“...แอบเข้าบ้านสวนก็หวังจะมาขอกำลังใจ...”

หมวดหมู่ของบล็อก: 

“...แอบเข้าบ้านสวนก็หวังจะมาขอกำลังใจ...”


 “ขอบคุณพี่...มากนะคะ แค่ดูในข่าวยังเดือดร้อนแทนพวกเรา สำหรับคนที่อยู่ในพื้นที่จริง ๆ แล้วทุกคนก็พยายามช่วยเหลือตัวเองรวมทั้งช่วยเหลือกันเองอยู่แล้ว แต่บางครั้งก็เกินกว่าจะช่วยได้ในพื้นที่เราท่วมมาถึงครึ่งเดือนแล้วและเมื่อวันที่ 6 สูงขึ้นมาก วันนี้มากขึ้นอีก


ของเราไม่ได้เป็นแบบน้ำหลากมาเร็วไปเร็ว แต่มาแบบเนิบ ๆ แล้วอยู่นานน่ะค่ะ ไม่มีที่ระบายไปทางไหนได้แล้ว เจอน้ำทะเลหนุนด้วย


อ๊อดก็ลงพื้นที่เพิ่งกลับมาดูเรื่องเอกสารที่ที่ทำงานเดี๋ยวนี้เองพาน้อง ๆ ไปช่วยขนย้ายข้าวของ พวกทหารมาช่วยด้วย บางครอบครัวต้องย้ายไปอยู่ที่วัดด้วยระยะเวลาที่ท่วมยาวนานแบบนี้ต้องเดินลุยน้ำตลอด  ห้องน้ำเข้าไม่ได้ ผู้สูงอายุที่ป่วยอยู่แล้วก็แย่เข้าไปอีกปัญหาอื่น ๆ ก็ตามมาอีกมากมาย เรื่องบ่อปลา นาข้าวไม่ต้องพูดถึงเรียบไปแล้ว ก็ได้แต่หวังว่าน้ำจะลดในเร็ววันค่ะ ที่แอบเข้าบ้านสวนก็หวังจะมาขอกำลังใจนี่ละค่ะ” 


ข้างต้นนี้ข้อความเห็นตอบกลับที่ได้รับมา สืบเนื่องจากกระทู้ ขอคิดด้วยสักหนึ่งเรื่อง


นี้เป็นเรื่องราวชีวิตของเพื่อน สมช.บ้านสวนฯท่านหนึ่งที่ใช้อินเตอร์เน็ตสื่อสารถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต ยังมีพ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่ไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่ต้องอยู่กับสภาพการณ์อย่างนี้เป็นชั่วโมง...เป็นวัน...เป็นเดือน และต้องอยู่กับผลกระทบที่ตามมาอีกหลังภาวะน้ำท่วมที่ยังความสูญเสีย เสียหาย


ประเด็นนี้เราจะทำอย่างไรกันดี ในการช่วยพี่น้องคนไทยที่เวลานี้ต้องเจอภัยพิบัติกันถ้วนหน้าและยังมีท่าทีที่นับวันจะมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีมากขึ้นทั่วโลก เราคงยังไม่สามารถช่วยเหลือคนทั้งโลกได้แต่วันนี้เราจะทำอย่างไรกันดีในฐานะ สมช.บ้านสวนฯ ที่รับทราบความทุกข์ใจทุกข์กายของเพื่อน ของพี่น้องคนไทย ... จะเริ่มต้น ณ จุดนี้อย่างไร ...จะทำอย่างไรกันดี...


หมายเหตุขออนุญาตน้องอ๊อด(OOD)ในการนำข้อคิดเห็นที่ได้แสดงไว้ในการตอบกลับกระทู้ "ขอคิดด้วยสักหนึ่งเรื่อง"มาแสดงในบล็อกนี้ เป็นกรณีสถานการณ์น้ำท่วมเพื่อเป็นโอกาสนำสู่การระดมกำลังทั้งความคิดแรงกายและแรงใจร่วมกัน ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองไทย


ความเห็น

ขอเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ คนที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ขอให้กลับสู่สภาพปกติโดยเร็ววันครับ

 

