กลิ่นบำบัดรักษาโรค

หมวดหมู่ของบล็อก: 

เวลาที่ไปประชุมตามโรงแรมหรือสปามักจะได้กลิ่นหอมๆ ทำให้ผ่อนคลาย นอกจากทำให้ผ่อนคลายแล้ว กลิ่นบางอย่างยังสามารถรักษาโรคได้ ด้วยความอยากรู้ก็ไปค้นข้อมูลมา ทำให้รู้ว่ากลิ่นต่างๆสามารถรักษาโรคได้และมีมานานแล้ว(ขอบคุณข้อมูลจาก น้ําหอม-น้ําหอม.blogspot.com)

สถานสปา

กลิ่นบำบัดโรค



"อโรมาเทอราปี" คุณค่าแห่งสมุนไพรที่มีมาแต่โบราณ อโรมาเทอราปี (Aromatherapy) แปลเป็นไทยว่า "สุวคนธบำบัด" ฟังดูหรูหราไม่ใช่เล่น แปลอีกทีได้ว่า การบำบัดโรคหรืออาการต่างๆ ของร่างกายโดยใช้กลิ่นจากน้ำมันหอม (essential oil) ที่สกัดมาจากส่วนต่างๆ ของพืช ลองคิดถึงการที่เราดมยาดม ยาหม่องหรือยาหอมเวลาวิงเวียนศีรษะ หรือการทาเจลบรรเทาหวัดเพื่อสูดไอระเหยตอนก่อนนอนเมื่อเป็นหวัดคัดจมูก ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของศาสตร์นี้



ผู้บัญญัติศัพท์ "Aromatherapy" ขึ้นมาคือนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อ Rene Maurice Gattefosse ผู้ริเริ่มการวิจัยถึงพลังในการรักษาของน้ำมันหอม หลังจากที่เขาถูกไฟลวกที่มือแล้วจุ่มแผลลงในน้ำมันลาเวนเดอร์ แล้วพบว่ารอยแผลนั้นหายเร็วกว่าปกติ เขาได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับผลการต่อต้านเชื้อโรคของน้ำมันหอมในปี 1937 และบัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมา ทั้งยังนำมาใช้รักษาอาการบาดเจ็บของทหารระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองด้วย จุดประกายให้แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์อีกหลายชาติสนใจค้นคว้าเรื่องนี้อย่างจริงจัง และพัฒนามาเป็นเทคนิควิธีการที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันแม้แต่บ้านเราเอง คนไทยก็นิยมใช้ยาหอม ยาดม เพื่อบรรเทาอาการวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย รวมถึงการอบสมุนไพรภายหลังการคลอดบุตรมานานแล้ว น้ำมันหอม (Essential Oil) พลังสร้างสรรค์จากธรรมชาติพืชพรรณที่มีกลิ่นหอม มักจะมีส่วนประกอบของน้ำมันที่ผลิตขึ้นมาตามธรรมชาติ เก็บไว้ในส่วนต่างๆ เช่น กลีบดอก ใบ ผิวของผล เกสร ราก หรือเปลือกของลำต้น ซึ่งพืชแต่ละชนิดก็จะมีกลิ่นเฉพาะตัวต่างกันไป น้ำมันนี้จะระเหยได้เร็วมาก โดยเฉพาะที่อุณหภูมิ 30-40 องศาเซลเซียส เมื่อได้รับความร้อนจะระเหยออกมาให้กลิ่นหอมอบอวลไปทั่ว ธรรมชาติสร้างสรรค์ให้กลิ่นดอกไม้ช่วยดึงดูดให้แมลงมาช่วยผสมเกสร หรือปกป้องศัตรู เมื่อคนเรารู้จักวิธีการสกัดน้ำมันเหล่านี้ออกมาแยกแยะคุณสมบัติทางเคมีแล้ว ก็น่าอัศจรรย์เมื่อพบว่าหลายชนิดเป็นยาต่อต้านเชื้อโรค แบคทีเรีย หรือเชื้อรา ใช้บรรเทาอาการปวดบวมอักเสบ หรือทำให้จิตใจเบิกบาน ระงับความกังวลได้ โดยขึ้นอยู่กับน้ำมันหอมแต่ละชนิด



