หัวไชเท้าดำ งามขำเป็นยา

หมวดหมู่ของบล็อก: 

สวัสดีครับทุกท่านอย่างที่ทราบกันผมมีพื้นที่สวนครัวเล็กๆ แต่ก็พยายามปลูกอัดพืชผักที่น่าสนใจและเหมาะกับสภาพธรรมชาติที่บ้าน เช้านี้ทำสวนเห็นหัวไชเท้าดำที่ได้เวลาเก็บพอดีครับ เลยถ่ายรูปมาให้ชมกัน ลงแต่ภาพอย่างเดี๋ยวกลัวเพื่อนสมาชิคไม่ได้ประโยชน์ เลยหาข้อมูลทั่วๆไปมาเสนอด้วย หาไปมาเลยสะดุดใจที่ว่าหัวไชเท้าเปลือกดำนี้ มีสรรพคุณทางยาด้วย อดรนทนไม่ไหวเลยรีบเขียนบล็อกให้ชมครับ



ไชเท้าเปลือกดำนี้ มีสองแบบครับ แบบกลม กับแบบยาว แบบกลมแป้นทรงเดียวกันกับเรดิชแต่หัวใหญ่กว่า และแบบพันธ์อวบยาวอย่างที่ผมปลูก


พันธ์ยาวหรือ กลมนั้นก็ เป็นพันธ์ดั้งเดิมครับ มีชื่อทางพฤกษาศาสตร์ว่า Raphanus niger มีบันทึกไว้ในยุโรป ตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๕๔๘ นั่นก็ หยามความว่าเราเก็บเมล็ดต่อได้ครับ ไชเท้าดำชอบอากาศหนาวครับ และแน่นอนครับ ชอบดินปนทราย ผมปลูกเป็นปีแรกก็มีผิดพลาดให้เรียนรู้ครับ ครั้งนี้ปลูกไชเท้าดำตอนหน้าร้อน ปลูกไว้ยี่สิบต้น ตายหมดรอดมาสองต้น พอได้ความหนาวงามทันตา ยิ่งหนาวยิ่งแตก ด้วยความที่กลัวเขาแก่เกินทาน พอชงอใจกลางใบเริ่มถี่แน่น จะเก็บเลยครับ เพราะถ้าออกดอกเมื่อไหร่เนื้อแห้ง ไม่ฉุนกรอบแล้วครับ เก็บอ่อนไป ก็ เผ็ดหวานไม่ได้ที่ ของแบบนี้ต้องลองปลูกเองครับจะเข้าใจมากขึ้น


ภาพแรกอยู่ในสวนครัวหลังบ้านครับ รอดตายเพราะได้เถาว์มันเทศฮาวาย คลุมแดดให้ พอหนาวเข้าก็แตกใบ และลงหัว ใบเขาใหญ่ไม่สมส่วนกับหัวครับ(ปลูกดีๆจะไม่เป็น) และที่เอียงกระเท่เร่ ก็มาจาก แย่งแดดกันครับ แออัดมากสวนผม  ใช้เวลาปลูกทั้งหมด๕เดือนครับถือว่านานมาก ไชเท้าจะใช้เวลา สามเดือนตามที่ปลูกเมื่อปีที่แล้ว จะเห็นได้ว่า ปลูกไม่ตรงฤดู จะมีผลเสียเยอะครับ ทั้งผลพลิตต่อแปลงน้อย และ ระยะเวลาการปลูกยามนาว รวมถึงคุณภาพของผักด้วย เขียนแบบนี้ไม่ได้เก่งนะครับลองผิด ลองถูกมาก็ไม่นาน แค่ปลูกไชเท้าขาวได้ผลดีติดกันมาสองปี เลยกล้าเอามาบอกยังไงให้ฟังหูไว้หูครับผมไม่ใช้ผู้รู้ ไชเท้าดำของผมนั้นที่รอดมาได้สองต้นถือว่าเป็นบุญจริงๆครับ วันนี้เก็บต้นแรกก่อน อีกต้นดูท่าจะโตได้อีกครับ เลยปล่อยใหญ่ให้ลงหัวอีกหน่อย  ใบไชเท้าดำที่เห็นก็ทานได้นะครับ กรอบอร่อยดีเหมือนก้านใบไชเท้าขาว



