การฉีดน้ำฝอยแรง ควบคุมแมลงศัตรูพืชผัก เทคนิคสำคัญอันหนึ่งในการจัดการแบบองค์รวม ผักปลอดภัย

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ก่อนที่จะได้นำเสนอ รูปภาพ-อธิบาย เรื่อง การฉีดน้ำฝอยแรง ควบคุมแมลงศัตรูพืชผัก ต้องขอย้ำเตือน และทำความเข้าใจเบึ้องต้นดังนี้ ควรฝึก และมองให้เป็นองค์รวม กล่าวคือ การปลูกผักปลอดภัย โดยใช้เพียงปุ๋ยหมักตื่นตัว จะให้ประสบความสำเร็จต้องนำ การจัดการองค์รวม มาใช้ร่วม อาทิ เช่น 



  •  การฉีดน้ำฝอยแรง ควบคุมแมลงศัตรูพืชผัก

  • การให้พืชผักได้รับแสงแดดเต็มที่ แต่ไม่ใช่ ๑๐๐%

  • การเลือกสายพันธุ์ และชนิดของพืชผักให้เหมาะสมกับ ฤดูกาล และวิธีปลูกที่แตกต่างกัน

  • การไม่ทำลายระบบรากพืชผัก และให้รากเจริญเติบโตอย่างสมดุลย์

  • การเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อนใน แต่ละช่วงการเจริญเติบโตของพืช

  • การเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อน ของแมลงศัตรูพืชผัก

  • การเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อนของแมลงที่มีประโยชน์ ตัวห้ำ ตัวเบียน

  • และที่สำคัญที่สุด คือ การเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อนของตนเอง


  • การใช้ปุ๋ยหมักตื่นตัว มิใช่เป็นการให้เลือกเพียงสองทาง ระหว่าง ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ซึ่งไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง เราได้ใช้ปุ๋ยหินร็อคฟอสเฟต ใส่เข้าไปในการกองปุ๋ยหมักตื่นตัว เพื่อจะได้นำธาตุอาหารที่ละลายน้ำได้ยาก ให้จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักฯ ได้ช่วยย่อยสลายให้เป็นรูปแบบที่รากพืช หรือจุลินทรีย์ในดินจะสามารถนำไปใช้ได้ทันที อย่างมีประสิทธิภาพ และนี้ก็คือ หนึ่งในความสำเร็จของโครงการในปัจจุบันการปลูกผักปลอดภัย

  •  

  • การฉีดน้ำฝอยแรง เป็นการควบคุมแมลงศัตรูพืชผักที่สำคัญ อาทิเช่น ไรแดง ไรขาว เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย หนอนใย และหนอนผีเสื้อกระทู้ต่างๆ

  •  

  • การจะให้การควบคุมแมลง ให้ได้ผลสูงสุด และไม่ทำลายพืชผัก ต้องฝึก ต้องทำ ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ล้มแล้ว ล้มอีก (เป็นร้อยๆครั้ง) ไม่มีวิธีลัด ต้องอดทน และค่อยๆพัฒนาแก้ไขไป โดยส่วนตัว ใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๕ปี ในการทดลองย่อย ทำมาต่อเนื่องทุกๆวัน จนพอจะมีความสำเร็จบ้าง ในการฉีดน้ำฝอยแรงในปัจจุบัน ซึ่งไม่อาจขาดได้ในการปลูกผักปลอดภัยให้ประสบการสำเร็จ

  •  

  • ขอให้กำลังใจทุกๆคน ให้สามารถประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ และปฏิบัติ ในการจัดการแบบองค์รวม อย่างไม่ย่อท้อ และขอให้มีความเชื่อมั่น(เต็มที่)ก่อนว่า มีความเป็นไปได้ที่จะปลูกผักปลอดภัยโดยไม่ได้ใช้อะไรเลย นอกจาก ปุ๋ยหมักตื่นตัว และวิธีการจัดการแบบองค์รวม

