เปิดประตูความรัก...ลับแล

หมวดหมู่ของบล็อก: 

http://youtu.be/Lhv8i2UadQA

คงจะไม่สายไปนะค่ะสำหรับ " ทริปการเดินทางตามหาประตูความรัก..ลับแล " ของพนิดา

ด้วยติดภารกิจหลายอย่างหลังจากกลับจากอุตรดิตถ์ กลับถึงบ้านยังไม่ทันได้นั่งเลยก็ต้องไปร่วมงานศพของ" พี่สุวิทย์ นิยมไทย "

เจ้าของไร่กาแฟที่ จ.กาญ สมาชิกบ้านสวนพอเพียงหวังว่าทุกคนคงจะจำได้  ต่อด้วยทริบเดินป่าอีกเลยช้าไปนิดนะค่ะ

พนิดาได้ฟังเพลงนำเที่ยวของจ.อุตรดิตถ์ เพลง " ประตูความรัก...ลับแล " ทำให้อยากเดินทางไปให้ได้ตามเนื้อเพลงค่ะ

" บทเพลง ประตูรัก...ลับแล "
หากใครมาเยือนลับแล ผ่านทางประตูความรัก 
สู่บานประตูไม้จำหลัก วัดดอนสักที่แสนงาม
ผลักบานประตูอดีต ที่มีราชสีห์ยืนเฝ้ายาม
อักขระโบราณ จดจารตำนานโยนกล้านนา
ฟ้ายามแลงอ่อนแสงรวี ม่อนฤษีตะวันลับลา
เมืองแห่งคนไม่มุสา ทอศรัทธาด้วยหัวใจ
เทือกทิวพนาป่าเขา บ้านเราภูเขากินได้
หมอกยามเช้า แดดงามยามสาย ฝนโปรยยามบ่ายหล่อเลี้ยงลับแล

พบหลงแล้วเธอจะรักหลง พบหลินแล้วเธอจะรักหลิน
ความสมบูรณ์แห่งแผ่นดิน คู่ควรให้ปลูกความฝัน
ตลาดฝายหลวงยามเช้า ชวนชิมข้าวแคบหมี่พัน 
ลับแลเพียงแลตากัน ความผูกพันก็พันผูกใจ

หากใครมาเยือนลับแล ผ่านทางประตูความรัก 
วันลาจากไกลใจคงประจักษ์ ว่าไม่มีวันลับลา 
ลับตาไม่เคยลับใจ ร้างไปแต่ไม่เคยร้างรา
ไม่ลาลับเลือนต้องกลับมาเยือนลับแล(ซ้ำ)
ไม่ลาลับเลือนต้องกลับมาเยือนลับแล
มาเยือนลับแล ผ่านประตูความรัก...

ตามพนิดามาเที่ยวกันค่ะว่ามีสถานที่ใดบ้าง...

 

"วัดดอนสัก"  ( วิหาร ที่สร้างจากไม้สักต้นเดียว )

ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ชื่อมาจาก การสร้างวิหาร ด้วยไม้สักเพียงต้นเดียว ที่ขึ้นอยู่บนเนินสูงตามธรรมชาติ

เป็นวิหารที่มีบานประตูไม้สักที่สวยงาม ดั่งฝีมือของช่างหลวง ระดับครู

บานประตูทั้งสองบานมีลายละเอียดที่สังเกตุดู จึงจะพบว่า แตกต่างกันในลายละเอียดของลาย

บานประตูวัดดอนสัก สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีลวดลายสวยงาม ติดตั้งเป็นบานประตู

สำหรับวิหาร วัดดอนสัก เป็น สถาปัตยกรรมเชียงแสน ปน สุโขทัย

ตัวเสาประตู เป็น ลายกนกใบเทศสลับ ลายกนกก้ามปู บานประตูเป็นไม้แกะสลักทั้งบาน

รูปลายกนกก้านขด มีรูปสัตว์หิมพานต์แทรกอยู่ในลวดลายกนกต่าง ๆ มีความอ่อนช้อยสวยงาม

โดยบานซ้ายและขวานั้นไม่เหมือนกัน แต่เมื่อปิดบานแล้วลวดลายมีความลงตัวเข้ากันได้สนิท

บานประตูวิหารวัดดอนสัก หรือ บานประตูวัดดอนสัก 

ตั้งอยู่ที่วัดดอนสัก หมู่ 3 บ้านฝายหลวง อ.ลับแล ห่างจากตัว จังหวัดอุตรดิตถ์ 9 กิโลเมตรเศษ

