RC 45Ve การฉีดน้ำควบคุมเพลี้ยอ่อนในถั่วพู (ตอนที่ 7-4) ...สวน 2S

หมวดหมู่ของบล็อก: 

queen12august.png ตอน การฉีดน้ำควบคุมเพลี้ยอ่อนในถั่วพู ณ โรงเรือนต้นแดง (ตอนที่ 7-4) (ตอนที่ 7-2 และ7-3 ยังUpload ไม่เสร็จครับ) ผ่านวีดีโอ(มีทั้งหมด 6ตอน) 

 

ต้องขอโทษ ที่มี หยดน้ำหน้ากล้องวีดีโอ

หวังว่า คงจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนสมาชิกทุกๆคน นะครับ

 

 

Link to >>>RC 45Ve การฉีดน้ำควบคุมเพลี้ยอ่อนในถั่วพู (ตอนที่ 7-1) ...สวน 2S

http://www.bansuanporpeang.com/node/4078

ความเห็น

ขอดูฝักหน่อยซิ  บ้านป้าเล็กฉีดน้ำหมัก  ตอนนี้ติดฝักแล้ว  5  ฝัก   กำลังออกดอกดกเลย

ทำเหตุให้ดีที่สุด ครบถ้วนก่อนแล้ว ผลก็จะเกิดขึ้นเอง หน้าที่ออกฝัก ออกผล เป็นเรื่องของถั่วพูเขาครับ Laughing เทคนิคคือ เราจะบอก กระตุ้นถั่วพูให้ออกดอกพร้อมๆกัน เป็นรุ่น ต่อเนื่อง 60วัน รุ่นหนึ่งก็คง จะ 30-50ฝัก ยังไม่มั่นใจเท่าไรครับ เพราะงานประดังมาพร้อมกัน ต้องแบ่งร่าง ไปหลายๆ สิบพืช และเตรียมการผลิตให้ พร้อมในเทศกาลกินเจครับ

ถ้าเราให้ถั่วพูติดฝั่กเร็วเกินไป ในขณะที่ความสูงยังไม่ถึง 3เมตร ต้นหนึ่งเราจะได้ ผัก ประมาณ 30-50 ผัก ครับ แต่ถ้าเรากระตุ้นให้ ถั่วพูเจริญเติบโต ไปที่ความสูงเกินกว่า 3เมตร แล้วควบคุมเพลี้ยอ่อนได้ 99% เราจะได้ผัก เพิ่มขึ้น 5-10เท่าครับ ปกติ 2Sจะจำข้อมูลตัวเลขเป็นรวม แต่ละเสา ถ้ามี 3-4ต้น ต่อเสา ในฤดูนี้ (ฤดูที่ ถั่วพูเจริญเติบโตดี-ดีมาก) จะประมาณ +- 300ผักครับ ที่นี่จะเก็บถั่วพูให้อ่อนกว่า การเก็บทั่วไป 1.5วัน เพราะ ความสด ความอร่อย มากที่สุดจะอยู่ในช่วงนี้ครับ

ป.ล. พรุ่งนี้ 2Sจะเรื่มรายงาน ราคาขายส่ง และขายปลีกพืชผัก ที่ สวน2S ผลิต สัปดาห์ ละ 2วัน คือ ทุกๆวันเสาร์ และวันพุธ ครับ

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

เรื่อง การควบคุมเพลี้ยอ่อนในถั่วพูด้วยการฉีดน้ำ...สำเร็จ หรือล้มเหลว

  1. ไม่ว่าจะสำเร็จ หรือล้มเหลว ถั่วพูได้กลายเป็นพืชสำคัญที่สุดพืชหนึ่งของสวน เนื่องจากโชคดีที่เข้ากับระบบปลูกโดยองค์รวม ทีมงานทุกๆทีมได้รับคำสั่งให้ เพาะ หรือหยอดเมล็ดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก มีเมล็ดเป็นจำนวนมาก จากรุ่นเดือน เมษายนปีนี้ มาเกิดเองในช่วงฤดูฝน(กลางเดือนกรกฏาคม ถึงปัจจุบัน)
  2. ปัญหาสำคัญของการปลูกถั่วพูอยู่ที่ ปัญหาเพลี้ยอ่อน เป็นสำคัญ เป็นความโชคดีที่ การพัฒนาระบบฉีดน้ำฝอย(แรง) ก้าวไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. สวน2S ได้ตัดสินใจ แจ้งให้ ผู้นำหมู่บ้าน โสกตลิ่ง-โสกจาน อ.บ้านไผ่ ได้ทราบว่า จะพยายามที่สุดที่จะทำให้ถั่วพู เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของหมู่บ้าน และเป็นอาหาร เป็นเมนูสำคัญตลอดปีของ ร้านอาหารในหมู่บ้าน และใกล้เคียง
  4. ปัจจุบันได้ คัดเลือก ต้นถั่วพูได้ ๗-๘ ลักษณะ และในปี ๒๕๕๔ ช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์จะนำขึ้นไปทำการปลูก และผสมพันธุ์ ที่สวนที่แม่สรวย เชียงราย คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ ๒ปี ในการคัดเลือกลักษณะที่ต้องการ  (ซึ่งยังไม่ได้กำหนดแน่นอนในขณะนี้) แต่ที่คิดไว้จะมี ผลผลิตสูง (๑๐๐ฝักต่อต้น) มีเส้นใยที่ขอบน้อย หวานกรอบ และไม่ไวต่อช่วงแสง(ปลูกได้ตลอดปี)(พันธุ์ดอกขาวจะออกดอกได้เฉพาะช่วงปลายฤดูฝน)

 

 

 

 

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

มาดูถั่วพู

ขอดูฝักหน่อยซิ  บ้านป้าเล็กฉีดน้ำหมัก  ตอนนี้ติดฝักแล้ว  5  ฝัก   กำลังออกดอกดกเลย

 

ได้ถ่ายรูปภาพให้แล้วครับ(๒๔สิงหาคม ๒๕๕๓) อย่างที่เคยกล่าวไว้ว่า ทำเหตุให้ดีที่สุด ครบถ้วนก่อนแล้ว ผลก็จะเกิดขึ้นเอง หน้าที่ออกฝัก ออกผล เป็นเรื่องของถั่วพู

หลังจากควบคุม เพลี้ยอ่อน ด้วยวิธีฉีดน้ำฝอย(แรง) ตามที่ได้เรียนไว้ ต่อเนื่องกัน สองอาทิตย์ สามารถควบคุมได้กว่า ๙๕% ผลผลิตน่าจะเป็นไปตามปกติ คือ ๑๐๐ฝักต่อต้น (ระยะเวลาเก็บเกี่ยว สองเดือน)

ข้อมูลพื้นฐาน: 

  • เพาะในถาดเพาะ ๖๐หลุมต่อถาด เมื่อ ๒๒มีนาคม ๒๕๕๓
  • ย้ายปลูกในถุงดำ ๖คูณ๑๒นิ้ว       เมื่อ  ๒๕เมษายน ๒๕๕๓
  • *จะเริ่มเก็บขาย คงจะเป็นสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ 
  • ถ่ายรูป จากต้นถั่วพูจำนวน ๖ต้น (จากทั้งหมด ๒๐๐ต้น ของรุ่นย้ายปลูกเดือนเมษายน)

   

ตอนแรกที่ดูต้นถั่วพู ที่อยู่ข้างหน้า นอกจากจะสูงขึ้นถึงหลังคาโรงเรือนก็ไม่น่ามีอะไรน่าสนใจ แถมใบน้อย และใบยังมีสีเหลืองจากร่องรอยของเพลี้ยอ่อนดูดน้ำเลี้ยงที่ย่อยในช่วงก่อนจะเข้าควบคุมด้วยการฉีดน้ำฝอย(แรง) (เมื่อ ๑๐สิงหาคม)

 

อีกมุมมองหนึ่ง ของต้นแม่พันธุ์ที่ถูกคัดไว้

 