วิธี การในการสกัดน้ำมันหอม มีหลายวิธี เช่น การกลั่น การสกัดด้วยน้ำมัน การสกัดด้วยแอลกอฮอล์ การคั้นด้วยแรง และการสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เหลว เป็นต้น ครั้งหนึ่งๆ ต้องใช้ดอกไม้ หรือใบไม้จำนวนมากเพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำมันไม่กี่หยด ทำให้หัวน้ำมันหอมมีความเข้มข้นสูง และราคาค่อนข้างแพง อย่างที่เห็นวางขายในขวดสีชากรองแสงขวดเล็กๆ มีหลากหลายกลิ่นให้เลือก ลักษณะน้ำมันนี้ไม่ได้เป็นมันหรือทิ้งคราบมันอย่างน้ำมันทั่วไป เพียงแต่ไม่สามารถผสมเป็นเนื้อเดียวกับน้ำได้ และจะรวมตัวได้ดีกับน้ำมันพืช ดังนั้นเวลานำมาใช้ทำอะไรก็ตาม จะต้องทำให้เจือจางเสียก่อน หากนำมานวดผ่อนคลายตัวมักจะต้องผสมกับน้ำมันพืชบริสุทธิ์ (base oil) อย่างเช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน น้ำมันโจโจ้บา น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย เป็นต้น นอกจากน้ำมันนวดแล้ว ก็ยังสามารถใช้หัวน้ำมันหอมเพียงไม่กี่หยดมาผสมกับน้ำ หรือปรุงกับครีม แชมพู สบู่ เจลอาบน้ำ ฯลฯหลากกลิ่น...หลายอารมณ์ความรู้สึก กลิ่นหอมของน้ำมันหอม อาจแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ได้ดังนี้



กลิ่นส้ม ให้ความรู้สึกสดชื่นและสะอาด ได้จากพืชในตระกูลส้ม



กลิ่นเครื่องเทศ ให้ความรู้สึกหนัก หวาน และลึก ได้จากเครื่องเทศต่างๆ เช่น อบเชย กานพลู



กลิ่นดอกไม้ ให้ความรู้สึกอ่อนหวาน นุ่มนวล ได้จากดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมต่างๆ เช่น กุหลาบ มะลิ พิกุล แก้ว



กลิ่นป่า ให้ความรู้สึกแห้งและเบาสบาย ได้จากน้ำมันจากเนื้อไม้ต่างๆ เช่น น้ำมันสน



กลิ่นสมุนไพร เป็นกลิ่นของเมนทอล และกลิ่นสีเขียวของใบไม้ ได้จากน้ำมันโหระพา กระเพรา สะระแหน่ ตะไคร้


กลิ่น หอมจากพืชพรรณเหล่านี้มีผลต่อจิตใจ และอารมณ์ความรู้สึกของคนมาก เมื่อเราสัมผัสกับกลิ่นด้วยการสูดไอระเหย การนวดน้ำมันบนผิวเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การทาครีม เจล หรือแม้แต่การอาบน้ำหรือแช่น้ำที่ผสมน้ำมันหอม หรือกิจกรรมใดๆ ก็ตาม โมเลกุลของกลิ่นหอมจะผ่านเข้าไปทางจมูก ไปกระตุ้นเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่อยู่ในโพรงจมูก ทำให้เกิดกระแสประสาทวิ่งไปยังศูนย์รับรู้กลิ่นในสมอง แล้วผ่านไปยังส่วนของสมองที่เรียกว่า ลิมบิกซิสเต็ม (limbic system) ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมการเรียนรู้ ความจำ อารมณ์ ความหิว และอารมณ์ทางเพศ กลิ่นที่เข้ามากระตุ้นลิมบิกซิสเต็ม จะทำให้สมองปล่อยสารเอนดอร์ฟิน (endorphins) เอนเซปฟาลีน (encephaline) และเซโรโทนิน (serotonin) ออกมา เอนดอร์ฟินจะช่วยลดความเจ็บปวด เอนเซปฟาลีนจะส่งเสริมให้มีอารมณ์ดี และเซโรโทนิน จะช่วยให้สงบเยือกเย็น และผ่อนคลาย ดังนั้นอโรมาเทอราปี จึงถูกนำมาใช้ในการคลายความเครียด เหนื่อยล้า และโรคนอนไม่หลับได้ กลิ่นต่างๆ มักจะนิยมใช้ในสปา สำหรับนวดตัว หรือจุดให้หอมระเหยสร้างบรรยากาศ ที่พบได้บ่อยๆ เช่น