เป็นคู่บานประตูไม้จำหลักโบราณสมัยอยุธยา ที่มีความสวยงามคู่หนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ และ

เป็นบานประตูพุทธศาสนสถานที่มีความสวยงามมากที่สุด 1 ใน 3 คู่ของจังหวัดอุตรดิตถ์

คือ บานประตูวิหารวัดพระฝาง, บานประตูพระวิหารวัดพระแท่นศิลาอาสน์ และ บานประตูวิหารวัดดอนสัก

โดยประตูวัดดอนสักนี้เป็น 1 ใน 2 คู่

บานประตูสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน

กุฏิที่พักสงฆ์ ซึ่งเป็นอาคารไม้สักหลังใหญ่ ที่มีลักษณะเหมาะแก่การปกครอง พระภิกษุ สามเณรที่พักอาศัย

เพื่อการศึกษาพระธรรมวินัย โดยแบ่งเป็นห้อง ๆ เป็นปีกซ้าย ขวา

โดยมีส่วนที่เป็นห้องของเจ้าอาวาสอยู่ด้านหน้า เหมาะแก่การปกครอง และรับรองอาคันตุกะผู้มาเยือน.

"...แล ไปโอสูเจ้า แลลับแลหาย
ลับ บ่หวนคืนกลับ สู่เหย้า
เมือง งามรอสูขับ ขานแว่วเอื้อนเอ่ย
ลับแล แลลับเฝ้า ชั่วฟ้าดินสลาย..."

อำเภอลับแล หรือ เมืองลับแล 

เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเมืองล้านนาโบราณมีมาตั้งแต่สมัยก่อน กรุงสุโขทัย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยเสด็จมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2444 

ความเป็นมาของคำว่า “ลับแล” นั้น ตามข้อสันนิษฐานของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า

เดิมชาวเมืองแพร่ เมืองน่าน หนีข้าศึกและความเดือดร้อนมาซุ่มซ่อนตั้งชุมชนอยู่บริเวณนี้

เนื่องจากเป็นที่ป่ารก หลบซ่อนตัวง่ายและ ภูมิประเทศเป็นเมืองอยู่ในหุบเขามีที่เนินสลับกับที่ต่ำ

คนต่างเมืองถ้าไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศจะหลงทางได้ง่าย

อำเภอลับแลนอกจากจะมีโบราณสถานแบบล้านนาโบราณที่น่าสนใจมากมายแล้ว

ยังเป็นแหล่งผลิตสินค้า หัตถกรรมพื้นเมืองล้านนา เช่น

 ผ้าตีนจกและไม้กวาด เป็นแหล่งปลูกลางสาด ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด

ตำนานเมืองลับแล

ตำนานนี้เล่ากันสืบมาว่า ครั้งหนึ่งมีชายคนหนึ่ง (น่าจะเป็นคนเมืองทุ่งยั้ง) เข้าไปในป่า ได้เห็นหญิงสาวสวยหลายคนเดินออกมา

ครั้นมาถึงชายป่า นางเหล่านั้นก็เอาใบไม้ที่ถือมาไปซ่อนไว้ในที่ต่างๆ แล้วก็เข้าไปในเมือง

ด้วยความสงสัยชายหนุ่มจึงแอบหยิบใบไม้มาเก็บไว้ใบหนึ่ง

ตกบ่ายหญิงสาวเหล่านั้นกลับมา ต่างก็หาใบไม้ที่ตนซ่อนไว้ ครั้นได้แล้วก็ถือใบไม้นั้นเดินหายลับไป

มีหญิงสาวคนหนึ่งหาใบไม้ไม่พบ เพราะชายหนุ่มแอบหยิบมา นางวิตกเดือดร้อนมาก

ชายหนุ่มจึงปรากฏตัวให้เห็นและคืนใบไม้ให้ โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือ

ขอติดตามนางไปด้วยเพราะปรารถนาจะได้เห็นเมืองลับแล

หญิงสาวก็ยินยอม นางจึงพาชายหนุ่มเข้าไปยังเมืองซึ่งชายหนุ่มสังเกตเห็นว่าทั้งเมืองมีแต่ผู้หญิง

นางอธิบายว่าคนในหมู่บ้านล้วนมีศีลธรรม ถือวาจาสัตย์ ใครประพฤติผิดก็ต้องออกจากหมู่บ้านไป

ผู้ชายส่วนมากมักไม่รักษาวาจาสัตย์จึงต้องออกจากหมู่บ้านกันไปหมด

แล้วนางก็พาชายหนุ่มไปพบมารดาของนาง ชายหนุ่มเกิดความรักใคร่ในตัวนางจึงขออาศัยอยู่ด้วย

มารดาของหญิงสาวก็ยินยอม แต่ให้ชายหนุ่มสัญญาว่าจะต้องอยู่ในศีลธรรม ไม่พูดเท็จ

ชายหนุ่มได้แต่งงานกับหญิงสาวชาวลับแลจนมีบุตรชายด้วยกัน 1 คน

 

วันหนึ่งขณะที่ภรรยาไม่อยู่บ้าน ชายหนุ่มผู้พ่อเลี้ยงบุตรอยู่ บุตรน้อยเกิดร้องไห้หาแม่ไม่ยอมหยุด ผู้เป็นพ่อจึงปลอบว่า "แม่มาแล้วๆ"

มารดาของภรรยาได้ยินเข้าก็โกรธมากที่บุตรเขยพูดเท็จ เมื่อบุตรสาวกลับมาก็บอกให้รู้เรื่อง
ฝ่ายภรรยาของชายหนุ่มเสียใจมากที่สามีไม่รักษาวาจาสัตย์
นางบอกให้เขาออกจากหมู่บ้านไปเสีย แล้วนางก็จัดหาย่ามใส่เสบียงอาหารและของใช้ที่จำเป็นให้สามี
พร้อมทั้งขุดหัวขมิ้นใส่ลงไปด้วยเป็นจำนวนมาก จากนั้นก็พาสามีไปยังชายป่า ชี้ทางให้ แล้วนางก็กลับไปเมืองลับแล
ชายหนุ่มไม่รู้จะทำอย่างไรก็จำต้องเดินทางกลับบ้านตามที่ภรรยาชี้ทางให้
ระหว่างทางที่เดินไปนั้น เขามีความรู้สึกว่าถุงย่ามที่ถือมาหนักขึ้นเรื่อยๆ และหนทางก้ไกลมาก
จึงหยิบเอาขมิ้นที่ภรรยาใส่มาให้ทิ้งเสียจนเกือบหมด
ครั้นเดินทางกลับไปถึงหมู่บ้านเดิม บรรดาญาติมิตรต่างก็ซักถามว่าหายไปอยู่ที่ไหนมาเป็นเวลานาน
ชายหนุ่มจึงเล่าให้ฟังโดยละเอียดรวมทั้งเรื่องขมิ้นที่ภรรยาใส่ย่ามมาให้แต่เขาทิ้งไปเกือบหมดเหลืออยู่เพียงแง่งเดียว
พร้อมทั้งหยิบขมิ้นที่เหลืออยู่ออกมา ปรากฏว่าขมิ้นนั้นกลับกลายเป็นทองคำทั้งแท่ง
ชายหนุ่มรู้สึกแปลกใจและเสียดาย จึงพยายามย้อนไปเพื่อหาขมิ้นที่ทิ้งไว้
ปรากฏว่าขมิ้นเหล่านั้นได้งอกเป็นต้นไปหมดแล้ว และเมื่อขุดดุก็พบแต่แง่งขมิ้นธรรมดาที่มีสีเหลืองทอง
แต่ไม่ใช่ทองเหมือนแง่งที่เขาได้ไป
เขาพยายามหาทางกลับไปเมืองลับแล แต่ก้หลงทางวกวนไปไม่ถูก
จนในที่สุดก็ต้องละความพยายามกลับไปอยู่หมู่บ้านของตนตามเดิม

ตลาดฝายหลวงที่เป็นตลาดเช้า  จำหน่ายพวกอาหารให้กับคนในท้องที่

 ข้าวพันผัก ข้าวแคบ หมี่พัน

เป็นอาหารพื้นเมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยโบราณ ซึ่งมีมานานหลายชั่วอายุคน

ในการถนอมอาหารให้สามารถเก็บไว้ได้นานและสะดวกสบายในการนำติดตัวออกไปกินระหว่างวัน  เมื่อต้องเดินทางไปทำนา ทำไร่ นอกบ้านไกลๆ

การทำข้าวพันผัก จะต้องนำแป้งสดที่ใช้ทำข้าวแคบ มาใส่ละเลงบนปากหม้อเหมือนการทำข้าวเกรียบปากหม้อ

หลังจากนั้น ใส่ผักสด วุ้นเส้น และเนื้อหมูลงไปบนแป้ง พอผักและนื้อหมูเริ่มสุก

ม้วนพับแป้งเป็นสี่เหลี่ยมก็ตักเสิร์ฟได้เลย ข้าวพันผักที่ได้มากินคู่กับซอสเป็นน้ำจิ้ม ซึ่งเดิมจะมีเพียงซอสพริกเพียงสูตรเดียว

