บ่น ๆ จะอยู่อย่างไรกับอนาคตที่ไม่แน่นอน

หมวดหมู่ของบล็อก: 



          ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปีนี้ที่ทุก ๆ คนเห็นในภาพข่าวกันทุก ๆ วัน การดินรนเอาตัวรอดของคนที่ประสพภัย ทั้งคนเมืองและคนในชนบทเจอแบบเดียวกันแทบทั้งสิ้น ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นอีกก็ตอบได้ยาก  ราคาผลผลิตที่ปลูกแล้วกินไม่ได้ เช่นยางพาราก็ถึงช่วงขาลง ลงวันละ 5 บาท เห็นแล้วกลุ้มใจแทนชาวสวยยาง (ตัวเราด้วย) แต่ของทุกอย่างกลับแพงขึ้นเรื่อย ๆ  ต่อไปในวันข้างหน้าภัยธรรมชาติจะมาในรูปแบบใดก็ยากที่จะคาดเดาได้  ซึ่งตอนนี้แนวทางการเอาตัวรอดของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไป  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีน้ำใจของคนไทย ซึ่งเป็นพื้นฐานของคนไทยมาแต่เดิมมีให้เห็นอย่างมากมาย  แต่เมื่อความเสียหายที่ขยายเป็นวงกว้างก็ยากที่การช่วยเหลือจะไปถึงได้ทุกคน
         ลองหันกลับมาย้อยดูตัวเราเตรียมการรับมืออย่างไรบ้างแล้ว  สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรมาแต่โบราณการที่มาปรับเปลี่ยนเป็นสังคมอุตสาหกรรม  ที่อะไร ๆ ก็พูดกันด้วย เงิน ๆๆ แต่พอเจอภัยธรรมชาติแล้วล้มครืนลงทั้งหมด ต่างจากสังคมการเกษตรเมื่อน้ำลดก็ยังปลูกใหม่ทดแทนกันได้  แต่ตอนนี้พื้นที่ทางการเกษตรจำนวนมากก็ถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นปลูกพืชเศรษฐกิจ  เช่นยางพารา  ปาล์มน้ำมัน แทน บางคนเลิกทำนาโดยการปรับที่ใหม่ จากเดิมเหมาะสำหรับปลูกข้าว มายกร่องปลูกปาล์มน้ำมันแทน  เห็นแล้วน่าหดหู่ใจที่อู่ข้าวอู่น้ำกำลังจะเป็นแหล่งน้ำมันบนดิน การปลูกพืชที่ไม่สามารถนำมาเป็นอาหารได้จำนวนมาก ๆ เช่นยางพารา (ตัวเองก็ปลูก) ซึ่งหลาย ๆ คนในชุมชนก็กำลังหลงทาง (คิดไปเองคนเดียว) กับการปลูกพืชโดยไม่ได้มองว่าพื้นฐานในการดำรงชีพในแต่ละวันหาได้นำยางมาประกอบอาหารได้ (ความคิดส่วนตัว) ใคร ๆ ก็มองว่าขายยางแล้วซื้อกินได้ทุกอย่าง แล้วถ้ายางพาราราคาตกละ จะทำอย่างไร ?  ซึ่งหลาย ๆ คนขุดบ่เลี้ยงปลาไว้อย่างดี  ดันเอายางพาราไปปลูกไว้อีก  ทั้งที่พื้นที่บริเวณขอบบ่อนั้นสามารถนำมาปลูกผักได้อย่างมากมาย (แถวบ้านเป็นแบบนี้เยอะ)
แค่นั้นยังไม่พอ ข้าง ๆ นาข้าวก็ยังเอายางพารามาปลูกอีกยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ รู้ไหมว่าอีกไม่นานยางพาราที่ปลูกนั้นจะเป็นร่มเงาขนาดใหญ่ทำให้ข้าวในนาไม่ได้รับแสงที่ดีทำให้ผลผลิตข้าวได้น้อยลง (ข้าวเป็นพืชไวแสง)


ต้นยางพาราที่ปลูกใกล้ ๆ นาไม่นานก็คงสงผลกระทบต่อข้าวในนาบ้าง (นาของญาติ)

