ระบบบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน

หมวดหมู่ของบล็อก: 

....หายหน้าหายตาไปนาน วันนี้มาสวัสดีทักทายทุกๆท่าน พร้อมกับ

นวตกรรมใหม่ๆมาฝากค่ะ  คือ ระบบบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน

....หลายท่านอาจทราบอยู่แล้วว่า ในปัจจุบัน มี รูปแบบของ ระบบบำบัดน้ำเสีย อยู่ทั้งหมด 6 แบบ ซึ่งประกอบไปด้วย

1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond) ดูรายละเอียด 

         ถือว่าเป็นแบบที่ค่าใช้จ่ายต่ำมาก แต่ต้องใช้พื้นที่มาก

2.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL) ดูรายละเอียด 

ค่าใช้จ่ายต่ำ บำรุงรักษาง่าย แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องเติมอากาศ ซึ่งค่อนข้างสูง


3.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland) ดูรายละเอียด 

ซึ่งกำลังได้รับความนิยม ใช้เงินลงทุนต่ำ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก


4.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge Process) ดูรายละเอียด 


ใช้พื้นที่น้อย แต่ต้องมีอุปกรณ์ ต่างๆ มาก

5.ระบบบำบัดน้ำเสียคลองวนเวียน (Oxidation Ditch) ดูรายละเอียด 

เป็นรูปแบบที่เหมาะกับชุมชน ขนาดเล็ก


6.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor ; RBC) ดูรายละเอียด 

เหมาะสำหรับพื้นที่อุตสาหกรรม เพราะดูแลรักษาง่าย แต่มีค่าอุปกรณ์ต่างๆค่อนข้างสูง

ที่มา  http://wastewatertreatments.wordpress.com/2010/09/17 

 

....หลังจากนั่งคิดทบทวน และหาข้อมูลทางวิชาการ หารูปแบบและตัวอย่างระบบบำบัดน้ำเสีย ที่จะนำมาใช้ประโยชน์กับบ้านหลังเล็กของตัวเอง ก่อนปล่อยลงสู่ทุ่งนา เหตุผลก็คือ บริเวณที่น้ำไหลลงนั้นเป็นทุ่งนา ซึ่งพอถึงฤดูทำนาก็ทำนาตามปกติ แต่กลับได้ผลผลิตต่ำลง นาข้าวเสียไปเกือบ 1 งาน เพราะน้ำทิ้งที่ไม่ผ่านการบำบัด เต็มไปด้วยสารเคมีที่ใช้จากครัวเรือน เช่น น้ำยาล้างจาน ยาสระผม ครีม สบู่ ผงซักฟอก ฯลฯ ทำให้สภาพดินไม่เหมาะต่อการปลูกพืช

.....และจากข้อมูลทางวิชาการเบื้องต้น ก็พบว่า...ต้องคิดและออกแบบเองแล้วล่ะค่ะ เพราะต้นทุนสูงวิธีการซับซ้อนยุ่งยาก ไม่เหมาะสำหรับคนบ้านนอกอย่างเรา เพียงแต่กระบวนการทำระบบบำบัดน้ำเสียยังต้องพึ่งหลักการทางวิทยาศาสตร์อยู่

 

 

กระบวนการที่ได้นำมาประยุกต์ใช้ ก็คือ 
1. กระบวนการทางกายภาพ (physical process) เป็นการบำบัดน้ำเสียอย่างง่ายซึ่งจะแยกของแข็งที่ไม่ละลายน้ำออก วิธีนี้จะแยกตะกอนได้ประมาณ 50-65% ส่วนเรื่องการแยกความสกปรกในรูปของสารอินทรีย์ (BOD5) ประมาณ 20-30% เท่านั้น  วิธีการต่าง ๆ ในกระบวนการนี้มีหลายวิธี เช่น การดักด้วยตะแกรง (screening) เป็นการแยกเศษขยะต่าง ๆ ที่มากับน้ำเสีย เช่น เศษไม้ ถุงพลาสติก กระดาษ ตะแกรงมีหลายขนาด การดักด้วยตะแกรงจึงเป็นการแยกขั้นตอนแรกในการบำบัดน้ำเสีย การตัดย่อย (combination) คือ การใช้เครื่องตัดทำลายเศษขยะขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง การกวาด (skimming) เป็นการกำจัดนำมันและไขมันโดยทำการดักหรือกวาดออกจากน้ำเสีย การทำให้ลอย (floating) จะใช้กับตะกอนที่มีความถ่วงจำเพาะน้อยกว่าน้ำ การตกตะกอน (sedimentation) เป็นการแยกตะกอนออกจากน้ำเสียโดยอาศัยหลักการเรื่องแรงโน้มถ่วง ซึ่งจะใช้กับตะกอนที่มีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำ



       

        

2. กระบวนการทางกายภาพ-เคมี (physical-chemical process)
เป็นกระบวนการที่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยมากกว่ากระบวนการที่กล่าวมา ซึ่งกระบวนการนี้จะใช้ในขั้นตอนสุดท้ายในการบำบัดน้ำเสีย ที่ผ่านกระบวนในขั้นตอนอื่นแล้ว เช่น กระบวนการดังต่อไปนี้

                  2.1 การดูดซับด้วยถ่าน (carbon adsorption) วิธีการนี้ใช้ผงถ่านหรือคาร์บอนเป็นตัวดูดซับสาร
เจือปนที่ละลายอยู่ในน้ำทิ้ง 



 การนำกลับมาใช้ประโยชน์ (reuse and reclamation)

.....น้ำที่ได้ผ่านการบำบัดแล้ว ปล่อยลงสู่ธรรมชาติและใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ได้เป็นอย่างนี้ ตรงนี้ยังไม่แล้วเสร็จค่ะเหลือการต่อท่อเพื่อลำเลียงน้ำส่งไปเลี้ยงต้นไม้ต่อไป  ไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

 ....แนวคิดนี้อาจนำไปใช้ได้สำหรับบ้านเรือนที่มีพื้นที่เหลือพอสำหรับทำบ่อบำบัดเอาไว้ใช้เอง งบลงทุนไม่สูง วัสดุอุปกรณ์ไม่มาก ลงมือทำได้เลยค่ะ   

...และหากมีข้อเสนอแนะ ก็ยินดีและขอบคุณมากค่ะ

 

ข้อมูลจาก : http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/chapter3/chapter3_water13.htm           

ความเห็น

น่าสนใจมากค่ะ ถ้ามีโอกาสจะลองทำดูบ้าง

ค่ะ ลงมือทำแล้วคุ้มค่าเหนื่อยจริงๆค่ะ


ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยมชม

สวัสดีค่ะ  หนูชื่อ แอมมี่ค่ะ ตอนนี้หนูเรียน อยู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ปีที่ 4 แล้ว หนูเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง  มาเห็นผลงานแล้วสนใจ อยากจะที่จะนำไปทำเป็นวิทยานิพนธ์เพื่อจบการศึกษา เลยอยากจะขอผลงาน มาลองทำในครัวเรือนจริง และจะลองนำน้ำมาตรวจหาวิเคราะว่าน้ำที่ผ่านระบบนี้ มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน และปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้มันดีขึ้นสำหรับครัวเรือนหลังอื่นๆ ค่ะ  อยากจะขอวิธีการทำอย่างละเอียดและข้อมเพิ่มเติมค่ะ จะเป็นพระคุณอย่างสูงหากพี่ให้ข้อมูล  เพราะระบบนี้ ทำง่ายและ วัสดุไม่แพง เหมาะกับครัวเรือนน่าสนใจจริงๆค่ะ  พี่จะกรุณาหรือไม่ช่วยตอบความคิดเห็นหนูหน่อยนะคะ  เมลตอบกลับหนูจะขอบคุณมากค่ะ sujittra_mymint@hotmail.com หนูรอคำตอบอย่างใจจดใจจ่อค่ะ 

ดีจัง ขอเก็บเข้าบุคมาร์คไว้อ่านก่อนดีกว่าค่ะ อยากทำเหมือนกันแต่ไม่มีข้อมูล ทีนี้ละ ได้ตัวอย่างแล้ว ขอบคุณมากเลยค่ะ

ต้องการใช้วิธีเดียวกันนี้บำบัดน้ำเสียด้วยค่ะ อยากได้รายละเอียเพิ่มเติม รบกวนช่วยส่งmail หน่่อยนะค่ะ relaxpoint059@gmail.com ขอบคุณมากค่ะ

หน้า