วงแหวนแห่งไฟ The Ring Of Fire แนวมหันตภัยแผ่นดีนไหว

หมวดหมู่ของบล็อก: 

วงแหวนแห่งไฟ ที่มาของการเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด เนื่องจากอยู่ในรอยเลื่อนของเปลือกโลก แต่ ทว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมากมายนั้น เป็นสิ่งที่ตามมาจากแผ่นดินไหวคือสึนามิ แล้วที่มาจากการเกิดแผ่นดินไหว เกิดจากน้ำมือของมนุษย์เราเองใช่รึป่าวครับ? มาดูข้อมูลกันครับ(ขอขอบคุณข้อมูลจาก เดลินิวส์และวิกีพีเดียครับ)

วงแหวนแห่งไฟ

แนวของวงแหวนแห่งไฟ

วงแหวนแห่งไฟ

วงแหวนแห่งไฟ เมื่อทาบลงบนแผนที่โลก

วงแหวนแห่งไฟ

ประเทศที่อยู่ในแนว วงแหวนแห่งไฟ

“วงแหวนแห่งไฟ” นั้นเป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหว และ “ภูเขาไฟระเบิด” บ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร

ประมาณการว่า 90% ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลก และกว่า 80% ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในบริเวณ “วงแหวนแห่งไฟ”  เป็นส่วนหนึ่งจากเนื้อหาที่มีการระบุไว้ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีโดยสังเขปคือ... วงแหวนแห่งไฟ นั้นเป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหว และ “ภูเขาไฟระเบิด” บ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร วางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟ และบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดย มีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายใน “วงแหวนแห่งไฟ” ทั้งหมด 452 ลูกและเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่เป็นจำนวนมาก มากในระดับกว่า 75% ของภูเขาไฟที่คุกรุ่นทั้งโลก !!


วงแหวนแห่งไฟ เป็นผลมาจากการเคลื่อนที่และการชนกันของแผ่นเปลือกโลก แบ่งเป็นส่วนวงแหวนทางตะวันออก มีผลมาจากแผ่นนาซคาและแผ่นโคคอส ที่มุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้ ส่วนของแผ่นแปซิฟิกที่ติดกับแผ่นฮวนดีฟูกา ซึ่งมุดตัวลงแผ่นอเมริกาเหนือ ส่วนทางตอนเหนือที่ติดกับทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นแปซิฟิก มุดตัวลงใต้บริเวณเกาะเอลูเชียนจนถึงทางใต้ของญี่ปุ่น และส่วนใต้ของวงแหวนแห่งไฟ เป็นส่วนที่มีความซับซ้อนของแผ่นเปลือกโลก มีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กมากมายที่ติดกับแผ่นแปซิฟิก ซึ่งเริ่มตั้งแต่หมู่เกาะมาเรียน่า ประเทศฟิลิปปินส์ เกาะบัวเกนวิลเล ประเทศตองกา และ นิวซีแลนด์ แนววงแหวนแห่งไฟยังมีแนวต่อไปเป็นแนวอัลไพน์ (อีกหนึ่งแนวที่มีการเกิดแผ่นดินไหว) ซึ่งเริ่มต้นจากเกาะชวา เกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย

   
“รอยเลื่อน” ที่ตั้งอยู่บน “วงแหวนแห่งไฟ” นี้ ก็ได้แก่ รอยเลื่อนซานอันเดรียส ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเกิดแผ่นดินไหวเล็ก ๆ เป็นประจำ, รอยเลื่อนควีนชาร์ลอตต์ ทางชายฝั่งตะวันตกของหมู่เกาะควีนชาร์ลอตต์ รัฐบริติชโคลัมเบีย แคนาดา ซึ่งเคยเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ 3 ครั้ง คือ ขนาด 7 ริกเตอร์ เมื่อ ค.ศ.1929  ขนาด 8.1 ริกเตอร์ ปี 1949 (แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในแคนาดา) และขนาด 7.4 ริกเตอร์ ในปี 1970
   
สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นในแนว “วงแหวนแห่งไฟ” นี้ เช่น แผ่นดินไหวคาสคาเดีย ขนาด 9 ริกเตอร์ เมื่อ ค.ศ.1700, แผ่นดินไหวโลมาพรีเอตา ในแคลิฟอร์เนีย, แผ่นดินไหวภาคคันโต ในญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ.1923 มีผู้เสียชีวิตกว่า 130,000 คน, แผ่นดินไหวเกรตฮันชิน ในปี 1995 และอีกครั้งใหญ่ที่เคยบันทึกไว้คือแผ่นดินไหวเมื่อ ค.ศ.2004 บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ขนาด 9.3 ริกเตอร์ ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่มบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะอินโดนีเซียถูกถล่มด้วยคลื่นสูงราว 10 เมตร มีผู้เสียชีวิตรวมราว 230,000 คน  ล่าสุด เมื่อบ่ายวันศุกร์ที่11มี.ค.2011 ญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ครั้งใหญ่สุดอีกครั้งหนึ่งของโลก จากแผ่นดินไหวรุนแรงถึง 9.0 ริคเตอร์ ในทะเลนอกชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ แรงไหวทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิความสูง 10 เมตร พัดกระหน่ำเข้าหาชายฝั่ง ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้าพังพินาศ มีผู้เสียชีวิตบาดเจ็บและสูญหายจำนวนมาก

ทั้งนี้ ประเทศที่ตั้งหรือมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในแนว “วงแหวนแห่งไฟ” ได้แก่ เบลีซ โบลิเวีย บราซิล แคนาดา โคลัมเบีย ชิลี คอสตาริกา เอกวาดอร์ ติมอร์ตะวันออก เอลซัลวาดอร์ ไมโครนีเซีย ฟิจิ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น คิริบาตี เม็กซิโก นิการากัว ปาเลา ปาปัวนิวกินี ปานามา เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน ตองกา ตูวาลู สหรัฐอเมริกา และรวมถึง นิวซีแลนด์ ที่เพิ่งเกิด “วิปโยคแผ่นดินไหว”เมื่อไม่นานมานี้ด้วย


นักธรณีวิทยาประมาณว่า... วันหนึ่ง ๆ โลกเกิดแผ่นดินไหวราว 1,000 ครั้ง แต่ส่วนใหญ่เป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ ทั้งนี้ จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวนั้นมักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกระดับต่าง ๆ ของผิวโลก โดยแผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นจะหนาต่างกัน บางแผ่นหนาถึง 70 กิโลเมตร บางแผ่น เช่น ส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร หนาเพียง 6 กิโลเมตร และแผ่นเปลือกโลกแต่ละแห่งจะมีส่วนประกอบทางกายภาพและทางเคมีที่แตกต่างกัน เมื่อเคลื่อนที่แยก หรือชนกัน ก็จะเกิดการสั่นสะเทือนที่รุนแรงมากน้อยต่างกัน


แต่ประเด็นคือ...แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือตำแหน่งจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว จะอยู่ที่บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก โดยที่ กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจะเกิดรอบ ๆ มหาสมุทรแปซิฟิก หรือที่เรียกกันว่า "วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire)” “วงแหวนแห่งไฟ” มักเป็นพื้นที่ที่เกิด “หายนะใหญ่ต่อชาวโลก” เป็นประจำ ต้องจับตาดูว่าคิวต่อไป คือที่ไหน !!!

ความเห็น

คุณ อ้วน ขอบคุณ สำ หรับ ข้อ มูล ดีๆ ครับ


คุณ อ้วนครับ ยังไง ชื่อ หัวข้อ ต้อง เป็น The ring of fire ครับ ค่อย คุ้น หู หน่อย บ้างครั้ง ผมพิม์ เร็วไ ก็ พิมพ์ สลับ เหมือนกัน ครับ

ใช่ครับ ผมพิมพ์ผิดครับ ขอบคุณที่เตือนครับ

 

ชีวิตที่เพียงพอ ย่อมมาจากชีวิตที่พอเพียง

แล้วแต่ดวงนะครับ..ว่าใครจะพบเจอ(ของเราอยู่ห่างๆแต่ก็ไม่แน่ละครับ)..


       ด. =  เด็กของใคร


      ว. =  วิ่งอย่างไร


      ง. =  เงินถึงมั๊ย


           (จะเกี่ยวกันมั๊ยเนี่ยะ)..555555


ม่ายยยเกี่ยววววว

แบ่งปันน้ำใจส่งต่อกันไป ....ไม่รู้จบ

เห็นเหตุการณ์แต่ละครั้งก็ใจหาย  แต่เป็นภัยธรรมชาติก็ต้องทำใจรับสภาพ 

ตอนนี้รู้สึกหวาดระแวง ไม่อยากให้เกิดขึ้นที่ไหนอีกเลย เห็นภาพ แล้วใจหายมากๆ

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ  หนีไปดาวดวงไหนดีล่ะเนี่ย..อิอิ

แต่ตอนนี้สงสัยจริงๆมันเกิดอะไรขึ้นกับประเทศญี่ปุ่น

แผ่นดินไหว

สึนามิ

กัมมันตรังสี

แล้วล่าสุดภูเขาไฟก็พ่นลาวา

มันเิกิดอะไรกันขึ้น??????

แบ่งปันน้ำใจส่งต่อกันไป ....ไม่รู้จบ

ฝั่งอันดามัน   ใกล้วกว่า  อ่าวไทย  ถึงว่าเราโดนสึนามิแถบนั้น

แล้วประชาชนที่อยู่ในโซนนั้นเค้าจะหนีไปอยู่ไหนกันหนอ?    น่าสงสารเหมือนกันนะ   นึกแล้วก็กลัวว่าน้ำจะท่วมเร็วกว่าที่พยากรณ์กันไว้  หรือพวกเราว่าไงคะ?