วันนี้มีอะไรให้ชม

หมวดหมู่ของบล็อก: 

  Laughing สวัสดีครับทุกท่าน เหมือนเคยหรือว่าเช่นเดิมละครับ มาแล้วก็ต้องมีอะไรติดไม้ติดมือมาฝาก จะมากหรือหนักไปทางใด อาหาร ต้นไม้ สัพเพเหระหรือไม่ได้สาระ ผู้ชมจะชอบหรือถูกใจหรือไม่ อันนี้ก็ว่ากันไปตามเรื่องราวละครับ..ชอบก็ว่ามา ไม่ชอบก็ว่ามา..อิอิ ไม่ต้องตอบหรอกครับ

    วันนี้เอาไม้ป่าหรือว่าไม้ในธรรมชาติที่ถูกจับมาให้อยู่บ้าน มาให้ชมกันสักต้น แล้วตามด้วยพืชผักเล็กๆน้อยๆอีก๓ชนิด ผลผลิตจากบ้านสวน ไปชมกันครับ

ดองดึง

 สมัยก่อนอยู่ป่า ปัจจุบันถูกจับมาเป็นไม้ประดับ ดองดึงต้นนี้ก็เหมือนกันคราวที่ปรับพื้นที่สวน ผมเกรงจะสูญพันธุ์จึงขุดมาปลูกไว้ที่บ้าน ไม่ได้ดูแลอะไรนัก ออกดอกปีละครั้งแต่อยู่นาน ปีนี้ก็เช่นกัน 

ท่านใดอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่นี่ครับ:https://www.google.co.th/#q=%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B6%E0%B8%87

 

ปีนี้ขึ้นมา๒เถา เถายาวมาก ขึ้นไปเมื่อไม่มีที่จับก็ห้อยลงมาตามภาพ

  

ส่วนอีกเถายังทรงตัวอยู่ได้

ดอกอ่อน ดอกตูม ดอกบาน

   

และผลของดองดึง...ไม้ต้นนี้ขอจบแค่นี้นะครับ

ไปชมกันต่อกับ.....

 

ต้นกล้าของชะมวงจากเม็ดที่ผมนำมาวางไว้ และแยกลงถุงไว้แล้ว๔ต้น ท่านใดประสงค์จะเลี้ยงต่อบอกได้ครับ 

 

ปูเล่ ที่ซื้อมาต้นละ๑๐บาทวันก่อน 

  

ถั่วครก หรือถั่วรก ฉายาที่หลายท่านตั้งให้ และตอนนี้เริ่มเลือนหายไปจากบ้านสวน..ฝักรุ่นแรกแห้งพร้อมเก็บเมล็ดได้แล้ว ท่านใดต้องการเมล็ดพันธุ์แจ้งมาครับ

 นี่ครับเก็บมาแล้ว

  

ส่วนรุ่นนี้จะทันวันเกิดเวบมั๊ยหนอ?

+++++

 ขอบคุณทุกท่านที่เข้าชม สวัสดีครับ.

 

 

ความเห็น

ขอชะมวงหมดหรือยังค่ะ แต่จะส่งอย่างไรค่ะ 

ต้นกล้ายังไม่หมด และขอไม่ส่งนะครับ คิดไว้จะนำไปแจกงานวันเกิดเวบ

ส่วนท่านใดที่อยากได้ต้องรอจากเมล็ดครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ชอบดองดึงมากเลยครับ  สวยแปลกดี  อยากได้พันธ์มาปลูกบ้างจังเลยครับ

รักบ้านเกิด ชอบเศรษฐกิจพอเพียง

รอให้เก็บเม็ดได้ก่อนนะครับ แล้วจะแจ้งอีกที

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ดองดึงผมเห็นในป่ามีเยอะ นอกจากจะนำมาเป็นไม้ประดับแล้ว มันยังมีคุณสมบัติทางสมุนไพร

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Gloriosa superba L.

ชื่อสามัญ  Flame lily, Climbing lily, Turk's cap, Superb lily, Gloriosa lily

วงศ์  Colchicaceae

ชื่ออื่น :  ก้ามปู (ชัยนาท); คมขวาน, บ้องขวาน, หัวขวาน (ชลบุรี); ดาวดึงส์, ว่านก้ามปู (ภาคกลาง); พันมหา (นครราชสีมา); มะขาโก้ง (ภาคเหนือ); หมอยหีย่า (อุดรธานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี ยาวได้ถึง 5 เมตร มีเหง้าใต้ดินทรงกระบอกโค้ง ใบเดี่ยวเรียงสลับ หรือเรียงเป็นวงรอบข้อ 1-3 ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ยาว 5-15 ซม. ปลายใบเรียวแหลมงอเป็นมือเกาะ ไร้ก้าน ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกใหญ่ ยาว 6-10 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 5 ซม. ดอกมีสีแดงด้านบน หรือตามขอบกลีบ มีสีเหลืองด้านล่าง บางครั้งมีสีเหลืองซีด อมเขียว หรือสีแดงทั้งดอก เกศรเพศผู้มี 6 อัน ก้านยาว 3-5 ซม. อับเรณูยาวประมาณ 1 ซม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 0.3-0.7 ซม. แยกเป็น 3 แฉก ผลรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 5-10 ซม. แตกตามรอยประสาน เมล็ดกลมสีแดงส้มจำนวนมาก

ส่วนที่ใช้
หัว แป้งที่ได้จากหัว เมล็ด ราก

สรรพคุณ :
   ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ระบุไว้ว่า รากและเหง้า เป็นยาที่อันตรายมาก เหง้าและเมล็ดมีพิษมาก ใช้รักษาโรคมะเร็ง        
ตำรายาไทย  ใช้ หัว และเมล็ด แก้ปวดตามข้อ แก้โรคเรื้อน แก้คุดทะราด แก้เสมหะ ฝนน้ำทาแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ให้สัตว์กินเพื่อขับพยาธิ หัว รสร้อนเมา แก้โรคเรื้อน คุดทะราด แก้โรคปวดข้อ (gout) แก้กามโรค แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ขับผายลม มีสารที่ใช้รักษาโรคมะเร็งได้ หัวสด ตำพอกหรือทา แก้ปวดข้อ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ตำผสมทำยาประคบแก้ปวดข้อ (gout)  แก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ แก้ข้ออักเสบฟกบวม หัวแห้ง ปรุงเป็นยารับประทาน รักษาโรคเรื้อน มะเร็งคุดทะราด โรคปวดข้อ แก้กามโรค ขับผายลม จะต้องใช้ในปริมาณน้อย ถ้าเกินขนาดอาจเกิดพิษได้ ราก รสเมาร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะ ทาแก้โรคผิวหนัง แก้ปวดข้อ ตำพอกหรือทา แก้โรคผิวหนัง เรื้อน มะเร็งคุดทะราด แก้ปวดข้อ ต้มดื่ม แก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะ ต้องใช้ปริมาณน้อย และเจือจางถ้าเข้มข้นเกินไปอาจเกิดพิษถึงตายได้

ข้อควรระวัง
    การใช้ดองดึงเป็นยารักษาโรคเกาต์ ไม่ควรใช้เหง้าต้มหรือปรุงวิธีอื่นกิน อาจเป็นพิษถึงตายได้ เพราะขนาดรักษาใช้ปริมาณน้อยมาก และใกล้เคียงกับขนาดที่ทำให้เกิดพิษ ควรใช้ในรูปยาเม็ดแผนปัจจุบัน ซึ่งสามารถกำหนดขนาดรับประทานที่ปลอดภัยได้ เหง้าดองดึงเป็นพิษโดยเป็นพิษต่อการแบ่งตัวของเซลล์ และเป็นพิษต่อทางเดินอาหาร อาการของพิษจะเกิดเมื่อกินสารนี้เข้าไปประมาณ 2 ชั่วโมง จะรู้สึกแสบร้อนในปากและลำคอ คอแห้ง กระหายน้ำ โดยมีอาการเจ็บปวดตามตัว ปากและผิวหนังชา คลื่นไส้อย่างรุนแรง ท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระมีเลือดปน ปวดท้องปวดเบ่งแต่ไม่มีอุจจาระออกมา หายใจลำบาก กลืนไม่ลง ชัก หมดสติเนื่องจากร่างกายเสียน้ำมาก ตัวเย็น และอาจตายได้ใน 3-20 ชั่วโมง อุณหภูมิร่างกายจะลดลงต่ำมากก่อนเสียชีวิต จึงไม่แนะนำให้ประชาชนทั่วไปนำมาใช้เอง ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์

ในการแพทย์แผนปัจจุบัน
   ใช้เหง้า สกัดเป็นสารบริสุทธิ์ ซึ่งมีแอลคาลอยด์ colchicines ทำเป็นยาเม็ดรักษาโรคเกาต์ (ปวดข้อ)

ข้อควรระวัง - สารมีฤทธิ์ข้างเคียงเป็นอันตรายถึงตายได้
                  - ราก พบ Methylcolchicine

ข้อมูลเพิ่มเติม

การแพร่กระจายพันธุ์ :ดองดึงมีถิ่นกำเนิดในอัฟริกาเขตร้อน ขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไปในเอเชียเขตร้อน รวมทั้งไทย ตามที่โล่ง ชายป่า ดินปนทราย สามารถขึ้นได้บนดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ จนถึงระดับความสูง 2500 เมตร (ในต่างประเทศ) นอกจากนี้พบปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในประเทศเขตอบอุ่น โดยเฉพาะในเรือนกระจก

ประโยชน์ : เหง้าดองดึงมีสารอัลคลอลอย์ดหลายชนิดที่มีพิษถึงเสียชีวิตโดยเฉพาะสาร colchicines ถ้าใช้ในปริมาณน้อยสามารถใช้รักษาโรคเก๊าและมะเร็งได้

ที่มา http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_21_1.htm

ใช่ครับ ดองดึงมีทั้งประโยชน์และโทษมากมาย ก่อนใช้ต้องรู้ดีเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ 

ขอบคุณที่นำรายละเอียดของดองดึงมาเพิ่มให้ครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

วันนี้จบแบบหวานแหวว

Laughing ชอบใช่ม่าย อิอิ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

สนใจถั่วครกค่ะ ถ้าจะกรุณาอนุเคราะห์ ก็จะขอลองไปปลูกที่พิษณุโลกดูบ้าง ลองหาข้อมูลจากเวปฯดูก็น่าจะอร่อยตามที่บอกจริงๆค่ะ แต่จะสังเกตุได้อย่างไรค้ะ ว่าแต่ละช่วงเวลาในการนำมารับประทานจะพอเหมาะพอดี ไม่แก่เกินไป ไม่อ่อนเกินไป จะฝากที่อยู่ไว้ให้นะค้ะ แต่ถ้าไม่สะดวกก็ไม่เป็นไรค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้านะค้ะ

จัดให้ครับ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่:http://www.bansuanporpeang.com/node/22366

และ:http://www.bansuanporpeang.com/node/21244

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

หน้า