กินดี มีสุข ตอน ทะเลสาบคือ ชีวิต ๒.

หมวดหมู่ของบล็อก: 

                          

  บันทึกเรื่องราวชาวเลพื้นที่อำเภอเขาชัยสน และบางแก้ว จ.พัทลุง ได้มาด้วยการไปใช้ชีวิตร่วมกับชุมชนระหว่างวันที่ ๓๐ พค.- ๑มิย.ที่ผ่าน พรานทะเล มีชีวิตอยู่กับทะเลตั้งแต่เกิดจนวันตาย(ไม่ต่างชาวป่าหรือพรานไพร)และชาวนา มีเรือประมงขนาดเล็กทำขึ้นจากภูมิปัญญาใช้ไม้ตะเคียนมาขุดเป็นเรือและใช้น้ำมันต้นยางนามาประสานไม่ให้น้ำซึมเข้าเรือ  ชาวเลพื้นบ้านต้องออกเรือต้งแต่ตอนเย็นเพื่อวางแหอวนใช้เวลา ๓-๔ ชั่วโมง แล้วกลับมานอน  ตื่นตี ๓ ออกเรือไปลากอวนซึ่งจะได้ปลาติดมากับอวนกลับขึ้นเรือ แล้วมานั่งปลดปลาจากอวน หากได้ปลาตัวใหญ่เช่นปลากด ปลาตะเพียน ก็จะแยกขายสดๆ ถ้าได้ปลาตัวเล็กๆปลาสมรม(หลายชนิด) ส่วนใหญ่ทำปลาแห้งปลาเค็มไว้ส่งแม่ค้าในตลาด ชีวิตเป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยไป

             

   ทิวเขาข้างหน้าคือเกาะใหญ่ อ.กระแสสิน จ.สงขลา ฝั่งตรงข้ามคือแหลมจองถนน อ.เขาชัยสน และบางแก้วมีทั้งเลทั้งนาข้าว สองฟากฝั่งห่างกันประมาณ๖๐ กิโลเมตร ระดับน้ำลึก๒-๓เมตร

                   

ต้นลำพู(คู่หิ่งห้อย)สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของแม่เลสาบ เท่าที่เห็นยังหนาตากว่าฝั่งสงขลา รากลำพูเป็นกำแพงตามธรรมชาติอยู่ชายฝั่งและเป็นที่หลบภัยของปลาหลายชนิด 

รากลำพูขนาดใหญ่เนื้อเนียนน้ำหนักเบา ใช้ทำไม้กวนขนม ไม้เคี่ยวน้ำตาลโตนด

กระชังเลี้ยงปลาดุก ปลากระพง เราจะเห็นมากที่เกาะยอ สงขลา เพราะต้องส่งปลาให้ร้านอาหารและโรงแรมต่าง

พัทลุงมีน้อยเพราะกิจการโรงแรมน้อยกว่า อย่างไรก็ตามการเลี้ยงปลาในกระชังก็เป็นวิธีคิดที่เอาแต่ได้ โดยไม่คำนึงถึงเรื่องที่ทำให้เกิดของเสียที่ทำให้แม่เลสาบป่วยไข้

น้านึกกับเมียกลับเข้าฝั่งตอนเจ็ดโมงเช้า ลากอวนเกือบสี่สิบหัวได้ปลาขาวตัวน้อย เช้านี้ได้ประมาณ ๒๐กิโล ขายส่งกิโลละ๒๐-๒๕บาท แม่ค้ารับไปตัดหัวทิ้งเอาขี้ปลาออกแช่น้ำแข็งขายในตลาดราคา๕๐-๖๐บาท

ชาวเลแท้หน้าตาผิวพรรณเช่นนี้ กรำแดด ลม ฝน ตลอดปีด้วยหัวใจชีวิต..ต้องสู้

แม่ศรี ขายปลาขายขนมสาคูต้นกวนส่งลูกเรียนได้เป็นครู๓คนลูก๕คน ทุกวันนี้ยังขายขนมขายผักที่ปลูกข้างบ้าน เราจัดเวทีกินดีมีสุขขึ้นที่บ้านแม่ศรี เพราะแม่เป็นที่รู้จักในนามคนขยันสู้ชีวิตอย่างชาวเล

พี่แดงกำลังซ่อมข้าวนาปรัง คนนี้ยอดฝีมือแกงส้มปลาหัวโม่งรสกลมกล่อมอย่างไรขอให้ผู้ใหญ่โสช่วยบอกคร๊าบ