กลิ่น ลาเวนเดอร์ มาจอแรม คาโมไมลด์ และดอกส้ม จะช่วยทำให้ง่วง นอนหลับสบาย จึงนำมาใช้บำบัดอาการเครียด นอนไม่หลับ โกรธ กังวล รำคาญ และความดันโลหิตสูง ทำให้ร่างกายผลิตเซโรโทนิน ทำให้ใจสงบ


กลิ่นกุหลาบ และคลารี่เสจ ไปกระตุ้นทาลามัส และการผลิตเอนเซปฟาลีน ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ตึงเครียด
กลิ่น เปปเปอร์มินท์ และโรสแมรี่ ช่วยกระตุ้นการผลิตอะดรีนาลิน ทำให้มีพลังงานมากขึ้น จิตใจเบิกบาน และลดการเหนื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจ


กลิ่น เจราเนียม จะช่วยปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายให้เข้าสู่สมดุล ซึ่งจะทำให้จิตใจเป็นปกติ จึงมีประโยชน์กับสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มักจะมีอารมณ์ปรวนแปร หดหู่ เศร้าหมอง


ยูคาลิปตัส (Eucalyptus) หรือ คาเจพุทธรักษา (Cajeput) สามารถใช้หยดบนผ้า สำลี หรือในอ่างน้ำร้อน แล้วสูดดมไอ แก้อาการหวัด หรือแพ้อากาศได้ จึงพบเสมอในยาดมที่ใช้กันแพร่หลาย


บาง ชนิดเหมาะสำหรับการทาผิวเพื่อบำรุงผิวพรรณ เช่น ทีทรี (Tea Tree) ลาเวนเดอร์ (Lavender) เทอเมอริค (Turmeric) จึงนิยมนำมาผสมกับครีม หรือเจลสำหรับการอาบน้ำ


เฟนเนล (Fennel) เกรปฟรุ้ต (Grapefruit) ใช้ทาผิวเพื่อลดไขมัน


สำหรับน้ำมันหอมจากพืชพรรณไม้ของไทยที่น่าจะผลิตใช้ได้เองในเมืองไทยได้แก่


น้ำมันตะไคร้หอม (Citronella Oil) ใช้ทาผิวเพื่อกันยุง สามารถทำเป็นสเปรย์พ่นด้วยการนำมาผสมกับน้ำบริสุทธิ์


น้ำมันดอกโหระพา (Sweet Basil Oil) ช่วยป้องกันการติดเชื้อ ไล่แมลง บรรเทาอาการปวดต่างๆ รวมทั้งโรคเก๊าท์ และยังช่วยลด


อาการเครียดกระวนกระวายทำให้อารมณ์สดชื่นขึ้นจากความเหนื่อยล้าการใช้ต้องระวังเพราะอาจระคายเคืองต่อผิวหนังได้ง่าย


น้ำมัน ขิง (Zingiber officinale) และน้ำมันพริกไทยดำ (Black Pepper Oil) ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและรูมาติซั่ม โดยทำเป็นน้ำมันนวดประคบ นอกจากนี้ยังบรรเทาอาการเครียด กระวนกระวาย เหนื่อยล้า และทำให้เกิดอาการตื่นตัว อบอุ่น อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำมันขิงต้องระวังให้ใช้ขนาดน้อยๆ เพราะจะระคายเคืองต่อผิวหนังได้ง่าย และห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์


