มาทำไวน์แบบพอเพียงกันเถอะ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ผมเคยกล่าวถึงไวน์ดูไอเลิฟยูโซ ซึ่งหมักจากพิลังกาสากับมะเฟืองมาบ้างในบล็อกก่อนๆ ตั้งใจไว้นานแล้วว่าจะนำมาเขียนลงบล็อก แนะนำเพื่อนสมาชิกบ้านสวนได้นำไปทำกันบ้าง เฝ้าแต่รอๆจนลูกพิลังกาสาสุกมากพอที่จะเอามาทำไวน์ ตอนแรกก็กะว่าจะทำไวน์ลูกราม(เรียกตามภาษาใต้)ล้วนๆ เดินมาเจอมะเฟืองหล่นใต้ต้นส่งกลิ่นโชยมา นึกถึงไวน์ดูไอเลิฟยูโซที่เคยทำ เลยอดไม่ได้ที่จะเก็บมาด้วย

ผลมะเฟืองนำมาตัดส่วนที่มดแมลงกินออกทิ้งไป ท่านที่จะทำตามขอแนะนำเก็บมะเฟืองร่วงหล่นใต้ต้นนะครับ เราต้องการกลิ่นหอมของมะเฟืองหล่น (ยืนยันว่าหอมกว่ามะเฟืองบ่ม) ใช้มะเฟืองและพิลังกาสาอย่างละเท่าๆกัน คือหนึ่งหม้อขนาดเจ็ดนิ้ว สำหรับทำไวน์ห้าลิตร

นำมาลวกด้วยน้ำเดือด แบบราดผ่านๆ แล้วบีบคั้นน้ำ

กรองเอากากออก

พิลังกาสาก็ทำเช่นเดียวกัน ลวกน้ำเดือดบีบคั้นน้ำแยกกากแยกเมล็ดออก

ผสมเข้าด้วยกัน สี(พิลังกาสา)และกลิ่น(มะเฟือง)

จะได้หัวเชื้อผลไม้ปริมาตรประมาณหนึ่งลิตร ใส่ในขวดหัวเชื้อน้ำอัดลมแบบที่เค้ากดขายเป็นแก้วๆ ผมไปหาซื้อมาจากร้านแถวๆดอนเมืองในราคาขวดละไม่ถึงสี่สิบบาท

ทีนี้ก็เป็นส่วนผสมที่เหลืออีกสี่ลิตร น้ำตาลครับละลายกับน้ำแร่ต้มพออุ่นๆ (ใช้น้ำแร่นะครับรึน้ำบาดาลก็ได้ ห้ามใช้น้ำประปาหรือว่าน้ำฝนเด็ดขาด)สูตรของผมส่วนมากจะใช้น้ำตาลทรายหนึ่งกิโลต่อไวน์ห้าลิตร

ยีสต์สำหรับทำไวน์

นำมาละลายกับน้ำผลไม้ผสมน้ำเชื่อมในถ้วยก่อนเพื่อให้ยีสต์ปรับตัว ทิ้งไว้สักครู่จนมีฟองปุดขึ้นมาแสดงว่ายีสต์เริ่มมีการแบ่งตัวแล้ว จึงนำไปเทลงในขวดหมักไวน์ (ตอนเทยีสต์ผง ให้ค่อยๆเทและคนอย่างช้าๆ ถ้าเทเร็วไปยีสต์จะเกาะตัวป็นก้อน)

นำสำลีมาอุดที่ปากขวด ตั้งทิ้งไว้สองสามวัน

ใช้ Hydrometer วัดความถ่วงจำเพาะของน้ำผลไม้ตอนเริ่มหมัก(วัดได้ 1.16) ในขั้นตอนสุดท้ายของการหมักเมื่อเราทราบค่าความความแตกต่างของถ่วงจำเพาะ ก็จะสามารถคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ของไวน์ได้

ทิ้งไว้อีกสองสามวัน ค่อยมาอัพบล็อกต่อนะครับ งานนี้ติดตามดูความคืบหน้ากันไปแบบสดๆพร้อมกันเลยนะครับ สำหรับใครที่จะรอชิมก็ขอบอกไว้ก่อนว่า ถ้าแบบใส่ขวดก็ต้องรออีกสองปี ถ้าแบบไวน์สดก็เดือนกุมภา วาเลนไทน์พอดี

ความเห็น

หอมกลิ่นไวน์  อยากลองทำและลองชิมค่ะ

ลองเอามากลั่นบ้างไหมครับ 

อย่างที่บอกครับ ผมมักจะชักชวนเพื่อนๆมาแอบข่มขืนลูกสาวทุกคน ไม่มีใครเหลือรอดซักราย อิอิ

