ทำ “ฮ” ... จากลูกยางกันไหม ?

หมวดหมู่ของบล็อก: 

    ท่านที่เคยเข้าไปอ่าน บล็อก ... “ของเล่นจากลูกยาง” ทั้งสองบล็อก ... ที่ข้าพเจ้าได้นำเสนอไปก่อนนี้ ... คงตงิด ๆ ว่า ‘แล้วของเล่นอีกอย่าง จากภาพแรก น่ะ เขาทำกันอย่างไร ... เล่นอย่างไร’ ? (ดูภาพนั้นได้จากตรงนี้ครับ)

    วันนี้ ... จะนำเสนอ ขั้นตอนการทำ และเล่น ของเล่นชิ้นที่เหลือจากที่เห็นในภาพ ให้ท่านที่ไม่เคยทำ แต่อยากทำได้ และหรือ ไว้เป็นคลังความรู้ ที่จะแนะนำให้เด็ก ๆ ได้ฝึกทำของเล่นชิ้นนี้บ้าง ... ซึ่งก็จะเป็นการช่วยพัฒนาทักษะสัมผัส แนวคิด และ EQ. ในตัวเด็ก ๆ อีกแนวทางหนึ่ง ... รึ รู้ไว้เล่น ๆ ใช่เป็นไร จริงไหมครับ

     เอ้า ... มาดูกันครับ

     ขั้นแรก ... จัดเตรียมวัสดุ

 

 

 

 

 

 

     ในเมื่อ เป็นของเล่นจากลูกยาง ... “ลูกยาง” ก็เป็นพระเอกซี

     ตามด้วย ไม่ไผ่ และ ด้าย

 

 

 

 

 

     มีวัสดุแล้ว ... ก็ต้องหาเครื่องมือ ... เอ้า ... ไปหากันครับ แค่ สองอย่างก็พอ

 

 

 

    “มีด” ... ไม่ต้อง “ปฏิทิน” มาก ... ฮึ ๆ ๆ งงละซี ก็ปฏิทิน ขึ้นต้นก็คม ก็ มกราคม ... และลงท้ายด้วยคมอีก คือธันวาคม ไงครับ

     อีกอย่าง คือ ... ตาปูขนาดเล็ก สักตัว ... ใช้ตัวเดิมที่ทำ “ลูกหวือก็ดี” จะได้ประหยัด และไม่ต้องฝนลับ

 

 

 

 

 

 

      ทุกอย่างพร้อม ... ก็เริ่มทำละนะ

     เหลาไม้ไผ่ ให้เป็นรูปใบพัด 1 อัน อยากได้ สวย ยาว โต ขนาดไหน ก็เหลาเอา ... กึ่งกลางใบพัดเจาะรูไว้สอดแกน

     แล้ว เหลา ไม้ไผ่อีกอีกอัน สำหรับทำแกนใบพัด ยาว – โตตามชอบ

     ตัดปลาย ไม้ไผ่ที่จะทำแกน ยาวประมาณ ครึ่งนิ้วชี้ ก็พอ

 

 

 

 

 

 

 

    เลือกลูกยาง ขนาดตามชอบ ...

    แต่ควรให้ส่วนกลางบวบใหญ่ ...

    ทำไม ? ... เดี๋ยวทราบครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     ได้มาแล้ว ... เลือกด้านเรียวเล็ก แล้วเจาะด้วย ตาปู

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  บ่งรูที่ได้ ให้โตพอจะสอด แกนใบพัดได้พอครือ ๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     พลิก เจาะด้านตรงข้าม ด้านที่เจาะแล้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    แล้วบ่งรู กว้าง พอที่จะให้ แกนกับเส้นด้ายสอดผ่าน พร้อมกันได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     แล้ว เจาะ กึ่งกลางร่องอก (รูประมาณตัวตาปู)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    คว้าน แคะ เนื้อในลูกยาง ออกให้หมด เหลือเปลือกกลวง ๆ ของเมล็ด พักไว้

    แล้ว ประกอบ ใบพัดกับแกน เข้าด้วยกัน ... ยึดแน่นด้วย ลิ่ม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

         ตัดแต่ง เรียบร้อย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    เอาลูกยางที่พักไว้ มาสอดด้วยด้าย ...

    โดย สอดจากรูร่องอก ทะลุปลายออกทางรูขนาดโต แล้วดึงปลายไว้ยาว พอควร

 

 

 

 

 

 

 

 

     เอาใบพัดที่ประกอบแกนแล้ว สอดจากด้านบนที่ปลายด้ายโผล่ ...

     สอดทะลุออกทางรูอีกด้าน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    ผูกปลายด้ายด้านบน ติดกับแกนใบพัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    ดันลูกยาง ขึ้นไปจนชนใบพัด

 

 

 

 

 

 

 

 

   ม้วนเก็บ ด้ายเข้าไว้ในลูกยาง ... ด้ายจะถูกเก็บไว้ได้มาก น้อย ขึ้นอยู่กับ ขนาดลูกยาง และการคว้านเอาเนื้อออกทิ้ง ... ตอนนี้คงทราบแล้วซีครับ ว่า ทำไมเราจึงเลือกลูกยางที่โต และ อวบ

    และเพื่อกันปลายด้ายอีกด้าน หลุดเข้าในลูกยาง เราจึงผูกไว้กับสลัก ครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

     ตอนนี้ ... พร้อมเล่นแล้วครับ !

 

 

 

 

 

 

 

 

    วิธีเล่น ... ดึงเส้นด้ายออกมาจนสุด ... แล้วผ่อน ...

    เชือกจะถูกม้วน เข้าไปใน กระเปาะลูกยาง พร้อมจะให้ดึงใหม่

    ใบพัดจะหมุนกลับไป กลับมา ... ลักษณะคลายใบพัดเฮลิคอปเตอร์ จึงเป็นที่มาของ “ฮ. ลูกยาง”

 

 

 

 

 

 

     ไม่เบื่อเล่น ก็ ดึง ... ผ่อน ... ดึง ... ผ่อน ... ไปเรื่อย ๆ

     เลิกเล่น ... ก็ม้วน เก็บด้าย ไว้ในกระเปาะนั่นแหละ

 

 

 

 

 

 

เดิน ๆ พัก ๆ ... สามครา สามตอน ... ห ... อา ... !

     ที่สุดก็ ... มาถึงปลายทาง “ของเล่นจากลูกยาง” ซะที

   อารมณ์สัมผัส ที่มีต่อ บล็อกทั้งสามที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ของแต่ละท่าน ... แน่ละ ต่างกันแน่ ...

     บ้างสนใจ เพราะไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น ... บ้างก็เฉย ๆ ด้วยเคยเห็น เคยเล่น ... บ้างชื่นมื่น ด้วยหวนอดีต ... บ้างสงสัย ‘เอามาเขียนทำไม กะอีของเด็กเล่นพื้น ๆ โบราณ ๆ’

     ใช่ ครับ ของเด็กเล่น โบราณ ๆ จากวัสดุพื้นบ้าน แทบไร้ค่าในสายตาธุรกิจเชิงพาณิชย์

     ช่วง นี้ (ก.ค. – ก.ย.) ... พื้นถิ่นที่ปลูกยาง ... ริมถนน - บนถนน ... “ลูกยาง” มีให้เห็นออกเกลื่อน

     หากมีเวลา ... โปรดหยุด มองค้น นามธรรม จาก รูปธรรม สมมติเรียก “ลูกยาง” กันหน่อยปะไร ?

     เด็ก ๆ จะได้อะไร จากการประดิษฐ์ ของเล่นลูกยาง ขึ้นมาเล่นเอง บ้างเล่า ? ...

       เบื้องต้น ... คือการเสาะแสวง ... ค้น ... คัด ... เอาประโยชน์จากสิ่งใกล้ตัว

        ลำดับถัดมา เกิดการเรียน – รู้ – จำ – ทำได้ – ทำเป็น – รู้วิเคราะห์ – รู้สังเคราะห์

   ที่สำคัญ คือ ... “ได้เรียนรู้ ฝึกฝนตนเอง ให้มี EQ รู้อดทน ... ดกลั้น รู้แพ้ รู้ชะนะ ... รู้ปรับตัว ให้เหมาะสม กลมกลืน กับบริบทสังคมแห่งที่ตนเป็นสมาชิก แบบทรงคุณค่า และมีความสุข”

ลูกยาง ... ก้านกล้วย ... กะลา ... ฯลฯ ... ที่ผิวเผิน ดูประหนึ่งไร้ค่า

หากมองอย่างค้นหา ... คุณค่า = ?



