สงสัยมานานหัวถั่วพูต้มรสชาติเป็นยังไง
หมวดหมู่ของบล็อก:
Keywords:
วันนี้ยุ่งอยู่กับเตรียมที่ปลูกผักร่องใหม่ซึ่งเดิมเป็นที่ปลูกถั่วพู พอขุดลงไปก็เจอหัวถั่วพู สมาชิกหลายคนได้นำเสนอเรื่องหัวถั่วพูต้ม ซึ่งล่าสุดก็เป็นบล็อกของลุงพี ซึ่งบล็อกเหล่านี้ทำให้ผมสงสัยเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่มาของการต้มหัวถั่วพูวันนี้
หัวถั่วพูที่ขุดได้
มีใหญ่อยู่ 2 หัว
ลองต้มสองหัวใหญ่นี้ก่อน รูปนี้ต้มแล้วนะครับ
ตอนแรกก็ไม่ค่อยกล้ากัด แต่ก็ลองไปทีละนิด สรุปว่าอร่อยดีเหมือนกันแฮะ แต่ตอนดิบๆ นี่กินไม่ลงเลย
- บล็อกของ sothorn
- อ่าน 8052 ครั้ง
ความเห็น
ดาวเรือง
12 มีนาคม, 2011 - 06:06
Permalink
งั้นต้องหาพันธุ์ถั่วพูยักษ์มาปลูกซะแล้ว
อยากลองกินหัวถั่วพูดูว่าอร่อยจริงไหม ใครมีพันธุ์ถั่วพูยักษ์หรือสีม่วง บริจาคด่วนด้วยค่าาาาา
Tui
12 มีนาคม, 2011 - 07:46
Permalink
น่าทานมากครับ ถั่วพู ผม ไป
น่าทานมากครับ ถั่วพู ผม ไป ไม่ถึงไหน เลย ผู้ ใหญ่ ปลูก ตั้ง แต่ หยอด เม็ดจนได้ ทานฝัก ใช้เวลากี่เดือนนะครับ
sothorn
12 มีนาคม, 2011 - 19:23
Permalink
กี่เดือน
เจอคำถามว่ากี่เดือนผมมีปัญหาทุกทีเพราะไม่ได้จด
ต่อไปจะพยายามจดครับพี่ตุ้ย
2s
12 มีนาคม, 2011 - 19:40
Permalink
3เดือน ครับ
คุณค่า ถั่วพู ที่มีค่ายิ่ง อยู่ที่ส่วนเมล็ดแห้ง เท่ากับ ดีกว่า ถั่วเหลือง
แต่เนื่องจากเป็นต้นเลื้อย ทำให้การพัฒนาในเชิงพาณิชย์ทำได้ยากครับ
แต่เป็นพืชผักที่ให้คุณค่ากับคนชนบทสูงมาก
เป็นพืชที่ทุกคนที่บ้านได้ช่วยกัน ปลูก และทำรายได้เจือจุนครอบครัว ตลอดทั้งปี
ถ้าควบคุมเพลี้ยอ่อนได้
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
sothorn
12 มีนาคม, 2011 - 21:00
Permalink
พี่ 2S
เพลี้ยอ่อนยังพอถูไก
แต่เจอเพลี้ยไฟ (สี้ส้มๆ ไม่แน่ใจว่าเรียกเพลี้ยไฟหรือเปล่า) จัดการยากมาก
ตัดทิ้งทั้งค้าง
2s
12 มีนาคม, 2011 - 21:48
Permalink
ครับ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน แม้แต่เพลี้ยแป้งเป็นปึญหาหลักเสมอ
ระบบฉีดน้ำฝอย(หลัก) และแต่งใบช่วยบ้าง(ถ้ามีเวลา ช่วยกัน) ช่วยควบคุมเพลี้ยต่างๆได้กว่า 90% (ดูแลเอง)
เด็กๆ ช่วยแม่เก็บฝักถั่วพูส่วนสูงเกิน(ใช้บันได) และจัดยอดให้เลื้อยลงตาข่าย สูง 3.5เมตร เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพสูง
เป็นพืชผักที่ทำรายได้ จุนเจือครอบครัวได้จริง (พอเพียง)
