บีหุนนี้! ... มิใช่ตำนาน
“บีหุนตำนาน ... มีแต่บ้านฉานเมืองลุง” ....
คือ ชื่อบล็อก ๆ หนึ่ง! … ที่บันทึกขึ้นโดยสมาชิก บ้านสวนฯ ท่านหนึ่ง ! ... อักษรย่อ ป . ปลา ... แฮะ ๆ ... ไม่ได้เอ่ยนามตรง ๆ คงไม่ใช้สิทธิ์พาดพิงนะครับ ... และคงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะจะไม่ลอกเนื้อหา (มาทั้งหมด) แค่เลียบ ๆ เคียง ๆ … ฮุ ๆ ๆ
เอ่ย วลี “บีหุน”(เส้นหมี่) ... ให้ รำลึก ... เพื่อน - รุ่นพี่ – น้อง คนหนึ่ง ... ที่บอกเช่นนี้ ก็ด้วยสับสนในสถานภาพระหว่างเราสอง ... คือ ตอนข้าพเจ้าเริ่มเข้าเรียน ชั้น ปวช. ปี 1 ...
เขามานั่งรอ ยืนรอ (แต่ไม่นอน) อยู่ก่อนแล้ว 1 ปี ... เขาจึง = รุ่นพี่ ...
แล้วเราก็เรียนร่วมรุ่นกันมา .. เขาจึง = เพื่อน ...
ปีการศึกษาสุดท้ายของข้าพเจ้า ในสถานศึกษาแห่งนี้ ... เราก็เรียนห้องเดียวกัน เพียงเพื่อนคนนี้ และอีกหลาย ๆ คน เขาเรียนแบบบูรณาการ ... คือ ต้องกลับไปเรียนเก็บวิชาของชั้น ปี 1 & 2 บางวิชาที่ยังไม่ผ่าน
ดังนั้น เมื่อข้าพเจ้าจบการศึกษาที่นั่น และขึ้นไปเรียนต่อที่ กรุงเทพฯ (สมันนั้นเรียกอย่างนี้จริง ๆ) เขาก็ยังต้องสอบเก็บวิชา ที่ค้าง ๆ อยู่ ตามกติกาโดยดุษณีภาพ ... เขาจึงกลายเป็น รุ่นน้อง ... โดยไม่ต้องแจ้งจดทะเบียน ...
แล้วด้วยมานะอันเป็นยอด ... เขาจบจนได้ และ เข้ารับราชการเป็นทหารอากาศ ซึ่งเป็นเกียรติยศ และ ศักดิ์ศรีแห่งชีวิต
ในฐานะเพื่อนร่วมสมัย ที่ได้สัมผัส อัตลักษณ์ของเขา จึงพบความน่ารัก หลาย ๆ ประการของเขา (มั่นใจว่าไม่มี Bias) เขาเป็นคนสนุกสนาน – รักเพื่อน – เป็นคนมี EQ ... ฯลฯ
ท่านคงมีคำถามแล้วซีครับ ว่าเขาเป็นใคร? ... คนที่ไหน? ...
อาจารย์สอน Strang of Material ที่มาใหม่ท่านหนึ่ง เข้าสอนพวกเราวันแรก ท่านคงอยากสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพวกเรา จึงให้แต่ละคน ลุกขึ้นแนะนำตัวโดย บอก ชื่อ - สกุล และถิ่นกำเนิด ... ครั้นมาถึงเพื่อนคนนี้ .... พวกเราผู้เป็นเพื่อนร่วมห้องทุกคน เห็นเขายืนขึ้น และได้ยินเขาบอก ชือ - สกุล ..... (ขออนุญาตไม่พาดพิงบุคคลที่สาม ที่ไม่อยู่ในสภา) และ บอกภูมิลำเนา ว่า
“บ้านอยู่ ‘แบงเคียว’ ครับ”
เล่นเอา พวกเรางง สุด ๆ ไปตามกัน ! ... อาจารย์เองก็เป็นงง ... จึงถามซ้ำ ... แต่ก็ได้รับคำตอบเดิม จนที่สุด ...
