เพอร์มาคัลเจอร์ : ปุ๋ยหมัก

หมวดหมู่ของบล็อก: 

มีคนเขียนบล็อกเรื่องวิธีการทำปุ๋ยหมักหลายท่านแล้ว  ผมคงไม่พูดถึงสูตรการทำปุ๋ยหมักอีก  แต่อยากให้เพื่อน สมช. เข้าใจว่าปุ๋ยหมักที่เราคิดว่าเหมือนกัน อาจจะไม่เหมือนกันซะทีเดียว

คำเตือน : ท่านอาจจะต้องคุ้นเคยกับชื่อสารเคมีบ้างในการอ่านบทความต่อไปนี้

พืชต้องการอาหารแบบไหน?

จากผลการศึกษาพบว่าพืชแต่ละประเภทมีความต้องการอาหารแตกต่างกัน  อาหารสำคัญอย่างหนึ่งของพืชคือไนโตรเจน  แต่พืชแต่ละประเภทชอบไนโตรในรูปแบบแตกต่างกัน โดยสรุปคือ

1. พืชประเภทผัก พืชล้มลุก (annual) และหญ้า โดยส่วนใหญ่ชอบไนโตรเจนในรูปแบบของไนเตรทไออน (NO3-)

2. ต้นไม้ ไม้พุ่ม และพืชยืนต้น (perrenial) ต่างๆ ชอบไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียไอออน (NH4+)

เมื่อศึกษาต่อไปเราจะเข้าใจมากขึ้นว่าเมื่ออาหารอยู่ในรูปแบบที่ย่อยง่าย เช่น น้ำตาล แบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้เร็วกว่าเชื้อรา และขับถ่ายของเสียจากการย่อยอาหารในรูปของไนเตรท

ในขณะที่อาหารที่ย่อยยากอย่างแป้ง หรือเซลลูโรสจะไม่สามารถย่อยได้ง่ายโดยแบคทีเรีย  เชื้อราจึงสามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่า และเชื้อราจะขับถ่ายของเสียจากการย่อยอาหารในรูปแบบของแอมโมเนีย

ผลการสำรวจประชากรของจุลินทรีย์ (จำนวนของแบคทีเรีย/โปรโตซัว และความยาวของเส้นใยของเชื้อรา) ในดิน 1 ช้อนชาจากสถานที่ต่างๆ เป็นดังนี้

  แปลงผัก ทุ่งหญ้า ป่า
แบคทีเรีย 100 ล้าน - 1,000ล้าน
100 ล้าน - 1,000ล้าน 100 ล้าน - 1,000ล้าน
รา/เห็ด หลายฟุต หลายสิบ - หลายร้อยฟุต
1 - 40 ไมล์
โปรโตซัว หลายพัน หลายพัน หลายแสน

ผลการสำรวจค่อนข้างยืนยันข้อสรุปก่อนหน้านี้  ทำให้เราต้องกลับมาพิจารณาว่าปุ๋ยหมักที่เราทำเพื่อใช้กับพืชแต่ละชนิดจะได้ผลดียิ่งขึ้นถ้าเรารู้จักปรับให้มีสัดส่วนของแบคทีเรีย และเชื้อราให้เหมาะสมกับชนิดของพืชที่เราจะเอาปุ๋ยหมักไปใส่

สัดส่วนของเชื้อราต่อแบคทีเรียของพืชแต่ละชนิดต้องการจะแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น

ตัวอย่างพืช
เชื้อรา : แบคทีเรีย
แครอท, กะหล่ำปลี, บร็อคโคลี่ 0.3:1 - 0.8:1
มะเขือเทศ, ข้าวโพด, ข้าว 0.8:1 - 1:1
หญ้า 0.5:1 - 1:1
ต้นโอ๊ก, เมเปิ้ล 10:1 - 100:1
ต้นไม้ส่วนใหญ่ 10:1 - 50:1

โดยสรุปง่ายๆ พืชล้มลุกจะชอบดินที่มีแบคทีเรียมากกว่าเชื้อรา  ในขณะที่ต้นไม้ขนาดใหญ่น่าจะชอบดินที่มีเชื้อรามากกว่าแบคทีเรีย ในขณะที่มีพืชขนาดเล็กหลายชนิดชอบดินที่มีสัดส่วนของแบคทีเรียและปุ๋ยหมักพอๆ กัน

ทำอย่างไรถึงจะปรับสัดส่วนของเชื้อราและแบคทีเรียในปุ๋ยหมัก?

