ตอบโจทย์ที่ 4 ไฟฟ้า (The fourth answer Electricity)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

สวัสดีปีใหม่ 2558 กับเพื่อนสมาชิกทุก ๆ ท่านอีกครั้งครับ “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก” อย่างกับสโลแกนหาเสียงของนักการเมือง แต่เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือความต้องการสาธารณูปโภคพื้นฐาน (Infrastructure) ที่ชาวบ้านจำนวนมากยังขาดแคลน สำหรับในโจทย์ข้อ 4 นี้เรื่องการพัฒนาไร่ ฯ ให้มีกระแสไฟฟ้า ก่อนอื่นคงต้องบอกว่าผมเป็นคนเมืองเต็มตัวเกิดมาก็มีไฟฟ้าใช้แล้ว ผมเคยไปอยู่ในที่ ๆ ไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ก็หลายครั้ง แค่ 2-3 วันก็ลำบากมากแล้ว เห็นถึงความยากลำบากในการไม่มีไฟฟ้าใช้ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ผมก็คิดว่าต้องจัดหาไฟฟ้าเพื่อความจำเป็นและอำนวยความสะดวกในการพัฒนาไร่ ฯ ทั้งเรื่องแสงสว่าง ปั้มน้ำ เครื่องย่อยวัสดุและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ที่จะมีในอนาคต

ไร่สุโขทัยนี้ดีเมื่อเริ่มต้นก็ไม่มีไฟฟ้า (ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ทั้ง ๆ ที่อยู่ติดอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย) ดังนั้นความพยายามที่จะจัดหากระแสไฟฟ้าไปยังไร่ ฯ เพื่อใช้งานกับอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้าอาทิ ปั้มน้ำ (ระบบไฟฟ้าถูกกว่าน้ำมัน) ผมจึงคิดและตั้งโจทย์ไว้แล้วว่าไฟฟ้าเป็นโจทย์อีกข้อหนึ่งที่จำเป็นสำหรับไร่ ฯ และต้องแก้โจทย์นี้แน่นอนตอนแรกก็ชั่งใจอยู่เหมือนกันว่าจะเป็นระบบเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เพราะเห็นเพื่อนสมาชิกบางท่านพึ่งพาโซลาร์เซลล์เพื่อให้เกิดกระแสไฟฟ้า แต่อาจเพราะความจำเป็นบางอย่าง เช่น ไม่มีสายไฟฟ้าอยู่ใกล้หรือไม่ได้ดูแล (โดนลักสายไฟหรือไฟฟ้าใช้) แต่ถ้าท่านเลือกได้ผมเชื่อว่าท่านคงเลือกไฟฟ้าจากระบบ ฯ (คือลงทุนเพิ่มนิดหนึ่ง ระยะเริ่มต้นแพงแต่ระยะยาวถูกกว่า -แต่ก็หน้ามืดอยู่เหมือนกัน) นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเรื่องเสถียรภาพ (Stable) คงไม่มีใครปฏิเสธว่าไฟฟ้าจากระบบมาตรฐานการไฟฟ้าดีกว่าระบบโซลาร์เซลล์

ด้วยเหตุนี้ผมจึงได้ทำการติดต่อการไฟฟ้าสุโขทัยเพื่อขอไฟฟ้าชั่วคราว (ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยแพงกว่าบ้านเรือนปกติ) ทำไมต้องไฟฟ้าชั่วคราว? เพราะว่ายังไม่มีบ้านเลขที่ครับ ไปยังไร่ ฯ การไฟฟ้า ฯ ก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจจุดที่สามารถต่อไฟฟ้าไปใช้งานได้ (จุดที่มีหม้อแปลงแปลงไฟจากไฟแรงสูงเป็นไฟแรงต่ำ) สำรวจแล้วก็พบว่ามีจุดที่ใกล้ที่สุดห่างไปประมาณ 200 เมตร บวกกับระยะทางที่ไปยังพื้นที่ของไร่อีกประมาณ 300 เมตร สรุปคือระยะทางเกือบ 500 เมตร เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าก็คำนวณเสาไฟที่ต้องใช้จำนวน 19 ต้น ขนาด 8 เมตร ตามมาตรฐานการไฟฟ้า (มีข้อดีกรณีในอนาคตถ้าต้องการขยายเขต ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าได้เลย ไม่ต้องทดสอบเสา) ไฟฟ้าเฟสเดียวขนาด 15 แอมป์ สายไฟอลูมิเนียมขนาด 50 มม. ก็พอน่าจะเพียงพอในระยะเริ่มต้น

ลากสายไฟมาประมาณ 200 เมตร มาถึงที่ไร่ ฯ

เสาไฟฟ้าผ่านมาตรฐานการไฟฟ้าขนาด 8 เมตร ฝังลึก 1.5 เมตร ติดตั้งหลอดไฟฟ้าไว้ดูว่ามีไฟฟ้าหรือเปล่า 