หลากหลายชีวิตชาวเลที่บางแก้ว เขาชัยสนวันนี้ยังอยู่กับการแก้ปัญหาปากท้องวันต่อวัน อย่างไม่มีทางเลือกหรือโอกาสอื่นๆต่างกับชาวทะเลน้อยที่มีทางเลือกเพิ่มในการขายของหรือบริการด้านท่องเที่ยวบ้าง

แต่พบว่าสิ่งชาวเลมีไม่น้อยไปกว่าพวกเราชาวสวนพอเพียงคือ มิตรภาพและการให้ต่อเพื่อนพี่น้องร่วมสุขทุกข์ ส่วนเมนูกินดีมีสุข หน้าตารสชาติอย่างไรบ้าง ขอรอดูจากบล๊อกแจ้ว โสทร น้องต๊อก นะจ๊ะ หลับสบายด้วยหัวใจที่วางและว่างจากภาระกิจชีวิตทั่วกันค่ะ

ความเห็น

ให้กำลังใจกันและกันครับพี่หยอยทำหน้าที่กระบอกเสียงให้คนด้อยโอกาสครับ ใช้ปากกาเป็นอาวุธให้เป็นประโยชน์เท่าที่จะทำได้ครับ

ภาพสวย เป็นธรรมชาติ สื่อความหมายได้ดี ชาวเล ชาวบ้านธรรมดา หน้าตาใสซื่อ ทำงานสุจริต พึ่งพาตัวเองและจริงใจ สักวันต้องตามพี่หยอยไปด้วยค่ะ งานนี้เสียดายนายหัวไม่ว่าง

ขอบคุณพี่หยอยที่เอาภาพสวยๆได้สัมผัสและเข้าใจวิถีชีวิตอีกแบบ

Laughingทำวันนี้ให้ดีที่สุด เวลาชีวิตน้อยลงทุกวัน

ตรงไปตำนานเลย ประมาณ๒๐เมนูโซนนา หาผักไปกินกับกัน

เห็นหลังคาเรินแม่เล็กแล้วโด้............:uhuhuh:


คิดถึงเรินแม่จังเสีย ว่าแล้วกะโทรไปหาแม่หล่าวหวา เห็นชีวิตชาวเลนึกถึงบ้านย่า แถวบ้านถินค่ะพี่หยอยเขาอยู่กันแบบนี้เลย เวลาไปหาเขา ๆ จะให้ปลามากิน เราก็เลยต้องพยายามหาของที่เขาหาม้ายไปฝาก เช่นว่าเบี้ย.....................:admire2:

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

พี่กะว่าอีไปหาในธนาคารแหละเบี้ยทั้งเพ55555 ชีวิตนี้ให้หรอยไปหน้านะ พบแต่แม่เบี้ย5555

ชาวเลแข็งแรงมากๆ ทั้งอากาศและสิ่งแวดล้อม ... มีเพื่อนเป็นคนเรือ ทั้งชีวิตอยู่บนเรือเป็นส่วนใหญ่จนวันนี้ใกล้เกษียณ แข็งแรงมาก ...สงสัยว่าจะได้ยืดอายุเกษียณทำงานเรือต่อคุณหยอย ...ขอบคุณมากนะคะ

ใช่ค่ะ พี่หยอยชีวิตชาวเลแถบลุ่มน้ำทะเลสาบเป็นวีถีที่น่าสนใจมาก ได้ไปสัมผัสคนแถวบริเวณริมทะเลสาบบ่อยมาก เพราะเป็นสะใภ้คนเกาะหมากค่ะ  ถ้ามีวันหยุดติดกันหลายวัน ก็จะลงไปพาหลานไปหาปู่กับย่า ปู่ยังออกทะเล หากุ้งกับปลาอยู่ค่ะ ตื่นเช้ามาก็จะได้ปลดปลาปลดกุ้งกัน อาหารของพวกลูกๆหลานๆ คือ กุ้งปลาในทะเลหลังบ้านค่ะ ทุกครั้งที่มีโอกาสก็จะไปเก็บฝักโกงกางที่ศาลพันท้ายนรสิงห์ สมุทรสาคร ไปปักหลังบ้านประจำ แต่ที่ปลูกไว้ก็โดนพายุครั้งที่ขึ้นเกาะหมากตายหมด แต่ก็ไม่ละความพยายาม กะว่าปิดเทอมครั้งนี้จะหาไปปลูกใหม่ จะชวนหลานๆที่บ้านปลูกกันค่ะ

ชื่อไหรทั้งยาว และอ่านยากจัง

พี่หยอยตัวเล็กๆ แต่น้ำใจและความมุ่งมั่นยิ่งใหญ่จริงๆค่ะ 


 

หน้า