หากต้องการให้มีเชื้อรามากควรจะต้องทำดังนี้

  • เพิ่มสัดส่วนของวัสดุสีน้ำตาล เช่น ใบไม้แห้ง, เปลือกไม้, ชิ้นไม้สับ (wood chips), กิ่งไม้ขนาดเล็ก, ขี้ลีบข้าว, กากอ้อย, ขุยมะพร้าว, ซังข้าวโพด, รำ เป็นต้น
  • การย่อยวัสดุ (เช่น การทำ wood chips) จะช่วยเพิ่มพื้นที่ให้เชื้อราเจริญเติบโต  แต่ถ้าย่อยจนเล็กมากเกินไปจะทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีกว่าเชื้อรา
  • ควบคุมค่าความเป็นกรดด่างให้อยู่ระหว่าง pH 5.5 - 7

หากต้องการแบคทีเรียมากควรจะต้องทำดังนี้

  • เพิ่มสัดส่วนของวัสดุสีเขียว เช่น เศษหญ้าสด, เศษใบไม้สด, เศษอาหาร, ฟางข้าว, ผักตบชวา, เปลือกถั่วและต้นถั่วสด, เศษวัชพืชต่าง ๆ, อุจจาระ เป็นต้น
  • ย่อยวัสดุให้เล็กมาก เช่น ใบไม้แห้งซึ่งเชื้อรามักจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า แต่ถ้าป่นใบไม้แห้งจนเล็กมาก แบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าเชื้อรา
  • ควบคุมค่าความเป็นกรดด่างให้อยู่ระหว่าง pH 7 - 7.5 เมื่อค่า pH ต่ำ (เป็นกรด) มากเกินไปอาจจะช่วยด้วยการเติมปูนขาวเข้าไปเล็กน้อยเพื่อเพิ่มค่า pH
  • เพิ่มไส้เดือนในกองปุ๋ย (ปกติถ้ากองปุ๋ยไว้กับพื้นดิน ก็อาจจะมีไส้เดือนมาอยู่แล้ว)

 

หวังว่าเพื่อน สมช. คงจะพอได้แนวคิดในการปรับสูตรของปุ๋ยหมักให้เหมาะสมกับชนิดของพืชที่เราจะนำปุ๋ยหมักไปใช้งาน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com

ความเห็น

อืม ปวดหัวค่ะส่วนตัวไม่ค่อยอ่านทฎษฎี เน้น้หงื่อออกเป็นคนบ้าพลังประมาณนั่นลองไปห้างแล้วซื้อEMขนาด1ลิตร90บาทจะมีฉลากบอกหมด :sweating:

..ค้นหาสิ่งที่ใจต้องการให้พบ แล้วใช้มันเป้นเครื่องนำทางแห่งชีวิต..

พอดีเป็นพวกไม่ค่อยมีแรง :uhuhuh:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

โบราณท่านว่า"รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม" ขอบคุณสำหรับความรู้ที่มานำเสนอครับ เป็นแนวทางปฏิบัติที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ซึ่งบางทีเราอาจมองข้ามไป มันจะเป็นปัญหาเฉพาะที่ บางที่ไม่ต้องทำอะไรมากต้นไม้ก็งามจึงไม่มีปัญหา ส่วนที่ดินเสื่อมก็จะได้เป็นแนวทางที่จะนำไปทดลองดู

:cheer3:

ถ้าเราไม่รีบ หรือดินไม่มีปัญหาเยอะ ก็คงไม่ต้องเรียนรู้เรื่องพวกนี้มากนัก ปล่อยตามธรรมชาติได้เลย :cheer3:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

:sweating:    สมองไม่ยอมรับเลยค่ะ:sweating:

   พออยู่ พอกิน พอใช้ พอใจ = พอเพียง

:sweating: :sweating:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ตอนนี้ผมมีที่ดินอยู่หนึ่งผืนที่ ต. พังยาง อ .ระโนด สงขลา ที่ดินผืนนี้ปัจจุบันทุกปีจะเจอน้ำท่วมที่ดินเป็นประจำ เมื่อผมวัดความสูงของน้ำด้านหน้าที่ดิน ได้ประมาณ 50 - 100 cm

ส่วนด้านหลังที่ดินประมาณ 200-250 cm  ที่ดินผืนนี้มีด้านหน้ากว้าง 20 เมตร  ด้านหลังกว้าง 15 เมตร ยาว เกือบ 1 กิโลเมตร  ด้านหน้าและด้านหลังเป็นคลองชลประทาน

สภาพดินเหนียวปนทราย น้ำเป็นกรด PH ประมาณ 6.5  ด้านข้างที่ดินส่วนมากเป็นนา ตอนนี้ผมพยายามอ่าน permaculture ของ บิล มอรสัน ค่อยๆแปล ในปีหน้าคิดว่าจะเริ่มทำ

เกษตรกรรมยั่งยืน แต่ยังไม่รู้จะทำอย่างไรก่อน อาจารย์พอมีคำแนะนำให้ผมไม่ครับเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน  และ มีวิธีการศึกษาpermaculture อย่างไร  เช่นต้องเริ่มเรียนรู้จากจุดไหนก่อน

เพราะถ้าเป็นไปได้ผมอยากออกแบบที่ดินได้ด้วยตนเอง แะหากมีความรู้จะได้ช่วยเหลือคนอื่นต่อไป หากอาจารย์มีเวลาว่างช่วยตอบให้ด้วยนะครับ  หรืออาจารย์ติดต่อกลับมาที่เบอร์นี้

นะครับแล้วผมจะติดต่อกลับไปเอง รบกวนด้วยนะครับ  ปิยะ  081,8972629  skf.sPj

 

หน้า