ปลูกป่าสไตล์ญี่ปุ่น

หมวดหมู่ของบล็อก: 


วันนี้ผมจะพาเพื่อนสมาชิกมาดูการปลูกป่าที่คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นครับ ซึ่งได้ดำเนินการปลูกในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยการสนับสนุนจากบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (ต้องขออนุญาติเอ่ยนามผู้สนับสนุนหน่อยนะครับ เพราะเป็นโครงการที่ดี) ซึ่งในโครงการนี้ ผมได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยให้เป็นกรรมการและเลขาณุการ สำหรับภาพด้านบนเป็นป้ายบอกเส้นทางไปยังป่าแห่งที่ปลูกครับ มีชื่อว่า "แหล่งเรียนรู้ ป่านิเวศชุมชน"


การปลูกป่าแห่งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2552 ครับ โดยใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการอาสาสมัครรักษ์ป่า พัฒนาสิ่งแวดล้อม พร้อมเทอดไท้องค์ราชา ครั้งที่ 4" 



บรรยากาศการจัดงานครับ มีนักเรียน นักศึกษา และประชาชนในบริเวณใกล้เคียง มาร่วมปลูกหลายร้อยคน จำนวนต้นไม้ที่ปลูกประมาณ 40,000 ต้น ครับ



สำหรับการปลูกป่าครั้งนี้เป็นการประยุกต์ใช้เทคนิคของ ศ. ดร. มิยาวากิ นักนิเวศวิทยาชาวญี่ปุ่น ซึ่งมีหลักการปลูกดังนี้ครับ


1. ต้นไม้ที่ปลูก จะต้องเป็นพรรณไม้ดั้งเดิมในท้องถิ่นครับ ซึ่งจะเป็นพืชที่สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ที่จะปลูก ตัวอย่างพืชที่ปลูกในป่านี้ เช่น แต้ แดง กันเกรา ขี้เหล็ก ประดู่ เป็นต้น และต้องเป็นต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ดเท่านั้น เพราะมีรากแก้วที่แข็งแรงและสามารถหาอาหารได้ดี ความสูงของต้นกล้าเฉลี่ยประมาณ 80 ซม. ขึ้นไป


2. การเตรียมพื้นที่ ตามหลักแล้วต้องทำเป็นเนินดินครับ เพื่อให้มีการระบายน้ำได้ดี และมีพื้นที่สำหรับการแผ่ขยายของราก ทำให้รากหายใจได้ดี แต่เนื่องจากการทำเนินดินต้องใช้งบประมาณค่อยข้างสุูง ในการปลูกป่าคร้ังนี้ จึงทำเนินเป็นจุดสาธิตแค่ 2 จุด เท่านั้นครับ ส่วนอื่นๆ ก็ปลูกในที่ราบปกติ สำหรับการเตรียมหลุมปลูก จะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลักครับ


3. การปลูก ก่อนปลูกต้องเอาถุงต้นกล้าไปจุ่มน้ำก่อนครับ เป็นเทคนิคที่จะช่วยให้ดินที่ปลูกมีความชุ่มชื้น ทำให้ต้นไม้มีโอกาศรอดสูงขึ้น ถึงแม้ไม่ได้รดน้ำหลายวัน หลังจากนั้นก็ปลูกปกติเหมือนการปลูกต้นไม้โดยทั่วไป ปลูกเสร็จแล้วก็คลุมด้วยเศษพางเพื่อรักษาความชื้น แล้วก็รดน้ำอีกครั้ง


4. ระยะการปลูกด้วยเทคนี้ ใช้ระยะปลูก 1X1 ม. ครับ และใน 1X1 ม. นี้จะใช้ต้นไม้ต่างชนิดกัน เหตุผลที่ต้องปลูกถี่ก็เพื่อให้ต้นไม้ได้แข่งขันกันรับแสง เพื่อการเจริญเติบโต ทำให้เกิดเป็นป่าได้ไวขึ้น เทคนิคนี้เป็นการปลูกป่าธรรมชาตินะครับ วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ป่าดั้งเดิมกลับคืนมา ไม่ได้เป็นการปลูกป่าเศรษฐกิจ เพื่อหวังผลผลิต แต่ผมว่าก็น่าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้บ้าง