มีต้นถั่วพู จำนวน ๓ต้น(ถุงดำ)(จาก ๖ถุง) และมีเพื่อนข้างๆทางซ้ายมือ เป็นกระเพรา จำนวน๔ถุง และผักหวานบ้าน อีก๒ถุงถัดมา เพื่อให้ระบบราก และการส่งดูดธาตุอาหารเป็นไปอย่างสมดุลย์ เนื่องจาก เป็นการใช้ปุ๋ยหมักตื่นตัวอย่างเดียว

ปัจจุบัน ทั้งสามต้น ได้ถูกคัดเป็นต้นแม่ ซึ่งหมายความว่า จะทำการควบคุมเพลี้ยอ่อนต่อเนื่องจนกว่าจะเก็บฝักขาย และเก็บฝักแก่ทำพันธุ์ โดยจะเป็นการเก็บรวมทั้งสามต้น ขณะนี้ตั้งชื่อ สายพันธุ์ นี้ว่า โสกตลิ่ง(ตามชื่อหมู่บ้าน) หลังจากที่ได้ชิมและตรวจดูลักษณะทั่วๆไปแล้ว

ยังเห็นร่องรอยของใบที่ถูกเพลี้ยอ่อนดูดน้ำเลี้ยง ก่อนเข้าควบคุม อย่างที่เคยกล่าว ทำเหตุให้ดีที่สุด ครบถ้วนก่อนแล้ว ผลก็จะเกิดขึ้นเอง หน้าที่ออกฝัก ออกผล เป็นเรื่องของถั่วพูเขาครับ แล้วถั่วพูก็แสดงให้เห็นตามนั้นจริงๆ

การติดผักช่วงความสูงประมาณ ๒เมตร

การติดผักช่วงความสูงประมาณ ๓เมตร

การติดฝักช่วงความสูงประมาณ ๔เมตร

ต้นที่ ๔ ที่ความสูง ๑เมตร ในระดับผักหวานบ้าน และพริกปุ้ม (สองบัดดี้)

ต้นที่ ๔ ที่ระดับความสูง ๒เมตร

ต้นที่ ๕-๖ ที่ความสูง ๒เมตร

ต้นที่ ๕-๖ ที่ความสูง ๔เมตร

 

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

ข้อมูลพื้นฐาน:

  • ถั่วพูรุ่นที่ ๒ เพาะในถาดเพาะ ๖๐หลุมต่อถาด วันที่ ๒๒มีนาคม ๒๕๕๓ และย้ายปลูกลงถุงดำ ๖คูณ๑๒นิ้ว เมื่อ ๒๕เมษายน ๒๕๕๓ ยังไม่มีเวลานับจำนวนต้นครับ
  • ถั่วพูรุ่นที่ ๓ เพาะในถาดเพาะ ๕๐หลุมต่อถาด(ถาดรุ่นใหม่ เลือกให้เหมาะกับพืชตระกูลถั่วโดยเฉพาะ) เพาะ วันที่ ๑๒มิถุนายน ๒๕๕๓ และย้ายปลูกลงถุงดำ วันที่ ๒๒กรกฎาคม ๒๕๕๓ จำนวน ๓๐๐ต้น
  • ถั่วพูรุ่นที่ ๔ เมล็ดที่เกิดเองจากรุ่นเดือน มีนาคม และเมษายน ยังไม่ได้รับการรายงานข้อมูล
  • เนื่องจาก มีความต้องการสูงมาก มีการสั่งจองไว้ล่วงหน้าไปจนต้นปีหน้า ทางสวนได้ประสานกับ ผู้นำหมู่บ้าน ผู้นำกลุ่มเกษตรกร ขอให้พิจารณา นำถั่วพูเข้าเป็น พืชผักเศรษฐกิจประจำหมู่บ้าน ในระดับเดียวกับ มะเขือเทศผลิดเมล็ดพันธุ์ เพื่อจำหน่ายฝักสด ขายตามร้านอาหาร เป็นอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียน และเป็นผลผลิตทางเกษตรตัวใหม่ของหมู่บ้านในการออกร้านงานเกษตรต่างๆ ที่หน่วยงานจัดขึ้น
  • อนึ่งรายได้ของสวนที่ได้จากการร่วมมือกับชุมชน ตั้งแต่ เมล็ดพันธุ์ ต้นกล้า ผลสด ตลอดจน เทคโนโลยีทุกอย่าง จะสนับสนุน โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อมอบ เข้ากองทุนอาหารกลางวันฯ ในพระราชินูปถัมภ์ ของสมเด็จพระเทพฯ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอคอย ผลของการผลิตในช่วงต่อจากนี้ไป และการประชุมของคณะกรรมการหมู่บ้าน
  • การปรับปรุงพันธุ์ ถั่วพู จะใช้เวลา ประมาณ ๓-๕ปี และจะทำคู่ขนานโดยจะติดต่อทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาควิชาพืชศาสตร์ (ยังไม่ได้ดำเนินการติดต่อใดๆ แต่คงจะไม่น่ามีปัญหาถ้า เป็นความประสงค์ของชุมชนจัดทำแผนผ่านไปทางอำเภอ หรือถ้ามีอุปสรรค อาจจะทำการคัดเลือกให้ก่อน โดยจะนำไปคัดเลือกที่ แม่สรวย เชียงราย )
  • อนึ่ง นอกจากคุณค่าทางโภชนาการแล้ว การจัดการดูจะไม่ซับซ้อน เช่น ควบคุมเพลี้ยอ่อนให้ได้ ๙๕% ผลผลิตก็จะได้มากกว่า ๗๐% แต่ก็ยังต้องสังเกต และประเมินผลต่อไปอย่างใกล้ชิด เป้าหมายด้านผลผลิต คือเฉลี่ย ๑๐๐ฝักต่อต้น

