วนเกษตรในสวนยาง

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ต้นเหลียงอายุ 3 เดือนที่ปลูกไว้ในร่องยางมีอาการใบเหลือง

มีจุดตามใบไม่รู้เป็นอะไร ใช่เป็นโรคหรือเปล่า??

  


อาการแบบนี้เป็นอยู่ 7-8 ต้น จากทั้งหมดที่ปลูกไว้ 45 ต้น

...ใครพอรู้วิธีการรักษาหรือแก้ไขช่วยบอกหน่อยครับ...

  

.............

ปลูกเพิ่ม

ระกำกับสละ ปลูกกลางร่องระหว่างแถว

...หน้าแล้งคงต้องลากสายยางรดน้ำกันมัน Laughing

  


เนียงนก ปลูกเพิ่มอีก 8 ต้น รวมๆแล้วมี 15 ต้น

  


มันปูปลูกชุดที่แล้ว 50 ต้น รอดทุกต้น

 

กาแฟอาราบิก้าปลูกใว้ที่ขอบสวน ทดลองปลูก บางส่วนปลูกใว้ที่สวนกลางทุ่ง

ต้องการรู้ว่าที่ใหนจะให้ผลผลิตดีกว่ากัน หรือไม่ให้ผลเลยSmileLaughing


สวนยาง สวนนี้เป็นสวนยางเล็กๆขนาดไม่ถึง 4 ไร่ มียางอยู่ 450 กว่าต้น

อยู่ห่างจากบ้านประมาณ 5 กิโลเมตร ความคาดหวังอยากทำให้เป็นสวนยาง

แบบวนเกษตรปลูกพืชหลายอย่างในพื้นที่เดียวกันโดยมียางเป็นพืชหลัก

เริ่มเอาต้นไม้อื่นๆที่ไม่ใช่ต้นยางไปลงเพิ่มในสวนได้ 3 เดือนแล้ว

เคยอ่านบทความหนึ่งมีคนบอกว่าเมื่อต้นยางผลัดใบหน้าดินจะแห้งขาดความชุ่มชื่น

แต่ถ้าเรามีพืชร่วมยาง พืชเหล่านี้ไม่ได้ผลัดใบเหมือนต้นยางฉนั้นจะช่วยปกคลุมหน้าดิน

ให้ดินชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลา ระบบนิเวศก็จะดีขึ้น ต้นไม้ก็จะเกื้อกูลกันเอง

พิสูตรมาแล้วว่าปลูกพืชร่วมยางไม่ได้ทำให้น้ำยางลดลงแต่ต้องปลูกพืชให้เหมาะสม

สอดคล้องกับผู้ใหญ่บ้านของเราที่ต้องการจะทำสวนยางให้เป็นป่ายาง

อนาคตจะเป็นอย่างไร... แล้วเราค่อยมาดูกัน

<<< ขอบคุณบ้านสวนพอเพียง >>>



ความเห็น

เห็นไม่ลองขุดดูซักต้น เผื่อปัญหา มันอยู่ใ้ต้ดิน

เพราะชีวิต...คนเรา    เกิดมา....ไม่นาน ก็ต้องตาย
ต้องกลายเป็นความว่างเปล่า
Cr. เ่ท่าที่มี - กางเกง

ขอบคุณครับ เข้าสวนคราวหน้าจะลองขุดดูครับ






ใบจุดยางพาราเกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ส่งผลทำให้ใบยางอ่อนปลายใบจะบิดงอ เหี่ยวเน่าดำ หลุดร่วงระยะใบเพสลาด ใบบางส่วนอาจบิดงอ และพบจุดแผลสีน้ำตาล ขอบแผลสีเหลือง ขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เมื่อใบยางมีอายุมากขึ้น จุดเหล่านี้จะนูน เนื้อเยื่อตรงกลาง แผลอาจทะลุเป็นรู หากระบาดรุนแรงอาจพบแผลบนกิ่งอ่อนหรือยอดอ่อนทำให้เกิดอาการตายจากยอดได้ ซึ่งเชื้อราชนิดนี้จะแพร่กระจายในช่วงฝนตกชุกและเข้าทำลายส่วนยอด กิ่งอ่อนที่มีสีเขียว จะเห็นเป็นรอยแตกบนเปลือกโดยแผลมีลักษณะกลมรีไปตามรูปเปลือก หากรุนแรงและอากาศแห้งแล้งอาจส่งผลทำให้ต้นยางเล็กแห้งตายได้

สำหรับการป้องกันกำจัดนั้นให้ฉีดพ่นล้างสปอร์เชื้อราด้วยสารสกัดแซนโธไนท์ 10 ซีซี.ร่วมกับฟังก์กัสเคลียร์ 15 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ทั้งบนใบใต้ใบ ลำต้นให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุกๆ 5-7 วัน/ครั้ง ก่อนฉีดพ่นให้ปรับสภาพน้ำให้เป็นกรดอ่อนๆด้วย ซิลิซิค แอซิค และเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะด้วยม้อยเจอร์แพล้นท์ก่อนผสมยา ฮอร์โมนทุกครั้ง นอกจากนี้ให้ปรับปรุงสภาพดินด้วยพูมิชซัลเฟอร์ อัตรา 20-40 กิโลกรัม/ไร่ หรือในอัตรา 20 กิโลกรัมผสมร่วมกับปุ๋ยคอก 100 กิโลกรัม เพื่อช่วยปรับค่า pH ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต เพิ่มธาตุอาหารในดิน โดยเฉพาะซิลิก้าที่อยู่ในพูมิชซัลเฟอร์นั้นจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งลดการเข้าทำลายของโรคแมลง ซึ่งถือได้ว่าเป็นวิธีป้องกันที่ดียั่งยืนที่สุดในระดับหนึ่ง นอกจากนี้พูมิชซัลเฟอร์ยังช่วยทำให้ดินร่วนซุย ซึมผ่านน้ำง่าย ระบายน้ำได้ดี แก้ดินเหนียวจัด แห้งแน่นแข็ง ไล่เกลือออกจากเนื้อดิน เพิ่มออกซิเจนในดิน พี่น้องเกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหาซื้อทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680 -2 หรือคุณเอกรินทร์  ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ) โทร. 081-3983128

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์  ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)


ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com 


วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com


 

ขอบคุณครับ

อาจจะเป็นไปได้ อาจจะเกิดจากเชื้อราเหมือนต้นยาง

ดีครับ วนเกษตรผมชอบ  ใด้ปลูกไม้สักไหมเผื่อใด้บ้านสวยๆสักหลังครับ

อ่าน

ปลูกบ้าง ปนๆกันไป

แต่ไม่เยอะ พอทำเสาได้อยู่ครับ :uhuhuh:

อีกไม่นานก็ร่มรื่นครับพี่ ต้นเหลียงร่มไปเปล่าครับอาจจะเป็นรา(ความคิดผม)

ขอบใจเอก

...ไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร เชื่อราก็น่าเป็นไปได้นะ

เดี๋ยวรอผู้รู้บอกอีกที

กำลังลองชำ กิ่งเหลียง ไม่รู้จะติดหรือเปล่า 

รอลุ้นอยู่ค่ะ จะปลูกสลับต้นยางเหมือนกัน

เขาเรียกไหลหรือเปล่าที่ออกตามรากนะครับ

เอาไปชำให้แข็งแรงสักพัก แล้วค่อยเอาไปปลูกก็ดีเหมือนกัน

...แถวบ้านไม่มีต้นเหลียงครับ ก็เลยต้องประคบประหงมกันหน่อย ตายไปเสียดายแย่

หน้า