กลับมาเถอะ...ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

หมวดหมู่ของบล็อก: 

บทบาทการทำงานที่ทำอยู่ปัจจุบัน มีหน้าที่ในการส่งเสริมให้ผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กรต่าง ๆ หันมาสนใจ และเข้าใจ ในแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ ฯ พอจะมีงบประมาณให้มาเพื่อทำกิจกรรมบ้าง ในสนับสนุน ส่งเสริม

แต่...เมื่อไปพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมาย(จัดเวที) พาไปทัศนศึกษาดูงาน มาพอสมควรแล้ว ก็ยังหวั่น ๆ อยู่ว่า เราจะปลุกกระแส การกลับมาของ วิถีชีวิตแบบเดิม ๆ +สิ่งใหม่ที่เหมาะสม พอประมาณ ตามศักยภาพของแต่ละครัวเรือนได้อย่างไร บางครัวเรือนก็ตื่นตัวอย่างเห็นได้ชัด บางครัวเรือนก็ยังห่างไกลเหลือเกิน แต่ไม่เป็นไร บ้านสวนพอเพียง ฯ ยังทำได้ แล้วทำไมนักวิชาการพัฒนาชุมชน ที่คลุกคลีอยู่งานในชุมชน เป็นลูกหลานของชาวชนบทอย่างแท้จริง คนนี้...จะทำไม่ได้ ก็ให้มันรู้ไป แต่ที่แน่ ๆ นอน ๆ บ้านสวนฯ แห่งนี้ เป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญ ในการทำงาน ที่อยากจะทำอยู่พอดี

นี่คือแรงจูงใจอย่างหนึ่ง...นอกจากการพูดคุย แลกเปลี่ยนและ ดูงาน สำหรับครัวเรือนต้นแบบ 30 ครัวเรือน ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ หากท่าน สมช.ท่านใดมีข้อแนะนำดี ๆ ก็ขอคำแนะนำด้วยนะคะ

ได้ต้นไม้แล้วอย่าเพิ่งกลับ มาสร้างภาพกันหน่อย เร้วววว

ผักเหมียง ที่บ้านครัวเรือนต้นแบบ ปลูกเป็นแนว บ้านหลังนี้ ปลูกสมุนไพรหลายชนิดไว้รอบ ๆ บ้าน

ออกจากหมู่บ้าน มาดูหลังที่ว่าการอำเภอบ้าง มีอะไรให้ดูชมบ้าง

 ทานตะวัน การบ้านจากครูอวยพร มาปลูกไว้หลังอำเภอนี่เอง ตอนนี้ออกดอกทุกต้นเลยค่ะ...คุณครู ตอนปลูก...แค่เอาเมล็ดไปจิ้มดินรอบโคนต้นปูเล่ (แอบปลูก)

บ่อปลาดุก(พลาสติก)พี่เริญ ภารโรง ตักน้ำมารดผักเกือนทุกวัน(ปุ๋ยน้ำปลาดุกเป็นผู้ผลิต) พี่เริญบอกว่า จะเก็บเมล็ดทานตะวัน ไว้ปลูกต่อ ถึงวันนั้น หลังอำเภอคงจะสวยมาก

จบด้วยภาพมะเขืออ้อร้อ...จะเก็บเมล็ดสะสมไว้ทำพันธุ์ ใครสนใจบอกได้นะคะ

ความเห็น

เป็นกำลังใจให้่คะ :cheer3: :cheer3:

สาวภูธร แวะมาคนแรกเลย ขอบคุณนะคะ

อยากเห็นทุ่งทานตะวันหลังอำเภอ...ต้องสวยแน่ๆเลย

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

ทุ่งตะวันหลังอำเภอ เป็นไปได้สูงมาก เมล็ดที่คุณอวยพรส่งมาให้ ยังพอมี คิดว่าจะเอาไปปลูกกับพี่เริญ ภารโรงที่ขยันมาก ๆ

ต้องพยายามถอดหมวก นักวิชาการพัฒนาชุมชนออกไป เวลาลงหมู่บ้าน แต่อยู่อำเภอให้ใส่ใบโตๆเลยน้อง


ทำเรื่อยๆแต่กัดไม่ปล่อย พี่หยอยไปเขาปู่ไม่ได้วางแผนอะไรเลย เพียงแต่เปิดใจรับและเรียนรู้เรื่องราวดีๆ ข้างทางทั้งหมด เรื่องร้ายๆไม่ข้องแวะ เพียงแต่ผ่านไปอย่างวางใจเป็นกลางๆ 

สรเป็นคนในพื้นที่ ส่วนใหญ่คนในตำบลที่สรรับผิดชอบจะรู้จักว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร และสรก็รู้จักพวกเขาดี ตอนนี้กระแสพึ่งพาภายนอกแรงมาก ตอนเช้าเด็ก ๆ กินข้าวกล่อง ที่ร้านค้าหน้าโรงเรียน ผู้ปกครองเด็ก ซื้อพริก มะนาว บวบ ฟักเขียว และผักต่าง ๆ ไปทำอาหาร เป็นภาพที่ชินตาในช่วงหลัง ๆ นี้ เมื่อก่อน เกือบทุกครอบครัวปลูกผักเหล่านี้ในไร่ ในร่องสวนยางพารา และรอบ ๆ บ้าน ถึงแม้จะเลิกทำนาไปก่อนหน้านั้นก็ตาม แต่ตอนนี้...กลับละทิ้งสิ่งดี ๆ ที่เคยทำไปเกือบหมด สรเริ่มต้น...ที่ครอบครัวตัวเองก่อนเมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว โดยการชักชวนแม่ ให้หันกลับมาใช้วิถีชีวิตแบบเดิม ๆ แล้วก็ทำสำเร็จ ตอนนี้รอบ ๆ บ้าน มีผักเกือบทุกชนิดที่กิน และมีเครือข่ายเพื่อนบ้านและผู้นำ ที่ทำเหมือน ๆ กัน มีอยู่เกือบทั่วอำเภอ เวลาจัดเวที พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องนี้ ก็เลยพูดได้เต็มที่ เพราะทำเองเกือบทุกเรื่องที่พูด ส่วนเรื่องที่ไม่ถนัดจะเชิญวิทยากรภายนอก พี่หยอยจะให้เกียรติมาเยี่ยม หมู่บ้านที่สรกำลังดำเนินการอยู่สักครั้งมั๊ยละคะ

มาเป็นกำลังใจให้จ้า    ว่าแต่มะเขืออ้อร้อ เป็นยังไงน้อ :confused:

ที่อื่นเขาเรียกมะเขือตอแหลหรือเปล่า สรไม่แน่ใจค่ะ...ต้นเล็ก ๆ เตี้ย ๆ แต่ดันมีลูก แถวบ้านจะเรียกว่า"อ้อร้อ"

เอาใจช่วยนะครับพี่ ทั้งปูเล่ทานตะวันงามไม่แพ้กันเลยครับ


ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่มีให้ พี่ก็ขอส่งกลับให้น้องบ้างนะคะ:cheer3::cheer3::cheer3:ไป กทม.เที่ยวหน้า ขอแนะนำ พิพิธภัณฑ์เด็ก ท้องฟ้าจำลอง  สยามโอเชี่ยนเวิร์ล (ไปมาหรือยังก็ไม่รู้)ส่วนทีเคปาร์ค พี่ยังไม่เคยไปเหมือนกัน ถ้าพาลูกไปคราวหน้าว่าจะพาไป

หน้า