คำถามประจำวันศุกร์ที่ 15/06/55 เฉลย ดอกเพกา หรือลิ้นฟ้า

หมวดหมู่ของบล็อก: 

 2-3 วันก่อน ไปทำงานแถวเวียงแก่น ได้ภาพคำถามมาถามกัน

ดอกอะไร เอ๊ะดอกอะไร ดอกนี้กินได้หรือเปล่าไม่รู้ รู้แต่ว่าฝักของมันกินได้มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ลองตอบดูนะครับ คิดว่าไม่ยาก

รางวัลไม่มีเหมือนเดิม

พี่ ป้า น้า อา คนไหนนึกไม่ออก ถามหนูเอ๊ย แมวก็ได้นะ จะใบ้เพิ่มให้ 2 คำ เหมียว เหมียว นึกออกยัง

เฉลย ดอกเพกา หรือดอกลิ้นฟ้า และมีอีกหลายชื่อตามที่ สมช. หลายคนได้ให้ความรู้เพิ่มเติม

ความเห็น

:uhuhuh:ที่จริงเตรียมจะตอบ แต่ว่า...ผิด:nonono:

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

ตอบคำถามไม่ได้เหมือนเดิม....แต่น้องแมวน่ารักจังค่ะ:embarrassed:

   พออยู่ พอกิน พอใช้ พอใจ = พอเพียง

ว้าย เค้ายังไม่แก่แต่ก็ชอบ เด้อค่ะ
กินได้ทั้งดอก ใบ จนกระทั่งฝักแล่ะจ้า
ดอกกะใบแก่กะเทิน
( ใบแก่กระเทิน=ใบกลางอ่อน กลางแก่ )
พรมน้ำซะหน่อย เอาใบตองห่อ 
ย่างไฟ พอสุกๆ แกล้มลาบเป็ด ลาบปลา 
แซ่บ อย่าบอกไผ ( เดี๋ยวมันสิเบิ๊ด )
ฝักอ่อนเผา ขุดๆ ซอยบางๆ 
ข้าวคั่ว-พริกป่น คะใคร้หั่นฝอย
ซอยใบมะกรูด บีบมะนาว นิด น้ำปลาหน่อย ขยำน้อยๆ
พอให้เข้ากัน  เปรี้ยวมันเผ็ดเค็ม  แซ่บ สุดยอด ขอบอกๆ  

ลูกอิสานกันดารแท้ แต่บ่อเหี่ยวทางน้ำใจเด้อ
หากแหม่นใหลหลั่งรินปานฝนแต่เมืองฟ้า
มาเด้อพวกพี่น้อง สานสัมพันธ์ให้มันแก่น
ให้ยืนยาวแนบแน่นพอปานปั้นก้อนข้าวเหนียว เด้อพี่น้อง

ที่บ้านเรียกดอกลิ้นไม้ค่ะ

555+ คุณโรสคะ ตั้งแต่อ่านคำถามคุณโรสมาครั้งนี้ครั้งแรกที่รู้จักจริง ๆ คะ เพราะที่บ้านป้าเพ็ญมีต้นสูงมาก ๆ สูงยิ่งกว่าเสาไฟฟ้าอีกคะ ที่บ้านป้าเพ็ญเรียกลิ้นไม้ หรือลิ้นฟ้า คะ  :congrats:

    

 

เป็นดอกเพกา ครับ


ชื่อ  เพกา (ภาคกลาง)มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ (เหนือ) ลิ้นฟ้า (เลย) หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นซ้าง (ฉาน-เหนือ) กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เบโก (มาเล-นราธิวาส)


ราก  
-  มีรสฝาดเย็น ขมเล็กน้อย ใช้บำรุงธาตุ ทำให้เกิดน้ำย่อยอาหาร เจริญอาหาร
-   แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ไข้สันนิบาต
-   ใช้ภายนอก รากฝนกับน้ำปูนใส ทาแก้อาการอักเสบ ฟกบวม


เพกาทั้ง 5  -  คือการใช้ส่วนราก ใบ ดอก ผล ต้น รวมกันจะมีรสฝาดเย็น มีสรรพคุณสมานแผล แก้อักเสบบวม แก้ท้องร่วง บำรุงธาตุ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้เพื่อลม เพื่อเลือด


ฝักอ่อน  - รับประทานเป็นผัก ช่วยในการขับผายลม บำรุงธาตุ


เมล็ด  - ใช้เป็นยาถ่าย เมล็ดแก่ใช้เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ


เปลือกต้น -รสฝาดเย็น และขมเล็กน้อย เป็นยาสมานแผล ทำน้ำเหลืองให้เป็นปกติ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับเลือดดับพิษโลหิต บำรุงโลหิต แก้เสมหะจุกคอ ขับเสมหะ แก้บิด แก้อาการจุกเสียด


เปลือกต้นตำผสมกับสุรา
-     ใช้เป็นยากวาดประซะพิษซางเด็กชนิดเม็ดเหลือง
-      แก้ละองขึ้นในปาก คอลิ้น แก้ละอองไข้
-     ใช้ฉีดพ่นตามตัวคนคลอดบุตรที่ทนการอยู่ไฟไม่ได้ ทำให้ผิวหนังชา
-     ทารอบ ๆ ฝี แก้ปวดฝีทาแก้อาการฟกบวมอักเสบ


ปลือกต้นสดตำผสมกับน้ำส้ม  ซึ่งได้จากรังมดแดงหรือเกลือสินเธาว์
-    รับประทานขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้บิด แก้อาเจียนไม่หยุด
-    รับประทานแก้เสมหะจุกคอ (ขับเสมหะ) ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ บำรุงโลหิต
นอกจากนี้เปลือกเพกา ใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น แก้เบาหวาน แก้โรคมานน้ำ เปลือกต้มรวมกับสมุนไพรหลายชนิด แยกเอาน้ำมันมาทาแก้
-     แก้องคสูตร
-    แก้ริดสีดวงทวารหนัก ทวารเบา
-    แก้ฟกบวม แก้คัน

ไม่ลองไม่รู้ ไม่ดูไม่เห็น เอาบทเรียนในสิ่งที่ทำผิดพลาดในอดีตมาแก้ไข เพื่อสู้ต่อในอนาคต แล้วทุกอย่างจะดีขึ้นเอง

สงสัยจะมีหลายชื่อ  ตกลงชืออะไรค่ะนี้ :confused:

ลุงโรสคะ สมช. ตอบไปหมดแล้วค่ะ ป้าเหนือ ลอกของคุณ Sak92 ละกันค่ะ :admire2:

 

 

 

จริงๆ คำถามนี้แทบไม่ต้องเฉลย เพราะทุกคนรู้จักกันหมด ง่ายที่ซู๊ดดด

หน้า