ข้าวแคบ 

ทำมาจากข้่าวเจ้าเอาไปแช่น้ำไว้แล้วเอามาโม่ โม่เสร็จแล้วนำมาหมักไว้จนมีกลิ่นทำให้เกิดรสเปรี้ยว

เติมเกลือเข้าไป ทำให้มีรสชาติเปรี้ยวและเค็มผสมกัน

จากนั้นนำแป้งมาไล้ (ไล้ คือการทำแป้งให้เป็นแผ่น ด้วยการนำแป้งละเลงบนปากหม้อที่มีความร้อน) 

ข้าวแคบ ของชาวลับแล จึงมีเนื้อแป้งเหนียว

ปรุงรสอร่อยมีหลายรส เช่น รสงา รสงาพริก รสกุ้งแห้งพริก รสสาหร่าย

การทำข้าวแคบ หรือ หมี่พัน 

นำข้าวแคบที่ตากแห้งมาแช่น้ำ และนำหมี่ที่ผ่านการผัดและปรุงรสชาติมาใส่ตรงกลางและม้วนก็รับประทานได้

รู้มั้ย ว่าลับแลยังมีอะไรอีกมากที่ไม่รู้....พนิดาต้องกลับมาเยือนและค้นหาอีกครั้งแน่นอนค่ะ

บล๊อกหน้าพนิดาจะพาไปเที่ยวไหนโปรดติดตามนะค่ะ...

ขอบคุณ...ข้อมูลจากการท่องเที่ยวอุตรดิตถ์

ขอบคุณ...สมาชิกบ้านสวนพอเพียง...ที่เข้ามาอ่านบล๊อกของพนิดานะค่ะ

ขอบคุณ...ผู้ใหญ่โสทร...ที่สร้างบ้านที่อบอุ่นด้วยมิตรภาพ และ การแบ่งปัน....

ความเห็น

ตามมาเที่ยวลับแลค่ะ

ตามมาเที่ยวด้วยค่ะ ยังไม่เคยไปเมืองลับแลเลย....

 

ลงวีดีโอให้ ป้าดา

ตั้งตารอบล๊อกนำเที่ยวอุตรดิตถ์ในมุมมองของคุณพนิดาคิดว่าคงมีมุมที่จะพาเที่ยวและแนะนำอีกมุมหลังจากได้ชมบล๊อกของคุณศิรินันท์ เริ่มจากวัดดอนสัก( มีรูปนางแบบ-นายแบบน้อย แต่ไม่เห็นมีรูปเจ้าของบล๊อกเลย) ได้ฟังประวัติความเป็นมาของชาวเมืองลับแลอย่างละเอียดอีกครั้งหลังจากที่ชักเลือนๆไปบ้างแล้ว ออกมาชิมอาหารที่ตลาดเขื่อนใหญ่(กาดฝายหลวง)อาหารพื้นถิ่นแปลกตาน่ากินนับเป็นของดีประจำถิ่นที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไ้วไม่ให้สูญหายไปกับวันเวลา ยังไม่เคยเข้าไปเที่ยวหมือนกันขอชมผ่านทางบล๊อกของคุณพนิดาก่อน แล้วเขียนอีกนะครับ

สวัสดีค่ะพี่พนิดา บล๊อกนี้จัดเต็มนอกจากจะพาไปเที่ยวยังให้ความรู้อีกด้วยขอบคุณค่ะ เปลี่ยนฤดูกาลแล้ว ฝนตกมากขึ้นพี่พนิดารักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ

สวัสดีครับ
ขอบคุณครับ

 

ด้วยความที่เข้าอ่านบล๊อกบ้างผ่านไปบ้าง ต้องก็กลับไปอ่านบล๊อกเก่าๆของคุณพนิดาจึงนึกออก ว่าคุณสุวิทย์ นิยมไทย คือสมช.ที่เพิ่งเป็นสมาชิกบ้านสวน และได้รู้จักกันตอนไป เดินทาง ถลอกปอกเปิกทัวร์ ครับก็ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวญาติสนิทมิตรสหายของคุณสุวิทย์ นิยมไทยด้วยครับ

 

ตามมาเที่ยวด้วยคน และได้รู้จักลับแลเพิ่มขึ้นด้วย ขอบคุณค่ะ

ตามมาชมด้วยคนครับ 

ตามมาเที่ยวด้วยคน  ละเอียดยิบสำหรับข้อมูลของน้องพนิดา..พาเที่ยวค่ะ  ขอบคุณค่ะ

หน้า