“ครูรู้แล้วว่าเธอชื่ออะไร ...” อาจารย์บอก แล้วตามด้วยข้อที่ท่านสงสัย “แต่ภูมิลำเนา ’แบงเคียว’ นะคือที่ไหน ... ต่างประเทศ รึ”
“ประเทศไทย ครับ” เขาตอบสีหน้าเรียบ ๆ แล้วอธิบายต่อ “แต่ผมพูดอังกฤษ ... แปลว่า ‘บางแก้ว’ ครับ บางแก้ว ... พัทลุง ครับ”
เสียง ฮา จากทุกคนในห้องยกเว้นอาจารย์ กระหึ่มทันทีที่สิ้นคำตอบของเขา
หลังหมด Period พออาจารย์ออกพันประตูห้อง ทุกคน กรูเข้าไปล้อมเขา ปานนัดกัน ... ถามด้วยคำถามต่างกัน ... แต่ความหมายเดียวกัน ว่าทำไม เขาจึงแนะนำตัวอย่างนั้น ... คำตอบจากเขา (ต้องขออภัย อาจไม่สุภาพ แต่หากปรุงมาก รสชาติจะเสีย จึงขอคัดลอกมา)
“ก้า(ก็)กุเปรี้ยวปาก อยากแหลงหรั่ง” (พูดฝรัง) ... ข้าพเจ้าถามต่อในฐานะเพื่อนรัก เพื่อนซี้
“แล้วไซ(ทำไม) ต้อง แบงเคียว เฮา”(ล่ะ) ... เพื่อนสวนคืนทันทีด้วยคำถาม
“แล้ว ‘บางกอก’ มึ้ง(คุณ)อานพรือ(อย่างไร) ... “ ตามด้วยคำอธิบายที่ค่อนข้างยาว ... “เวอ(ก็)เห็นเขาอ่าน ‘แบงคอก’ เผิ่น(ทั้งนั้น) ... กูเห็นแขะถานี(ที่สถานี) เขาก็เขียน บี – เอ – เอ็น – จี เหมือนกัน ..กะต้องอ่านเหมือนกันแหล้ ... ผิดกันแต่ กอก กับ แก้ว ข้างท้ายนิ ... แตกูว่า ให้เป็นสำเนียงหรังหีดแล หา(สักหน่อยซี) กะเลยออกเสียง ว่า เคียว”
เลยได้ฮากันอีกกราวใหญ่
ที่ข้าพเจ้ายกประวัติเพื่อนคนนี้ มาเกริ่น (โอ๊ะ ... ไม่ใช่เกริ่นแล้วซีนะ ยาวแล้วนี่) ก็เขามีตำนาน “บีหุน” อยู่ด้วย ... ดั่งนี้แล
ปีที่เขาจะจบการศึกษา ... ทางวิทยาลัย นำผู้ที่สมัครใจไปทัศนศึกษา (เรียกตามสมัยนั้น) ที่ภาคเหนือ แล้วมาพักกันที่วิทยาอาชีวศึกษาเทเวศ(ชื่อที่เรียกสมัยนั้น อีกแหละ) เย็นวันที่เขามาถึง ข้าพเจ้าไปรับเพื่อน ๆ ... พ้องสมัย 4 – 5 คน ออกไปทานมื้อเย็น กันที่ตลาดเทเวศร์ ....
เดินเข้าร้าน ... ทุกคนหาที่นั่งเสร็จ ... ในฐานะเสมือนหนึ่งเจ้าบ้าน (ทั้ง ๆ ที่เพิ่งมาอาศัยในกรุงเทพเพียง 2 ปี กว่า) ข้าพเจ้าเอ่ยถามเพื่อน ๆ ด้วยภาษาปักษ์ใต้บ้านเรา เพื่อบริการ
“เอ้า ... ใครจะกินไรมั่ง ... เดียวอีสังให้” ...
ครู่เดียว ก็ทราบความต้องการของทุกคน ... ยกเว้นเพื่อนคนที่ข้าพเจ้าเล่ามาข้างต้น เขายังคงหมุนคอส่ายสายตา ดูอะไร ต่อมิอะไรในร้าน ... เฉยอยู่ ... เหมือนไม่ได้ยินที่ข้าพเจ้าบอกในตอนแรก ...
ข้าพเจ้า ชะโงกหน้าไปหาแล้วถาม ... “แล้วมึ้ง อีกินไหรนิ”(จะกินอะไรล่ะ) ...คำตอบที่ได้กลับมาคือ
“เออ ... กูสังเองแหะ! ... มีปากกันเล่า(เหมือนกันแหละ) ... มึ้งสังของโม่นู้ตะ”(พวกดนู้นเถอะ)
คนขาย ซึ่ง เป็นคนปรุงอีกตำแหน่ง เดินมาถามความต้องการ ข้าพเจ้า ไล่ทวนถามทีละคน อิกหน ก่อนส่งผ่านความต้องการเหล่านั้นให้คนขาย ...จนครบ
“แล้วมึ้ง ... อีเอาไหร?”(จะเอาอะไร) ... ข้าพเจ้าถาม
เขาไม่ตอบข้าพเจ้า ... แต่หันไปทางเจ้าของร้าน บอกสิ่งที่ต้องการด้วย ภาษาไทยกลาง สำเนียงฟังได้ ว่าใต้ ... 100 %
“แปะ(แป๊ะ) ... บีหุน น้ำ ชาม นึง” ...