ก่อนปลูกต้องเอาถุงดินจุ่มน้ำก่อนครับ



นักเรียนตัวน้อยต่างช่วยกันปลูกด้วยความแข็งขัน ถึงแม้อากาศจะร้อนมากก็ตาม



ปลูกเสร็จก็คลุมด้วยฟางข้าว เพื่อรักษาความชื้น



สุดท้ายก็รดน้ำ งานนี้นี้ต้องขอชื่นชมเด็กนักเรียนที่มาช่วยมาก เพราะแม้จะเป็นวันหยุด แต่ทุกคนก็ยอมสละเวลามาร่วมปลูกป่า


ต่อไปผมจะเปรียบเทียบผลการปลูกป่านะครับ เป็นภาพที่ถ่ายหลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 1 ปี ครึ่ง โดยพยายามเอาภาพที่อยู่บริเวณเดียวกัน มาเปรียบเทียบกันครับ




เป็นบริเวณด้านหน้าครับ คือหลังจากปลูกแล้วก็ขุดทางข้ามออก แล้วใส่สะพานแทน เพื่อการระบายน้ำ จะเห็นว่าบริเวณที่ทำเป็นเนินทั้ง 2 จุด ต้นไม้จะสูงกว่าบริเวณอื่น




จุดนี้เป็นบริเวณที่หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดอุบลราชธานีปลูก ต้นไม้ที่เห็นเป็นต้นกันเกรา ซึ่งเป็นพรรณไม้ประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีครับ




อีกมุมหนึ่งครับ ภาพด้านบน นักศึกษามาช่วยกันปลูกเพิ่มเติมหลังจากวันจัดงาน




สองภาพนี้ก็เปรียบเทียบอีกมุมหนึ่งครับ ต้นไม้ส่วนใหญ่รอด เห็นแล้วชื่นใจมาก




มุมสุดท้ายครับ เนื่องจากเป็นการปลูกแบบถี่ ต้นไม้ต่างพยายามแข่งขันกันยืดตัวเพื่อรับแสง ทำให้พื้นที่เป็นป่าได้ไวขึ้น



สิ่งสำคัญที่สุดของการปลูกป่า ผมว่าน่าจะเป็นการดูแลหลังจากปลูกครับ ถึงจะปลูกดีแค่ไหน ถ้าปล่อยทิ้งไว้ตามยถากรรม โอกาสรอดก็คงจะน้อยลงครับ

ความเห็น

เป็นโครงการที่ดีมากครับ แต่การปลูกควรให้ถูกฤดูกาล คือหน้าฝน โอกาสต้นไม้รอดตายสูง ลำดับต่อมาคือการดูแลหลังปลูกตามที่คุณโรจน์ว่ามาครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

:wow2: :wow2: :wow2:

โครงการดีๆแบบนี้ถ้ามีโอกาศจะไม่ยอมพลาดเลยค่ะ

แรงกาย+แรงใจ ลงมือทำในวันนี้ เพื่อชีวิตที่พอเพียง

:cheer  อยากไปร่วมปลูกป่า 

อะไรที่ไหน อันความงาม มีอยู่ตาม หมู่ซากผี อันความดี อยู่ที่ละ สละยิ่ง ความเป็นพระ อยู่ที่เพียร บวชเรียนจริง นิพพานดิ่ง อยู่ที่ตาย ก่อนตายเอย ฯ

ปลูกป่าชอบค่ะ   เคยไปปลูกให้วัด  แต่ดูแล้ว อันนี้ สไตล์ไทยแท้เลยนะคะ  เพราะญี่ปุ่นเป็นเกาะ   น่าจะต่างไปจากนี้

เป็นโครงการที่ดีมากค่ะ ขอชื่นชม

แบ่งปัน สร้างสรรค์ พอเพียง

 

ปลูกน่ะปลูกได้  แล้วไม่มีคนดูแลมันจะโตหรือจะตายยังไม่รู้เลย   อากาศร้อนมาก  ดินก็แห้ง  ปลูกหน้านี้มีฝนตกมั่งหรือป่าวเอ่ย???

ชื่นชมจ้า มาช่วยกันเยอะดีจังน่าสสนุก :embarrassed: