“สะโพกหักในผู้สูงอายุ” ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าที่เราคิด

1 post / 0 new
DigitalKnowledge
Offline
Last seen: 19 ชั่วโมง 8 นาที ก่อน
Joined: 5 มิ.ย. 2019 - 15:56
“สะโพกหักในผู้สูงอายุ” ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าที่เราคิด

 

รู้หรือไม่ว่าเมื่ออายุมากขึ้น มวลกระดูกของเราก็จะลดลง และเปราะบางมากยิ่งขึ้น การหกล้มเล็ก ๆ ในบ้านอาจจะทำให้เกิดอาการสะโพกหักในผู้สูงอายุได้ และหากว่าเราไม่รีบมารักษาอาจจะกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงและอาจจะทำให้เสียชีวิตตามมาได้ 

 

อาการสะโพกหักในผู้สูงอายุเกิดจากอะไร 

อันดับแรกเราจะมาบอกถึงอาการสะโพกหักในผู้สูงอายุก่อนว่าเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง เราจะได้ระมัดระวัง และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น 

  1. หกล้ม ผู้สูงอายุจำนวนมากหกล้มภายในบ้าน ซึ่งเป็นสาเหตุของกระดูกหักและร้าวตามมา ซึ่งในบางรายอาจจะร้ายแรงถึงขนาดกระดูกสะโพกหัก ทำให้เจ็บปวด 

  2. อุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยมีการกระแทกจากอุบัติเหตุ แม้ว่าจะไม่โดนร่างกายโดยตรงก็อาจจะเป็นสาเหตุให้กระดูกหักได้ 

  3. เนื้องอก หรือการติดเชื้อที่กระดูก อาการเนื้องอกก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติ รวมถึงการจิดเชื้อด้วย 

 

อาการที่บ่งบอกว่ากระดูกสะโพกหัก 

หากว่าผู้สูงอายุหกล้ม หรือว่าเกิดอุบัติเหตุ เราควรจะพาผู้สูงอายุเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ไม่ควรปล่อยทิ้งเอาไว้ เพราะแม้ว่าภายนอกจะไม่มีบาดแผล แต่กระดูกอาจจะร้าวหรือหักได้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรพาผู้สูงอายุไปเอกซเรย์ตรวจหาความผิดปกติเพื่อความมั่นใจจะดีกว่า ซึ่งอาการของกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุจะมีดังต่อไปนี้ 

  • ปวดที่สะโพกมาก จะเป็นอาการปวดที่เริ่มทนไม่ไหว 

  • ลงน้ำหนักไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถยืนหรือเดินได้ หรือถ้าฝืนเดินก็จะมีอาการเจ็บปวดมากตามมา 

  • ขาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน โดยข้างที่หักจะสั้นกว่าข้างที่ปกติ และเมื่อสังเกตดูดี ๆ รูปร่างบริเวณกระดูกสะโพกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ 

  • มีรอยช้ำ หรือบวม ซึ่งอาจจะมาจากอาการอักเสบ 

  • ปวดขัดสะโพกบ่อย ๆ เวลาขยับตัวจะรู้สึกไม่สะดวกสบายเหมือนเคย

 

อันตรายแน่หากไม่รีบรักษา 

อาการกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุอันตรายกว่าที่คิด เพราะหากปล่อยเอาไว้ ไม่ทำการรักษาภายใน 24 ชม. อาจจะทำให้เกิดอาการเรื้อรัง และกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ไม่สามารถเดินได้อีก และขั้นตอนการรักษาก็จะซับซ้อนกว่ามาก ดังนั้น หากว่าผู้สูงอายุหกล้ม หรือเกิดอุบัติเหตุ แม้เพียงเล็กน้อย ก็ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษา และในกรณีที่เลวร้ายไปกว่านั้น หากว่ามีอาการแทรกซ้อน ก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในท้ายที่สุดได้ 

 

แนวทางการรักษา

สำหรับแนวทางการรักษากระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ จะใช้การผ่าตัดเป็นหลัก จากนั้นจะให้ทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาใช้ชีวิตได้ดังเดิม ซึ่งระยะเวลาการทำกายภาพบำบัดก็ขึ้นอยู่กับการผ่าตัดว่าใช้วิธีใดนั่นเอง 

 

ใครที่มีผู้สูงอายุอยู่ในบ้าน ควรจะดูแลและระมัดระวังในเรื่องของการหกล้มและอุบัติเหตุ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง เพราะอาจจะเป็นสาเหตุของกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุได้