เล่าสู่กันฟัง “มินะมะตะ..อย่าให้เกิดขึ้นอีกเลยในโลกใบนี้”

หมวดหมู่ของบล็อก: 

อ้อยหวานติดตามอ่านบล็อกของคนอื่นอยู่มากมายหลายบล็อก ตั้งแต่บล็อกของนักปั่นจักรยานเที่ยว (ซึ่งได้ติดตามอ่านอยู่หลายสิบบล็อก) ไปจนถึงนักอนุรักษ์ซึ่งเมื่อวานนี้อ้อยหวานได้อ่านบล็อกที่เขาพาลูกเมียไปเที่ยวญี่ปุ่น อ่านไปจนถึงตอนที่เขาและครอบครัวไปที่เมืองมินะมะตะ (Minamata) แล้วก็ต้องสดุดกึกเมื่ออ่านจบ ทำให้ขวนขวายหาอ่านต่อหลังจากนั้น ทั้งอ่านเวป ทั้งดูวิดิโอ youtube แล้วคิดว่าเรื่องนี้ต้องบอกต่อ เพื่อจะได้เป็นอุทาหรณ์

 

เมืองมินะมะตะ (Minamata) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะคิวชู (Kyushu) เกาะที่อยู่ใต้สุดของประเทศญี่ปุ่น

 

เมืองมินะมะตะในวันนี้เป็นเมืองที่สุขสงบและมีทัศนียภาพที่สวยงดงาม แต่เมื่อห้าสิบกว่าปีก่อน เมืองมินะมะตะได้ประสบกับโศกนาฏกรรมที่เลวร้ายที่สุด ไม่ใช่โศกนาฏกรรมทางธรรมชาติ แต่เป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์

 

ในปี 1956 ได้มีผู้ป่วยด้วยโรคที่หาสาเหตุไม่ได้ โดยมีอาการดังนี้

อาการ Ataxia

-สูญเสียความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวทางกายภาพ

-สูญเสียการประสานกันของท่าเดิน

-มีอาการพูดไม่เป็นความ

-และอาการตากระตุก อาการสั่น ภาวะหดเกร็งของกล้ามเนื้อ กระดูกสันหลังโกงคด นิ้วเท้างุ้ม ส่วนโค้งเท้าสูงขึ้น

-ตากระตุก มือและเท้าชา กล้ามเนื้ออ่อนแอ

-สูญเสียประสาทหู ตา และปาก

ในกรณีที่รุนแรงจะมีอาการวิกลจริต เป็นอัมพาต โคม่า และเสียชีวิตในเวลาต่อมา จากผู้ป่วยคนแรกต่อมาก็มีเพิ่มขึ้นๆ เรื่อยๆ

  

ก่อนหน้านั้นได้มีการตายของปลาและสัตว์ต่างๆ ที่เด่นที่สุดคือแมว จนตอนนั้นเรียกกันว่า ‘โรคแมวเต้นรำ’ (cat dancing disease)

 ขอบคุณ youtube และ คุณ Resistance is Victory

 

ผู้คนที่นี่พากันเจ็บป่วยและล้มตายด้วยโรคใหม่ ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่าโรคมินะมะตะ (Minamata disease) เป็นโรคที่เกิดจากพิษของสารปรอทที่มีอยู่ในอาหาร ในกรณีนี้คือปลาและอาหารทะเลจากอ่าวมินะมะตะ และทะเลชิระนุอิ  (Shiranui)

 

โรคนี้ยังส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ เด็กทารกที่กำเนิดในเวลาต่อมามีภาวะพิการอย่างรุนแรง

 

แม้ภายหลังที่สามารถค้นพบสาเหตุแล้วว่าเป็นโรคที่เกิดจากมลพิษสารปรอทจากโรงงานผลิตปุ๋ยและอุตสาหกรรมเคมี   Chisso Corporation

โรงงาน Chisso Corporation เป็นโรงงานใหญ่และเป็นรายได้สำคัญของคนในท้องถิ่นและของประเทศ ทำให้โรงงานสามารถดำเนินการต่อไปอีกหลายๆๆ ปี และเกิดการสูญเสียอย่างมากมาย และเป็นวงกว้างขึ้น