ขอเป็นกำลังใจให้กับ ทุก ๆ ท่านที่ประสบกับภัยน้ำท่วมครั้งนี้ครับ ..... หลังจากนี้คงต้องคิดต่อ ว่า เราจะปรับตัวให้อยู่กับ ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างนี้ได้อย่างไร  อย่าลืมว่า เรา และ บรรพบุรุษ พ่อแม่ปู่ย่า ตายาย ได้ทำลาย ธรรมชาติ มามากแล้ว เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ประเทศไทยมีพื้นที่ป่า ประมาณ 70 % แต่ตอนนี้ เหลือแค่ประมาณ 30 % คงถึงเวลาแล้ว ที่ ธรรมชาิติ จะเอาคืน เพราะฉะนั้น ขอให้อยู่อย่างมีสติ เพื่อที่จะสู้กับภัยธรรมชาติ ที่จะมาถึง และคงถึงเวลาแล้ว ที่เรา จะต้องหันมาดูแลธรรมชาติ ต้นไม้ แม่น้ำ ป่าเขา ลำเนาไพร ถ้าเราเริ่มดูแลเขาตั้งแต่ตอนนี้ สักวันหนึ่ง เขาก็จะดูแลเรา ถึงแม้จะไม่ทันในรุ่นพวกเรา แต่อย่างน้อย รุ่นลูก หลาน เหลน โหลน ก็คงจะได้รับผลจากการที่เราช่วยกันในวันนี้ .... กลับกัน ถ้า เรายังทำลายธรรมชาติในวันนี้ ภัยพิบัติ ที่จะมาเยือน รุ่น ลูก หลาน ฯ ก็คงหนักกว่านี้หลายเท่านัก ... ปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" ของในหลวง เท่านั้น ที่จะช่วยให้ประเทศ อยู่รอดได้ ปรัชญานี้ ลึกซึ้ง ยิ่งนัก ถ้ายังหลงติดกับ ทุนนิยม ....สักวันหนึ่ง เราก็จะจมหายไปกับทุนนิยม ...

เมื่อรู้สึกว่ากำลังแย่ จงให้กำลังใจตัวเอง ด้วยการคิดว่า "ยังมีคนอื่นที่แย่กว่าเราอีก"

ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ  ที่อุบล  สมาชิกที่โดนเต็มๆก็บ้านน้องแดง    ส่วนบ้านย่าวรรณ  น่าจะเจอปัญหา  เรื่องทางเข้าสวน    ก็ขอให้เข้มแข็ง   ใช้สมองและสองมือ  แก้ปัญหา  ขอให้ปลอดภัย

ขออนุญาตนำบางส่วนของความคิดเห็นในกระทู้ ขอบคุณ พี่น้องชาวบ้านสวนฯ มาแชร์อีกครั้งครับ เนื่องจากน้ำท่วมเป็นความเสี่ยงประเภทหนึ่ง

การบริหารความเสี่ยง คือการหาวิธีที่เหมาะสมสำหรับจัดการ แต่ละความเสี่ยงให้ลดความรุนแรงลง เกิดขึ้นได้น้อยลง หรือกำหนดมาตรการในการควบคุมดูแลไม่ให้เกินระดับอันตราย เป็นต้น  กลยุทธ์สำหรับจัดการความเสี่ยง มี 4 แบบ รวมเรียกว่า 4T

1. Take - การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) การยอมรับให้มีความเสี่ยง เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการจัดการ หรือสร้างระบบควบคุมอาจมีมูลค่าสูงกว่าผลลัพธ์ที่ได้ แต่ เราก็ควรมีมาตรการติดตามและดูแล เช่น การกำหนดระดับ ของผลกระทบที่ยอมรับได้, เตรียมแผนการตั้งรับ/จัดการ ความเสี่ยง เป็นต้น  เรื่องนี้จะเห็นว่าชาวบ้านบางพื้นที่ก็เริ่มใช้วิธีการนี้บ้าง รวมทั้งบ้านเกิดผมที่ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ซึ่งมีน้ำท่วมแทบทุกปีตั้งแต่สมัยผมเด็ก  ตอนนี้มีทำกำแพงกั้นน้ำก็จะช่วยได้บ้างถ้าท่วมไม่เยอะ  แต่ปีนี้ก็ท่วมเหมือนเดิม ชุมชุนตลาดเก่าเขาทำใจได้  และดำเนินขนของกันบ่อยจนดูเหมือนเรื่องปกติ

2. Treat – การลด/ควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction/Control) การออกแบบระบบควบคุม การแก้ไขปรับปรุงการทำงาน เพื่อป้องกันหรือจำกัดผลกระทบ และโอกาสเกิดความเสียหาย เช่น ติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัย, ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ, วางมาตรการเชิงรุก เป็นต้น 