  •  

  •  การจัดการแบบองค์รวม มีความสำคัญมาก ในการผลิตผักปลอดภัย การที่ต้องทำครั้งแล้วครั้งเล่า ทดลองย่อยครั้งแล้วครั้งเล่า ล้มแล้วล้มเล่า เพราะในการผลิตเป็นการค้า แม้เขาจะยอมรับว่า ผักที่ผลิตปลอดภัยจริง แต่ทุกๆฝ่ายก็ต้องการทั้งปริมาณ คุณภาพ ทุกๆผัก ตลอดทุกๆวัน ในราคาที่สมเหตุ สมผล ทำให้การใช้ ปุ๋ยหมักตื่นตัว และการฉีดน้ำฝอยแรง แม้จะสำคัญระดับต้นๆ ก็ต้องปรับปรุงต่อเนื่องเพื่อรองรับการผลิต ระบบการปลูก สายพันธุ์ หรือฤดูกาลที่แตกต่างกัน เมื่อรวมกับ มาตรฐานที่ผู้ซื้อ หรือผู้บริโภคกำหนดไว้สูงระดับ มืออาชีพ(ระดับหมู่บ้าน และอำเภอเมือง)

  •  

  • ด้วยความรู้ระดับหมู่บ้าน และเป็นเพึยงงานอดิเรก(จริงจัง) ทำให้ต้องปรับตัวมากจริงๆ ประกอบกับ ด้วยขีดจำกัด อย่างน้อยประการหนึ่ง คือ ระดับการศึกษาของทีมงานที่สูงสุดเพียงระดับ ป. ๖ ความไม่พอเพียงของปุ๋ยหมักตื่นตัว คุณภาพ ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ และปัญหาไส้เดือนฝอยมีระดับรุนแรง ทำให้การผลิตมีความยุ่งยาก ต้องใช้เทคนิค วิธีการโดยองค์รวมจริงจัง ทีมงานแทบไม่มีเวลาพัก หรือเวลากินข้าวร่วมกันแม้แต่ครั้งเดียวในปี สองปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปัจจุบัน ซึ่งต้องผลิตตามความต้องการสูงสุด ในช่วงเกี่ยวข้าว ไปถึงเทศกาลปีใหม่ที่จะมาถึง ซึ่งมีมากมายจนไม่สามารถรองรับได้

  •  

  • เพื่อเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีหน้า ๒๕๕๔ มีความจำเป็นต้องหยุดภาระกิจทาง บ้านสวนพอเพียง เพราะ ติดภาระกิจในการประกอบอาชีพ งานอดิเรก(จริงจัง) การปลูกผักปลอดภัยด้วยปุ๋ยหมักตื่นตัว และการจะต้องใช้เวลาในการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง เนื่องจากอายุมากขึ้น และต้องการศึกษาทางธรรมอย่างจริงจัง อีกทั้งไม่ถนัดในการใช้ชีวิตในสังคมไซเบอร์ แต่ที่ทำในครั้งนี้ ก็เพราะรักในงานไอทีเกษตร และก็เพื่อเป็นส่วนหนึ่ง ในการคืนคุณให้แผ่นดินเกิดที่เรียนมาในด้านนี้โดยตรง จะพยายามทำให้ดีที่สุดตามเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยให้สัจจะว่า จะบอกเล่า ตามความเป็นจริง รู้ก็ว่ารู้ ไม่รู้ก็ว่าไม่รู้

  •  

  • กลับมาเรื่อง การฉีดน้ำฝอยแรง ควบคุมแมลงศัตรูพืช คงต้องนำเสนอเป็นรายพืช ๕-๖ชนิดก่อน (และทะยอยอีกสักตอนหนึ่ง ถ้ามีการสอบถาม สนใจพืชผักใดเป็นพิเศษก็ค่อย นำเสนอต่อไป) จะไม่ลงรายละเอียดมาก เพราะไม่อยากให้จำ แต่อยากให้ฝึกทำ ปฏิบัติ ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งสำหรับผู้ที่อยากปลูกผักปลอดภัย โดยใช้แต่ปุ๋ยหมักตื่นตัว

 ******************************************


******************************************



การฉีดน้ำผักบุ้ง ช่วงอายุ ๗-๑๐วันแรก และ สภาพหลังฉีดน้ำฝอยแรง  


   



ผักบุ้ง แม้จะอายุสั้นนับแต่หว่าน หรือโรยเมล็ด ถึงเก็บเกี่ยวประมาณ ๒๒-๒๕วัน(หน้าหนาว ๓๕-๔๕วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิต่ำมากน้อยเพียงไร) แต่เมื่อปลูกจำนวนมากพอสมควร ต่อเนื่องตลอดทั้งปี จะมีปัญหาแมลงปากดูด รุนแรง โดยเฉพาะ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน และแมลงหวี่ขาว ดูดน้ำเลี้ยงจากยอด และใบ เทคนิคการฉีดน้ำฝอยสามารถควบคุมแมลงเป้าหมายได้ ๘๐-๙๐


ด้านหน้า(ใกล้) ประมาณ ช่วง ๒เมตร ให้สังเกต ต้นผักบุ้งที่ฉีดน้ำฝอยแรง เปรียบเทียบกับยังไม่ได้ทำการฉีดน้ำ


 




การฉีดน้ำฝอยแรง



ด้านหน้าทางขวามือ(ใกล้) ให้เห็นต้นผักบุ้งยังไม่ได้ฉีดน้ำฝอยแรง เปรียบเทียบกับฉีดน้ำเรียบร้อยแล้ว



*****************************************



มะเขือเทศ น้อยคนนักที่จะทราบว่า เมื่อไม่ได้ใช้อะไรเลย ปัญหาแมลงสำคัญที่สุดจะกลายเป็น เพลี้ยแป้ง และมีเพลี้ยหอยบ้าง (ส่วนแมลงหวี่ขาว และเพลี้ยไฟ เป็นเพียงทฤษฎี แตกต่างกับเมื่อใช้สารเคมี เป็นปัญหาแมลงศัตรูที่สำคัญมาก) ส่วนเพลี้ยอ่อน น้อยครั้งมากที่จะเข้าทำลายมะเขือเทศ


ลักษณะใบมะเขือเทศที่ถูก เพลี้ยแป้ง ดูดน้ำเลี้ยง


 


ตัวเต็มวัย ตัวห้ำ ด้วงเต่า กำลังหากินหนอนชอนใบ กว่าจะหิวอีกครึ่งชั่วโมงต่อมา เพลี้ยแป้งก็ดูดน้ำเลี้ยงยอดมะเขือเทศ อิ่ม เต็มพุงเรียบร้อยแล้ว


ลักษณะการเริ่มเข้าดูดน้ำเลี้ยงของเพลี้ยแป้งลาย ซึ่งการควบคุมจะยุ่งยาก และต้องอดทนมาก เพราะ เพลี้ยแป้งจะเข้าดูดน้ำเลี้ยงทุกๆส่วนของมะเขือเทศ ในทุกๆช่วงอายุการเจริญเติบโต ถ้าไม่ใช้มีประสบการณ์ และเทคนิคสูงมาก ยากจะควบคุมให้อยู่ได้ตลอด ๔-๕เดือน (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์) โอกาสที่จะควบคุมได้ก็พอมีบ้างแต่ ต้องเริ่มจากสายพันธุ์ และวิธีการปลูก (หมายถึง นอกฤดู ที่มะเขือเทศมีราคาสูง) การฉีดน้ำต้องฉีดขนานแนวขวาง ทะลุทะลวง ดอก หรือผลร่วงไปบ้าง (ดอก ผลร่วงมากน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์มีข้อที่ดอกหรือไม่)


 





ถ้าไม่ทะลุ ทะลวงฉีดน้ำฝอยแรง ยอมให้ดอกร่วงบ้าง โอกาสควบคุมเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย จะเป็นไปได้ยากลำบากมาก







สภาพหลังจากการฉีดน้ำฝอยแรง



 สภาพหลังการฉีดน้ำ มะเขือเทศย้ายปลูกรุ่น ปลายเดือน กรกฎาคม โดยเรียกชื่อกันเอง ว่า มะเขือพวง แต่ตอนนี้สงสัยจะต้องเปลี่ยนชื่อเป็น บักทัน (พุทรา) 





***************************************** 



ลองทายดูบ้างว่า แมลงศัตรูอะไร ดูดน้ำเลี้ยงยอด แขนง และใบ มะเขือ 





เพลี้ยแป้งลาย เช่นเดียวกับดูดน้ำเลี้ยงสร้างปัญหาในมะเขือเทศ


   


 


ส่วน มะเขือต่างๆ ยากมากในการควบคุมแมลงศัตรูให้ได้ผล โดยส่วนตัว ใช้ระบบแต่งใบ และตัดยอดทิ้ง ๓-๔ครั้ง ยอมเสียเวลาช้าไป เกือบ ๒เดือน ยังอยู่ในการทดลองย่อย อย่างต่อเนื่อง คาดว่า ต้องใช้เวลาอย่างน้อย อีก ๒-๓ปี ถึงจะเข้าสู่ระยะทดลองผลิตได้ เป็นพืชครู ยากมาก ถ้าจะปลูกโดยไม่ได้ใช้อะไร และไม่ใช่หน้าหนาว พืชในกลุ่มนี้ได้ตั้งใจจะทุ่มเท ทุกๆด้านให้ประสบความสำเร็จให้ได้ไม่ว่าจะนานแค่ไหน เพราะ ผู้บริโภคจะได้มีทางเลือกที่ดี ที่ปลอดภัย แม้ว่า ผลมะเขืออาจจะเล็ก และไม่สวยไปบ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับทั่วๆไป



*****************************************



  ปัญหาหลัก และสำคัญที่สุดประการเดียวในถั่วพู คือ เพลี้ยอ่อน




เมื่อตรวจพบเป้าหมายแล้ว ก็ต้องควบคุมให้อยู่ภายใน ๒-๓วัน 





ทำการฉีดน้ำฝอยแรงทุกจุดที่พบปัญหาเพลี้ยอ่อน ทั้งสามจุด




ตรวจสอบผล หลังจากฉีดน้ำฝอยแรง ควบคุมเพลี้ยอ่อนในถั่วพู



ถั่วฝักยาว และถั่วพู มีปัญหาแมลงศัตรูสำคัญ เพียงชนิดเดียวคือ เพลี้ยอ่อน (ยกเว้น ถั่วฝักยาวจะมี หนอนเจาะฝักเพิ่มขึ้น) การควบคุม แม้โดยรวมจะคล้ายกัน แต่ในถั่วพูไม่ยุ่งยากเท่าใน ถั่วฝักยาว ซึ่งต้องใช้เวลาเรียนรู้ ฝึกฝนเป็นปีๆ กว่าจะได้ระดับที่น่าพอใจ ตลอดช่วงเก็บเกี่ยว ๔๕-๖๐วัน


******************************************


  


เข้าตรวจสอบ ปัญหาเพลี้ยอ่อน เพื่อกำหนด ความแรงการฉีดน้ำฝอย และกำหนด เทคนิคการควบคุมเพลี้ยอ่อน และหลีกเลี่ยงการเสียหายของฝักถั่ว 


 




หลังจากกำหนดเป้าหมาย เทคนิค ความแรงของน้ำฝอยก็เริ่มทำการควบคุมเพลี้ยอ่อน





 



หลังฉีดน้ำฝอยแรง เข้าทำการตรวจสอบผล และทำเครื่องหมาย จุดที่เพลี้ยอ่อน หรือสังเกต มดในจุดที่ต้องเข้าทำการควบคุมในวันต่อมา 