ทั้งๆ ที่ทางโรงงาน Chisso Corporation รู้ว่าตัวเองได้ปล่อยสารปรอทลงในแม่น้ำ  อีกทั้งยังได้ทำการศึกษาทดลองกับแมวในห้องวิจัย ก่อนที่จะมีผู้ป่วยเกิดขึ้น แทนการกระทำที่ถูกต้องคือหยุดการปล่อยสารปรอท ทางโรงงานกลับปกปิดและเริ่มเปลี่ยนจุดปล่อยสารพิษลงในแม่น้ำสายอื่นแทน  สารปรอทถูกกระแสน้ำพัดออกไป ส่งผลกระทบต่อพื้นที่กว้างกว่าเดิม

 

นอกจากนั้นยังเป็นผลให้เกิดการแตกแยกในสังคม เกิดการประท้วงและปะทะกันระหว่างชาวบ้านผู้สูญเสีย และชาวบ้านผู้ที่กลัวว่าตัวเองจะตกงานสูญเสียรายได้มาเลี้ยงครอบครัว

 

ในปี 1971 ช่างภาพชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง นาย William Eugene Smith ได้เดินทางไปทำข่าวที่เมืองมินะมะตะ รูปถ่าย “Tomoko Uemura in Her Bath” ของเขา รวมทั้งรูปถ่ายและเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่เมืองมินะมะตะ ได้ลงพิมพ์ในนิตยสาร Life ทำให้เป็นข่าวใหญ่และเกิดความสนใจไปทั่วโลก และทำให้โรงงาน Chisso Corporation ตกอยู่ในฐานะลำบาก ต่อมาในปี 1972 นาย William Eugene Smith ได้ถูกคนงานของโรงงาน Chisso Corporation ทำร้ายบาดเจ็บสาหัส

โทะโมะโกะเสียชีวิตในปี 1977 เมื่ออายุ 21 ปี

 นาย William Eugene Smith เสียชีวิตในปี 1978 เมื่ออายุ 60 ปี

 

มนุษย์โลกจะได้บทเรียนจากเหตุการที่น่าเศร้านี้หรือไม่???

จะต้องสูญเสียกันอีกมากมายแค่ไหน????

และเราในฐานะประชากรของโลก หรือมนุษย์โลก เราได้ทำอะไรบ้างเพื่อยุติหรือป้องกันไม่ใช้เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นอีก …

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ

https://communingwithartifice.wordpress.com/2010/08/13/minamata/

http://en.wikipedia.org/wiki/Minamata,_Kumamoto

http://en.wikipedia.org/wiki/Minamata_disease

https://www1.umn.edu/ships/ethics/minamata.htm

http://melaicenteno.blogspot.ca/2012/06/cats-dance.html

http://www.corrosion-doctors.org/Elements-Toxic/Minamata-1.htm

http://www1.american.edu/ted/MINAMATA.HTM

http://www.soshisha.org/english/10tishiki_e/10chisiki_3_e.pdf

http://www.env.go.jp/chemi/tmms/pr-m/mat01/en_full.pdf

http://hereandnow.wbur.org/2013/10/09/mercury-treaty-minamata

 

 

 

I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

อนุสรณ์สถานมินะมะตะ

 

ความเห็น

เป็นเรื่องที่ยากจริงๆที่จะไม่ให้เกิดเรื่องราวแบบนี้ขึ้นอีก ผมเชื่่อว่ายังจะมีเหตุการณ์ลักษณะนี้อีก จริงๆแล้วมันก็เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เพียงแต่มันไม่ยังก่อให้เกิดผลกระทบแค่ชุมชนในวงกว้าง เสียงร้องของคนที่ได้รับผลกระทบมันจึงไม่มีคนสนใจมากพอที่จะทำให้เกิดการแก้ไข บ้างก็คิดว่าไกลตัว มนุษย์พร้อมจะทำร้ายกันเองตลอดเวลาเพื่อให้ตัวเอง,วงศาคณาญาติและพวกพ้องได้ ก็ได้แต่ฟังและดูไว้ มนุษย์มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุดโดยได้คำนึงว่าใครจะเดือดร้อนอย่างไร หลังจากแน่ชัดแล้วว่าสารปรอทที่ปล่อยลงแม่น้ำ,ทะเลทำให้เกิดผลดังกล่าว ก็ไม่แก้ไข คนงานก็กลัวไม่มีงานทำเลี้ยงครอบครัวแทนที่จะคิดว่าสักวันต้องเกิดกับตัวเองและครอบครัว 