เรื่องนี้มีการดำเนินการมาตรการป้องกันทั้งในระดับบุคคล เช่น การต่อเดิมดัดแปลงบ้านให้ลดผลกระทบจากน้ำท่วม  ได้แก่การยกพื้นให้สูง การทำที่กั้นน้ำ  การย้ายข้าวของสำคัญไปอยู่ที่สูงถาวร

ส่วนขอไร่นาก็มีแนวทางการจัดการป้องกันน้ำท่วมโดยใช้แนวคิดเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งจะได้ผลในระดับหนึ่ง แต่จะใช้งบค่อนข้างสูงในช่วงต้น (ติดต่อได้ฟรีที่ กรมพัฒนาที่ดิน  แต่คิวยาวพอสมควรเนื่องจากงบประมาณจำกัด) ซึ่งเราพอจะได้เห็นตัวอย่างจากที่น้องวิศิษฐ์ของพวกเราดำเนินการในลักษณะคล้ายคลึงกันในที่นาของตนเอง  (ผลงานน่าประทับใจมาก)  :cheer3:

และมีการเริ่มดำเนินการในภาครัฐ เช่น การจัดทำอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก / กลาง เพื่อเป็นแก้มลิงในการชลอน้ำ  การขุดคูคลอง  การปรับปรุงถนนที่ขวางทางน้ำไหล  การจัดทำประตูระบายน้ำเพิ่มเติม การพัฒนาพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม การส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น  เรื่องนี้คงต้องพลักดันกับทางภาครัฐต่อไป

อีก 2 เรื่องที่น่าสนใจมากๆ  คือ ระบบการเตือน และการฝึกซ้อมมาตรการบรรเทาสาธารณะภัย กล่าวคือ

  • ถ้าเรามีระบบเตือนภัยที่ดี และรวดเร็ว ก็จะทำรู้ล่วงหน้าไวขึ้นทำให้มีเวลาดำเนินการลดผลกระทบที่เกิดขึ้น  ในปัจจุบันเรื่องเหล่านี้ดีขึ้น  แต่ยังมีช่องว่างที่จะปรับปรุงได้ดีขึ้น
  • การฝึกซ้อมมาตรการบรรเทาสาธารณะภัย เช่น การเลือกและจัดเตรียมสถานที่พักชั่วคราวเวลาน้ำท่วม การเตรียมระบบ logistic ในการจัดส่งสิ่งของ/อาหารบรรเทาภัย รวมทั้งการเตรียมอาหารแบบที่คุณอ๊อดนำเสนอในกระทู้ ขอคิดด้วยสักหนึ่งเรื่องทำให้การดำเนินการบรรเทาผลกระทบทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. Terminate – การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) การหยุด หรือเปลี่ยนแปลงกิจกรรมที่เป็นความเสี่ยง เช่น งดทำขั้นตอนที่ไม่ จำเป็นและจะนำมาซึ่งความเสี่ยง, ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน, การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม, ลดขอบเขตการดำเนินการ เป็นต้น  ในกรณีเช่น การย้ายถิ่นฐานไปยังที่ที่ไม่มีปัญหาน้ำท่วม  อาจจะเป็นทางออกระดับตัวบุคคล  แต่ไม่ใช่ทางออกของระดับประเทศ

4. Transfer – การกระจาย/โอนความเสี่ยง (Risk Sharing/Spreading) การกระจายทรัพย์สิน หรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการสูญเสีย เช่น การประกันทรัพย์สิน เพื่อโอนความเสี่ยงไปยังบริษัทประกัน เป็นต้น

โดยสรุปการดำเนินการบริหารความเสี่ยงจะต้องดำเนินการทั้ง

  • โดยบุคคลที่จะได้รับผลกระทบเอง (ซึ่งเราอาจจะช่วยเหลือได้ในลักษณะ การถ่อยทอดองค์ความรู้เรื่องการกระจายควาทเสี่ยง ทั้งโดยการปลูกพืชแบบผสมผสาน การจัดการที่ดินตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่  การส่งเสริมความรู้เรื่องพันธุ์ไม้ที่ทนน้ำท่วม)
  • โดยภาครัฐตามที่ยังตัวอย่างข้างต้น
  • โดย NGO หรือภาคประชาชนอื่น ที่เข้ามาช่วยบรรเทาสาธารณะภัย

