แสงปริศนายามราตรี

หมวดหมู่ของบล็อก: 


แสงปริศนา ยามราตรีอันดึกสงัด (ถ่ายที่พื้นดิน ในสวนที่บ้านปากช่อง)


          กลางดึกของคืนวันศุกร์ที่ 2 ก.ย. 54 ระหว่างที่รอคอยยายสายกลับจากต่างประเทศ ยายสายไม่ได้€เดินทางไปไหนไกล ไม่ได้ข้ามฟ้า ข้ามทะเล เพียงแค่ข้ามลำน้ำโขง (หรือ แม่น้ำของ ตามที่ชาวลาวเรียกขาน) ไปประเทศลาว ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่องในการลงพื้นที่ที่จังหวัดอุดรธานี ขณะที่รอไม่มีอะไรทำ ข่าวก็ดูแล้ว สารคดีก็ดูแล้ว ดึกๆอย่างนี้ทำอะไรดีล่ะ ลงไปดูอะไรในสวนดีกว่า (คิดได้ไง) การกระทำตอบสนองความคิดทันที ว่าแล้วก็ลงจากบ้านโดยไม่ลืมคว้าไฟฉายกระบอกจิ๋วติดมือไปด้วย เดินสำรวจไปเรื่อยๆ เปิดไฟฉายบ้าง ปิดบ้างเพราะบางจุดมีแสงสว่างจากไฟทางด้านนอกสาดส่องเข้ามาพอให้เห็นพื้นอยู่บ้าง


         แล้วผมก็มาสะดุดกับแสงวับวาบสีเขียวนวลเหมือนแสงของหิ่งห้อยไม่ผิดเพี้ยน แอ๊ะ...แล้วมันแสงอะไรหว่า ด้วยความอยากรู้อยากเห็นจึงย่องเข้าไปหาต้นกำเนิดแสงดังกล่าวทันที เข้าไปจนถึงระยะประชิด



อ๋อ...มาจากเจ้าตัวนี้เอง ด้วยประสบการณ์ทำให้รู้ว่าเป็นตัวอ่อนของแมลงชนิดหนึ่งแน่ๆ จะเรียกว่า หนอน ก็อาจจะไม่ถูกนัก เพราะมีขา 6 ขา ตัวเป็นปล้อง มีหนวด 1 คู่ แต่ถ้าเรียกว่าตัวอ่อน หรือ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า "Larva" ยังไงก็ถูก


       หลายคนคงสงสัยว่าแสงที่ตัวอ่อนของแมลงตัวนี้ปล่อยออกมาจากส่วนไหนของลำตัว คำตอบคือ ส่วนท้าย (ก้น) ของลำตัว ซึ่งมี 2 จุด คำถามที่ตามมา แล้วมันคือ ตัวอ่อนของแมลงชนิดใด คำตอบในใจเบื้องต้น มันน่าจะเป็นตัวอ่อนของหิ่งห้อย ที่มีอยู่ในบริเวณนี้พอสมควร เหตุที่คิดเช่นนั้นเพราะมันมีแสงเหมือนกัน และหลังจากนั้นผมก็ได้สืบค้นในอินเตอร์เน็ต คำตอบที่ได้เป็นอย่างที่คิดแต่แรกจริงๆ เจ้าตัวอ่อนที่เรืองแสงได้นี้คือ ตัวอ่อนหิ่งห้อยจริงๆ คนทั่วไปร้อยละ 99.9999 คงไม่มีใครรู้จักและไม่เคยเห็นตัวอ่อนของหิ่งห้อย หรืออาจจะเคยเห็นแต่ไม่รู้ว่ามันคือตัวอ่อนหิ่งห้อย และคนทั่วไปอีกเช่นกัน รู้เพียงว่าหิ่งห้อยต้องอยู่ใกล้กับน้ำ หิ่งห้อยชอบอยู่ที่ต้นลำพู จึงไม่แปลกเลยที่จะไม่รู้ว่า มีหิ่งห้อยบก อยู่บนโลกใบนี้ ใช่แล้วครับในรูปข้างบนนี้คือตัวอ่อนของหิ่งห้อยบกชนิดหนึ่งของปากช่อง


       เพื่อไม่ให้เกิดอาการสับสน งั้นเราลองมาทำความรู้จักกับหิ่งห้อยกันสักหน่อย จะเป็นไรไป


       หิ่งห้อย หรือ ที่หลายคนรวมทั้งผมด้วย เรียกว่า "ทิ้งถ่วง" เป็นแมลงจำพวกด้วงชนิดหนึ่ง อยู่ในอันดับ (Order) Coleoptera วงศ์ Lampridae (แลมไพริดี้) ทั่วโลกมีประมาณ 2,000 ชนิด ในประเทศไทยพบหิ่งห้อยมากมายหลายชนิด แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ


       1. หิ่งห้อยน้ำกร่อย สกุล Pteroptyx


       2. หิ่งห้อยบก สกุล Luciola


       3. หิ่งห้อยน้ำจืด สกุล Luciola


       เห็นไหมครับเป็นหิ่งห้อยน้ำเสีย 2 ใน 3 หิ่งห้อยบกมีเพียง 1 เดียว การแบ่งเป็นหิ่งห้อยน้ำกร่อย นั่นหมายถึงวงจรชีวิตโดยเฉพาะช่วงที่เป็นตัวอ่อน (Larva) จะใช้ชีวิตอยู่ในน้ำกร่อย หิ่งห้อยน้ำจืด ตัวอ่อนก็จะอาศัยในน้ำจืด และหิ่งห้อยบก ตัวอ่อนก็จะอาศัยอยู่บนบกเท่านั้น ที่น่าสนใจเกี่ยวกับหิ่งห้อยก็คือ บรรดาตัวอ่อนของหิงห้อยน้ำเป็นนักล่าหอยที่สำคัญ โดยเฉพาะหอยที่เป็นสัตว์อาศัยที่เป็นตัวกลาง (intermediate host) ของพยาธิที่เป็นสาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และพยาธิใบไม้ในลำไส้คน และสำหรับตัวอ่อนของหิ่งห้อยบก ก็จะล่าหอยทากเป็นอาหาร การล่าหอยทากนี้ผมเห็นกับตาเลย แต่ถ่ายรูปไม่ได้ นอกจากนี้สารเรืองแสงของหิ่งห้อยที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีของสาร ลูซิเฟอริน (Luciferin) สารชนิดนี้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางเทคโนโลยีชีวภาพชั้นสูง โดยนำมาใช้เป็น marker ในการตัดต่อยีน หรืองานทางด้านพันธุวิศกรรม รวมไปถึงการนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในอนาคต


       เป็นไงครับ หิ่งห้อย แมลงตัวเล็กๆที่ให้ความเพลิดเพลินยามได้พบเห็น แต่ลึกๆแล้วมีประโยชน์มากมายมหาศาล ทั้งต่อระบบนิเวศน์ และชีวิตความเป็นอยู่ของมวลมนุษยชาติ เราจึงควรอนุรักษ์แมลงชนิดนี้ไว้คู่กับโลกให้นานที่สุด โดยการอนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยๆกันนะครับ



นอกจากเจอตัวอ่อนหิ่งห้อยแล้ว ยังเจอพวกนี้ด้วย(ปลวกอะไรไม่รู้) ไม่รู้ออกมาทำอะไรกัน



ปลวกพวกนี้ มีบางตัว ตัวใหญ่ และปลวกพวกนี้เวลาเราเข้าไปใกล้ เขาจะทำเสียงดังๆ เหมือนขู่เราด้วย เสียงที่ดังจากปลวกพวกนี้ ตามที่สังเกตเขาใช้วิธีสั่นหัวกระทบกับใบไม้ ขอบอกว่าทำเสียงได้ดังที่เดียว เสียงที่ได้ยินพอจะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือได้คือ "กราวๆๆๆๆๆ" (จินตนาการเอาหน่อยนะ) 

ความเห็น

เคยแล้วครับลุงโรส

เห็นเป็นแสงอยู่บนยอดหญ้านึกว่าหิ่งห้อย พอจับปุ๊บ  บรื๋ออออออออออออออออ

ตอนเป็นเด็ก....มีแรง มีเวลา แต่ไม่มีเงิน กลางคน.....มีเงิน มีแรง แต่ไม่มีเวลา ปั้นปลาย.....มีเงิน มีเวลา แต่ไม่มีแรง

 ตัวไม่ค่อยน่าเกลียดเท่าไรนัก

ฮูกตาฝาด นึกว่าลุงโรสถ่ายจากท้องฟ้า อิอิอิ ถึงว่าทำไมมีแสงจุดเดียวเอง อิอิอิ

 

 

"ขอบคุณน้ำใจที่แบ่งปัน ขอบคุณบ้านสวนพอเพียง"

ไปหาผักบุ้งกินด่วนนะฮูก นี่อุตส่าห์บรรยายใต้ภาพแล้วนะ

เพิ่งจะกระจ่างใจวันนี้เองค่ะ ลุงโรส ขอบคุณมากค่ะ ก่อนนี้เคยเห็นค่ะ ก็สงสัยอยู่นาน นึกกลัวเหมือนกันค่ะ Laughing เพราะจะเห็นที่เดิมทุกวัน หลายวันเข้าก็เริ่มสงสัย ตอนกลางวันไปดูตรงนั้นนึกว่ามีกระดาษอะไรสะท้อนแสงอยู่หรือเปล่าก็ไม่มี แต่วันนั้นยังหัวค่ำ จึงตัดสินใจลงไปส่องดู เพราะอยู่ข้างบ้าน ก็ถึงได้รู้ว่าแสงนี้เป็นแสงของหนอนตัวนึง แต่ก็ไม่เคยรู้เลยว่าชนิดไหน เพิ่งรู้นี่เองค่ะ

แบ่งปัน สร้างสรรค์ พอเพียง

 

ผมก็เพิ่งรู้เช่นกัน

:confused:แถวบ้านไม่ค่อยมีหิ่งห้อยสงสัย ไม่มืด:embarrassed:


ระวังนะค่ะ จะเจอในสิ่งที่น่ากลัวกว่าหิ่งห้อยตอนกลางคืน

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

กระสือเหรอ

ปลวกหัวโตๆ หน้าตาแบบนี้น่าจะเป็นปลวกทหารที่คอยอารักขาจอมปลวกกับนางพญานะคะ :sweating:

สุดมือสอย ก็ปล่อยมันไป^^ ธรรมะ จากท่าน ว.วชิรเมธี

เดี๋ยวไปหาข้อมูลเพิ่มเติม

หน้า