ทุกคนต้องรู้ ตรวจโควิดแบบไหนแม่นยำสุด และควรตรวจบ่อยแค่ไหน

1 post / 0 new
DigitalKnowledge
Offline
Last seen: 2 สัปดาห์ 5 วัน ก่อน
Joined: 5 มิ.ย. 2019 - 15:56
ทุกคนต้องรู้ ตรวจโควิดแบบไหนแม่นยำสุด และควรตรวจบ่อยแค่ไหน

 

 

ในยุคนี้เราตรวจโควิดกันเป็นประจำ เพื่อความปลอดภัย และไม่เป็นสาเหตุของการแพร่กระจายเชื้อโควิด ทำให้เราหลายคนอาจจะสงสัยว่า การตรวจโควิดแบบไหนแม่นยำที่สุด และเราควรจะตรวจบ่อยแค่ไหนกันแน่ ใครอยากรู้ เราลองมาดูกันเลย 

 

 

การตรวจโควิดด้วยตัวเอง

วิธีการแรกเป็นวิธีการที่เราทุกคนคุ้นเคยที่สุด นั่นก็คือ การตรวจโควิดด้วยตัวเองด้วยชุดตรวจ ATK นั่นเอง ซึ่งการตรวจด้วยตัวเอง เป็นการตรวจที่ง่าย และสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ซึ่งชุดตรวจในปัจจุบันมีราคาถูกมากกว่าแต่ก่อนมากนัก โดยมีราคาเริ่มต้นที่หลักสิบ และมีให้เลือกทั้งแบบการตรวจทางจมูก และการตรวจทางน้ำลาย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการตรวจแบบไหนก็ควรตรวจด้วยความระมัดระวัง โดยควรจะล้างมือให้สะอาด หรือสวมถุงมือในการตรวจ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและปนเปื้อน 

นอกจากนี้ เราควรจะแยกทิ้งขยะออกจากขยะทั่วไป โดยใส่ในซองซิป แปะสติกเกอร์หรือใส่ในถุงขยะอันตราย และแปะป้ายว่าขยะติดเชื้อเพื่อความปลอดภัย

 

ตรวจที่สถานพยาบาล 

 สำหรับการตรวจโควิดที่สถานพยาบาล หรือตรวจโดยบุคลากรทางการแพทย์ สามารถแบ่งได้เป็นการตรวจแบบ ATK และการตรวจแบบ RT-PCR ซึ่งแตกต่างกันดังต่อไปนี้

 

  1. การตรวจแบบ ATK 

เป็นการตรวจโควิด ATK ที่ใช้ชุดตรวจแบบ Professional Use ซึ่งเป็นชุดตรวจที่มีก้านยาวกว่า สามารถแหย่ลงไปได้ลึก จึงสามารถเก็บตัวอย่างได้อย่างแม่นยำ และต้องดำเนินการโดยบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น คนทั่วไปไม่สามารถใช้ได้ เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดอันตรายที่ไม่คาดคิดขึ้นได้ 

 

  1. การตรวจแบบ RT-PCR 

เป็นการตรวจโควิด RT-PCR ที่เป็นการเก็บตัวอย่างจากระบบหายใจส่วนบนไปตรวจให้ห้องปฏิบัติการ ทำให้ต้องใช้เวลานานกว่าการตรวจแบบ ATK ที่สามารถทราบผลได้เลย แต่อย่างไรก็ตามการตรวจแบบ RT-PCR มีความแม่นยำสูงกว่าการตรวจแบบ ATK อยู่มาก 

 

เราควรตรวจโควิดบ่อยแค่ไหน

ที่จริงแล้วไม่มีกฎตายตัวว่าเราควรจะตรวจโควิดบ่อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและตามสถานการณ์ บางออฟฟิศให้ตรวจทุกครั้งที่เข้าออฟฟิศ บางออฟฟิศให้ตรวจทุกสัปดาห์ ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม ซึ่งยิ่งตรวจถี่เท่าไร ก็จะยิ่งลดความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น 

เพราะในหลายเหตุการณ์ที่เกิดคลัสเตอร์ใหญ่ ๆ เกิดขึ้นเพราะมีผู้ป่วยที่ไม่รู้ว่าตัวเองป่วยไปอยู่ในที่ชุมนุมคน หรือว่าสถานที่อับอากาศ และเดินทางไปนู่นมานี่ตลอดเวลา ทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อไปจำนวนมากนั่นเอง 

อย่างไรก็ตาม หากว่าสถานการณ์คลี่คลาย เราก็สามารถเว้นระยะในการตรวจได้เช่นเดียวกัน 



การตรวจโควิด เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดการแพร่ระบาดของโควิดได้ ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดในวงกว้าง ตรวจบ่อยไว้ก็ปลอดภัยกว่า