จะเริ่มเก็บครั้งแรกภายใน ๒-๓วันนี้ หยอดเมล็ดในถุงดำ ในช่วงวันแม่ ถือว่า เร็ว และน่าพอใจค่อนข้างมาก



(*** มีต่ออีก ๕-๖พืชผัก ในตอนหลังเที่ยงคืนวันนี้ครับ ***)


 ***********************************************************************


************************************************************************

ความเห็น

ขอบคุณครับที่นำข้อมูลดีมามาแบ่งปันกัน ได้ความรู้เพิ่มอีกเยอะเลยครับ

ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ   msn/krawmovie@hotmail.com

ขอบคุณที่แนะนำสิ่งดีๆค่ะ

ชอบแบบ มีรูป+คำบรรยาย อย่างนี้หละค่ะ  สุดยอด

2S  เมื่อวานเอ๋เอา บล็อกประสานมาทำแปลงผักแล้วค่ะ  ( เห็น2S โชว์รูปให้ดูใน Blog แรกๆ )  แล้วเดี๋ยวจะถ่ายรูปมารายงานเพิ่มค่ะ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำจ้า

ฉันจะปลูก ผัก ให้ลูกทาน

อิจฉา...เจ้าของแปลงนี้จัง  ขอบคุณมากค่ะ สำหรับสิ่งที่นำเสนอ เป็นข้อมูลอย่างดีเลยค่ะ

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

ทำไมให้รอนานจังคะ

Wink


ผักชีลาว แทบจะไม่มีปัญหาแมลงศัตรู นอกจาก ปัญหาไส้เดือนฝอย แต่ที่มีการฉีดน้ำฝอย เนื่องจากมีผักอื่นๆ ปลูกร่วมด้วย



ขณะฉีดน้ำ และหลังฉีดน้ำฝอย




พืชผักที่สำคัญที่สุด คื่นฉ่าย ปัญหาแมลงศัตรูที่สำคัญ คือ เพลี้ยอ่อน นอกนั้น ก็ไม่มีปัญหาอะไร(นอกจากไส้เดือนฝอย)


ขณะ ฉีดน้ำฝอยแรง และหลังฉีดน้ำ




พืชผักสมุนไพรใน กลุ่ม ๔สาว ได้แก่ ยี่หร่า(ผักอีตู่ไทย ใหญ่) กะเพรา(ผักอีตู่ไทย) ใบแมงลัก(ผักอีตู่ลาว) และโหระพา น้อยคนจะรู้ว่า นี่แหละคือ อุปสรรคปัญหาใหญ่ ปัญหาหนึ่ง ที่คนส่วนใหญ่ละเลย มองข้าม คิดว่าเป็นพืชผักสมุนไพร แต่ความจริง เป็นแหล่งอาศัย ของแมลงศัตรูผักที่สำคัญหลายๆชนิด ไม่ว่า จะตัวแก่ ผีเสื้อกลางคืน ทั้งหนอนกระทู้ และหนอนใย รวมถึงเพลี้ยเกือบทุกชนิด 



โดยเฉพาะ โหระพา ยากมากที่จะควบคุม ถ้าไม่ขยัน และไม่เข้าใจนิสัย และการเจริญเติบโตของพืช แต่เนื่องจากต้องเก็บส่งร้านอาหาร และร้านก๋วยเตี๋ยวทุกๆวัน จึงได้พัฒนาเทคนิคการควบคุมแบบองค์รวมเป็นกรณีพิเศษ ผลที่ได้รับค่อนข้างน่าพอใจ เพราะสามารถทำรายได้จ่ายค่าแรงทีมงานได้หลายๆคน และได้เพิ่มพื้นที่ในการผลิต แต่มีข้อตกลงกับทีมงานว่า จะต้องช่วยดูแลเป็นพิเศษให้ด้วย เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ ผักอื่นๆที่ปลูกใกล้เคียง ถูกแมลงศัตรูที่อาศัยในแปลงสี่สาว เข้าทำลายยากจะควบคุมได้