ไม่ทราบคนขายเข้าใจอย่างไร แต่หันหลังเดินกลับไปปรุงอาหารที่เราสั่งปรกติ ... ยกมาบริการ ให้ทุกคน ...ขาดแต่ของเพื่อนคนนั้น ... เราอิ่มกันแล้ว เขายังไม่ได้กิน ... บางคนเริ่มถามข้าพเจ้าถึงที่ ที่จะเดินไปเที่ยวกันต่อ
“เดียวต้าาา(ประเดี๋ยวซี) ... กูยังไม่ได้กินที เด” หันมาทางข้าพเจ้า
“มึ้งสังบีหุนน้ำ ให้กุที ... จีนเหม่อ(เซ่อ) ... ฟังไม่โถก”(ฟังไม่รู้เรื่อง)
ข้าพเจ้าจัดการให้ตามขอ ... เสร็จการกิน เดินเทียวตลาดบางลำพู แบบผ่าน ๆ แล้วกลับที่พัก ...
ขณะเดินกลับ สวนกับอาจารย์ซึ่งสอนในวิทยาลัยที่เพื่อน ๆ พัก ... ท่านคงอนุมาณได้ว่า เป็นกลุ่มแขกผู้มาพัก จึงยิ้ม และทักทาย ในฐานะเจ้าของบ้าน ... ส่วนเพื่อนคนที่ว่า ... เดินตกหลังคนอื่น ๆ จึงได้คำถามพิเศษ
“มาหาเพื่อนเหรอครับ”
“ครับ !” เสียงตอบสั้น ๆ จากเพื่อนข้าพเจ้า
“อ้อ ... เหลอ ..” เสียงแสดงรับรู้จากอาจารย์ท่านนั้น แล้วถามต่อ ... “เรียนอยู่ที่ไหนนี่”
“เทคนิคทน ครับ” ตอบสั้น ๆ จากเพื่อน (สมัยนั้นเรียกวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี สั้น ๆ ว่าเทคนิคธนฯ)
“อ้อ ... เรียนเทคนิคธนฯ” ... อาจารย์ปล่อยเสียงแสดงความเข้าใจออกมา ขณะเดินห่างออกไป
ข้าพเจ้าสะดุดความรู้สึกในคำสนทนาที่ได้ยิน ... หยุดรออยู่ จนเพื่อนเดินมาทัน จึงเอ่ย ...
“เหม่อจังมึ้ง ... นั้นอาจารย์นั้น ... เข้าใจผิดหนัด เหนียน(ถนัด) แล้วและ”
“เข้าใจผิดพรือ ...” เขาถาม
“ก้ามึ้งเรียนเทคนิคใต้ ... แต่มึ้งบอกแกว่าเรียนเทคนิคธนฯ ... แล้วไม่เหมอจังเฮอ” ข้าพเจ้าอธิบาย
“มึ้งฮัน ... เข้าใจผิด” เขาว่า แล้วคงเห็นข้าพเจ้ามีอาการ งง ๆ ... จึงว่าต่อ
“เวอ กูเรียนเทคนิค กอนมึ้ง ... นี้มึ้งจบสองแหง ... แล้วก้าทำงานแล้ว ... ถึง .. กูนิ ... พออีจบ(เพิ่งใกล้จบ) .... แล้วมึ้งว่า กูไม่เรียนเทคนิคทน พรื่อ ... มึ้งฮันแนะเหม่อ”
เขาจบคำอธิบายด้วยเสียงหัวเราะชอบใจ ข้าพเจ้าและเพื่อน ๆ ที่ยืนฟังอยู่ ก็พลอยหัวเราะไปด้วย ... จึงมีบางคน ผสมโรง
“เออ ... พันหนัน(ถ้าเช่นนั้น) กูก้าเรียนทน” จึงเรียกเสียงหัวเราะยาว ๆ ได้อีกรอบ
นี่แหละเพื่อนที่ข้าพเจ้ารักมาาา ...ก . คนหนึ่ง กับ บีหุน
ถึงจะไม่ใช่ตำนาน แต่ก็ประทับใจข้าพเจ้า ... จนบัดนี้!
