เมื่อปั๊มดูดน้ำไม่ขึ้นแทงค์

หมวดหมู่ของบล็อก: 

     ช่วงเวลาของการปลูกผักน้ำจำเป็นต้องใช้รดผักทุกเช้า ผมใช้น้ำจากสระดูดน้ำขึ้นแทงค์ด้วยปั๊มน้ำขนาด 2 นิ้ว ปกติน้ำจะขึ้นแรง และไม่นานน้ำก็จะเต็มแทงค์ แต่หลายวันมาแล้วน้ำขึ้นน้อย รอตั้งนานแล้วน้ำก็ไม่เต็มแทงค์ คงถึงเวลาที่ต้องลงไปเล่นน้ำในสระมรกตแล้ว

   เดิมผมเอาหัวดูด ไปมัดไว้กับลำไผ่ที่เอาไปปักไว้ในสระ ซึ่งมัดเอาไว้ในระดับที่ลึกที่สุด คาดว่าเวลาผ่านไปนานลวดขาด ทำให้หัวดูดทองเหลืองอย่างดี ไปนอนอยู่บนดินทำให้ ดินมาอุดหัวดูด เลยทำให้น้ำขึ้นน้อย พอเอาดินออกน้ำก็ขึ้นปกติ ครั้นจะเอาหัวดูดไว้ลึกอย่างเดิมก็ใช่ที่ เพราะเคยเห็นแพปั๊มน้ำที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง ซึ่งหัวดูดไม่ได้อยู่ลึก ซึ่งถ้าหัวดูดอยู่ลึก นั่นหมายความว่าปั๊มต้องเสียแรงในการดูด ซึ่งปั๊มน้ำธรรมดาสามารถดูดน้ำได้ลึกแค่ 8 เมตร  จะให้ดำน้ำลงไปมัดหัวดูดคงไม่ไหวแล้วครับเพราะจุดที่หัวดูดอยู่น้ำลึกตอนนี้ประมาณ 5 เมตร เอาแบบนี้ดีกว่า กลับบ้านไปเอาแกลอนมา 2 ลูกมัดติดกัน แล้วเอาหัวดูดมาพาดบน แล้วมัดอีกที

สระมรกต แหล่งน้ำของผม

ให้หัวดูดจมลงไปในน้ำประมาณ 80 เซนติเมตร

   ทดลองแล้วก็ใช้งานได้ดี ก็คิดเอาเองว่าปั๊มน้ำคงเสียแรงในการดูดน้ำ น้อยกว่าหัวดูดอยู่ในที่ลึก ใครมีความรู้ทางนี้ช่วยบอกทีครับว่าเป็นจริงตามนั้นหรือเปล่า หรือสิ่งที่ผมคิดมันไม่ถูก

ความเห็น

ไม่มีความรู้เลยจ้า ...นี่ก็ดูดีแล้วนะคะ ถ้าไม่คิดคำนวณเรื่องค่าแรงดูด+การใช้พลังงาน...วิธีนี้คิดว่าแก้ปัญหาเรื่องดินอุดหัวดูดได้ดีนะ ...รอคำตอบจากผู้รู้ เหมือนกัน...
:shy:.

ฟุตวาล์ว รั่วไหมครับ

ที่น้ำไม่ค่อยขึ้นเพราะดินอุดครับ ปัญหานี้แก้ไปเรียบร้อยแล้ว ไม่มีอะไรรั่วครับ

ตามหลักการในเชิงวิชาการแล้วหัวกระโหลกของปั๊มควรจะอยู่ตำแหน่งดังนี้

  • ตำแหน่งปลายท่อดูดไม่อยู่ต่ำปั๊มน้ำมากกว่า spec. ของ Suction Lift (ความดันขาดูด) ของปั๊มน้ำ  ส่วนใหญ่แล้วพวกปั๊มหอยโข่งที่ขายทั่วไปจะมี suction lift ประมาณ 6-9 เมตร  (ความจริง suction lift จะวัดจากผิวน้ำถึงตำแหน่งของปั๊ม  แต่ผมก็เผื่อไว้เพราะจะมีแรงเสียดทานในท่อขาเข้า และที่วาล์วหัวกระโหลกด้วย)
  • ถ้าหัวกระโหลกอยู่ใกล้พื้นสระมากจะดูดโคลนเข้ามา  ซึ่งอาจจะมาคาที่วาล์วของหัวกระโหลก  ทำให้วาล์วเปิดค้าง  ดูดน้ำไม่ขึ้น
  • ถ้าหัวกระโหลกอยู่ใกล้ผิวน้ำมากไปจะทำให้มีแรงดูดตรงบริเวณใกล้ผิวน้ำมาก  ทำให้มีโอกาสเกิดฟองอากาศเข้าไปในท่อน้ำขาเข้าได้ง่ายขึ้น  เมื่อมีอากาศเข้าไปก็จะทำให้ดูดน้ำได้ยาก  หรือดูดไปได้สักพักก็ดูดไม่ขึ้นต้องมาไล่อากาศกันใหม่
  • ความรู้จากช่างแถวๆ สวนผมเขาบอกว่าควรจะอยู่ลึกจากผิวน้ำประมาณ 1-2 กระป๋องน้ำมัน (คาดว่าน่าจะเป็นระยะ 50-150 ซม.)

ความจริงผมเคยเอ่ยถึงเรื่องนี้ใน http://www.bansuanporpeang.com/node/20610

ในการปฏิบัติ ผญ. ก็คงต้องทดลองดู  เพราะผมก็ทำผิดมาก่อน  โดยเอาทุ่นไปแขวนที่หัวกระโหลกมากไปจนมันลอยใกล้ผิวน้ำ  ตอนหลังจึงต้องขยายเชือกที่มัดทุ่มเพื่อให้หัวกระโหลกจมลงประมาณ 50 ซม.  ส่วนเรื่องที่ดูดได้ดีขึ้น ความจริงแล้วไม่น่าจะเกี่ยวกับการที่หัวกระโหลกอยู่ใกล้ผิวน้ำโดยตรง  เพราะ suction lift จะวัดจากปั๊มถึงผิวน้ำ โดยไม่ขึ้นอยู่ว่าตำแหน่งหัวกระโหลกอยู่ลึกเพียงใด    แต่ที่ปั๊มได้ดีขึ้นน่าจะเป็นเพราะมีสิ่งแขวนลอยน้อยลง  ทำให้น้ำไม่หนักเท่ากับน้ำที่้มีเศษดินปนมาทำให้  อีกอย่างตะแกรงที่เราใส่ครอบหัวกระโหลกก็จะมีเศษมาติดน้อยลง  ทำให้ดูดน้ำได้สะดวกขึ้นครับ


“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ขอบคุณมากครับ

 ชื่อสระของผูใหญ่ เหมือนชื่อถ้ำลอดที่เกาะมุกหรือเปล่าไม่แน่ใจ ถ้ำมรกต น่ะครับ

 การทำงานต้องรู้จริงทำจริงจึงประสบกับความสำเร็จ

ความจริงมันก็ไม่ได้ชื่อสระมรกตหรอกครับ เพียงแต่น้ำมันสีเขียว ก็เลยเรียกไปงั้นๆ

เข้าใจตั้งชื่อเนอะ :info: :info:

ผมว่าจมลงไปจากผิวน้ำประมาณ 1 เมตรก็น่าจะพอ

สระน้ำ สีเขียวสวยดีค่ะ

   พออยู่ พอกิน พอใช้ พอใจ = พอเพียง

หน้า