 

 

 

 

 

คำสั่งที่ถ่ายทอด คือ ทุกที่ที่มีเสา ต้องมีถั่วพู และห้ามใช้เท้า (ห้ามหมาเยี่ยว !!!)

 

บวบก็แอบๆขอแบ่งบ้าง ถ้าไม่มีถั่วพูในเสานั้น

ค้างไม้ไผ่ แบบต่างๆเข้าช่วย ถ้าไม่จำเป็นถั่วพูจะไม่เลื้อยเกาะเสาปูน แต่ถ้า มีตัวช่วย ก็จะสามารถไต่ขึ้นไปได้ ถ้าสูงได้ เกิน ๕เมตร จะทำให้มีเมล็ดพันธุ์(ลอยลงมาตามธรรมชาติ)มากมายเพียงพอจะปลูก และแบ่งให้ชุมชนอย่างทั่วถึง

 

ผักหวานบ้าน พริกปุ้ม กระเพรา และถั่วพู

แถม มะละกอ(ส้มตำ) ที่ไหนมีเสาที่นั้นมีถั่วพู

 

 

 

 

ต้นแม่พันธุ์ที่สวนล่าง เป็นแม่พันธุ์หลัก ให้ลูกหลานทั้งหมด จากครั้งแรกเพียงไม่ถึง ๑๐ต้น ลักษณะเด่น คือ ผักสั้น สีเขียวอ่อน เส้นใยที่ขอบน้อย รสชาดไม่เหมือนพันธุ์อื่น ทีมงานชอบซอยเล็กๆใส่ใน ตำส้ม ...แซ่บ อีหลี เด้อค่า

ฝักที่ความสูง ๑เมตร

 

ต้นแม่พันธุ์ ติดฝักที่ความสูง ๒เมตร

ต้นแม่พันธุ์ ติดฝักที่ความสูง ๓เมตร

แมลงศัตรูพืชสำคัญ เพียงชนิดเดียว คือ เพลี้ยอ่อน ด้วยการจัดการแบบองค์รวม นำโดย ปุ๋ยหมักตื่นตัว การไม่ทำให้ระบบรากเสียหาย และการฉีดน้ำฝอย(แรง) รวมถึงการจัดการอื่นๆ น่าจะไม่เกินความสามารถ ถ้าขยัน และไม่ประมาท เป้าหมายเฉลี่ย ๑๐๐ฝักต่อต้น เป็นไปได้สูง

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

ข้อมูลพื้นฐาน:

  • เพาะถั่วพูรุ่นที่ ๓ ในถาดเพาะ ๕๐หลุมต่อถาด ในวันที่ ๑๒มิถุนายน ๒๕๕๓
  • ย้ายปลูกถั่วพู ในถุงดำขนาด ๖คูณ๑๒นิ้ว ได้จำนวน ๔๔๘ต้น ในวันที่ ๒๒กรกฎาคม ๒๕๕๓
  • ได้นำ มะเขือเปราะ มะเขือคื่น ผักชีจีนและผักสลัดมาปลูกร่วม เพื่อรักษาระบบรากถั่วพูให้สมบูรณ์ มีจำนวนรากแขนง รากฝอยมากๆ และได้รับธาตุอาหารอื่นๆที่จำเป็นจาก วัสดุปลูกในถุงดำจากพืชผักร่วม เพื่อให้แน่ใจว่า จะได้ผลผลิต ๑๐๐ฝักต่อต้น เพราะขณะนี้มีคำสั่งซื้อล่วงหน้าเข้ามามาก แม้ว่าจะได้ทำการเพาะถั่วพูไปถึงรุ่นที่ ๗แล้วก็ตาม เพราะ ต้องการเร่งผลผลิตให้เริ่มออกประมาณ ๒เดือนหลังย้ายปลูก (ปกติ ๓เดือน) ให้ทันเทศกาล เกี่ยวข้าวนาปี และเทศกาลกินเจ

ถั่วพู และมะเขือเปราะในแถวเดียวกัน เพื่อจะได้ขึ้นค้าง มัดกิ่งสำหรับมะเขือ และเลื้อยไต่ตามตาข่ายสำหรับถั่วพู โดยมีถุงผักสลัดเป็นปีก(ซ้าย) และผักชีจีนเป็นปีก(ขวา)

 

 

ไม้ราวที่๑ และ๒ สูงจากพื้นดิน ๔๐ และ๘๐ซม. ตามลำดับ เพราะมีมะเขือเปราะ มะเขือคื่น มะเขือลายใหญ่ มะเขือยาว และมะเขือม่วง(ชึ่งอยู่ในระยะตัดแต่งใบ ครั้งที่๓ รุ่นนี้จะแต่งใบ ๔ครั้ง เพื่อควบคุมเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และแมลงหวี่ขาว ในมะเขือต่างๆ) จะได้มัดเข้ากับราว เพื่อไม่ให้ ต้น และรากโยกคลอน เสียหาย จะทำให้การควบคุม เพลี้ย และแมลงปากดูดยุ่งยากเป็นทวีคูณ

 

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

ข้อมูลพื้นฐาน:

  • ถั่วพูรุ่นที่ ๑ และ๒ เพาะในถาดเพาะ ๖๐หลุมต่อถาด วันที่ ๒๒มีนาคม ๒๕๕๓ และย้ายปลูกลงถุงดำ ๖คูณ๑๒นิ้ว เมื่อ ๒๕เมษายน ๒๕๕๓ จำนวนต้น ๖๐ และ๗๐ ตามลำดับ อยู่ในช่วงออกดอก และติดฝัก เริ่มออกดอก ในวันที่ ๕สิงหาคม และติดฝักในวันที่ ๑๑สิงหาคม จะเริ่มเก็บ ต้นเดือนกันยายน สภาพโดยรวม ดี สามารถควบคุม เพลี้ยอ่อนได้เกือบทั้งหมดแล้ว
  • ถั่วพูรุ่นที่ ๓ เพาะในถาดเพาะ ๕๐หลุมต่อถาด(ถาดรุ่นใหม่ เลือกให้เหมาะกับพืชตระกูลถั่วโดยเฉพาะ) เพาะ วันที่ ๑๒มิถุนายน ๒๕๕๓ และย้ายปลูกลงถุงดำ วันที่ ๒๒กรกฎาคม ๒๕๕๓ จำนวน ๔๔๘ต้น ยังอยู่ในระยะการเจริญเติบโตทางต้น สภาพทั่วไป ปกติ 
  • ถั่วพูรุ่นพิเศษ เมล็ดที่เกิดเองจากรุ่นเดือน มีนาคม และเมษายน มีจำนวน ๔๐ต้น ยังอยู่ในระยะควบคุมเพลี้ยอ่อน ยังอยู่ในระยะอันตราย แต่มีแนวโน้มว่า จะสามารถควบคุมเพลี้ยอ่อนได้ โดยระบบฉีดน้ำฝอยแรง และการจัดการแบบองค์รวม
  • เนื่องจากมีฝนตกมาต่อเนื่อง และมีสภาพทัองฟ้าปิด ทำให้ถั่วพูในรุ่น ๑ ๒ และรุ่นพิเศษ มีการเจริญเติบโต ทางต้น และใบมากกว่าปกติ ทำให้การติดดอก ติดฝักล่าช้าไป ประมาณ ๗-๑๐วัน แต่ทุกอย่างยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
  • ยังคง คาดหมายผลผลิต ๑๐๐ฝักต่อต้น (ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว ๖๐วัน) ในทุกๆรุ่น ถ้าสามารถควบคุมเพลี้ยอ่อนได้

