เพอร์มาคัลเจอร์ #9 : Hugelkultur

หมวดหมู่ของบล็อก: 


จากความพยายามหาแนวทางในการจัดการพื้นที่ในสวนบริเวณที่เป็นหินค่อนข้างมาก ดินแข็ง อินทรีย์วัตถุน้อย และแทบไม่มีดินสีดำๆ ให้เห็นเลย  ในบริเวณดังกล่าวแม้นแต่น้องปอเทืองก็งอกน้อยมาก  ทำให้ได้ค้นหาเรื่องราวในฟอรั่มของเพอร์มาคัลเจอร์เกี่ยวกับเทคนิคการปรับปรุงดินในพื้นที่ที่เป็นทรายล้วน / หินกรวดล้วน รวมทั้งพื้นที่ทะเลทราย ให้สามารถเพาะปลูกได้  และเมื่อทำต่อเนื่องกันหลายๆ ปีก็ปรากฎหน้าดินขึ้นมาได้  เทคนิคดังกล่าวเรียกว่า Hugelkultur ซึ่งเป็นภาษาเยอรมันแปลว่า mound culture น่าจะแปลเป็นภาษาไทยว่า วัฒนธรรมเนินดิน  ซึ่งฟังดูแปลกๆ และไม่สื่อความหมายมากนัก  จึงของใช้ชื่อภาษาเยอรมันว่า Hugelkultur ตามเขาแล้วกัน

Hugelkultur เกิดจากการสังเกตุธรรมชาติว่าต้นไม้ที่ล้ม หรือกิ่งไม้ที่ร่วงในป่าธรรมชาติจะสามารถรักษาความชื้นได้ดีกว่าบริเวณรอบๆ มักจะมีตะไคร่ มอส หรือเห็ดเกาะตามขอนไม้  ในหน้าแล้งดินบริเวณขอนไม้ก็จะมีความชื้นมากกว่าบริเวณอื่นๆ เมื่อไม้ย่อยสลายก็จะทำให้ดินบริเวณใกล้ๆ ขอนไม้มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าบริเวณอื่นๆ เป็นเวลานับ 10 ปีหลังจากที่ต้นไม้ล้มแล้ว หลังจากที่ขอนไม้ย่อยสลายหมดแล้วบริเวณดังกล่าวก็จะกลายเป็นกองดิน (mound)

 

ชาวยุโรบตะวันออกจึงพยายามเลียนแบบธรรมชาติด้วยเทคนิคการหมักปุ๋ยโบราณแบบที่เรียกว่า Sheet Composting หรือ Lasagna Composting (ซึ่งเป็นเทคนิคหลักที่ใช้ใน no-dig garden เรื่องนี้ว่างๆ จะมาเขียนบล็อกให้อ่านในภายหลัง) โดยการสุมไม้ที่ไม่ใช้ หรือเศษไม้จากการตัดแต่งกิ่งให้ค่อยๆ ย่อยสลายเป็นปุ๋ย

Hugelkultur กลายเป็นที่นิยมในกลุ่มเพอร์มาคัลเจอร์เนื่องจากนักเพอร์มาคัลเจอร์ชาวออสเตรียที่มีชื่อว่า Sepp Holzer พยายามทำแปลงผักที่ไม่ต้องพรวนดินโดยการใส่อินทรีย์วัตถุที่จะหมักเป็นชั้นๆ (Sheet Composting หรือ Lasagna Composting) แล้วปลูกผักบนกองปุ๋ยหมักไปเลยโดยไม่ต้องรอให้กลายเป็นปุ๋ย  (นิสัยขี้เกียจตามสไตล์เพอร์มาคัลเจอร์ ทำครั้งเดียว ใช้ได้นานๆ )

ในประเทศไทยก็มีการทดลองทำปุ๋ยหมักในลักษณะคล้ายกับแบบนี้ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปี 2552 เรียกว่า "การผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง" ของ ผศ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร โดยในช่วงแรกปี 2547 เป็นระบบที่ต้องมีท่อเติมอากาศ  ต่อมาจึงพัฒนาเทคนิคคล้ายของชาวตะวันตกในปี 2552 กลายเป็นเทคนิคแบบที่ไม่ต้องใช้ท่อเติมอากาศ ซึ่งปัจจุบันเป็นเทคนิคการผลิตปุ๋ยหมักที่กำลังได้รับความนิยมจากสมาชิกเวปเพื่อนบ้านของเราเป็นอย่างสูง 

