ที่มาของสำนวน "น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย" (ผักบุ้ง)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

วันนี้ไปอ่านเจอที่มาของสำนวน "น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย" ครับ เลยนำเอามาเล่าให้ฟัง ----"น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย" นั้น ตามพจนานุกรมหมายถึงการใช้คำพูดที่ตรงๆแรงๆ แต่จริงใจ ย่อมส่งผลดีกว่าการใช้คำพูดไพเราะ แต่มีพิษภัย

ที่มาของสำนวนนี้มาจาก ในสมัยก่อนคนมักจะชอบสร้างบ้านอยู่ริมน้ำ เพราะสมัยก่อนการสัญจรส่วนใหญ่จะใช้การสัญจรทางน้ำ และทุกๆ บ้านจะมีท่าน้ำไว้จอดเรือเป็นของตัวเอง และที่ข้างๆ ท่าน้ำนั้นหลายๆ บ้านก็จะปลูกผักบุ้งไว้เป็นแพๆ ด้วย (ตามภาพ)

ปลา ที่ว่ายอยู่ในน้ำนั้นมักจะชอบว่ายอยู่ใต้แพผักบุ้ง เพราะน้ำที่อยู่ใต้แพผักบุ้งนั้นมันเย็น เพราะแสงแดดส่องลงไปใต้น้ำไม่ถึง พอเวลาคนมาเก็บผักบุ้งก็จะเจอปลาที่อยู่ใต้แพผักด้วย แล้วปลาพวกนั้นก็จะกลายเป็นอาหารของคนไป ส่วนปลาที่ว่ายอยู่ที่น้ำร้อน (ทีนอกแพผักที่แดดส่องถึงใต้น้ำ) ก็จะมีโอกาสรอดมากกว่า ซึ่งนั่นก็คือที่มาของสำนวนดังกล่าวนั่นเอง

 

                                             Cool

ความเห็น

ปลาตายเพาะโดนกินนี้เอง...55Cool

เป็นอย่างนี้นี่เอง....เข้าใจละ  ขอบคุณที่เฉลยนะคะ.

ขอบคุณสำหรับเกร็ดความรู้ค่ะ  ทุกทีเห็นแต่น้ำร้อนปลาตาย  (น้ำร้อนที่อยู่ในหม้อน่ะ)

มีความสุขกับการที่ได้ให้มากกว่าการที่ได้รับ

ทำไปทำมาก็ต้องเจอความร้อนอยู่ดี  เพราะเวลาต้มยำทำแกงต้องให้น้ำเดือดถึงจะใส่ปลา  555555  เกี่ยวกันมั้ย 

ขอบคุณครับ ที่นำมาเล่าสู่กันฟัง

เพิ่งจะมารู้..เอาตอนขึ้นเลขห้า..สงสัยมานานแล้ว..ขอบคุณจิงๆ..

แสวงหาชีวิตที่สงบ..หลบลี้หนีความวุ่นวาย

ถามจริง ๆ นะ  ขึ้นเลข 5 มานานยัง ???  เจ้จะได้เรียก พี่ หรือเรียก น้อง  เรียกคุณมันไม่หนิดหนม  โอม !!!! เพี้ยง....ขอให้ได้เรียกพี่ซักคนเถอะ ...  Cool

เพิ่งจะรู้เหมือนกันคับ ที่มาของของสำนวนนี้

 

NONT..