 

ถั่วพูรุ่นที่ ๑ สังเกตได้จากโรงเรือนเสาเหล็กกลม

เนื่องจากมีลักษณะดีเด่นหลายๆอย่าง ตรงตามที่ต้องการ จึงถูกคัดเป็นต้นแม่พันธุ์ล่าสุด

 

ต้นแม่พันธุ์ที่คัดใหม่ มีลักษณะฝักที่ยาว ใหญ่ สีเขียวอ่อน เส้นใยที่ขอบน้อย และมีลักษณะใบแหลม คล้ายหอก และยังมีความดกของฝัก ในระดับน่าพอใจ

ต้นแม่พันธุ์ที่ถูกคัดเลือกไว้แล้วตั้งแต่ ช่วงวันแม่ จำนวน ๕ต้น

 

ดูภายนอกเหมือนไม่มีอะไรน่าสนใจ ใบก็เหลืองเนื่องจากเพลี้ยอ่อนเข้าทำลายตั้งแต่เล็กๆ แต่มีความดก และรสชาด เช่นเดียวกับรุ่นก่อนๆ ที่ได้คัดเลือกไว้

ฝักจะติดระดับเมตรครึ่ง ไปจนถึงสี่เมตร แล้วจะห้อยลง ก็จะติดทุกๆข้อดอก ซึ่งเป็นลักษณะเด่นมากของสายพันธุ์ โสกตลิ่ง

ต้นนี้ก็มีลักษณะดีเด่นหลายๆอย่าง กำลังพิจารณาว่า จะสามารถเป็นแม่พันธุ์ได้หรือไม่

 

ถั่วพูรุ่นที่ ๒ สังเกต จากโรงเรือนเสาปูน และเหล็กกล่อง

 

 

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

วันที่2s  บอกให้ดู  รู้มั้ย  พยายามหา  แต่ก็ไม่เจอ   แบบว่า  2s  บอกแล้วไม่ได้ทำลิ้งค์ให้  ก็เลย  ผ่านไป ผ่านมา  วันนี้ได้ดูแล้ว  ถั่วพู  ฝักยาวมากๆ  ที่ปลูกที่บ้าน  มันแค่อวบๆ  ไม่ยาวแบบนี้  

 มีความรู้สึกแปลกๆ ทุกๆครั้งที่ตอบคำถาม ผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพ บ้านสวนพอเพียง เหมือนตอบ รายงานให้ คุณพ่อ ท่านอาจารย์ ระพี สาคริก ท่านอาจารย์ ดร.บรรเจิด คติการ ท่านอาจารย์ มล.อโณทัย ชุมสาย

มีอะไรจะให้รับใช้ ไม่ต้องเกรงใจครับ

รักษาสุขภาพนะครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

อยากเห้นของจริงจังค่ะ ว่าวันๆนึง ทำอะไรกันบ้าง Smile

อยากทำบ้างค่ะ แต่กลัวไม่ไหว อิอิ

พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า 

หน้า