ไขข้อข้องใจในสมองส่วนอารมณ์ อะไรทำให้หงุดหงิด

1 post / 0 new
admeadme
Offline
Last seen: 5 วัน 22 ชั่วโมง ก่อน
Joined: 15 มี.ค. 2021 - 17:40
ไขข้อข้องใจในสมองส่วนอารมณ์ อะไรทำให้หงุดหงิด

ไขข้อข้องใจในสมองส่วนอารมณ์

หงุดหงิด โมโห อารมณ์เสียง่าย หรือจะเกิดจาก ‘สมองส่วนอารมณ์’ 

สมองส่วนอารมณ์ ต้นเหตุของอารมณ์ของมนุษย์ที่สุดคาดเดาได้ยากนี้ คืออะไรกันแน่!? วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับสมองส่วนควบคุมอารมณ์  และวิธีดูแลตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะอารมณ์แปรปรวนให้จิตใจแจ่มใส ไร้ซึ่งอารมณ์ด้านลบ เพื่อให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น และเพื่อปรับพฤติกรรม เปลี่ยนบุคลิกภาพ ให้คุณได้กลายเป็นคนที่ดีกว่าที่เคย

 

และถ้าพร้อมกันแล้ว มาร่วมไขข้อข้องใจว่าสมองส่วนอารมณ์คืออะไร พร้อมติดตามความน่าสนใจของสมองที่เชื่อมโยงกับอารมณ์ได้อย่างไม่น่าเชื่อไปพร้อมกันได้เลย!

 

5 Fact! ความจริงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงของสมองกับอารมณ์

มาเริ่มต้นความน่าสนใจของสมองที่เชื่อมโยงกับสภาวะทางอารมณ์ของเรา ด้วย 5 Fact เรื่องราวสุดเจ๋งของสมองกับอารมณ์ที่เราต้องยอมรับว่านี่แหละ คือความจริง!

 

1. อารมณ์เกิดก่อนความคิดเสมอ 

2. อารมณ์และความรู้สึก เป็นตัวจุดประกายในทุกๆ การตัดสินใจ

3. เราจะไม่สามารถตัดสินใจได้ หากไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง

4. เมื่อยากที่จะตัดสินใจ อารมณ์คือคำตอบของทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับตัวเรา

5. เมื่อเรามีอารมณ์ต่างๆ สมองส่วนอารมณ์จะทำให้เรามีปฏิกิริยาทางกายต่างๆ ตามมา

 

รู้จักกับสมองในส่วนของการควบคุมอารมณ์

สมองส่วนอารมณ์ คือสมองในส่วน Middle Brain ที่หลายคนอาจรู้จักกันในชื่อ Limbic Brain เนื่องจากสมองในส่วนนี้ เป็นสมองที่ทำงานเชื่อมโยงต่อเนื่องกันเป็นเครือข่าย โดยจะเรียกระบบเครือข่ายนี้ว่าระบบลิมบิก (limbic system) ซึ่งจะส่งผลเชื่อมโยงถึงการแสดงออกทางอารมณ์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ทางบวกหรืออารมณ์ทางลบ

 

ซึ่งอารมณ์ทางบวกที่เกิดจากการสั่งการของสมอง เช่น

 

  • ดีใจ 

  • มีความสุข 

  • พึงพอใจ 

  • ภูมิใจในตนเอง

  • สนุก

  • ตื่นเต้น

 

และอารมณ์ทางลบที่เกิดจากการสั่งการของสมอง เช่น 

 

  • เศร้า 

  • หม่นหมอง 

  • โกรธ 

  • เสียใจ 

  • ท้อแท้

  • กังวล เป็นต้น

 

นอกจากนี้สมองส่วนควบคุมอารมณ์ยังเชื่อมโยงกับการแสดงออกทางอารมณ์ของเราทางกายที่แตกต่างกันอีกด้วย นั่นจึงทำให้หากเรามีอารมณ์ในด้านลบอยู่บ่อยๆ ก็อาจส่งผลต่อบุคลิกภาพ และส่งผลต่อพฤติกรรมของเราได้นั่นเอง

 

ตัวอย่างการแสดงอารมณ์ ที่เป็นผลมาจากการทำงานของสมอง

 

  • ตื่นเต้นแล้วมีเหงื่อออกมาก

  • ตัวสั่นเมื่อกำลังโกรธ

  • ยิ้มและหัวเราะเมื่อกำลังมีความสุข

  • เศร้าและเสียใจแล้วน้ำตาไหล

  • คิ้วตกเมื่อกำลังเป็นกังวล 

  • หน้าแดงเมื่อกำลังเขินหรืออาย 

  • ขนลุกเมื่อกำลังเมื่อกำลังหวาดกลัว  เป็นต้น

 

อารมณ์แปรปรวนเกิดจากสมองส่วนอารมณ์หรือเปล่า?

ก่อนอื่นเราต้องขอแนะนำก่อนว่า อารมณ์แปรปรวน คือภาวะการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นไวกว่าปกติ และหากเกิดขึ้นอาจส่งผลต่อบุคลิกภาพ ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง รวมไปถึงอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้

 

และหากถามความเชื่อมโยงระหว่างอารมณ์ที่แปรปรวนกับสมองในส่วนของการควบคุมอารมณ์ว่ามีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ เราต้องขออธิบายว่าอารมณ์แปรปรวนนั้นเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัยมากๆ ซึ่งแน่นอนว่าหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญ นั่นก็คือการที่สมองส่วนควบคุมอารมณ์อย่าง Limbic Brain ทำงานอย่างผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ หรือมีความสามารถในการรับมือกับสภาวะทางอารมณ์น้อยกว่าบุคคลอื่นๆ นั่นเอง และนอกจากปัจจัยนี้ อารมณ์ที่แปรปรวนก็เกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่างๆ อีกมากมาย ได้แก่

 

  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน

  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด

  • การอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ 

  • การอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของช่วงวัย โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยทอง

  • การติดสุราหรือสารเสพติด

  • พฤติกรรมการนอนหลับ

  • ความเครียด

 

นอกจากนี้การป่วยเป็นโรคต่างๆ  โดยเฉพาะโรคทางระบบประสาท และโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับสภาวะทางจิตใจก็ส่งผลให้เรามีอารมณ์ที่แปรปรวนได้เช่นเดียวกัน ซึ่งตัวอย่างของโรคที่มักจะส่งผลกระทบให้เรามีอารมณ์ที่ไม่คงที่นั้น ได้แก่

 

  • โรคไบโพลาร์

  • โรคซึมเศร้า

  • โรคประสาทซึมเศร้า

  • โรคจิตเภท 

  • โรคสมาธิสั้น เป็นต้น

 

วิธีการดูแลสมอง เพื่อปรับอารมณ์และจิตใจให้แจ่มใส

เพราะสมองส่วนอารมณ์ คือสิ่งสำคัญที่จะต้องดูแล และไม่ปล่อยให้อารมณ์ทางด้านลบเกิดขึ้น จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เราจึงได้รวบรวมวิธีการดูแลสมองที่จะช่วยปรับอารมณ์และจิตใจให้แจ่มใส และทำให้เรามีอารมณ์ในทางบวกมาให้ทุกคนแล้ว ดังนี้

 

  • จัดการและวางแผนการใช้ชีวิตประจำวันในแต่ละวันให้เป็นแบบแผน

  • ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายหลั่งสารอะดรีนาลีนและเพื่อเพิ่มความผ่อนคลายให้สมอง 

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการนอนน้อยจะส่งผลต่อการทำงานของสมองส่วนอารมณ์ 

  • ระบายความรู้สึกบ้าง หาบุคคลที่สนิทและไว้ใจได้ เพื่อรับฟังปัญหาหรือสิ่งที่เราพบเจอ

  • ฝึกทำสมาธิอยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วงตอนตื่นนอน ก่อนทำกิจกรรมต่างๆ และก่อนเข้านอน

  • ทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียดที่สร้างสรรค์และเป็นกิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น ปลูกต้นไม้ ร้องเพลง เล่นดนตรี ทำอาหาร เล่นกีฬา เป็นต้น


และแน่นอนว่าหากเรารู้สึกว่าเราไม่สามารถรับมือกับสมองส่วนควบคุมอารมณ์ ของตัวเองได้ และรู้สึกว่าภาวะอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองส่วนอารมณ์หรือจากปัจจัยอื่นๆ เริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ให้เข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและรับคำแนะนำเพื่อการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม เพราะสมองส่วนอารมณ์ คือสิ่งที่เชื่อมโยงกับสมองในส่วนอื่นๆ และมีความสำคัญ ที่ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลไม่แพ้กัน