น้ำมัน จันทน์ (Sendalwood Oil) ให้ความชุ่มชื่นแก่ผิวหนังที่แห้ง และผมที่เสีย นอกจากนี้ยังช่วยให้จิตใจผ่อนคลาย สงบ สร้างความสดชื่นให้กับจิตใจที่กำลังหดหู่และช่วยทำให้นอนหลับสบายห้ามใช้ใน หญิงมีครรภ์และอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง


น้ำมัน กระดังงาไทย (Ylang Ylang Oil) ช่วยเสริมการงอกงามของเส้นผม บำบัดอาการจากแมลงกัดต่อย และใช้กับสิว ป้องกันการติดเชื้อและการกระจายตัวของเชื้อโรค ใช้กับผิวหนังได้ทุกชนิด ในทางจิตใจ ช่วยบรรเทาอาการจิตใจหดหู่ เครียด และการนอนไม่หลับ รวมถึงอาการโกรธ กระวนกระวายใจ ทำให้สดชื่นและผ่อนคลายมากขึ้น การใช้ต้องระวังไม่ใช้ในขนาดเข้มข้นกับคนที่ป่วยเป็นความดันโลหิตสูง เพราะจะทำให้คลื่นไส้และปวดศีรษะได้


น้ำมันดอกมะลิ (Jasmine Oil) ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลาย ตื่นตัว ไม่หดหู่เศร้าหมอง


น้ำมัน มะกรูด (Bergamot Oil) ช่วยป้องกันการติดเชื้อ บำบัดอาการผื่นแดงของผิวหนัง และยังช่วยให้จิตใจสงบ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี และหลับสบาย


การ จะนำหัวน้ำมันหอมที่มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไปมาผสมใช้เอง ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันนวด ครีม แชมพู หรืออื่นๆ ควรศึกษาวิธีการและได้รับคำแนะนำอย่างจริงจังจากผู้เชี่ยวชาญ เพราะการใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมอาจเกิดผลเสียต่อร่างกายแทนที่จะเป็นผลดี ได้ ต้องระวังไม่สัมผัส หรือสูดกลิ่นของหัวน้ำมันนั้นโดยตรงเพราะมีความเข้มข้นสูง ทำให้อาจเป็นอันตรายต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อจมูก จึงต้องนำมาเจือจางก่อนใช้เสมอ นอกจากนี้น้ำมันหอมจากพืชตระกูลส้มทุกชนิดหรือน้ำมันมะกรูด อาจมีปฏิกิริยาต่อแสงแดดทำให้เกิดการแพ้ได้ง่าย ใครที่คิดใช้น้ำมันหอมในกลุ่มนี้ทาตัวทาผิวก็ไม่ควรออกไปเดินตากแดด อาจเกิดแพ้แดดขึ้นมาได้โดยไม่รู้ตัว ควรระวังไว้ก่อนเป็นดี

 

ความเห็น

ชอบหลายกลิ่น  เคยไปเรียนนวดน้ำมันอโรมาเธอราพี่(นวดแผนสวีเดน)ด้วย  ชีตยังไม่ละเอียดเหมือนบล็อกนี้เลยค่ะ

:admire2: ได้ความรุ้มากค่ะ  ชอบกลิ่นของส้มมาวางในห้องนํ้าและที่ล้างหน้าค่ะ

จะรู้สึกสดชิ่นดีมากค่ะ

ขอบคุณ สำหรับ ข้อมูล ครับ

กลิ่นส้มก็ชอบ  มะกรูดก็ได้ใช้มั้ย

เป็นครูกันคนละอย่าง..อิอิ...ชอบลาเวนเดอร์ค่ะ...คลายเครียดได้เป็นอย่างดี

สำหรับบรรดาสว.ทั้งหลาย

แบ่งปันน้ำใจส่งต่อกันไป ....ไม่รู้จบ

เพราะเราเป็นครูคนละอย่าง ความรู้จึงมีไว้แบ่งปันกันครัย

 

ชีวิตที่เพียงพอ ย่อมมาจากชีวิตที่พอเพียง

ชอบกลิ่นมะกรูดค่ะ หอมโล่งจมูกดี ถ้าเป็นดอกไม้ก็ชอบกลิ่นดอกมะลิ ดอกกุหลาบ ดอกกล้วยไม้ป่า