พอกิน พอใช้ พอใจ คือความหมายของ พอเพียง

แค่เห็นรูปและวิธีการทำกุ้งก็เมาแล้วค่ะ   อย่างนี้ลุงพีคงมีไวน์กินตอนหน้าหนาวแล้ว

มีความสุขกับการที่ได้ให้มากกว่าการที่ได้รับ

ขั้นตอนไม่ยุงยากเลยนะครับ แต่อุปกรณ์น่าจะต้องเข้าเมืองหน่อยละ

ขอบคุณมากครับลุงพี สำหรับข้อมูล

ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ   msn/krawmovie@hotmail.com

สนใจมานานแล้ว เมื่อก่อนผมเคยซื้อหนังสือมาอ่านจะหัดทำ ตอนเรียนจบแล้ว แต่ตอนที่เรียนอยู่ก็หมักยีสต์ ปรากฎเมาทั้งห้อง ในชั่วโมงทำแล็ป


ตอนนี้ผมยังอยากลองกับต้นกล้วยลุงเคยทำปล่าวครับ ใช้แป้งข้าวหมากยัดใส่เข้าไปในต้นกล้วยที่แก่จัดใกล้จะสุก (ใช้ไม้เจาะให้ถึงใจกลางกล้วยแล้วยัดแป้งข้าวหมากเข้าไปทิ้งไว้สักสัปดาห์ก็ตัด หรือปล่อยให้สุก) อยากทำต้องรอกล้วยสุกอีกรอบ ซื้อแป้งข้าวหมากมาแล้ว 2 ก้อน อิอิ

มิตรภาพไร้พรมแดน

แล้วไม่ลองทำไวน์จากฟักข้าวบ้างเหรอครับ หรือว่าทำไปแล้ว

พรุ่งนี้ ขอให้ทุกอย่างราบรื่นน่ะครับ อย่าได้มีปัญหาขาดตกบกพร่อง หรืออุปสรรคใดๆเลยน่ะครับ ^^

แบบนี้ซิ ถึงจะเรียกว่าไวน์พอเพียงของจริง งั้นตกลงพรุ่งนี้ผมขอมอบตัวเป็นศิษย์คุณน้อยก่อนก็แล้วกัน

พอกิน พอใช้ พอใจ คือความหมายของ พอเพียง

ผมเข้าใจผิดมานานว่า ผลไม้ที่จะเอามาทำไวน์ ต้องเป็นผลไม้ที่สุก ที่ยังสภาพดีอยู่ แต่พออ่านวิธีของลุงพี้แล้ว นึกออกเลยครับว่า ทำไมไวน์ผลไม้ที่เคยซื้อกินนั้น ไม่เป็นสับปะรด (เพราะไม่ใช่ไวน์ที่ทำจากสับปะรด) วันหลังหากได้ลองทำอีกที ผมจะเอาผลไม้ที่เขาจะทิ้งแล้ว หรือมะเฟืองร่วงโคนต้น มาลองทำแบบที่ลุงพีแนะนำ มะเฟืองหวานของผม ตอนที่ผมไม่ได้อยู่สวน จะร่วงเต็มโคนต้น ผมกลับมาสวนก็เอาไปใส่ถังหมัก รู้อย่างนี้ เอาไปหมักทำไวน์จะดีกว่า ขอบคุณลุงพีมากครับ

วันนี้ลุงพีไปเที่ยวบ้านคุณรัตนพงษ์ คงมีโอกาสเอาฟักข้าวมาลองทำไวน์บ้างนะครับ น่าจะได้ไวน์รสชาดใหม่

เสน่ห์ของไวน์ผลไม้อยู่ที่กลิ่นครับ ของไทยที่ทำกันส่วนใหญ่สนใจแต่แอลกอฮอล์ ของผมถ้าเอาผลไม้สุกที่มีสภาพดีๆมา ก็จะวางทิ้งไว้จนได้กลิ่นละมุด(กลิ่นแอลกอฮอล์อ่อนๆ) ผมเคยทำไวน์กล้วยหอมทอง ก็จะวางทิ้งไว้จนเนื้อเละก่อนถึงจะเอามาทำไวน์ครับ แต่ถ้าจะให้ได้กลิ่นที่สลับซับซ้อนจริงๆ ต้องเป็นผลไม้ที่สุกงอมแล้วร่วงหล่นลงจากต้นครับ


ไวน์ท้อแท้ของผม พี่อู๊ดบอกว่าได้กลิ่นน้ำผึ้งป่า ถือได้ว่าเป็นคำชมที่ให้คนทำไวน์ได้ชื่นใจครับ

พอกิน พอใช้ พอใจ คือความหมายของ พอเพียง

หน้า