การตัดแต่งกิ่ง #1 : แนะนำเบื้องต้น

หมวดหมู่ของบล็อก: 

เพื่อให้ต้นไม้แข็งแรงและอายุยืน ในการแต่งทรงต้นเราเริ่มต้นทำตั้งแต่พืชยังต้นเล็กอยู่ในระยะนี้เราเริ่มตัดกิ่งไม้ผลโดย เลือกเอาไว้เฉพาะกิ่งที่แข็งแรง และอยู่ในทิศทางที่ต้องการ  กิ่งอ่อนแอหรือกิ่งที่ฉีกง่ายก็ตัดทิ้งไป  เมื่อต้นโตขึ้นมาโครงร่างของต้นย่อมแข็งแรงดีกว่าพวกที่ไม่ได้ทำการตัดแต่ง ทรงต้นไม้ผลที่ไม่ได้รับการแต่งทรงต้นและการตัดแต่งกิ่งเลยนั้น จะตกผลเร็ว แต่จะให้ผลผลิตสูงสุดได้ไม่นาน  ผลผลิตก็จะลดลงอย่างฮวบฮาบ หลังจากนั้นต้นไม้จะให้ผลน้อยมาก  และต้นจะโทรมส่วนไม้ผลที่ได้รับการแต่งทรงต้นและตัดแต่งกิ่งอย่างถูกต้อง นั้นจะให้ผลช้ากว่า แต่เมื่อถึงจุดที่ให้ผลสูงสุดซึ่งจะอยู่ในระดับต่ำกว่าต้นที่ไม่ได้รับการ ตัดแต่งเพียงเล็กน้อย  ต้นที่ได้รับการแต่งทรงต้นและตัดแต่งกิ่งจะให้ผลนานกว่า และอายุยืนนานกว่า  การที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่าไม้ผลที่ไม่มีการแต่งทรงต้นและตัดแต่งกิ่งจะมีพุ่มใหญ่เร็วซึ่งจะทำ ให้ออกดอกติดผลเร็ว และเมื่อไม่มีการตัดแต่งกิ่งออกเลย ก็จะทำให้พุ่มใหญ่เต็มที่เท่าที่ดินฟ้าอากาศจะอำนวย  จึงทำให้มีเนื้อที่ให้ผลมาก  ส่วนพวกที่มีการตัดแต่งกิ่งและแต่งทรงต้นนั้นพุ่มจะเล็กกว่าเนื้อที่ที่ให้ ผลจึงน้อยกว่าและทำให้ผลผลิตน้อยในระยะแรก  ต้นที่ทิ้งไว้ตามธรรมชาติไม่มีการตัดแต่งจะออกดอกติดผลเต็มที่เท่าที่ต้นจะ ทนได้  ทำให้ต้นโทรมเร็วและผลผลิตลดลง  ส่วนการตัดแต่งจะเป็นการช่วยให้ไม้ผลแข็งแรงอยู่เสมอไม่ทรุดโทรมเร็วจึงทำ ให้การออกดอกติดผลมีระยะเวลานานกว่า

เกริ่นมานานเรื่องที่จะแชร์วันนี้อาจจะไม่เกี่ยวกับเพอร์มาคัลเจอร์เท่าไร  แต่ก็เป็นเทคนิคหนึ่งในการดูแลต้นไม้เพื่อให้ได้ผลที่ดีขึ้น  จึงคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน สมช. บ้าง การตัดแต่งกิ่งมีวัตถุประสงค์หลักๆ ดังนี้:

1. ตัดแต่งเพื่อลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม  ต้นไม้โดยปกติธรรมชาติ หากไม่มีการตัดแต่งเลยจะมีทรงพุ่มที่แน่นทึบ อับลม แสงแดดส่องไม่ทั่วถึง เป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลง นอกจากนี้ถ้าหากทรงพุ่มของต้นไม้ผลที่ยื่นไปชนกับทรงพุ่มกับอีกต้น ปริมาณที่ทรงพุ่มชนกันมักไม่ออกดอกออกผล การตัดแต่งเพื่อวัตถุประสงค์ลดความแน่นทึบของทรงพุ่มก็เพื่อจะให้แสงส่องได้อย่างทั่วถึง ทำให้ส่วนที่อยู่ข้างในทรงพุ่มหรือข้างล่างได้รับแสง กิ่งที่มีแมลงทำลาย นอกจากนั้นยังเป็นการตัดแต่งเพื่อไม่ให้ทรงพุ่มชนกับต้นอื่น

การตัดแต่งจะทำให้มีการกระจายของกิ่งไปทั่วพุ่ม และทำให้ผลไม้ออกกระจายทั่วทั้งต้นไม่แออัดอยู่กิ่งใดกิ่งหนึ่ง  ทำให้กิ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่รับน้ำหนักมากในบางกิ่ง  ผลไม้ก็จะมีความสมบูรณ์สม่ำเสมอกัน  การตัดแต่งกิ่งควรจะคำนึงถึงปริมาณใบในต้นด้วย  เพราะไม้ผลถ้ามีใบน้อยเกินไปจะทำให้ขนาดและคุณภาพของผลลดลง  การปลิดผลออกเสียบ้างจะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้อัตราส่วนของใบต่อผลอยู่ในระดับพอดี

2. ตัดแต่งเพื่อทำลายกิ่งที่เสียหาย  กิ่งของไม้ผลมักจะถูกทำลายอยู่เสมอ อาจเนื่องมากจากลมทำให้กิ่งฉีกขาด โรคหรือแมลงทำลาย ทำให้กิ่งแห้งตายหรือหักเหลือตอ ชาวสวนถึงต้องตัดแต่งเพื่อทำลายกิ่งที่เสียหายเหล่านี้ เพราะเมื่อปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นที่สะสมของโรคที่เกิดขึ้นได้ การตัดแต่งเพื่อทำลายกิ่งที่เสียหาย

3. ตัดแต่งเพื่อกระตุ้นให้เกิดดอกและผล ปกติชาวสวนที่ปลูกไม้ผลย่อมต้องการทั้งปริมาณและคุณภาพของดอกและผล การตัดแต่งจะช่วยทั้งกระตุ้นให้เกิดกิ่งใหม่หรือตาใหม่ ทั้งตาใบและตาดอก เช่น ในกรณีของน้อยหน่าฝรั่ง นอกจากนี้ยังให้ผลที่มีจำนวนพอเหมาะกับลำต้น ทำให้ผลมีคุณภาพที่ดี การตัดแต่งเพื่อกระตุ้นให้เกิดดอกและผล

การตัดแต่งกิ่งยังจะช่วยแก้ปัญหาการออกผลเว้นปี (alternate bearing) ของไม้ผลบางชนิด ปัญหานี้มักจะพบอยู่เสมอในลำไย   ลิ้นจี่   ทุเรียน  มะม่วงเป็นต้น  สาเหตุใหญ่มาจากเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อม  ถ้าเราสามารถควบคุมการออกดอกติดผล ไม่ปล่อยให้ต้นไม้ติดผลมากจนต้นโทรมโดยการตัดแต่งกิ่ง  การปลิดดอกผล ตลอดจนการให้ปุ๋ย  ก็จะช่วยแก้ไขการออกผลเว้นปีได้  โดยจะช่วยทำให้อาหารในต้นมีอยู่ตลอดไปไม่ขาดแคลนจนถึงกับไม่สามารถให้ผลในปีต่อๆ ไปได้

4. ตัดแต่งเพื่อบังคับให้ได้รูปทรง  การตัดแต่งผู้ตัดแต่งจะสามารถจัดรูปทรงได้ เพราะทุกครั้งที่ผู้ตัดแต่งกิ่งออกกิ่งจะหยุดการเจริญเติบโตในทิศทางนั้น และจะเจริญเติบโตในทิศทางอื่น ซึ่งผู้ตัดแต่งสามารถบังคับได้ เช่น จะให้ต้นไม้ผลแตกกิ่งข้างออกมาๆ ก็ตัดกิ่งยอดออกทิ้ง หรือกรณีที่ต้องการให้เจริญเติบโตในสวนยอดก็ตัดกิ่งข้างออก นอกจากนี้การตัดแต่งยังสามารถบังคับขนาดของทรงพุ่มได้

การแต่งทรงต้นและการตัดแต่งกิ่งจะทำให้ต้นไม้มีรูปร่างตามที่ต้องการ  ซึ่งจะสะดวกแก่การที่จะนำเอาเครื่องมือเครื่องใช้เข้าไปปฏิบัติงาน ทรงต้นที่ไม่สูงเกินไปและพุ่มไม่แน่นมากนัก จะสะดวกในการฉีดยากำจัดโรคและแมลงการให้ธาตุอาหารทางใบตลอดจนการเก็บเกี่ยวผลไม้ การตัดแต่งที่ดีจะทำให้แสงแดดผ่านเข้าไปทั่วพุ่มอันจะเป็นการป้องกันโรคบางชนิดได้ด้วย

5. การตัดแต่งเพื่อให้ได้รูปทรงพิเศษ  การตัดแต่งนอกจากจะได้รูปทรงตามที่ต้องการแล้ว การตัดแต่งยังจะทำให้ผู้ตัดแต่งได้รูปทรงพิเศษอีกได้ ต้นไม้ที่สูงชะลูดตัดแต่งให้เป็นไม้พุ่มได้ ต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านสาขาไว้ทุกทิศทางอาจบังคับให้แตกไปเพียงสองทิศ ในด้านการปลูกไม้ผลในปัจจุบันการตัดแต่งเพื่อวัตถุประสงค์ข้อนี้จะทำให้ลดระยะระหว่างต้นของไม้ผลได้ โดยบังคับให้กิ่งจำนวนก้านของต้นไม้ผลแตกไปทิศทางสองทิศด้านที่ไม่มีกิ่งก้านยื่นไปก็ย่นระยะเข้าหากันได้ ทำให้ได้จำนวนต้นต่อพื้นที่มากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถจัดรูปทรงให้เป็นรูปร่างต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ปลูกไม้ผลเพื่อใช้เป็นไม้ประดับสถานที่ได้อีกด้วย

6. ตัดแต่งเพื่อการขนย้าย  การปลูกไม้ผลบางครั้งต้องมีการขนย้ายปลูก หรือย้ายจากแปลงเพาะเพื่อปลูก โดยปกติพืชจะเจริญเติบโตโดยมีสมดุลระหว่างรากกับกิ่งก้านและใบ ในการขนย้ายรากอาจถูกทำลายได้บ้าง ดังนั้นการคายน้ำจกใบกับปริมาณแร่ธาตุอาหารหรือน้ำจากรากจึงไม่สมบูรณ์ ต้นไม้อาจจะได้รับอันตราได้ การตัดแต่งส่วนลำต้นออกบ้างในการขนย้าย จะเป็นการช่วยลดอันตรายของพืชได้

 

การตัดแต่งโดยทั่ว ๆ จะมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ
1. เด็ดยอดหรือเด็ดตา (Pinching) โดยการใช้มือเด็ดเอาส่วนยอดออกหรือตาอ่อนออก ทั้งนี้เพื่อบังคับให้แตกกิ่งก้านสาขาตามที่ต้องการ


2. การตัดกิ่งให้เบาบางลง (Thinning) การตัดแต่งวิธีนี้จะตัดทั้งกิ่งทิ้งเพื่อให้ทรงต้นโปร่ง กระตุ้นกิ่งที่เหลืออยู่ให้เจริญเติบโต นอกจากนั้นยังช่วยทำลายกิ่งที่ไม่ต้องการเช่นกิ่งไขว้กัน กิ่งกระโดง กิ่งที่ถูกโรคหรือแมลงทำลาย


3. การตัดยอดให้สั้น (Heading back ) จะช่วยกระตุ้นการเจริญของจุดเจริญให้มีมากขึ้น เพราะตาอ่อนที่อยู่บนยอดจะปล่อยฮอร์โมนพวก auxin เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้าง


