ตัวอร่อยดี ... ขี้เลิศกว่า ?

หมวดหมู่ของบล็อก: 

    ลงใต้  ครานี้มีห้วงเวลาหนึ่ง ฝนหนักติดต่อกัน 3 – 4 วัน มี Impeller  มาปรากฏอยู่เบื้องหน้า ... จะ ... จะ

    อดีตสัญญา วิ่งวูบเข้ามา เขย่าสมองหน่วยความจำ ของข้าพเจ้า อย่างจัง ...

       สิ่งที่จะเห็นต่อไปนี้ ใครจะเรียกขานกันอย่างไร ไม่ขัดของครับ ... แต่ข้าพเจ้ารู้จักเขามา ตั้งแต่อ้อน แต่ออก ว่า ...

 

 

 

 

    ... “ปลาหุด” 

    ก็ที่เห็นในกะละมังนี้แหละครับ

 

 

 

 

 

 

 

    เอ้า .... ดึงภาพเข้ามาดูใกล้ ๆ ...

 

 

 

 

    ปาดท้อง ! ... (หวาดเสียวไหม? ...) ต้องขออภัยที่ไม่ได้เบลอภาพ ... ด้วยเจตนาให้เห็นไส้ ที่บ้านข้าพเจ้า เรียกว่า “ขี้ปลาหุด”

    ย้ำ ... “ขี้ปลา” ... นะขอรับ มิใช่ “ไตปลา”

 

 

 

 

 

 

    อันว่า “ตัวปลาหุด” ที่ปรากฏต่อสายตาของท่าน ข้างบนนั้น เขาขายกัน กิโลกรัมละ 300 บาท – 400 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด และ เพศ

    ส่วน “ขี้ปลาหุด” ที่หมักเกลือจนได้ที่แล้ว ... บรรจุลงกระปุกพลาสติก ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร สูง 6 เซนติเมตร ... ท่านลองทายเล่น ๆ ซีครับ ว่า

       “เขาขายกัน กระปุกละ กี่สตางค์ ?”

            เอ้า ... ตอบเสร็จรึยัง ...?

    เฉลย ละนะ ....

        “กระปุกละ 30,000 ย้ำด้วยการเขียนเป็นตัวอักษรว่า (สามหมื่นถ้วน) .... แต่หน่วย เป็น “สตางค์” ... คราบ ... ฮุ ๆ ๆ ๆ ....

         ก็ 300 บาท ครับ ... ราคานี้ ผู้ซื้อแย่งกันอย่างกะแจกฟรี ! .... ก็แกงแล้ว ใครได้ลิ้ม ชิม ลอง .... เป็นต้องขอซ้ำ

    งานในชุมชน ไม่ว่า งานแต่ง งานตาย ... หากมีรายการอาหาร “แกงขี้ปลาหุด” .... ก็จะเห็นภาพการเอาข้าวสุกลงคลุกในรอยแกงก้นหม้อ ทุกงาน Confirm ครับ

    สำหรับตัวปลาหุด เข้ารายการอาหารได้หลาย ๆ รายการ ... ที่ นิยมมากคือ หลังจากล้าง ควักไส้ออกแล้ว ... ห้ามขอดเกล็ด เพราะเป็นส่วนที่เหล่านักชิม ใน TV ตักใส่ปาก ... แล้วต้อง ทำตาประหลับ ประเหลือก ... คราง ... ฮื้อ อ อ อ.... แล้วสาธยาย ตามสไตล์ และรัดดวงของแต่ละคน .... และก็ไม่ต้องล้างซ้ำ แต่...

    ตั้งน้ำ ... ทุบ ขมิ้น หอม กระเทียม ตะไคร้ ... จะโยน หรือจะประคองใส่ลงไปก็ได้ .... ตามด้วยเกลือ ... รอน้ำเดือดพล่าน ... หย่อนปลาตามลงไป หากมีใบมะกรูด ฉีกใส่ลงไปด้วยก็หอมดี ... ไม่มีแกล้งเฉยซะ ก็ไม่เสียหายอะไร

    รอสุก จะเอาไปไหน ก็สุดแท้เหอะ .... แต่ขอบอกว่า อันว่า “ต้มปลาหุด” มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ... ช่วยเจริญอาหาร ดีนักแล ... แต่รำคาญตรงก้างเยอะหน่อยครับ

        คำเตือน ... “ใครหุงข้าวไว้น้อย ๆ ไม่ควรทาน”