ผมเองมีความรู้น้อย หวังว่าจะพอช่วยเหลือได้ในส่วนสุดท้ายจากภาคประชาชน  ที่บริษัทเองก็จะมีการเรี่ยรายเงินเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเวลามีเหตุการณ์น้ำท่วม  มีชมรมรถ off-road ที่เข้าไปช่วยเรื่อง logistic การส่งสิ่งของบ้าง  แต่ใจจริงแล้วอยากให้มีการพลักดันเรื่องมาตรการการป้องกันมากกว่า  แต่ยังไม่รู้ว่าจะมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง

:nonono:

http://www.thaiflood.com/

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ขอขอบคุณมากค่ะ กับข้อความรู้นี้ที่ช่วยเอื้อเฟื้อให้ในกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงสี่ประการ ถือเป็นเรื่องสำคัญโดยเบื้องต้นที่ควรเตรียมกันไว้ก่อนเหมือนมีแผนที่นำทางให้เตรียมและปฏิบัติเมื่อเกิดความเสี่ยงนี้


นอกเหนือจากกำลังใจที่ให้กันมา ข้อมูลวิธีการป้องกัน รับมือ ก็เป็นเรื่องที่ต้องมี นอกจากนี้ในเรื่องการสนับสนุนเป็นหลักยึดเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัย โดยส่วนตัวเองแล้วนั้น อยู่ในเมือง กทม. โอกาสเจอความเสียงนี้อาจมี แต่ในวันนี้ยังไม่รุนแรงเท่าในหลายพื้นที่ของเมืองไทย แต่ก็คิดเสมอว่าหากว่าเป็นเราที่ตกอยู่ในสภาพการณ์อย่างนั้น เราต้องการอะไร กำลังใจทั้งที่เป็นรูปธรรม-นามธรรม รวมถึงวิธีการและปัจจัยสี่เฉพาะหน้านี้ที่จะเอื้อให้เราเองพอจะยืนหยัดได้ด้วยตนเองในระยะยาว (ส่วนตัวเองมองว่าปัจจัยสี่ข้อแรกที่หากมีความเป็นไปได้คืออาหารที่อาจจะพอมีแบ่งปันได้ในยามยาก ด้วยรูปต่าง ๆ เช่น การถนอมอาหารและส่งต่อกัน หรือในยามน้ำลดแล้วเราก็ส่งและแบ่งปันเมล็ดพันธุ์ที่เรามีให้ปลูกไว้ต่อได้ เป็นต้น)


ขอขอบคุณคุณธีรพันธ์เป็นอย่างมากค่ะ ในข้อคิดเห็นที่นำเสนอนี้

เป็นกำลังใจให้ด้วยคนค่ะ สู้ๆ :cheer3:

""

 

เพราะไม่ใช่น้ำท่วมแต่เป็นโคลนถล่มบ้าน ก็เข้าใจความรู้สึกของทุกคนนะคะ เข้มแข็งค่ะ แล้วทุกอย่างจะผ่านไป:admire2:

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

กำลังใจมีให้ไม่เคยเหือดแห้ง  หายไป...:cheer3:

.................

มาเป็นกำลังใจให้ทุกๆท่าน..ที่อุบลฝนกระหนำจนสวนผมเองก็อ่วมเหมือนกัน..ก็ค่อยๆแก้กันไป..เป็นกำลังใจครับ..

ขอเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ ท่านค่ะ  สวนของหนูที่พิจิตรก็มีลุ้นค่ะ อยู่ห่างจากแม่น้ำไม่กี่ร้อยเมตร ปกติช่วงฤดูแล้ง แม่น้ำน่านหลังบ้านจะเกือบแห้งเลย ถ้ามองจากกระเช้าที่ข้ามไปฝั่งพิษณุโลกนี่น่ากลัวมาก แต่ตอนนี้กระเช้านั้นข้ามแม่น้ำไม่ได้แล้ว เพราะระดับน้ำสูงจนบางที่ล้นตลิ่งมาแล้วท่วมสวนที่อยู่แถวนั้นไปหลายแห่ง ยืนมองใต้ถุนบ้านย่าระดับน้ำอยู่ระดับเดียวกับพื้นดินใต้ถุนเลยค่ะ ไหลน่ากลัวมาก ถ้าเพิ่มขึ้นกว่านี้ถึงสวนของหนูแน่ค่ะ

แบ่งปัน สร้างสรรค์ พอเพียง

 

หน้า