ต้นคัก (ประสัก)...รู้จักกันมั้ย ^_^

หมวดหมู่ของบล็อก: 


ต้นไม้ที่เห็นมาตั้งแต่เด็ก เห็นจนชินตาและไม่เคยคิดว่าเป็นต้นไม้แปลก จนวันหนึ่ง...เมื่อสมาชิกบ้านสวนมาเยี่ยมบ้าน Laughingแล้วถามว่าต้นนี้ต้นอะไร ก็ตอบไปด้วยความเคยชิน ต้นคักค่ะ แล้วเค้าเอาไว้ทำอะไรได้...อันนี้ตอบไม่ได้ค่ะขอไปถามแม่ก่อนYell หลังจากวันนั้นก็ไปหาข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าต้นนี้ ไม่รู้มาก่อนเลยว่าเค้าเป็นไม้ประดับกันด้วย Embarassed ได้ข้อมูลมาคร่าวๆให้ได้อ่านกันดังนี้ค่ะ


ต้น “ประสักแดง” หรือ BRUGUIERA SEXANGULA (LOUR.) POIR อยู่ในวงศ์ RHIZOPHORACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง 20-30 เมตร เรือนยอดค่อนข้างกลม โคนต้นมีพูพอนและรากค้ำยัน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม เป็นรูปรี รูปขอบขนาน ปลายและโคนใบแหลมหรือเรียว ผิวใบเกลี้ยง สีเขียวสดเป็นมัน ใบดกและหนาแน่นมาก ใบแห้งเป็นสีน้ำตาลแดงร่วงง่าย เวลามีใบดกจะเป็นพุ่มทึบให้ร่มเงาดีมาก


ดอก ออกเดี่ยวๆตามซอกใบ มีกลีบเลี้ยง 10-12 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยทรงสูง กลีบดอกแยกกัน มีจำนวนกลีบเท่ากับกลีบเลี้ยง เป็นสีเหลืองแกมน้ำตาลแดง มีเกสรตัวผู้มากเป็นสองเท่าของกลีบดอก เวลามีดอกดกเต็มต้น สีของดอกจะตัดกับสีเขียวสดของใบสวยงามน่าชมยิ่งนัก “ผล” ติดอยู่ในกลีบเลี้ยง งอกยาวคล้ายฝัก มีเมล็ด ดอกออกช่วงระหว่างเดือนเมษายนต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง


ประสักแดง พบขึ้นตามป่าชายเลนและป่าพรุน้ำกร่อย มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย ในต่างประเทศพบที่ศรีลังกา กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และนิวกินี ประโยชน์ทั่วไป นอกจากปลูกประดับ ปลูกเพื่ออนุรักษ์ป่าชายเลนแล้ว เนื้อไม้ยังใช้ในการก่อสร้างแบบชั่วคราวและทำฟืนได้ดี มีชื่อเรียกอีกคือ ขลัก, พังกาหัวสุม (ใต้) บากาห์ (มลายู-นราธิวาส)


อีกข้อมูลที่หามา ลูกของเจ้าต้นนี้กินได้ด้วย ไม่เคยรู้มาก่อนเลย อีกแล้วSealed ถึงจะรู้ว่ากินได้ แต่ไม่ขอลองดีกว่าTongue out หากใครเคยทานหรือมีเจ้าต้นนี้ที่บ้าน ลองทำดูนะคะแล้วมาบอกหน่อยว่ารสชาติเป็นอย่างไรบ้าง


 ผลประสักปรกติจะมีรสฝาด ในการแปรรูปจะต้องมีวิธีการกำจัดรสฝาดออก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีรสชาติตรงกับความต้องการของผู้บริโภค การแปรรูปผลประสักนิยมใช้ประสักดอกแดงเพราะให้ปริมาณผลผลิตมาก โดยมีกระบวนการแปรรูปดังนี้
  1.เลือกเก็บฝักประสักที่โตเต็มที่แต่ยังไม่แก่ นำมาล้าน้ำให้สะอาด

  2.นำฝักประสักมาต้มจนสุก ปลอกเปลือกแล้วแช่น้ำด่างแล้วนำมาแช่ในน้ำปูนใส
  3.นำผลประสักไปต้มอีกครั้งและรินน้ำออกให้หมด
  4.นำไปเชื่อมโดยใช้ไฟอ่อน เพื่อให้น้ำเชื่อมเข้าไปในฝักประสัก
  5.นำไปรับประทานหรืออาจบรรจุภัณฑ์เพื่อรอการจำหน่าย


มาดูกันใกล้ๆอีกครั้ง  ลูกอ่อนจะเป็นสีเขียว พอแก่จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง



ต้นคักพวกนี้อายุประมาณหนึ่งปีค่ะ



ต้นด้านซ้ายอายุประมาณสามปีค่ะ ด้านขวาเป็นระบบรากที่เป็นแบบรากค้ำจุน


เหมือนกับพวกต้นโกงกางเลย


   


ต้นนี้อายุกี่ปีแล้วก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าอยู่มานานมากๆ เกินสิบปีแล้ว


ความสูงก็แค่เฉี่ยวๆสายไฟฟ้าแค่นั้นเอง Cool



ขอบคุณบ้านแสนอบอุ่น...บ้านสวนพอเพียงWink


ที่มา:


1.http://www.tjorchid.com/flower/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87-%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%94.html


2. http://www.fisheries.go.th/cf-kung_krabaen/seed1.htm


 

ความเห็น

เคยเห็นบ่อยตามชายทะเลแต่ไม่รู้ว่ากินได้...รู้แต่ว่าเขาเอาไม้ไปเผ่าถ่าน..มีดอกมั๊ยนะ

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

ขอบคุณมากนะครับสำหรับข้อมูลดี ๆ กินได้ด้วย

ที่บ้าน(สมุทรปราการ) เรียก ต้นลุ่ย มีเยอะแยะเลย ไม่น่าจะผิดค่ะ แต่ไม่เคยกิน

ไม่เคยเห็นเลยวุ้ย .... :confused:

เมื่อรู้สึกว่ากำลังแย่ จงให้กำลังใจตัวเอง ด้วยการคิดว่า "ยังมีคนอื่นที่แย่กว่าเราอีก"

แม่แดงก็เพิ่งเคยเห็น :confused:

"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"

เคยกินตอนอยู่แปดริ้ว ทำเป็นบวดลุ่ย อร่อยมากเลยค่ะ(มันกับเผือกสู้ไม่ได้ค่ะ) แต่หากินยาก นานๆจะมีคนมาขายสักครั้ง เมื่อก่อนไม่รู้ว่าเป็นต้นอะไร เพราะเห็นแบบกินได้แล้ว ว่างๆลองทำกินนะค่ะ

ที่บ้านผม (อ.ขลุง จ.จันทบุรี) เค้าเรียก สัก

คนเก่าคนแก่ ยืนยันว่าลูก สัก เอามาเชื่อมกินอร่อยคล้ายมันเชื่อมเลยครับ

 Meo Meo Farm

http://serameo.wordpress.com

 

หน้า