ว่ายให้ถึงฝั่ง ซะที

หมวดหมู่ของบล็อก: 

     วันนั้น (29 เม.ย. 2556) ... ขึ้น บล็อก “วันก่อนเนื้อ ... วันนี้น้ำตามไปอ่าน ตรงนี้ .... คุยกัน เรื่องสมุนไพร ... แต่ออกจะยาวมากไป ... จึงยุติไว้ แค่ สมุนไพร ที่ชื่อ รางจืดต้น” ...

     วันนี้ ... จะมาคุยกันต่อ ในส่วนที่ค้างไว้ ... ไม่งั้น จะ “เจ็บหัว เสียดพุง” (ปวดหัวปวดท้อง) ... กระส่าย กระสับ ... หลับไม่สนิท

     เอาครับ เริ่มต้น สมุนไพรตัวแรกของ บล็อกนี้ ... คือ ตัวที่ 4 ของ บล็อก “แฟ้มภาพ ... สมุนไพร 1(Review ได้จากตรงนี้)

     เอ้า ... มาเริ่มกันเลย นะครับ ....

จากภาพลำดับ ที่สี่ ... สาบเสือ ... คือสมุนไพรที่เราจะเริ่ม กันในวันนี้

     มีคนเล่าว่า ใช้ต้น และใบ ต้ม ... แก้ ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ แก้บวม ดูดหนอง

       ที่กล่าวนั้น ข้าพเจ้า ไม่เคยลอง .... ที่เคยใช้ คือ

     ใช้ใบ ขยี้ กับปูนกินหมาก ... ไม่มีปูนก็ไม่เป็นไร ... น้ำบ่อน้อย ถุยใส่ ขยี้ ให้เป็นฟอง ทา และพอก สมานแผล ... ป้องกันการอักเสบ เป็นหนองได้ดีครับ ....

     คุณพ่อ ท่านชอบใช้สมุนไพรต้นนี้นัก .... ท่านใช้ เฉพาะต้น สด ๆ ... ไม่ต้องต้ม ... ไม่ต้องตำ ... ไม่ต้องคั้น ... ได้มาก็รูดใบ ที่ใช้ขยี้ใส่แผล ทิ้ง ... เอาแต่ต้นล้วน ๆ .... ซึ่งได้ผลครับ ... ชะงัด ซะด้วยซี อาการระงับลงทันตาเห็น ...

     ก็ใช้รักษา  “โรคพาโล” ... ของข้าพเจ้านาซี คร้าาา ... บ..... ยังจำรสชาติได้จนบัดนี้

 

ลำดับที่ห้า ... "พระเจ้าห้าพระองค์" (หนานเฉาเหว่ย)

     คนละพันธ์ กับ พระเจ้าห้าพระองค์ ที่เป็นไม้โตเร็ว ที่นิยมปลูกกัน นะครับ ... แต่เขาขยายพันธุ์ง่ายครับ ... ตัดปัก แบบ พญาวานร นั่นแหละ

    ส่วนที่ใช้ คือ ... ใบครับ ... จะเคี้ยวสด ๆ .... หรือต้ม เอาน้ำดื่มก็ได้  ... หรือผึ่งแห้งชงดื่มแบบชา ก็ได้ ... ลองก่อน แล้วจะทราบเอง ว่า .... ถนัดแบบไหน ... เลือกเอา ...

    เคยได้ยิน เรื่องจริงที่ พูดเล่น ที่ว่า ... “คนแก่ชอบกินขม” ไหมละครับ

    ข้าพเจ้า ... ก็ถูกธรรมชาติจัดให้อยู่ในกลุ่มนี้ จึง ... ชอบ วิธีเคี้ยวใบสด .... รสโดนใจคนแก่ อ่ะ ...  คือ ... รส ฝาดขม แต่ ไม่กระอักกระอ่วน ... เพราะไม่มีเมือก อย่างฮวานง๊อก  ...

       เคี้ยวตอนแรก ขม ... ครู่ต่อไป จะรู้สึก มีความหวานน้ำลาย ... และ “อวล”

    สรรพคุณ ของเขา หลัก ๆ ก็ บรรเทา เบาหวาน และ ความดัน ...

    แต่ สำกรับข้าพเจ้า ... คงรักษา ... ยากส์ส์ส์ ... ก็ ... มันคนละดัน ... ของข้าพเจ้า มัน ดันทุรัง ... ไงครับ ไม่งั้นไม่ตั้งชื่อตัวเอง ว่า “พาโล” หรอกครับ

 

ลำดับที่หก "ชิงชี่"

     เป็นสมุนไพรอีกต้น ที่ข้าพเจ้าคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็ก ... เพราะต้องไปฟันต้น ... ขุดโคน เอารากมาต้มรวมกับ รากย่านาง และรากอื่นๆ อีก 3 ชนิด ... คุณพ่อ และ คนที่มาขอให้ท่านจัดให้ เรียกยาขนานนี้ว่า “ยาห้าราก” .... ซึ่งพอพวกคุณท่าน รวมหัว ... อ๊ะ ๆ ๆ ... ผิดอีกแล้ว ... รวมรากกันได้ ... แม่เจ้าประคุณเอ้ย  ... เอ๊ะ ... ไม่ได้นา ต้อง ...  พ่อเจ้าพระคุณเอ้ย ... ด้วยซีนะ ... ไม่งั้นเดี๋ยว ... “พ่อ” ... จะน้อยใจเอา

           ขมสุด ๆ !...

     หากสนใจ สรรพคุณ (อ่านซ้ำได้ตรงนี้) เพราะเคยเอามาให้รู้จัก

 

ลำดับสุดท้ายที่นำมาให้ดูวันนั้น คือ “หนุมานประสานกาย”

     อันว่าหนุมานประสานกาย ... มีความสับสน อยู่ 2 เรื่อง ...คือเรื่อง “ชื่อ” และ ลักษณะ “ต้น”

         เรื่องชื่อ ... มีบางท่าน เรียกว่า “สังกรณี” ... จึงอาจสับสนกับสังกรณี ที่รูปลักษณ์ คล้าย ต้อยติ่ง ... ที่เราเก็บผลสุกมาโยนน้ำเล่นนั่นแหละ ... แต่ดอกแม้สีจะคล้ายกัน แต่ลักษณะ ช่อ และกลีบ ต่างกัน

         ส่วน เรื่องต้น ... มีผู้ไม่เคยสัมผัส หนุมานประสานกาย ... หรือ สัมผัส อย่างผิวเผิน ... ไปเห็น ต้นไม้ชนิดหนึ่งเข้า ... ซึ่ง ละม้ายกันมาก ๆ ... ต่างกันที่ จำนวน และลักษณะ “ใบ” ... อาสำคัญผิดเอาว่าเป็นหนุมานประสานกายได้

     ซึ่งที่แท้ ...มันคือ ต้น หนวดปลาหมึก ... ไม้ต้นนี้ ... ขืนเอามาต้มดื่ม ... ก็คงได้ “ประสานโรงพยาบาล” ละครับ … ตั้งใจว่า บล็อกว่าด้วย  “น้ำ ๆ” ... สอง บล็อกหลังนี้ จะไม่  “ประสะเนื้อ” ลงไปแล้วเชียว ... แต่ ด้วยความเป็นห่วง ท่านที่ยังไม่สนิทชิดเชื้อ กับ “หนุมาน ฯ” ...

 

 

 

 

     เลย เอาใบหนุมานแระสานกายมาให้ ดู ลักษณะ และ จำนวนใบ กันอีกที

     คนจีนจึงเรียกเขาว่า ... “ชิกฮะลั้ง”

 

 

 

 

 

 

     เมื่อพำนักที่ เมืองคอน ... ยามที่ข้าพเจ้า รู้สึก เจ็บคอ เริ่มไอ ถี่ขึ้น ... ก็ออกไปริมรั้วหน้าบ้าน ปลิดใบ หนุมานประสานกาย นี่แหละครับ มา 7 – 8 ใบ ล้าง ... ต้มดื่ม

       หากมีไข้ด้วย ... ข้าพเจ้า ก็เด็ดใบ “ฟ้าทะลายโจร” ... ลงไปสมรสในหม้อต้มด้วย ... แต่ตอบไม่ได้ว่า “ไหนเจ้าบ่าว ... ไหนเจ้าสาว” .... ฮึ ๆ ๆ ๆ

     ส่วนสรรพคุณ บำบัด ด้านอื่น ของหนุมานประสานกาย ... ที่เขาเล่า ๆ กัน เช่น แก้ฟกช้ำ ห้ามเลือด ... ข้าพเจ้าไม่เคยใช้ จึงไม่กล้าพยากรณ์ ...

     แต่ ถ้า บรรเทา อาการไอ ... โรคแพ้อากาศ ... ขับเสมหะ ... Confirm … ได้ผลครับ ได้ผล ... แต่จะผลเล็ก ผลโต อยู่ที่ปุ๋ย ... อ๊ะ ... คนละเรื่องอีกแล้วครับท่าน

     “อยู่ที่ขนาด และวิธีการ และระยะเวลา ในการใช้”

         เอ้า ....

     ยินที่เล่ามา ... ทั้งสองบล็อกนี้ ... อย่าเพิ่ง ตัดสินใจ ... เชื่อ หรือ ไม่เชื่อ ... ทันที ...

     ที่สำคัญ พึง สำเหนียกมั่นไว้ ว่า .... สมุนไพร ... ไม่ใช้ยาเทวดา ที่

“ใช้ ปุ๊บ .. หายปั๊บ”

ผิด ... ถูกประการใด ต้องสัมผัสจริงด้วยตนเอง ยามอารมณ์ไม่ถูกก่อกวน ...

จริงอยู่ตรงนั้น แหละครับ

ความเห็น

  ลุงอาศัย ประสบการ ลูบ คลำ ถูกปลากะดีไป ...

     ถูก งู ตอใด ... กะจักแหลน (ชัก)

   อนุรักษ์ไว้ ตะป้าเหอ ... อันไหน แขะเคยลอง ได้ผล ... มีค่า ควรต่อการพัฒนาใช้ และ

    เดียวนี้ ... อิหา อ่าน "หนังสือบุด" ... ยากแสนยาก ... เขาหนีไปยู ญีปุ่น เกือบฉาด ... ชอบเที่ยว นอกสา

หน้า