เตาเคี่ยวตาล @ รำแดงชุมชนแห่งการเรียนรู้
ภูมิปัญญาการทำตาล บนคาบสมุทรสทิงพระ สงขลา นับวันจะจางคลายแต่ไม่ถึงกับขาดหายไปจากวิถีชีวิตจริงและวัฒนธรรม การประมวลองค์ความรู้ไว้อย่างเป็นระบบ หมวดหมู่จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น ต่อเนื่องจากฐานเรียนรู้เรื่องบ้านตาล เช้านี้ขอพาพี่น้องเข้าสู่ ฐานการเรียนรู้เรื่องเตาเคี่ยวตาลที่รำแดง กันนะคะ
โรงเตาเคี่ยวน้ำตาลสด ที่บันทึกองค์ความรู้ไว้อย่างเป็นรูปธรรม ของลุงเพียร ใช้ทางตาลเป็นรั้ว หลังคาตับตาล โครงสร้างไม้ไผ่และไม้เก่าๆ เพื่อให้โปร่งโล่ง
บอร์ดสื่อความหมายใช้ภาพ บรรยายสั้นกระชับตรงไปตรงมา ช่วยให้ผู้ที่มาเรียนรู้เข้าใจทั้งเนื้อหาภูมิปัญญาและรูปแบบ เรียกว่า การถอดองค์ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคนออกมา
การสื่อความหมายปัจจุบัน เลอะเทอะมาก โดยเฉพาะการใช้แผ่นไวนิลพิมพ์ภาพตัวเอง(สไตล์นักการเมือง)มันพอกพูนอัตตา"ตัวกู ของกู"อย่าไปเอาอย่างมาใช้ในการสื่อเพื่อการศึกษาเรียนรู้เลยขอรับ เพราะสังคมที่ใช้เงินและอำนาจขับเคลื่อน ทำให้ประเทศเราจึงประสบภาวะวิกฤติรอบด้าน เราไม่ตระหนักที่จะใช้ความรู้ความสามารถนำสังคม
ลุงเพียรครูตัวจริงเริ่มมีงานเข้า สอนนักศึกษาสถาปัตถยกรรมเทคโนสงขลา พี่หยอยเป็นเพียงผู้จัดกระบวนการเรียนรู้อยู่เบื้องหลัง
โดยส่วนตัวชอบหลังคาโรงเตาที่ทำสองชั้นอย่างมีศิลปะ ลุงเพียรบอกว่า เขาต้องการให้ควันไฟถ่ายเทสะดวก หลักวิธีคิดอย่างพึ่งตนเองทำให้เกิดปัญญาแตกฉานเสมอ หลักวิธีคิดที่รับจ้างหาเงินส่งให้เด็กๆเรียนอย่างเดียว ทำให้เด็กคิดไม่เป็นทำอะไรไม่เป็น ช่วยเหลือตัวเองในเรื่องพื้นฐานชีวิตไม่ได้ น่าห่วงขอรับ เราชาวบ้านสวนต้องช่วยกันเสริมประสบการณ์ชีวิตใหเด็กๆใกล้ตัว มีจังหวะรีบทำเลยขอรับ
ทุ่งและดงตาลยังยั่งยืนตราบที่ผู้คนบนคาบสมุทรสทิงพระ ยังกินข้าวกินน้ำตาลโตนด
ดอกไม้ นก ปลา จากใบตาลสอดสานไว้รอผู้ไปเยือน รำแดง
- บล็อกของ ประไพ ทองเชิญ
- เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อแสดงความคิดเห็น
- อ่าน 11171 ครั้ง
ความเห็น
ประไพ ทองเชิญ
10 กุมภาพันธ์, 2012 - 13:56
Permalink
Re: เตาเคี่ยวตาล หัวไทรนากุ้งมา ล้มต้นตาล
ต่อมาอีกไม่นาน นากุ้งล้มคน ไม่เห็นค่าของใกล้ตัว
paloo
10 กุมภาพันธ์, 2012 - 10:47
Permalink
Re: เตาเคี่ยวตาล @ รำแดงชุมชนแห่งการเรียนรู้
หมังนี้ ... ปล้ำหา น้ำส้มโหนด เด ... ทานี้หายากจ้าน ...