แต่สิ่งที่ Sepp Holzer ทำจะแตกต่างจากการผลิตปุ๋ยหมัก  เพราะในขบวนการหมักเราอาจจะไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณไนโตรเจน ความร้อน หรือความเป็นกรดในกองมากเท่ากับการปลูกพืชบนกองปุ๋ย  โดยปกติถ้าเราใส่เศษไม้เข้าไป (มีคาร์บอนสูง) จำนวนมากจะเกิดการดึงไนโตรเจนไปใช้ในขบวนการหมักมาก  ทำให้เกิดสภาวะขาดธาตุไนโตรเจนในกองปุ๋ยชั่วคราวแต่ก็มากพอที่จะทำให้พืชที่ปลูกบนกองเหลืองและตายได้  ถ้าเราใส่ไม้เข้าไปน้อยมีปริมาณวัสดุที่มีไนโตรเจนมากไปก็อาจจะทำให้เกิดสภาพเป็นกรดจนพืชตายได้เช่นกัน   ความท้าทายที่ Sepp Holzer เจอคือเขาจะต้องระมัดระวังในการผสมสัดส่วนของวัสดุต่างๆ เข้าไปในกองเป็นอย่างมาก   ต่อมา Sepp Holzer จึงพยายามประยุต์เทคนิคของ Hugelkultur โดยการใช้ไม้ทั้งท่อน  ไม่ต้องย่อยไม้ให้เป็นชิ้นเล็ก หรือเป็นขี้เลื่อยก่อนที่จะไปทำกองปลูกพืช  เขาค้นพบว่าการทำแบบนี้จะทำให้เกิดการย่อยสลายแบบช้าๆ ซึ่งอาจยาวนานเป็นสิบปี ทำให้พืชที่ปลูกบนกองนี้ได้รับอาหารอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานมาก  และเขาก็ไม่ต้องสนใจเรื่องสัดส่วนของอินทรีย์วัตถุต่างๆ ที่เขาจะเติมลงในกอง  และ Hugelkultur กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของเขาในการทำการเกษตรแบบเพอร์มาคัลเจอร์จนเป็นที่โด่งดัง

การสร้าง Hugelkultur สามารถทำได้หลายเทคนิคดังนี้

ถ้าหน้าดินตื้น, ขุดดินยาก และคุณสามารถหาดินจากที่่อื่นในพื้นที่ หรือจากภายนอกได้  วิธีแรกจะค่อยข้างง่ายที่สุด คือเอาท่อนไม้มากองสุมกันจนสูง แล้วเอาดินที่หาได้มาโรยทับหนาประมาณ 1-2 นิ้ว คลุมด้วยวัสดุคลุมดิน เช่น ฟาง
ถ้าไม่สามารถหาดินจากที่อื่นได้ วิธีที่ 2  คือการขุดดิน (เช่น ขุดลึก 30-60 ซม.)  เป็นร่อง  แล้วเอาท่อนไม้มากองสุมในร่องที่ขุด  จากนั้นโรยดินที่ขุดทับกองไม้อีกครั้ง
วิธีนี้คล้ายๆ วิธีที่ 2 แต่จะขุดร่องข้างๆ กองเพื่อให้น้ำไหลลงร่องนี้ในช่วงที่ฝนตก  และเอาดินในร่องข้างๆ ไปใส่บนกอง Hugelkultur ด้วย

ส่วนรูปทรงของกอง Hugelkultur สามารถทำได้หลายอย่างขึ้นกับลักษณะของดิน ปริมาณท่อนไม้ และวัสดุอื่นๆ ด้วย เช่น

ทรงปกติ

ทรงผอมสูง

ทรงสามเหลี่ยม
แบบกั้นขอบด้วยหินขนาดใหญ่
แบบกั้นขอบด้วยท่อนไม้

ตัวอย่างภาพการทำกอง Hugelkultur แบบที่ 2 (แบบขุด)