             หลังจากที่ลองผิดลองถูกมาหลาย ๆ อย่าง เริ่มทำสวนยางมาก็เกือบ 8 ปี (อาชีพเสริม) ปลูกยางพารามา 7 ปี ลงทุนไปก็หลายบาท  แต่แล้วมามองดูสวนยางที่เฝ้าทะนุถนอมมานานเติบโตจนได้ผลผลิต  แต่ถ้าดู ๆ ไปแล้วในอนาคตข้างหน้าต่างประเทศอย่าง จีน ลาว เวียดนาม กัมพูชา ฯลฯ มียางได้กรีดบ้างจะเป็นอย่างไร (ไม่อยากจะคิด)  เมื่อย้อนไป 7 ปีที่แล้วถ้าวันนั้นผมตัดสินใจปลูกยางทั้งหมดในที่ที่มีอยู่ ก็คงไม่มีที่ทำเกษตร ปลูกผัก เลี้ยงปลา เหมือนทุกวันนี้ (ดีที่บ้าไม่เหมือนใคร) หลังจากที่มั่ว ๆ มาจนถึงปัจจุบัน เรียนรู้จากหนังสือ ทีวี ข่าวสารด้านเกษตร และอินเตอร์เน็ท ที่พึ่งรู้จักมาไม่นาน  จึงทำให้รู้ว่าการทำเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกนั้นนี่อย่างละเล็กละน้อย ปลูกไม้ใช้สอย เน้นผักที่ปลูกง่าย ๆ ไม่แปลกประหลาดอะไรมากมาย  ปลูกสิ่งที่ชอบ และทนแล้ง ใช้น้ำน้อย ทำให้รู้ว่าการเดินทางสายนี้แม้จะล้มลุกคลุกคลานมาบ้าง  แต่ด้วยแรงใจและแรงกาย  ประกอบกับความศรัทธาในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และมีตัวอย่างดี ๆ ให้เห็นหลาย ๆ คน ทำให้ตนเองเกิดความมั่นใจในสิ่งที่ทำมากยิ่งขึ้น และเห็นแล้วว่าแนวทางนี้คือทางรอดของครอบครัวและตนเองได้ไม่มากก็น้อยในโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง  ซึ่งความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของสวนและนาที่ตั้งอยู่นั้นค่อนข้างปลอดภัยกับ น้ำท่วม ดินโคลนถล่ม (ไม่แน่) เพราะว่าตั้งอยู่ในที่สูงไม่ใช้ทางน้ำไหลผ่าน ประกอบกับที่อากาศ ดิน น้ำ  ที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ๆ คงทำให้การเดินในแนวทางนี้คงไปได้อย่างมั่นคงโดยไม่ยากเกินกำลังที่จะทำได้

ปลูกอะไรก็ได้กินถ้าไม่ขี้เกียจ


อาหารจากธรรมชาติ แต่ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับเขาด้วยไม่ใช้ทำลายอย่างเดียว ตอนนี้ปูนามีเยอะมาก ๆ แต่ไม่กัดต้นข้าวเลยแม้แต่น้อย

               แต่อย่างไรเสียแม้เรารอดแต่คนอื่นไม่รอด  ก็ต้องเกิดการแย่งชิงทรัพยากรกันอย่างแน่นอน  ทำอย่างไรให้เกิดเครือข่าย (กำลังคิดอยู่ว่าจะทำอย่างไร) เกิดความมั่นคงในชุมชน แล้วขยายใหญ่ขึ้นเป็นเกราะป้องกันตัวเรา  ไม่มีใครจะสามารถยืนอยู่ได้คนเดียวบนความทุกข์ยากของคนอื่น ๆ ได้อย่างมั่นคง  แต่ทุกคนจะยืนอยู่ได้อย่างมั่นคงก็คือ การช่วยเหลือ แบ่งปัน ให้หลาย ๆ คนค้นหาแนวทางรอดแล้วกระจายเครือข่ายให้กว้างขวางมากขึ้น นี่ต่างหากที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน และมั่นคงในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน  เฮ้อ!!! ก็ได้แต่บ่น ๆ กับตัวเองไปวัน ๆ ยังไงก็จะทำจนกว่าคนอื่น ๆ จะหันมามองบ้างก็แค่นั้น....แต่วันนี้มีผัก มีปลา มีข้าว ปลอดภัย ปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือนของตนเองได้อย่างแน่นอนแล้ว..ฮ่า ๆๆๆๆๆๆ

จะพอเพียง....เพื่อเพียงพอ....ให้ได้ในสักวัน..

โปรดติดตามตอนต่อไป... wisit_photo@hotmail.com

ความเห็น

มาเป็น กำลังใจ ให้ อีก แรงครับ

เป็นวิธีที่ดีมากค่ะ

บ่นได้ถูกใจมาก....ขอให้ทำอย่างที่บ่นต่อไปเสียดายป้าไม่มีที่ดินแบบคุณศิษฐ์

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

มาฟังเพื่อนบ่น แต่ก็เห็นด้วยที่เพื่อนบ่น 

แบ่งปัน สร้างสรรค์ พอเพียง

 

บ่นมาโลดดด น้อง

พี่จะคอยรับฟังจ้า..

:admire2:

:good-job: น้องศิษฐ์  โหวตครับ  เราคงต้องมาช่วยกันสร้างเครือข่ายพันธุ์พืชด้วย  ถ้า ผญ.โสทร จะช่วยทำฐานข้อมูลของพันธุ์พืชว่ามีใครปลูกอะไรแล้วบ้านในที่ดินของตนเองก็คงจะดี  อย่างน้อยเราจะได้มีความมั่นคงในเรื่องสายพันธุ์พืชพื้นเมือง  เมื่อมีคนประสบภัยอย่างน้ำท่วมจะได้รู้ว่าจะติดต่อขอพันธุ์พืชที่เคยปลูกจากเพื่อนๆ ท่านใดได้บ้าง  พืชไหนที่มีคนปลูกน้อยก็ต้องส่งเสริมให้มีการกระจายความเสี่ยงไปปลูกกันหลายๆ คน

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

หน้า