ความเห็น

สวัสดีครับพี่หลวง
รอ บล็อก นี้อยู่วันสองวัน เพื่อที่จะได้บอกกล่าวเล่าเเจ้งเรื่องราวสมัยเก่าของคนมีอายุ เรื่อง ฮ ลูกยาง ที่เคยทำเล่นตอนเป็นเด็ก แต่เรื่องที่เล่า จะเล่าให้ฟังว่า ลุงเคยทำเล่นได้อย่างไร ทั้งๆที่อำเภอบ้านลุงสมัยนั้น ไม่มีสวนยางเลย และการคมนาคมก็ไม่สะดวก เล่าเลยนะครับ ตอนเป็นเด็ก ลุงอยู่อำเภอระโนด สมัยนั้นที่นั้นไม่มีสวนยางเลย แต่บ้านลุงอยู่ริมทะเล พอถึงฤดูคลื่นใหญ่ คลื่นน้ำทะเลจะพัดพาเอาหลายสิ่งหลายอย่างมาเกยฝั่งขึ้นตลิ่ง รวมถึงลูกยางด้วย พอถึงฤดูนี้ลุงกับเพื่อนๆก็ไปเดินกันตามริมเล เก็บลูกยางมาทำของเล่น ลูกหวือ และ ฮ ครับ ส่วน กังหันเป่าปาก ไม่ได้ทำ เนื่องจากลูกยางที่ตก กว่าจะลอยน้ำออกทะเล เปลือก ฝัก ของลูกยาง ก็แตก และแยกลอยน้ำกันไปหมดแล้ว  

 

   หวัดดีครับ ...

      เดียวหนี่ โหนด ม้ายฉายมีแต โนด กับ ไทร แล้ครับ ...

        โหนด เปลียนไป มีแตโนดตาย กับนากุงหร่าง ๆ ...

พ่านไป ... ใจห้าย ทุกทีครับลุง

สมัยเด็กๆ ทำเล่นประจำเลยครับ

   ตอนเด็ก ๆ ทำเล่น ...

     ตอนแกนิ ทำเอาจริง ... ทำมากระตุกความทรงจำคนหรุนเกา ครับ

ฮ.ลูกยางเพิ่งเคยเห็นครับลุงอาจจะแถวบ้านผมทางอิสานเพิ่งจะปลูกยางตอนผมโตมานี้ จึงไม่เคยได้เล่นครับ คิดถึงตอนเป็นเด็กก็น่าจะสนุกดีครับ

ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงหรือต่ำอยู่ที่ทำตัว


บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

   ตอนนี้ "ยาง" เป็นพืชเศรษฐกิจ ของหลาย ๆ จังหวัด ทั่วทุกภาคของประเทศไทยไปแล้ว ครับ

     ผู้ปกครองรุ่นปัจจุบัน ... แม้จะไม่เคยเล่นเอง แต่คงไม่เสียหายใด ๆ ... หากแนะนำให้บุตร หลาน ทำเล่น ... เป็นการฝึก เด็ก ๆ ครับ

ลุงเล่นเบื่อแล้วม่าย ส่งมาให้ผมเล่นมั่งถิ 

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

  ของลุงหยบ ไว้ซองตูแล้วโด ... ?

     อยากเล่น ทำเองตะ ... ยาแหยงเผือนแหละ เดียวอีฝ่องผอ ทะแล

ขอเล่นด้วยคนนะคะ--เพราะตอนเด็กๆเพื่อน-พี่ๆผู้ชายเค้าเล่นกันค่ะ--กว่าเราจะได้เล่นด้วยก็ต้อง--เป็นโจรจับผู้ร้าย แล้วเราก็เป็นแม่หรือไม่ก็นางเอกค่ะ--อย่างมากก็เก็บลูกยางแล้วโยนขึ้นฟ้า แล้ววิ่งเก็บค่ะ--ขอบคุณนะคะที่คุณลุงนำเสนอความสุขในวัยเยาว์อันทรงค่า

ไว้จะลองทำดูบ้าง ขอบคุณมากค่ะ คุณลุงLaughing

สุดมือสอย ก็ปล่อยมันไป^^ ธรรมะ จากท่าน ว.วชิรเมธี