เช่น เชื้อไทฟอยด์
        ท่านผู้ฟังก็คงเคยรับประทานเห็ดกันอยู่บ่อยๆ นะคะ และคงจะรู้ซึ้งถึงรสชาติที่สุดแสนอร่อยของมัน เป็นอย่างดี วันนี้ท่านผู้ฟังก็ได้รับทราบประโยชน์ของเห็ดมากมาย ซึ่งแต่ละชนิดก็มีประโยชน์แตกต่างกันไป หากชอบเห็ดชนิดใดเป็นพิเศษก็หาซื้อมารับประทานกันได้ตามใจชอบนะคะ เพราะไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งนั้น อย่าลืมหาซื้อมาประกอบอาหารกันนะคะ “เด็กก็ทานได้ ผู้ใหญ่ก็ทานดี” วันนี้คงพอแค่นี้ก่อน เอาไว้พบกันใหม่ครั้งหน้านะคะ สวัสดีค่ะ

 

ขอขอบคุณที่มา  สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา

 http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=1393

หน้า