- บล็อกของ paloo
- เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อแสดงความคิดเห็น
- อ่าน 3616 ครั้ง
ความเห็น
ธนนันท์
4 มกราคม, 2012 - 11:07
Permalink
Re: บีหุนนี้! ... มิใช่ตำนาน ลุงพุงโลคะ
หลานนันท์... ประทับใจลุงมากค่ะ ไม่ว่าลุงจะเขียนอะไรมาให้อ่าน หลานนันท์ก็จะตามอ่าน...แต่เที่ยวนี้ "บีหุน" ทำให้หลานนันท์ "เจ็บหัวเหม็ด"...หรือเปล่า..โอ๊ย!...ซะแม่นคักแท้หน๊อ...ลาวมาเจอปักษ์ใต้...วินแฮง!!!!!!
ขอเวลาอีก 3 ชาติ จะพยายามอ่านให้เข้าใจให้หมดค่ะ...
paloo
4 มกราคม, 2012 - 11:54
Permalink
Re: ขอโทษอย่างแรง ...
เล่าใส่อารมณ์ พื้นถิ่นมาไปหน่อย ... ลืมคิดถึงผู้อ่านภาคอื่น ๆ ... ต้องขออภัยอย่างยิ่ง
ขอบคุณหลานนันท์ ที่ให้เรียกสติให้ ...Up ให้แล้วครับ ออกจะรุงรังหน่อย
... ก็แหวก ๆ อ่านเอาก็แล้วกัน
ไง ... วินแฮง!!!!!! คือข่างซาวดอย ... แม่นบ่
ธนนันท์
4 มกราคม, 2012 - 12:16
Permalink
Re: ขอโทษอย่างแรง ...ลุงพุงโล..อีกครั้งค่ะ
วินแฮง!...หมายถึง.....มึนตึ๊บ!...ค่ะ
คำที่ลุงแปลมา ....ข่างซาวดอย...หลานนันท์ก็....มึนตึ๊บ!!!!!!!!
paloo
4 มกราคม, 2012 - 12:43
Permalink
Re: ขอโทษอย่างแรง ...ลุงพุงโล..อีกครั้งค่ะ
คือ ... มึนจนหมุนติ้ว อย่าง ลูกข่างชาวเขา ไง
ป้าเกี้ยว_บารา
4 มกราคม, 2012 - 11:36
Permalink
Re: บีหุนนี้! ... มิใช่ตำนาน
สมัยป้าเกี้ยวเรียนเขาก็เรียกแบบนี้แหละ บี๋หุนน้ำ บี๋หุนแห้ง ปัจจุบัน เขาเรียกเส้นหมี่น้ำ หมี่แห้ง
Low Tech แต่ใจรัก
paloo
4 มกราคม, 2012 - 12:02
Permalink
Re: บีหุนนี้! ... มิใช่ตำนาน
ครับป้า ... อย่างป้าว่าแหละ
ปัจจุบัน ...
"บีหุน" บ้านเรา เขาเรียก "เส้นหมี่"
"หมี่ หรือ หมี่เหลือง" บ้านเรา เขาเรียก "บ๊ะหมี่"
และ "ตังหุน" บ้านเรา เขาเรียก "วุ้นเส้น"
โอ้ย ... มึนติ๊บ!
สาวภูธร
4 มกราคม, 2012 - 11:56
Permalink
Re: บีหุนนี้! ... มิใช่ตำนาน
:bye: :bye: :bye:
ป้าต่าย
4 มกราคม, 2012 - 11:59
Permalink
Re: บีหุนนี้! ... มิใช่ตำนาน
เมื่อตอนมาเป็นสะใภ้ใต้ใหม่ๆ ได้ยินเขาเรียกบีหุน...นึกว่าวุ้นเส้น...
คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก
paloo
4 มกราคม, 2012 - 12:11
Permalink
Re: ผมเอง ยังหลงเลยป้า
ไม่ใช่ ... แต่ใกล้เคียงเลยป้า
วุ้นเส้น ... ทางใต้เรียก "ตังหุน หรือ ตังหน" ... แผลงไปตามพื้นถิ่น ครับ
พวกเส้น ๆ นี่ เยอะเกิน ... ผมเองคนใต้ ... บางครั้งยังสับสนเลย
นี่ดีนะ "ที่ขนมจีน" เรายังเรียกเหมือนกัน ... ไม่งั้น "วิน ... หงายตึง"
tikki
4 มกราคม, 2012 - 13:00
Permalink
Re: บีหุนนี้! ... มิใช่ตำนาน
No comment 55555555555 นำ้ตาเล็ดเลย
หน้า