ว่าอีทำ "เต้าคั่ว" ... กินสักที ... เปรี้ยวปากจ้าน แลว
ประไพ ทองเชิญ
10 กุมภาพันธ์, 2012 - 13:54
Permalink
Re: เตาเคี่ยวตาล @ รำแดงชุมชนแห่งการเรียนรู้
ลุงพาโลจ๋าอยากส่งมาให้จังเสีย แต่สาว่าแพ็คยากนิ รอลุงไปเที่ยวเยี่ยม ที่พัทลุงดีหวา หม้ายลุง
กระต่ายดำ
10 กุมภาพันธ์, 2012 - 12:18
Permalink
Re: เตาเคี่ยวตาล @ รำแดงชุมชนแห่งการเรียนรู้
หลายปีก่อนไปนาเระ ยังมีให้เห็นอยู่ ยังเคยไปช่วยเขาหยอดน้ำตาลอยู่เลย
ระยะหลังไม่เห็นแล้ว ยังคงเหลือแต่ หวาก กับ น้ำส้มโหนด ที่ยังทำกันอยู่
ขอถามพี่หยอยว่าไม้ไผ่สานที่ใช้ครอบไปบนเตาไม่ให้น้ำตาลล้นออกจากกะทะ เขาเรียกว่าอะไรครับ
จะปลูกต้นไม้ในใจเธอ
ประไพ ทองเชิญ
10 กุมภาพันธ์, 2012 - 13:37
Permalink
Re: เตาเคี่ยวตาล @ รำแดงชุมชนแห่งการเรียนรู้
ที่รำแดงเขาใช้ปี๊ปกลวงๆเจาะรูข้างๆวางลงไปน้ำผึ้งจะไม่ล้นกระทะ หรือใช้กระบวยไม้ไผ่ยาวๆคอยตัก ไม้ไผ่สานกันน้ำตาลล้น(โผ้)ดั้งเดิมมากๆ เท่าที่ถามชาวบ้านรำแดงเขาไม่รู้จักครับน้อง
oddzy
10 กุมภาพันธ์, 2012 - 13:05
Permalink
Re: เตาเคี่ยวตาล @ รำแดงชุมชนแห่งการเรียนรู้
ชอบเตาดินค่ะพี่หยอย เมื่อก่อน แม่เคยพาทำค่ะ แข็งแรง ทนทานมากๆ รับน้ำหนักหม้อใหญ่ๆ หนักๆได้สบายๆเลย ไม่แตกง่ายเหมือนเตาเจ็ก
ประไพ ทองเชิญ
10 กุมภาพันธ์, 2012 - 13:34
Permalink
Re: เตาเคี่ยวตาล @ รำแดงชุมชนแห่งการเรียนรู้
ดินที่ใช้ปั้นเตา เขาต้องใช้ดินปลวกซึ่งจะมีความเหนียวเนียนพิเศษ ยิ่งถูกอบความร้อนทุกวัน ยิ่งแข็งแรง มีเหตุมีผลดังนี้แลจ้า สาวอ๊อด
มังคุดหวานลานสกา
10 กุมภาพันธ์, 2012 - 13:28
Permalink
Re: เตาเคี่ยวตาล @ รำแดงชุมชนแห่งการเรียนรู้
พี่หยอยขอสารภาพผิด ตอนทำบ้านให้แม่รถจะเข้าไปลงแผ่นพื้นเข้าไม่ได้ติดเตาเคี่ยวตาลของพ่อเฒ่า(ตอนนี้ไม่ได้ใช้) มันจำเป็นจริงๆเพราะแผ่นพื้นมันหนักต้องให้เครนยกเพราะสูงด้วย ก็เลยสั่งทุบเตาเสียแล้ว แล้วนี่จะมีปัญญาไปฟื้นฟูให้เค้ามั๊ยเนี่ย พอมาเห็นบล๊อกพี่หยอยรู้สึกผิดยังไงก็ไม่รู้ ลูกขอโทษนะพ่อเฒ่านะ
ประไพ ทองเชิญ
10 กุมภาพันธ์, 2012 - 13:46
Permalink
Re: เตาเคี่ยวตาล ไม่อยากให้อภัยเลย น้องติ๋ม หุ หุ
เห็นภาพบ้านที่สทิงพระแล้ว ฮือๆๆๆ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้แล้ว มันผ่านไปแล้วจ้า ต้องวางแล้วล่ะ
ตี๋ ครม.
10 กุมภาพันธ์, 2012 - 15:12
Permalink
Re: เตาเคี่ยวตาล @ รำแดงชุมชนแห่งการเรียนรู้
เมื่อก่อนพ่อก็ขึ้นโหนด ทำน้ำส้ม เคี่ยวน้ำผึ้ง ทำหวาก ส่งลูกเรียน มีโอกาสจะทำเตาแบบนี้มั่งหวา
ตอนเป็นเด็ก....มีแรง มีเวลา แต่ไม่มีเงิน กลางคน.....มีเงิน มีแรง แต่ไม่มีเวลา ปั้นปลาย.....มีเงิน มีเวลา แต่ไม่มีแรง
หน้า