มาเข้าเรื่องสรรพคุณทางยา แปลมาจากเวปนี้ครับ http://www.dietobio.com/aliments/en/radish.html  เขาว่าไม่ค่อยมีคุณค่าทางอาหารเท่าไหร่ แต่มีคุณค่าทางยามากหน่อยครับ ไชเท้าดำมีวิตามินซีสูงครับ แต่อย่าตื่นเต้นนะครับ เพราะ วิตมินซีสูงอย่างไรถ้าไม่ทานสดๆ และดิบๆ เอาไปทำสุกวิตามินซีก็หายเยอะเหมือนกัน แปลต่อมาครับ ที่น่าสนใจคือไชเท้าดำมีไวตามินบี และธาตกำมะถันครับ ซึ่งผักไม่กี่อย่างให้ เขามีเส้นใยสูงช่วยในการขับถ่ายครับ


และมีสารฆ่าเชื้อในลำใส้ด้วยอันนี้ไม่แน่ใจว่าดีหรือเปล่า เพราะเราต้องการเชื้อดีๆในลำใส้เสมอ ต่อมาไชเท้าดำมีผลต่อถุงน้ำดีครับ เขามีสารเคมีบำรุงถุงน้ำดี และ กระเพาะปัสสะวะ แต่คนมีปัญหาเรื่องกระเพาะปัสสวะ เช่นเป็นนิว และโรคตับ ควรบริโภคแต่น้อยครับ น่าจะเกี่ยวกับ การได้รับสารบำรุงมากไปไม่ดี หรือจะเป็นโทษเอานะครับ


ครับและสุดท้าย น้ำคั้นสดจากไชเท้าดำนี้ เป็นยาบำรุงและแก้ไอครับ วิธีใช้เป็นยาเขาไม่ได้บอกไว้ แต่แนะนำเวลาเอามาทานเป็นอาหารครับ คือปอกเปลือกออกแล้วทานสด หรือหมัก เกลือและครีมก่อน เพื่อช่วยรดความเผ็ดฉุ่นขม ตามลิงค์ในข้างต้นมีตารางสารอาหารด้วยครับ ใครสนใจดูเล่นๆก็ไปอ่านเพิ่มได้ครับ



เรื่องรสชาติครับ เผ็ดฉุนกว่าไชเท้าทั่วไป แต่กรอบอร่อยดีไม่ขมขื่นครับ เจ้ของผมคงเอาไปดองหวานเย็นตามเคยครับ


มีความสุขกับวันทำงานครับ


เจอกันบล็อกหน้าครับ


ตุ้ย

ความเห็น

ดูเนื้อในผ่อง...ท่าทางอร่อยแน่เลย...ชิมมั่งนะ

ชีวืตที่เพียงพอ..

พี่น้อย ครับ ไม่ต่างจากเปบือก ขาวมากเท่าไหร่ นะครับ ดี ที่ผม เก็บขณะกำลังดีไม่อ่อน ไม่แก่ นะครับ แก่มาก ก็ แห้ง ไม่อร่อย ครับ

ขอบคุณคุณตุ้ย...เอาของแปลกมาให้ดูอีกแล้ว...สรรพคุณเยอะซะด้วย

ไม่มีปัญหาครับ คุณ อัญ บางอยากแปลก ปลูกไม่ได้ ก็ มี อันไหน ปลูกได้ ก็ ปลูกเอามาให้ชมครับ

ดูครั้งแรกนึกว่าหัวไชเท้าโดนขี้เถ้าชะอีก แปลกดีค่ะ

เหนด้วยครับ คุณ อวยพร ปลูกผักน่าสนใจแบบนี้ก็ ดี นะครับ เพลินดี

ชอบมากๆๆๆๆๆ และตามมาให้กำลังใจครับ พร้อมหนึ่งโหวต

 


เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

ยินดี ที่ชอบกันครับ คุณ 2s ผมนั้น ว่าจะลงไชเท้าญี่ปุ่น หนาวนี้ พอมาเห็น สรรพคุณ สี ดำ ก็ อยาก ลงสีดำแทน ทั้งสองอย่างชอบ หนาวเหมือนกัน อยากเห็นผลครับว่า ปลูก ถูก ฤดู จะออกมาเป็น อย่างไร

เพิ่งเคยเห็นนี้แหละครับ หัวไชท้าวดำแปลกดีและก็เป็นยาด้วย ขอบคุณมากครับสำหรับวิทยาทาน


ดีใจที่ชอบ กันครับ ข้อมูลก็ หา แปลมาไม่ได้ลำบากอะไร เลยครับ แค่รู้ว่ามี ประโยชน์ ผม ก็ มี ความสุขใจ

หน้า