     เอาครับ ... เพื่อท่านที่ไม่เคยเห็น “ปลาหุด” จะได้รู้จัก และเห็นภาพชัด ๆ ของปลาหุด เลยเอา ปลาหุดในอิริยาบถ อื่น ๆ มาให้ดู อีกสัก สอง สาม ภาพ

     ภาพข้างล่างนี้ ... อวดหัว ลักษณะจมูก และ สีสัน

           อันว่า ส่วนหัวนี่ ... แกงแล้วแย่ง กันแหละ

 

 

 

 

 

 

       ภาพนี้ ... อวดหน้าท้องขาวผ่อง

        แก้มอวบแดง ... และปากอิ่ม...

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    เอ้า ... ดูกันในอิริยาบถ เอียงองค์ บ้าง .... 

     ไม่ใช่บิดขี้เกียจนะนี่ ... ฮึ ๆ ๆ ๆ...

 

 

 

 

 

 

 

     หลายท่านคงสงสัยว่า ... “จับมาได้ไง?”

       วิสัชนา ให้คลายสงสัยว่า ... ชาวบ้านเขาดักด้วยเครื่องมือที่ บ้านข้าพเจ้าเรียกว่า “เล่” ...

    แต่วิธีสร้าง และการจับปลาด้วย “เล่”  คงไม่อาจนำเสนอได้ในบล็อกนี้ ... เพราะนี่ ก็ยาวจนเอียนแล้วครับ

         ... วาระนี้ ขอแค่นี้ นะขอรับ ... 

             สวัสดี ครับ

ความเห็น

โห...ขี้ยังแพง

   หายาก ก้าแพง และป้าเหอ ...

     หาง่าย แจกฟรี ก้าหม้ายใครอีเอา

แค่ชื่อก็ไม่เคยได้ยินแล้ว แต่อ่านคำสาธยายของพ่อแล้ว อยากลองชิมรสชาติสักครั้ง

   เป็นปลา เฉพาะถิ่นครับ "ปลาหุด" จะอาศัยอยู่ตามแก่ง ในคลองต้นน้ำที่น้ำไหลเชี่ยว เขาจะไม่กินอาหารอย่างอื่น นอกจาก "ตะไคร่น้ำ" ที่เกาะตามหิน หรือ ท่อนไม้ที่จมน้ำ

    ขี้ปลาหุด ที่แกงแล้ว พ่อเอาติดมือขึ้นมาฝากน้อง ๆ เขาถุงนึ่งด้วย รสจัดจ้านมาก

    พร้อมจะแบ่งปัน บอกก็แล้วกัน

เป็นปลาที่หน้าตาประหลาดจัง ไม่น่าเชื่อว่าจะอร่อย...แต่เขียนซะน่ากินเชียว 

อยากเห็นเครื่องมือที่ใช้จับจังค่ะ "เล่" เนี่ยหน้าตาเป็นไงอ่ะคะ  :confused:

   ทางใคร ... ทางมัน ลิ้นใคร ก็ลิ้น ใคร ครับ ...

     ใช่แกล้งเสกสรรค์ ให้เกินจริง ... เอาเรื่องจริงมาเล่าครับ ... ไครอยู่สุราษฏร์ฯ แถว ๆ นาสาร บ้านนา เวียงสระ คง Confirm ได้

   "เล่" ชาวบ้านเขาสร้างไว้ตามแก่ง รอน้ำหลาก ปลาก็จะลงมาค้าง ในช่องขั้น ที่เขาทำไว้ ... ไว้ว่าง ๆ ขึ้นไป และมีกล้องติดไปด้วย จะเก็บภาพมาให้ดูครับ

ผมพอจะรู้จัก เล่ คนแต่ก่อนใช่ดักปลาในหน้าน้ำ แต่ปลาที่ลุงว่า แถวบ้านผมไม่มีครับ อยากรู้จังว่าอร่อยสักขนาดไหน

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

   ถ้าไม่ใช่ ช่วงเขา "ลงเล่" หากินตัวยากหีด .. แต "ขี้" พอหาได้

     โอกาสใดที่หลานเสิน ไปเยือน ... จะรับด้วย "ขี้หุด"


กลับมาอ่านอีกครั้งค่ะ  ฟังลุงเล่าแล้ว น่าอร่อย แต่แถวบ้านหนูไม่เคยเห็นปลาหุดเลยค่ะ

แบ่งปัน สร้างสรรค์ พอเพียง

 

หน้า