มันเป็นความเห็นแก่ตัวของคนบ้างกลุ่ม เห็นแก่ประโยชน์ของตนเป็นใหญ่ เมืองไทยหมู่บ้านคลิติ้ ก็น่าเป็นหว่ง

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

คนนี้เห็นแก่ตัวอย่างน่ากลัว ทำลายได้แม้แต่กับเพื่อนร่วมโลก น่ากลัวมาก

ความสะดวกสบายมีขาย แต่ความสุขเงินซื้อไม่ได้ เพราะความสุขมิใช่เงิน

ประเทศไทยเราก็มีปัญหามลพิษมากมายเช่นกัน

ปัญหาสารตะกั่วที่ห้วยคลิตี้ ตำบลชะแล อำเภอทองภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ในอดีต

ปัญหาสารแคดเมียมปนเปื้อน ห้วยแม่ตาว อ.แม่สอด จ.ตาก ที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศ

ปัญหาสารพิษจากขยะอุตสาหกรรมที่เกิดจากบริษัทที่รับจ้างนำกำจัดแต่แอบไปลักลอบทิ้ง ที่ จ.ระยอง และ จ.สมุทรปราการ

ปัญหาสารพิษจากขยะ ที่เกิดจากบ่อทิ้งขยะตามจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ

ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงไม่ค่อยให้ความสนใจ มีแต่ NGO เท่านั้นที่ออกมาเรียกร้อง ที่จริงพวกเราคนไทยน่าจะร่วมมือกัน เรียกร้องให้มีการปฏิรูปยกเครื่องหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบกันบ้างนะครับ

 

 

ผมไปเยี่ยมญาติที่ต่างจังหวัด เห็นปลาตายในคลองหลังบ้าน สอบถามได้ความว่าโรงงานอยู่ต้นน้ำปล่อยของเสียลงคลองทำให้ปลาตาย... น้ำไหลลงที่ต่ำไปเรื่อย ความสูญเสียก็.....อนาถใจจริงๆของมนุษย์บางคน ที่มีแต่เห็นแก่ตัว

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

น่ากลัวมาก สุดท้ายก็คือความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ล้วนๆ

Cool คงจะดี ถ้า...

คนที่เคยเป็นข่าว ว่ากินเนื้อมนุษย์ด้วยกัน ยังกล้ายอมรับ(อาจกินเพราะความหิว) แต่คนที่ถือตัวเองว่าชั้นสูง แต่กินจิตวิญญาณของมนุษย์โลกด้วยกัน มันไม่น่าให้อภัย ...นั่นคือสาเหตุจากหลายๆเรื่องราว...แนวทางแก้ไข:.ในด้านอุตสาหกรรม-ต้องควบคุมตั้งแต่แนวความคิดในการก่อตั้งโรงงาน อบรม สั่งสอนเจ้าของโรงงานพร้อมทั้งจ้งมาตรการขั้นเด็ดขาดในบทลงโทษที่จะได้รับ...พร้อมทั้งอบรมจริยธรรมแก่ลูกหลาน-ทายาทผู้สืบสกุล--ในแง่ที่ว่า "อย่าเห็นแก่ตัว" นะคะ

ยายจ่อย เคยไปอบรมเรื่องนี้โดยตรงที่เมืองมินามาตะ เมื่อปี 2547...มันเป็นความเจ็บปวดที่ยาวนานของคนที่นั่น ขอบคุณที่พี่อ้อยหวาน นำมาแบ่งปันกันอีกครั้ง...เริ่มต้นอย่างจริงจัง กิน อยู่ รู้คิด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ค่ะ

ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้