กินดี มีสุข ตอน ทะเลสาบคือ ชีวิต ๒.

หมวดหมู่ของบล็อก: 

                          

  บันทึกเรื่องราวชาวเลพื้นที่อำเภอเขาชัยสน และบางแก้ว จ.พัทลุง ได้มาด้วยการไปใช้ชีวิตร่วมกับชุมชนระหว่างวันที่ ๓๐ พค.- ๑มิย.ที่ผ่าน พรานทะเล มีชีวิตอยู่กับทะเลตั้งแต่เกิดจนวันตาย(ไม่ต่างชาวป่าหรือพรานไพร)และชาวนา มีเรือประมงขนาดเล็กทำขึ้นจากภูมิปัญญาใช้ไม้ตะเคียนมาขุดเป็นเรือและใช้น้ำมันต้นยางนามาประสานไม่ให้น้ำซึมเข้าเรือ  ชาวเลพื้นบ้านต้องออกเรือต้งแต่ตอนเย็นเพื่อวางแหอวนใช้เวลา ๓-๔ ชั่วโมง แล้วกลับมานอน  ตื่นตี ๓ ออกเรือไปลากอวนซึ่งจะได้ปลาติดมากับอวนกลับขึ้นเรือ แล้วมานั่งปลดปลาจากอวน หากได้ปลาตัวใหญ่เช่นปลากด ปลาตะเพียน ก็จะแยกขายสดๆ ถ้าได้ปลาตัวเล็กๆปลาสมรม(หลายชนิด) ส่วนใหญ่ทำปลาแห้งปลาเค็มไว้ส่งแม่ค้าในตลาด ชีวิตเป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยไป

             

   ทิวเขาข้างหน้าคือเกาะใหญ่ อ.กระแสสิน จ.สงขลา ฝั่งตรงข้ามคือแหลมจองถนน อ.เขาชัยสน และบางแก้วมีทั้งเลทั้งนาข้าว สองฟากฝั่งห่างกันประมาณ๖๐ กิโลเมตร ระดับน้ำลึก๒-๓เมตร

                   

ต้นลำพู(คู่หิ่งห้อย)สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของแม่เลสาบ เท่าที่เห็นยังหนาตากว่าฝั่งสงขลา รากลำพูเป็นกำแพงตามธรรมชาติอยู่ชายฝั่งและเป็นที่หลบภัยของปลาหลายชนิด 

รากลำพูขนาดใหญ่เนื้อเนียนน้ำหนักเบา ใช้ทำไม้กวนขนม ไม้เคี่ยวน้ำตาลโตนด

กระชังเลี้ยงปลาดุก ปลากระพง เราจะเห็นมากที่เกาะยอ สงขลา เพราะต้องส่งปลาให้ร้านอาหารและโรงแรมต่าง

พัทลุงมีน้อยเพราะกิจการโรงแรมน้อยกว่า อย่างไรก็ตามการเลี้ยงปลาในกระชังก็เป็นวิธีคิดที่เอาแต่ได้ โดยไม่คำนึงถึงเรื่องที่ทำให้เกิดของเสียที่ทำให้แม่เลสาบป่วยไข้

น้านึกกับเมียกลับเข้าฝั่งตอนเจ็ดโมงเช้า ลากอวนเกือบสี่สิบหัวได้ปลาขาวตัวน้อย เช้านี้ได้ประมาณ ๒๐กิโล ขายส่งกิโลละ๒๐-๒๕บาท แม่ค้ารับไปตัดหัวทิ้งเอาขี้ปลาออกแช่น้ำแข็งขายในตลาดราคา๕๐-๖๐บาท

ชาวเลแท้หน้าตาผิวพรรณเช่นนี้ กรำแดด ลม ฝน ตลอดปีด้วยหัวใจชีวิต..ต้องสู้

แม่ศรี ขายปลาขายขนมสาคูต้นกวนส่งลูกเรียนได้เป็นครู๓คนลูก๕คน ทุกวันนี้ยังขายขนมขายผักที่ปลูกข้างบ้าน เราจัดเวทีกินดีมีสุขขึ้นที่บ้านแม่ศรี เพราะแม่เป็นที่รู้จักในนามคนขยันสู้ชีวิตอย่างชาวเล

พี่แดงกำลังซ่อมข้าวนาปรัง คนนี้ยอดฝีมือแกงส้มปลาหัวโม่งรสกลมกล่อมอย่างไรขอให้ผู้ใหญ่โสช่วยบอกคร๊าบ

หลากหลายชีวิตชาวเลที่บางแก้ว เขาชัยสนวันนี้ยังอยู่กับการแก้ปัญหาปากท้องวันต่อวัน อย่างไม่มีทางเลือกหรือโอกาสอื่นๆต่างกับชาวทะเลน้อยที่มีทางเลือกเพิ่มในการขายของหรือบริการด้านท่องเที่ยวบ้าง

แต่พบว่าสิ่งชาวเลมีไม่น้อยไปกว่าพวกเราชาวสวนพอเพียงคือ มิตรภาพและการให้ต่อเพื่อนพี่น้องร่วมสุขทุกข์ ส่วนเมนูกินดีมีสุข หน้าตารสชาติอย่างไรบ้าง ขอรอดูจากบล๊อกแจ้ว โสทร น้องต๊อก นะจ๊ะ หลับสบายด้วยหัวใจที่วางและว่างจากภาระกิจชีวิตทั่วกันค่ะ

ความเห็น

ทุกชีวิตดิ้นรน เพื่อปากท้อง ไม่มีวันสิ้นสุด หยุดเมื่อใดก็หลับสบาย ไม่ต้องดินรนแล้ว ดิ้นรนมากหรือน้อยอยู่ที่ความอยากของท้องแต่ละคน อนิจจัง

ชาวเลฝั่งอันดามัน มีทางเลือกหารายได้พอสมควรเพราะเมืองท่องเที่ยว


อย่างไรก็ตามขอให้เพื่อนมนุษย์เมตตาต่อกันและกันแบ่งปันให้กัน

ได้เรียนรู้บรรยากาศ...จากท้องถิ่น...ที่นับวันจะหายาก.... เป็นโชคดีที่มีพี่ ช่วย นำมาให้ ทุกคนได้เรียนรู้...


เพื่อที่จะได้นำมาปรับใช้กับชีวิตปั๗บันที่นับวันจะเป็นสังคมเมืองกันมากขึ้น

ชีวืตที่เพียงพอ..

พูดให้ตรงคือใช้มือใช้ตีนเต็มที่ ชีวิตจึงเรียบง่าย แต่คนรุ่นใหม่ใช้ฐานสมองคิดเป็นหลัก ไม่ลงมือทำ


ความอดทน ความเรียบง่ายพี่เองได้เรียนรู้จากตรงนี้

เห็นบรรยากาศน่าสนุกครับ ปลาสดๆจากทะเลสาป ไม่ต้องซื้อ พึ่งพาตนเอง 

ชาวเลหาปลาได้อย่างเดียวจริงๆ ไม่มีที่ปลูกผักกินหรือทำอื่นๆเลยน้อง แต่ชีวิตทุกวันรายจ่ายมากโดยเฉพาะเรื่องลูกหลานเรียนหนังสือ

คิด อยู่ในใจ ว่าพี่หยอย หายไปไหน พี่หยอยครับ อ่านเรื่องชาวเล แบบนี้แล้วสุขใจดีครับ อยู่กับธรรมชาติ อาหารการกินก็ มากจากธรรมชาติ สบายเลย


พี่หยอยครับ ผมส่งของไปให้ พี่หยอย น่าจะถึงแล้วนะครับ ถ้ายังไม่ได้รับ รบกวนพี่ติดต่อที่ไปรษณี ด้วยครับ เป็นห่วง อยาก ให้ ของถึงมือพี่ครับ

ขอบคุณมากๆๆคร๊าบ

มาเสียดึกเชียว  คนหนุ่มสาวเขาไม่อยู่แล้ว  ดึก ๆ จะมีแต่ สว.ไม่กี่คนจ้า


อาชีพชาวเลไม่แน่ไม่นอน  หาปลาได้มากหรือน้อยกำหนดไม่ได้  แล้วแต่ดวง


และดิน ฟ้า อากาศ  ย่าตอนและน้อง ๆ ไม่มีใคร ทำอาชีพเดิมของพ่อแม่เลย


สักคนเดียว เพราะมันยากลำบากแสนเข็ญ  บางวันจับปลาได้มากขนกลับไม่หมด


บางวันกะลาเดียวยังไม่ได้เลยค่ะ 

เรื่องใหญ่คือการศึกษาของลูกหลานชาวเลค่ะ หน้าที่หยอยพยายามนำเสนอเรื่องราวให้ชัดและตรง เพื่อให้บุคคลและหน่วยงานต่างๆเข้าไปสัมพันธ์ให้เกิดประโยชน์ และช่วยเหลือเกื้อกูลกันต่อไปค่ะย่าตอน

หน้า