พฤกษ์ - ราชพฤกษ์ - กัลปพฤกษ์ - ชัยพฤกษ์ - กาฬพฤกษ์

หมวดหมู่ของบล็อก: 

เนื่องจากกำลังทำการบ้านเพาะต้นกัลปพฤกษ์ และสังเกตุว่าฝักกัลปพฤกษ์คล้ายกับฝักราชพฤกษ์ แต่ไม่เหมือนกัน  จึงไปค้นคว้าเพิ่มเพิม  พบว่ามีหลายต้นที่มีคำว่า "พฤกษ์" อยู่เป็นพืชตระกูลถั่วทั้งนั้น  และมีลักษณะคล้ายๆ กัน จึงถือโอกาสมาแบ่งปันข้อมูลของสาระพัด "พฤกษ์" กันครับ

พฤกษ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia lebbeck   (L.) Benth.  ชื่ออังกฤษ East Indian walnut, frywood, Indian siris, koko) วงศ์ Leguminosae - Mimosoideae สูง 15-25เมตร  ดอก สีเขียวอ่อนปนเหลือง ออกดอกเป็นช่อใกล้ปลายยอด ดอกย่อยรวมกันเป็นกระจุกแน่น กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น5แฉก  ฝักแบนรูปขอบขนานกว้าง 2 ซม. ยาว 12 ซม.

ราชพฤกษ์ หรือ คูณ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassis fistula Linn. ชื่ออังกฤษ Golden Shower Tree, Purging Cassia) วงศ์ Leguminosae - Caesalpinioideae สูง 12-15 เมตร  เวลาออกดอกใบจะร่วง ดอกมีสีเหลือง  ฝักยาวกลม ทรงกระบอก ปลายแหลมสั้น มีสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ผิวเปลือกแข็งเรียบ ภายในฝักจะมีชั้นกั้นเป็นช่อง ๆ

กัลปพฤกษ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia bakeriana Craib ชื่ออังกฤษ Wishing Tree , Pink Cassia ) วงศ์ Leguminosae - Caesalpinioideae สูง 5 - 15 เมตร  ดอกเริ่มบานสีชมพู เมื่อใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีขาว  ฝักรูปทรงกระบอก ยาว 30 - 50 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 - 2.5 ซม.

ชัยพฤกษ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia javanica L. subsp. reigera ชื่ออังกฤษ Pink and white shower tree หรือ Javanese Cassia ) วงศ์ Leguminosae - Caesalpinioideae สูง 5 - 15 เมตร  ดอกเริ่มบานสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม ใกล้โรยดอกสีขาว ฝักกลมเล็กน้อยออกแบน สีดำ ยาว 20 - 60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 - 1.5 เซนติเมตร

กาฬพฤกษ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia grandis L.f. ชื่ออังกฤษ Pink Shower , Horse Cassia ) วงศ์ Leguminosae - Caesalpinioideae สูง 10 - 20 เมตร ดอกเริ่มบานสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นชมพูตามลำดับ ฝักรูปทรงกระบอก กว้างประมาณ 3 - 4 ซม. ยาว 20 - 40 ซม. สีค่อนข้างดำ ผิวมีรอยแตกและมีสันทั้งสองข้างเมล็ดรูปรี รูปไข่หรือรูปขอบขนาน


ความเห็น

เคยเห็นมาทุกต้น แต่บางครั้งเรียกไม่ถูก ยกเว้นพฤกษ์ กับราชพฤกษ์ จำได้

ขอบคุณครับ


..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

เหมือนกันเลยครับพี่เสิน  โดยเฉพาะต้นกัลปพฤกษ์ กับต้นชัยพฤกษ์ แยกยากเหมือนกันต้องสังเกตุดีๆ

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

:hi: ได้ความรู้อีกแล้วค่ะ ขอบคุณมากค่ะ :cute:

ขอบคุณที่ติดตามน้องหนิง ...ระวังยุงนะครับ

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ตอนนี้ทุกพฤกษ์กำลังแข่งกันออกดอก


พฤกษ์เห็นมากเส้นทางชัยภูมิ-ภูเขียว ต้นนี้ส่วนตัวแล้วชอบเป็นพิเศษ ผมจะเรียกว่า "จามจุรีสีทอง" ยอดอ่อนกินได้ด้วยนะ บางพื้นที่เรียกผักซึก บางบ้านในชัยภูมิเรียกว่าต้นพิมาน


ราชพฤกษ์พบมากบนเส้นทางจากโคราชถึงขอนแก่น


กัลปพฤกษ์พบมากบนเส้นทางจากด่านขุนทดถึงชัยภูมิ และที่เขางูราชบุรี


ชัยพฤกษ์เคยพบว่ามีมากที่จ.น่าน


ส่วนกาฬพฤกษ์เคยไปเก็บฝักมาจาก ราชภัฏโคราช มีอยู่หลายต้น

พอกิน พอใช้ พอใจ คือความหมายของ พอเพียง

:admire2: ลุงพีครับ...ถ้ามีโอกาสแวะข้างทางฝากเก็บฝักให้ด้วย  ชอบพืชตระกูลถั่วครับ  ตอนนี้มีแต่เมล็ดจามจุรี และกัลปพฤกษ์ครับ

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

แหมๆๆ เหมือนรู้ใจ เลยจ้าน้องนึก

วันก่อนยังคุยเรื่องพวกนี้ กับลุงคิ่นอยู่เลยจ้า

ลุงคิ่นบอกว่า ใบพืชพวกนี้ 

เวลาตัดกิ่งกองไว้ ใบจะร่วงเป็นฝอยๆๆๆ

เป็นปุ๋ยอย่างดีที่หนึ่งเลย 

เพิ่งเคยได้ยิน กาฬพฤกษ์  วันนี้แหล่ะจ้า

อีกพวกที่ยัง งง งง อยู่ก็ อินทนิล ตะแบก ศรีตรัง 

มันคล้ายกันในความรู้สึกพี่

แหม...พี่โจมีเซียนอย่างลุงคิ่นอยู่  ถามไปเลยครับ  ผมว่าต้นอะไรแกก็ตอบได้หมดล่ะ

ส่วนพืชตระกูลถั่วพวกนี้เป็นปุ๋ยชั้นดีอยู่แล้วครับ  แต่คนกรุงมือใหม่อย่างผมตอนแรกรู้จักแต่จามจุรี (ก้ามปู)  นี่ยังแอบกลับไปเก็บฝักจามจุรีที่มหาวิทยาลัยสีชมพูกลับมานั่งเพาะอยู่ อิ อิ  แต่..จะรอฝัก จามจุรีสีทอง (พฤกษ์) จากลุงพีเพราะหาแถวบ้านไม่เจอ

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

น้องนึก คุยกะลุงคิ่น ไม่มีรูปตัวอย่างดู

เลยไม่ค่อยจะเก็จอ่ะบางที 555

สวยทุกพฤกษ์เลยค่ะ  แต่เพิ่งได้ยินชื่อ กาฬพฤกษ์   ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะคุณนึก

   พออยู่ พอกิน พอใช้ พอใจ = พอเพียง

หน้า