ความเห็น

แล้วกุหลาบนี่เราต้องตัดยังไงค่ะ ให้ออกดอกเยอะๆ รบกวนผู้รู้ด้วย

:sweating: ความจริงไม่ชำนาญเรื่องกุหลาบเลย  แต่มีคนแนะนำให้ตัดแต่งดังนี้

  1. ตัดกิ่งแห้งตายออก เช่นกิ่งแห้งในพุ่มหรือกิ่งแขนง กิ่งที่มีสีดำหรือสีน้ำตาล
  2. ตัดกิ่งที่เป็นโรคหรือกิ่งที่แมลงทำลาย เช่นกิ่งหนามดำ กิ่งที่มีเพลี้ย ควรตัดออกให้หมดเพื่อไม่ให้กระจายไปกิ่งอื่นๆ
  3. ในกรณีที่กุหลาบนั้นได้จากการติดตา ให้ตัดกิ่งซักเกอร์ (suckers) ซึ่งเป็นกิ่งที่แตกออกมาจากต้นตอออกให้หมด
  4. ตัดกิ่งล้มเอน กิ่งเกะกะ ที่ทำให้ไม่สะดวกในการดูแลรักษา
  5. ตัดกิ่งแก่ที่ไม่ต้องการออก 
  6. ตัดกิ่งให้สั้นตามต้องการ มากน้อยขึ้นอยู่กับพันธุ์ สภาพดินและลักษณะอากาศในท้องที่ โดยแบ่งการตัดเป็น 3 ระดับคือ ตัดสั้นเพียงเล็กน้อยโดยตัด 1 ใน 3ของความสูงเดิม  ตัดแต่งพอประมาณ ตัดส่วนบนทิ้งไปประมาณ 1 ใน 2  ตัดแต่งอย่างหนัก ตัดส่วนบนทิ้งไปประมาณ 2 ใน 3 
  7. ตัดกิ่งไขว้ออก คือกิ่งที่เจริญในพุ่มรวมทั้งกิ่งที่ห้อยไปคลุมกิ่งอื่น 
  8. การตัดควรทำมุม 45 องศา ควรตัดเหนือตาประมาณ 1/4 และให้ตาอยู่ทางด้านส่วนสูงของรอยเฉียง 
  9. ทาขอบแผลรอยตัดกิ่งที่มีขนาดโตกว่าดินสอด้วยสีน้ำมันหรือปูนแดงเพื่อป้องกัน การแห้งตายของปลายกิ่งที่เกิดจากการทำลายของหนอนเจาะต้นและเชื้อรา

ตัดแต่งเสร็จอย่าลืมทำดังนี้

  • เก็บใบที่เหลือติดโคนต้นออกให้หมด ในกรณีที่ตัดแต่งกิ่งยังไม่แก่และต้องเหลือใบไว้เลี้ยงต้น ต้องเก็บใบที่เป็นโรคออกให้หมดเหลือไว้แต่ใบที่สมบูรณ์ ใบแห้งที่ร่วงหล่นต้องเก็บให้หมดเพื่อไม่ให้เป็นที่เพาะเชื้อโรค และเป็นที่หลบซ่อนของแมลง
  • ทำความสะอาดแปลงและพรวนดิน ควรใส่ปุ๋ยกระดูกต้นละ 1-2 กำมือ และคลุมแปลงด้วยวัสดุคลุมดิน
  • ใส่ปุ๋ยปลา โดยผสมน้ำอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ กับน้ำ 1 แกลลอน รดโคนต้น
  • ใช้แมกนีเซียมซัลเฟต หรือดีเกลือโรยรอบต้นห่างจากโคนต้น 1 ฟุต
  • ฉีดยากันเชื้อราภายใน 24 ชั่วโมงให้ทั่วต้นและตลอดหน้าแปลง
  • เมื่อกุหลาบเริ่มแตกใบใหม่ควรใส่ปุ๋ยทุกๆ 35 วัน แต่ไม่ควรเกิน 5-6 ครั้งต่อปี และเนื่องจากกุหลาบจะต้องการน้ำมากเป็นพิเศษ หลังการตัดแต่งจึงควรรดน้ำมากกว่าปกติ

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

:embarrassed: ขอบคุณที่ตามอ่านตลอดครับ

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ขอบคุณค่ะ  เมื่อก่อน  จะปลูกกุหลาบหลายสี    ตัดดอกแล้วตัดกิ่งๆ   ได้เห็นดอกตลอดค่ะ  แต่เดี๋ยวนี้  ปล่อยเลย   ไปเล่นผักแทน 

นักวิชาการ หย่ายยย เจ้าคะ

คราวหน้าขอทำเป็นแบบ พาวเว่อร์พ้อยซ์   มั่งจิคะ

แบบรูปเยอะๆๆ เนื้อหา นิโน่ยยยย

ฮี่ๆๆๆๆ

:embarrassed:

หน้า