ลักษณะหนอนใยเข้าทำลาย ยอด และใบโหระพา




การฉีดน้ำ แทบจะใช้วิธีเดียว คือเปิดน้ำฝอยแรงสุด และฉีดใกล้สุด ให้เปียกโชก เพื่อรบกวนการขยายพันธุ์ และกินอาหารของหนอนใย และเพลี้ยทุกชนิด




จากซ้ายไปขวา หัวฉีดน้ำฝอย เบอร์ 0 1 2 3 4(เก้ารู) และ4(หกรู)



ถ้าสังเกตดีๆ สามเบอร์ทางขวามือสุด คือ เบอร์ 3 และ4 จะมีรูตรงกลาง ทำให้ต้องใช้ปั๊มรักษาความดันมีความแรงสูง-สูงมาก เพื่อให้สามารถฉีดน้ำฝอยแรง ซึ่งปัจจุบัน ได้ใช้เฉพาะ รุ่นที่กล่าวนี้ เนื่องจากมีพืชผักจำนวนมาก และมีแมลงศัตรูเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องปลูกตลอดปี



ต้นแม่พันธุ์ มะละกอ(กินดิบ-ส้มตำ) อายุ ๔ปี ความสูงเกือบหกเมตร ยังคงติดผลได้ดี เนื่องจากเทคนิคการฉีดน้ำแรง( ไม่ใช่น้ำฝอย)



 

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

ขอเรียนถามคุณ 2s ถึงตัวอย่างใบของต้นกระเจี๊ยบมอญ


 


สีใบเป็นตามภาพที่เห็น ทีแรกเป็นอยู่ไม่กี่ใบ เวลานี้ลามไปถึงใบที่เพิ่งงอกใหมได้ไม่นาน พลิกดูใต้ท้องใบ พบว่ามีแมลงคล้ายตั๊กแตนตัวขนาดสองสามมิลลิเมตร(กะโดยประมาณด้วยสายตา)อยู่สองสามตัว  ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะเจ้าตัวนี้หรือเปล่าที่เป็นสาเหตุ


 


ผ่านไปอีกไม่กี่วัน ใบก็เริ่มมีอาการขอบไหม้เหมือนอย่างใบนี้(ใบจากภาพบนกับภาพล่างเป็นคนละใบ แต่วาอาการนำมาก่อนเหมือนกัน) ...แล้วก็จะเป็นตามมากันมา พอเห็นขอบใบที่ออกไหม้อย่างนี้เลยนึกถึงต้นไม้เถา(ต้นแตง)ที่ตายไปมีลักษณะใบแบบเดียวกันนำมาก่อนค่ะ


ไม่ทราบว่าในกรณีอย่างนี้คุณ 2s มีความเห็นอย่างไรบ้าง ...เวลานี้ก็กำลังปรับใจกับต้นกระเจี๊ยบมอญทั้งสองต้นที่มีอาการนี้ที่ใบว่าเดี๋ยวคงได้บอกลากัน ... ขอขอบคุณมากค่ะ

ตอบค่อนข้างยาก เพราะ ไม่ได้ค่อยเคยปลูก กระเจี๊ยบมอญ แต่อาการที่เห็นอยู่ไม่ใช่จากปัญหาจากแมลงเป็นสำคัญ และแม้อาการขาดธาตุอาหาร แต่น่าจะมาจากปัญหา ระบบรากเช่นที่เคยคุยกันไว้

