ภาษาถิ่นภูเก็ต บางวัน บางคำ

ลักษณะเด่นของภาษาถิ่นภูเก็ต  ที่ต่างจากภาษาถิ่นใต้ ทั่วๆไป คือ

1.  มีคำภาษาจีน  ภาษาอังกฤษ  ปนหลายๆ คำ

2.  แม่กก  เช่น  แตก  ออกเสียงเป็น  แต๊ะ   เช่น  หัวแต๊ะ    สามแย๊ะ    

                  ออก  ออกเสียงเป็น  เอ๊าะ   เช่น  เอาะไปข้างเน๊าะ

3.  ลงท้ายด้วย "อี"  จะออกเสียงเป็น เสียงมี ย สะกด  เช่น  ดี  ออกเสียงว่า  ดีย   มี  ออกเสียงเป็น มีย

เช่น  พูดดีย  มียสุข   ปียนี้อากาศร้อน

เช่น ไปไหนเหรอ >>ไปไน่เฮ้า ,ทำอะไรเหรอ>>ทำไร่เฮ้า,จริงเหรอ >>จริงฮึ เป็นต้น

คุณGoong   

     อ่าโก้เดินตีนเปา  เหยียบเล็กโคน  ต้องพาไปโรงยาบาล

เป็นคนภูเก็ตเจี่ยๆ

กุ้ง  เป็นคนปุ๊นเต่  เจี่ยๆ

พักอยู่แข่อังหม่อหลาว  กินอังหม่อต้านประจำ

สวัสดีค่ะ เป็นสมาชิกใหม่ค่ะ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยค่ะ

ขอขยายความนะค่ะ "อังหม่อหล่าว= คนภูเก็ตชอบใช้เรียกบ้านโบราณที่มีสไตล์ ชิโน-โปรตุกีสค่ะ ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านหลังใหญ่ค่ะ"  *(จะไม่ใช่เรียกตึก หรือบ้านแถวติดกันแบบในเมืองนะค่ะ ถึงแม้ว่าจะเป็นสไตล์ ชิโนโปรตุสกีส เหมือนกันก้อตามค่ะ) 

ไปตลาด คนภูเก็ตจะพูดว่า ไปหลาด

หน้า