เพิ่มเติมเพื่อนบ้านขออนุญาตต่อไฟฟ้าพ่วงไปยังบ้านเขา (โดยผมไม่ได้คิดเงินค่าเสาหรือสายไฟที่ผมต่อมาเลย) ก็ขอบใจกันยกใหญ่ว่าอยู่มา 30 กว่าปีโดยไม่มีไฟฟ้าใช้ คุณพระช่วย! (Oh my buddha! เพื่อนบ้านเพิ่งต่อ Solar Cell ใช้เองเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา) ติดตั้งหม้อไฟเแบบหอพักและก็นับหน่วยมารวมกัน ก็ไม่เป็นไรครับเพื่อนบ้านกันผมก็พึ่งพาเขาเรื่องปุ๋ยคอกอยู่เรื่อย ๆ อยู่ด้วยกันก็ควรจะพึ่งพากันได้เหมือน “น้ำพึ่งเรื่อ เสือพึ่งป่า” ใช่ไหมครับ สวัสดีครับ

 

 

ความเห็น

ของผมก็ยังไม่ได้ไปอยู่ครับ ก็พยายามทำตามแผนที่คิดไว้นะครับ

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

ของผมก็ยังไม่ได้ไปอยู่ครับ ก็พยายามทำตามแผนที่คิดไว้นะครับ

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

ของผมก็ยังไม่ได้ไปอยู่ครับ ก็พยายามทำตามแผนที่คิดไว้นะครับ

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

ขออนุญาต ตอบ ในฐานะที่ มีความรู้เรือ่งไฟฟ้า และเป็นพนักงานไฟฟ้า เผื่อเพื่อนสมาชิกจะได้ทราบและเข้าใจ ที่ถูกต้องนะครับ


การขอใช้ไฟ หรือขอขยายเขต สำหรั้บเรือกสวนไร่นา สามารถกระทำได้ 2 กรณี ดังนี้ครับ


1. หากมีระบบสายแรงต่ำ อยู่ใกล้กับสวนเราอยู่แล้ว ก็แจ้งขอขยายเขตได้เลย โดยเราจะเป็นผู้ชำระเงินเองก็ได้  หรือรองบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลก็ได้ หากรองบจากรัฐบาลจะต้องรวมกลุ่ม หลายๆ แปลงหน่อย รัฐจะอุดหนุน แปลงละ 50,000 บาทต่อราย การยื่นเรืองกรณีหลีงหาก อบต.รับรองจะงายมากขึ้น แต่อย่างไร  หัวหน้ากลุ่มก็รวบรวมเอกสารต่างๆ ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ก็ได้ เขาจะให้คำแนะนำ โดยแจ้งว่าขอเข้าโครงการไฟเกษตร นะครับ  ข้อเสียคือต้องจัดสรรงบอย่างเดียว  โดยการพิจารณาจัดงบจะพิจารณาจาก การลงุทนต่อแปลงที่ต่ำกว่า จะได้รับการพิจารณาก่อน ดังนั้นจึงไม่แน่นอน ขึ้นกับว่ามีกลุ่มที่คุ้มค่าต่อการลงทุนของรัญหรือไม่ 


ส่วนกรณีแรก  หากมีเงิน ท่านก็สามารถชำระเงินได้เลย โดยต้องไปยืนเรืองที่ สนง. การไฟฟ้า บอกว่าจะมาขอขยายเขตไฟแรงต่ำ  แต่ท่านต้องทราบเบื่องต้นก่อนนะครับ ว่าบริเวณใกล้เคียงมีระบบสายแรงต่ำอยู่แล้ว ไม่เกิน 1 กม. หากเกินจะมีปัญาหแรงดันตก ไม่สามารถใช้งานได้  ส่วนค่าใช้จ่าย ส่วนที่อยู่บนถนนสาธารณะ  การไฟฟ้ามีราคามาตรฐาน ทั่วประเทศ  อยู่แล้วเขาจะสำรวจ ประมาณการ แจ้งค่าใช้จ่ายให้ทานครับ แล้วค่อยไปจ่ายเงิน  หากมีเรพือนบ้าน ก็ช่วยๆ กันออกจะได้ แบ่งเบาได้    


เมื่อท่านได้ขยายเขต ได้สายไฟแรงตต่ำผานหน้าที่ท่านแล้ว การขอใช้ไฟ ( ขอมีเตอร์ )  ให้ขอเป็นไฟเกษรตร นะครับ  ค่าไฟฟ้าคิดอัตราที่อยู่อาศัย ครับ  แต่จ่ายค่าประกันสองเท่า  หากท่านขอไฟชั่วคราวจะหนวยละ 6 บาท    ไม่จำเป็นต้องมีเลขที่บ้านใด ๆ ครับ ก็เอาเลขท่บ้านที่เรามีอยู่นั้นหละ มาประกอบ การขอ และภาพถ่ายเอกสารสิทธิ์ ด้วย 


2. กรณีไม่มีสายแรงต่ำ ผ่าน มีแต่แรงสูงผ่านหน้าที่ หรือต่อไลน์ออกมาหาท่เรา  อันนี้จะต้องขอขยายเขตแรงสูง ติดตั้งหม้อแปลง ครับ  ค่าใช่จ่ายจะแพงหน่อย ลูกเล็ก ๆ ก็ราว แสน ต้น ๆ ครับ การขอก็ยื่นขอขยายเขต เลย จนท.จะมาสำรวจ ประมาณการ แจ้งค่าใช้จ่าย  ส่วนหม้อแปลงเราจะเอาไว้ในสวนเราเองเลย ก็เป็นทร้พย์สินเรา คนอืนไม่สามารถใช่รว่มได้ เว้นแต่เราอนุญาต หากเอาไว้ที่สาธารณะ ก็เป็นทรัพย์ศินชองชาติ ทุกคนสามารถใช่ร่วมได้ ครับ


ระบบเสาไฟฟ้า ที่อยู่บนที่สาธารณะ  การไฟฟ้าสงวนสิทธิ์ เป็นผู้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียว และเป็นทรัพย์ศิน ของ การไฟฟ้า  ฯ บุคคลอื่นสามารถใช่รวมเสมอ  การคิดเงิน คิดค่าใช้จ่าย การไฟฟ้าจึงเป็นผู้คิดแต่เพียงผู้เดียว  ส่วนที่อยู่ในที่เรา ในสวนเรา เราจ้างใครมาทำก็ได้ เสาจะใช้เสาอะไรก็ได้ เสาไม้ ก็ได้ สายจะขนาดเล็กลงก็ได้ครับ  กรณีเจ้าของกระทู้ อานแล้วยังสับสนเหมือนกัน ระหว่างอยู่ในที่กะอยู่ในสวน ครับ


หากมีใครแอบอ้าง ว่าในที่สาธราณะจะหาซ์อเสามาปักให้ อย่าหลงเชื่ออันขาด ท่านต้องชำระเงินส่วนนี้ กับการไฟฟ้า มีใบเสร็จ การไฟฟ้าเทานั้น หากมิเช่นนั้นจะเป็นกรณีแอบอ้าง ขยายเขตเถื่อน แล้วท่านจะติดตั้งมีเตอรไม่ได้ครับ  แต่หลังจากชำระค่าขยายเขตแล้ว การปักเสาพาดสาย  การไฟฟ้าจะดำเนินการเอง หรือให้เอกชนมาดำเนินการให้ก็เป็ฯอีกเรืองหนึ่ง แต่ต้องไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ อีก น้องจากคาขอมีเตอรื ครับ  มีเตอร์สำหรับสวน ก็ 5 แอมป์ก็เพียงพอ ประมาณ 1028 บาทครับ


 


ตอบมาเยอะ เอาเป็นว่าใครสงสัยประการใด เมล์มาถามแล้วกันครับ  ยินดีให้คำแน่ะนำแก่สามาชิกครับ


 


 


 

ขอบพระคุณ คุณ MAXMAPEA ที่ได้เข้ามาให้ความรู้และความกระจ่างนะครับ

แต่ผมก็เล่าตามประสบการณ์ที่ได้รับนะครับ เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าแนะนำให้ขอไฟฟ้าชั่วคราว (ถามเรื่องไฟฟ้าเกษตรกับเจ้าหน้าที่เหมือนกัน เพราะทราบว่าราคาหน่วยถูกกว่า แต่ได้รับคำตอบให้ขอไฟฟ้าชั่วคราวครับ) 

แนวระยะทางที่ลากสายไฟจากจุดหม้อแปลงแรงดันต่ำ 200 เมตรแรกเป็นพื้นที่ของอุทยานครับ จะเป็นสาธารณะหรือเปล่าผมก็ไม่แน่ใจ แต่ระยะ 300 เมตรหลังเป็นพื้นที่ในไร่ฯ ผมครับ

สำหรับมิเตอร์ไฟฟ้าของผมก็ติดตั้ง ณ.จุดที่ใกล้กับหม้อแปลงไฟฟ้าแรงดันต่ำ (ก็ห่างจากพื้นที่ไร่อย่างน้อย 200 เมตร) ฉะนั้นถ้ามีใครจะมาพ่วงไฟฟ้าไปใช้ก็จะถูกนำมาคิดในมิเตอร์ที่ผมขอติดตั้งไว้

คำแนะนำต่าง ๆ ที่ผมถามอาทิการใช้เสาไฟฟ้ามาตรฐานกับเสาชาวบ้าน ผู้ดำเนินการติดตั้งระบบฯ เจ้าหน้าที่ก็แนะนำเอาไว้เสร็จสรรพ ต่อไปถ้าจะใช้ไฟฟ้าเพิ่ม 3 สายจะวางหม้อแปลงใหม่จะได้ไม่ต้องทดสอบเสาใหม่ (ส่วนตัวผมก็ชอบนะครับที่ทำตามมาตรฐาน) 

สรุปที่อยากเรียนบอกเพิ่มเติมคือ ตอนที่อยู่หน้างาน อาทิขอไฟฟ้า เจ้าหน้าที่ผู้รับเรื่องและอนุมัติท่านแนะนำอย่างนี้ เราผู้อยากให้งานเสร็จไวที่สุดก็มักจะทำตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำนะครับ ขอบคุณครับ

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

หน้า