ปลูกทุกๆ 3เดือน ต่อรุ่น ตอนนี้ปลูกเฉพาะที่บ้านเพราะ สะดวก และใกล้ตลาด ทำให้สด อร่อย ปลอดภัย
แม้จะได้รายได้จากถั่วพู ไม่กี่พันบาทต่อเดือน แต่ก็ได้ทุกๆเดือน ภูมิใจ ทั้งคนซื้อ คนขาย และได้ออกกำลังกาย ช่วยกันทำทั้งครอบครัว
พริกกะเหรี่ยง(พริกหอม) อีก 50-100ต้น (นอกนั้นปลูกผักไว้กินเอง เพราะ เพื่อเป็นการทดสอบวัสดุปลูก)
เวลาเห็น สีดอกถั่วพู ชอบ และภูมิใจมาก ทุกครั้งที่ฉีดน้ำ และเห็นสีดอก ติดฝักก็หายเหนื่อย แม้จะ มีภาระหน้าที่มากมาย
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
ป้าต่าย
12 มีนาคม, 2011 - 08:15
Permalink
หัวถั่วพู
เกิดมาก็หลายเพลาแล้วเพิ่งรู้จากบล็อกลุงพีเหมือนกันว่าถั่วพูมีหัวกินได้...แล้วถ้าเอาหัวไปปลูก...จะขึ้นเหมือนมันเทศมั๊ย...ใครมีฝากลองหน่อยอาจจะเร็วกว่าเม็ดนะ
คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก
กุ้งบางบัวทอง
12 มีนาคม, 2011 - 08:24
Permalink
หัวถั่วพู
นี่ถ้าไม่ได้บล็อกของผุ้ใหญ่ต้องพิมพ์เป็น "ถั่วพลู" แน่ ๆ .....พึ่งรู้ว่ามีหัวเอามาต้มกินได้ด้วย...พี่เพาะถั่วพูเอาไว้ยังอยู่ในกระถางเล็ก ๆ ดีที่ได้เก็บข้อมูลจากน้องผู้ใหญ่ พี่จะได้เตรียมกระถางให้ใหญ่ ๆ ซะแล้ว...
มีความสุขกับการที่ได้ให้มากกว่าการที่ได้รับ
sothorn
12 มีนาคม, 2011 - 19:19
Permalink
ถั่ว พลู ถั่ว พู
ตอนแรกผมก็เรียก "ถั่วพลู" เหมือนกันแหละครับพี่กุ้ง
โพสถามในเวบ ลุงพูนบอกว่า "ถั่วพู" เพราะมันเป็นพูๆ
ก็เลยต้องเปลี่ยนมาเรียกถั่วพูด้วยประการฉะนี้
ลุงพี
12 มีนาคม, 2011 - 10:10
Permalink
หัวถั่วพู
ต้องขอโทษด้วยครับที่ลืมบอกวิธีการต้มไว้ในบล๊อกผม ที่ผู้ใหญ่โสขุดมานั้นต้มได้ทั้งหมดเลย หัวเล็กๆประมาณไม่เกินนิ้วชี้จะอร่อยกว่าครับ ส่วนหัวใหญ่กว่านั้นเราจะทิ้งไว้ให้งอกใหม่ครับ (เพราะไม่ค่อยมีรสชาติ) วันที่หมอน้อยมาพบปะสมาชิกที่ กทม. ผมก็เดินทางกลับมาจากราชบุรี ได้พยายามเสาะหาเพื่อที่จะนำมาให้สมาชิกได้ลองชิมกัน แต่ปรากฏว่าหมดฤดูกาลไปซะแล้ว ลองขุดดูที่บ้านก็เริ่มแห้งเป็นท่อนไม้ไปแล้ว
วิธีการต้ม หลังจากนำหัวมาล้างน้ำทำความสะอาดก็นำไปต้มทั้งเปลือกโดยใส่เกลือเล็กน้อย
วิธีรับประทาน ตามที่คุณแซมเคยเล่าเอาไว้ เป็นวิธีที่เด็กๆปฏิบัติกันคือลอกเปลือกออก หักกลางหัวดึงใส้ออกแล้วค่อยทาน ส่วนผู้ใหญ่สามารถทานได้ทันที(หลังจากแกะเปลือกออกแล้ว)
พอกิน พอใช้ พอใจ คือความหมายของ พอเพียง
หน้า