เพอร์มาคัลเจอร์ #6.2 : ผลงานของ swale ช่วงเริ่มต้น

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ต่อเนื่องจาก เริ่มลงมือทำ swale ภายหลังจากที่ฝนตกลง  Swale ทำหน้าที่ในการกักน้ำ run-off จากถนนได้ดีมาก  swale ด้านบนสุดที่ติดกับถนนท่าทางจะรับน้ำฝนจากถนนมาเยอะ  เป็น swale เดียวที่ยังมีน้ำขังอยู่ทั้งๆ ที่ฝนไม่ตกมา 1 สัปดาห์แล้ว

ถ้าสังเกตุใกล้ๆ จะเห็นว่าน้ำใน swale จะถูกแรงดึงผิวดึงน้ำให้ระดับน้ำใต้ดินหลังสูงขึ้นจากระดับน้ำประมาณ 20-30 เซนติเมตร  การปลูกพืชที่มีรากลึกบนเนินเหนือ swale จะช่วยถึงระดับน้ำสูงขึ้นไปกว่าผลของแรงดึงผิวแต่เพียงอย่างเดียว

เรื่องที่น่าอัศจรรย์สำหรับผมคือ น้ำพวกนี้ปกติจะไหลทิ้งไปด้านล่างที่ต่ำกว่า  และต้นไม้ในบริเวณ swale นี้จะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากน้ำเหล่านี้ได้  แต่ผลของ swale ทำให้น้ำจากฝนที่ตกมาในสัปดาห์ที่แล้วเพียงวันเดียว  มีพอให้ต้นไม้ในบริเวณนี้ได้ใช้งานนานกว่า 1 สัปดาห์

ถั่วอีโต้จากสาวน้อยมหัศจรรย์  หนึ่งในบรรดาอุปกรณ์ช่วยปั๊มน้ำจาก swale (ถือโอกาสส่งการบ้าน)

ถั่วครกจากครูป้าลัด และน้องวิศิษฐ์  (ปลูกไปพร้อมกันเลยไม่รู้ว่าต้นนี้เป็นของครูคนไหน) นี่ก็ช่วยปั๊มน้ำ  แถมยังมีปอเทืองที่กระจัดกระจายอยู่บนเนินช่วยอีกแรง

ส่วน swale อื่นๆ ไม่มีน้ำขังอยู่ แต่มีร่องรอยของโคลนที่ก้นร่องของ swale เห็นคนงานก่อสร้างซึ่งอยู่ทำงานที่สวนเล่าให้ฟังว่าน้ำค้างอยู่ในร่องประมาณ 1-2 วันก่อนที่จะแห้งไป  ไม่ได้เป็นสัปดาห์เหมือนร่องบนสุด ชลอน้ำไว้สัก 1-2 วันก็ยังดี  

ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นความลับที่ทำให้ swale ร่องบนสุดเก็บน้ำได้นาน คิดว่ามี 2 ปัจจัยคือ 1.swale ด้านบนสุดรับน้ำจากถนนด้วย  อาจจะได้น้ำมากกว่าร่องอื่นๆ และ 2. ลักษณะดินด้านบนเป็นหินน้อยกว่าด้านล่าง  ดินอาจจะไปอุดรอยรั่วต่างๆ ทำให้เก็บน้ำได้ดีกว่าร่องอื่นที่อยู่ด้านล่างลงมา  คงต้องพยายามหาคำตอบต่อไป แต่ที่แน่ๆ swale เริ่มทำหน้าที่ของมัน  ตอนนี้ระบบยังไม่สมบูรณ์ คงยังต้องทำการปรับปรุงเพิ่มเติมในภายหลัง  เป้าหมายคือไม่อยากเห็นภาพข้างล่างนี้ที่สวนอีก (ภาพจากบล็อกเวทีประลองหน้าแล้ง - พืชสวน vs พืชท้องถิ่น)

หน้าแล้งปีหน้าจะเป็นบทพิสูจน์ที่แท้จริงของ swale ว่าจะช่วยต้นไม้ให้ผ่านหน้าแล้งได้อย่างไร  ส่วนตัวหวังว่า swale จะเป็นเครื่องมือสำคัญของสวนในการนำพาต้นไม้ให้พ้นภัย  เดี๋ยวหน้าแล้งปีหน้าจะกลับมาเพิ่มเติมข้อมูลของ swale เพิ่มเติมนะครับ

เพอร์มาคัลเจอร์ #8.1 สระน้ำ - ต้นไม้ริมสระ
เพอร์มาคัลเจอร์ #8: สระน้ำ
เพอร์มาคัลเจอร์ #7 : สวน 3 พี่น้อง

เพอร์มาคัลเจอร์ #6.1 : เริ่มลงมือทำ swale
เพอร์มาคัลเจอร์ #6 : การกักเก็บน้ำฝน
เพอร์มาคัลเจอร์ #5 : ภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อม
เพอร์มาคัลเจอร์ #4 : เรื่องเล็กๆ ของการเก็บน้ำฝน
เพอร์มาคัลเจอร์ #3 : การวิเคราะห์โซนในการออกแบบภูมิทัศน์
เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้
เพอร์มาคัลเจอร์ #1 : แนะนำแนวคิดเบื้องต้น

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com

ความเห็น

รอลุ้นด้วยค่ะ...ถั่วอีโต้...สาวน้อยรับมาจากเปรี้ยว_ส้มอีกที เมื่อกี้ ครูเปรี้ยวตรวจแล้ว...บอกว่าผ่านค่ะ 

ชีวืตที่เพียงพอ..

ภาพไม่ขึ้นเลยพี่นึก ดูไม่ได้อ่ะ

เยี่ยมครับ

:admire: :admire: :admire:

เดินตามความฝันของตัวเอง

:uhuhuh: ต้องเก็บไว้เป็นข้อมูลเผื่ออนาคตจะมีโอกาสทำ

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

แอบมาเก็บข้อมูลด้วยค่ะ ต้นไม้ปลูกตรงกลางเลยบเหรอคะ :admire:

""

 

ก็ต้องปลูกบนเนิน เพื่อให้ต้นไม้เจาะดินเพื่อให้น้ำซึมเข้าใต้ดิน :cheer3:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

อ๋อออออ  ป้าเพิ่งจะเก็ตว่าทำยังไงเพื่ออะไร  จะไปลองทำตามบ้าง 

Laughingป้าอ้อย

:embarrassed: ถ้าป้าอ้อยจะให้ช่วยก็บอกนะครับ ยินดี

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

หน้า