ปัญหาหลักในการทำ Hugelkultur ที่มักจะเจอคือ คนทั่วๆ ไปไม่คุ้นเคยกับการมีแปลงปลูกผักเป็นกองสูงๆ  คนคุ้นชินกับการมีแปลงผักเตี้ยๆ และด้านบนแปลงผักราบ  ดังนั้นจึงมักจะทำให้กอง Hugelkultur เตี้ยเกินไปจนไม่เห็นผลของเทคนิคนี้เท่าที่ควร  ถ้าเราต้องการจะได้กองปลูกผักที่ไม่ต้องรดน้ำเลยตลอดหน้าแล้ง (หลังจากปีที่ 2) เราจะต้องทำกอง Hugelkultur สูงอย่างน้อย 2 เมตร  ถ้ากองของเราสูงประมาณ 60 ซม. ก็จะสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องรดน้ำประมาณ 3 สัปดาห์  คุณสมบัติในการดูดซับความชื้นของ Hugelkultur ที่มีความสูงเพียงพอนั้นดีมากจนมีบางท่านเรียก Hugelkultur ว่า No irrigation raised bed gardening system (ระบบยกร่องแปลงผักที่ไม่ต้องรดน้ำ)  

อ่านเจอแบบนี้ผมก็กำลังคิดว่าในปีนี้คงจะไม่มีกิ่งไม้ในสวนพอที่จะสามารถทำกองสูงขนาด 2 เมตรได้ (ปีเลยนี้กำลังปลูกไม้ป่าประมาณ 600 ต้น อนาคตน่าจะมีกิ่งไม้มากขึ้น)  แต่จะพยายามทดลองทำกองขนาด 60 - 120 ซม ไปก่อนในช่วงต้น  ถ้าได้ผลดีจึงค่อยๆ ขยายกองต่อไป  ถ้า Hugelkultur มันเวิร์คกับพื้นที่ที่ผมเพาะปลูกอะไรไม่ได้ก็จะค่อนข้างคุ้ม  เพราะการทำ 1 ครั้งจะสามารถใช้งานได้นานเกินสิบปี  สมกับการขี้เกียจสไตล์เพอร์มาคัลเจอร์ (permanent + culture) :uhuhuh:

 

เพอร์มาคัลเจอร์ #8.1 สระน้ำ - ต้นไม้ริมสระ
เพอร์มาคัลเจอร์ #8: สระน้ำ
เพอร์มาคัลเจอร์ #7 : สวน 3 พี่น้อง

เพอร์มาคัลเจอร์ #6.2 : ผลงานของ swale ช่วงเริ่มต้น
เพอร์มาคัลเจอร์ #6.1 : เริ่มลงมือทำ swale
เพอร์มาคัลเจอร์ #6 : การกักเก็บน้ำฝน
เพอร์มาคัลเจอร์ #5 : ภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อม
เพอร์มาคัลเจอร์ #4 : เรื่องเล็กๆ ของการเก็บน้ำฝน
เพอร์มาคัลเจอร์ #3 : การวิเคราะห์โซนในการออกแบบภูมิทัศน์
เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้
เพอร์มาคัลเจอร์ #1 : แนะนำแนวคิดเบื้องต้น

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com

ความเห็น

คิดว่า ที่เราทำก็คล้ายๆกันกับอันนี้นะ   ป้าเล็กเริ่มจากใส่ใบไม้แห้ง ใบไม้ผุ  ใบตองแห้ง  เต็มกระถาง  แล้วเอาดินผสมปุ๋ยหมัก ใส่ทับลงไป  ที่จริงที่ทำแบบนี้เพราะ  คิดว่า  ก้นกระถางไม่ได้ใช้  ใส่ดินไปทั้งกระถางก็เสียดาย  เพราะดินกับขี้วัว  เราต้องซื้อมา  ก็เลยใส่ใบไม้รองไปเยอะๆๆๆ (กันก้นตันได้ด้วยนะ) จนกลายเป็นนิสัย  พอเมล็ดงอกก็งามดีแต่ดินยุบตัว  สักพักเราก้เพิ่มดินที่หนักไปทางปุ๋ย  แล้วทีนี้ก็งามมมมมมมมมมมทุกอย่างเลย

ครับ หลักการบางอย่างคล้ายกันครับ

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

พัฒนาไม่หยุดเลย...เหนื่อยบ้างมั้ยคะเนี่ย...หยุดงานไปสวน ๆ

ชีวืตที่เพียงพอ..

:sweating: ไม่มีร้านให้พัฒนาแบบน้องน้อย เลยต้องมาพัฒนาสวนแทน

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

:cheer2: :cheer2:

^^

:cheer3: :cheer3:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ต้องลองทำดูบ้างแล้วค่ะ

บ้านพี่สร้อยวัตถุดิบเพียบ ทำได้สบายๆ เลยครับ ทำกองสูงๆ เวลาเก็บผักจะได้ไม่ต้องก้ม

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

:good-job: :good-job:

    

 

:embarrassed: :embarrassed:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

หน้า