เริ่มแบ่งงานทดลองย่อย วัสดุปลูกผสมจากปุ๋ยหมักพอเพียง(ไม่ต้องแบ่งไว้ผสมรุ่นต่อไป) เทดินจากถุงเก่า ผสมดินที่มีใบไม้กองหมักทับถม 2-2.5 ส่วน ต่อปุ๋ยหมักพอเพียง 1ส่วน ผสมใส่ถุงปุ๋ยไว้ แล้วทดลองปลูก พืชผักที่สนใจใน กระถางเล็ก 6-8นิ้ว รับแดด 70-80% จะเป็นบนพื้นปูน ส่วนหนึ่ง และบนพื้นดินส่วนหนึ่ง ชุดแรก ลงพืชที่รัก และชอบรับประทานมากที่สุด จดบันทึกไว้ และต่อไปจะต้องหา สายพันธุ์ ช่วงเวลาปลูก ที่เหมาะสมให้ได้ เช่น เรียนมาทาง มะเขือเทศ พริก แตง ฝักกาดขาวปลี แต่เพราะไม่ได้ใช่สารอะไรเลย หลังจากทดลองย่อยมานาน พืชผักในกลุ่มนี้ คือ ผักกาดขาวปลี และแตง ไม่ได้ปลูกที่อิสานเลย ส่วน มะเขือเทศ ปลูก ปีละสองครั้ง เลือกสายพันธุ์ได้ สองสายพันธุ์ ส่วนพริก เลือกได้ สองสายพ้นธุ์ คือ พริกกะเหรี่ยง และพริกหอม(คัดพันธุ์) ปลูกได้ตลอดปี

ถั่วพู มะละกอ กล้วย ข่า ตะไคร้ กะเพรา คื่นฉ่าย ผักชีลาว ผักหวานบ้าน ฟักทองกินยอด มันเทศกินยอด ก็จะทยอยปลูก เป็นระยะ เพื่อให้พื้นที่เขียว และใช้ประโยชน์มาก เต็มที่ แต่ จะปลูก แค่ 8-10หลุม ต่อโซน ยกเว้น ถั่วพู มะละกอ ข่า ตะไคร้ ผักหวานบ้าน จะปลูกมากขึ้นหน่อย ถ้ามีคนช่วยปลูก และดูแล

เดี๋ยวนี้ เน้น ปลูกพืชหมุนเวียน ไม่ซ้ำแปลงปลูก หรือกระถาง อย่างน้อย 3ปี ยกเว้น ถั่วพู เพราะ เป็นพืชที่รัก และต้องปลูกให้ได้ (ด้วยตนเอง และดูแลเอง จึงปลูกต่อเนื่องในถุง เพื่อปรับปรุงดินในถุงให้พืชอื่นด้วย)

แม้ไม่ได้ตอบคำถามโดยตรง แต่ก็ถือว่า เล่าความคิดที่ทำการทดลองย่อยให้ฟัง และเนื่องจากปัญหาสุขภาพ เลือกเหลือพืชที่ปลูกเพียงข้างต้น เพราะ ถ้าควบคุม เพลี้ย ไร ได้ ก็จะเติบโตได้พอสมตวร และคงจะน้อยลงเพราะ ปฏิบัติธรรม มากๆยิ่งขึ้น เพราะต่อไป คงต้องอาศัย ธรรมโอสถ บำรุงจิตใจมากที่สุดครับ

 

ขอให้เจริญทั้งทางโลก ทางธรรม

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

ขอขอบพระคุณมากค่ะ คุณ 2s ทั้งเรื่องประสบการณ์การปลูก เรื่องชนิดของพืชและการทดลองย่อย จะค่อยๆทำความเข้าใจและลองทำตามที่เสนอแนวทางให้ เดิมคิดว่าเป็นแมลง เนื่องจากว่าบนใบบางใบมีรอยขาดเป็นรู  หากว่าเป็นการวินิจฉัยว่าน่าจะดูที่ระบบราก ทำให้รู้สึกว่าน่าจะทดลองกับต้นกระเจี๊ยบมอญนี้ก่อน ...และในการทดลองปลูกผักกระถางนั้น เรียนว่าจะลองค่อยๆศึกษาและทำความเข้าใจ หากมีความเข้าใจชัดเจนขึ้นและปัจจัยเอื้อให้ทดลองปลูกเป็นไปได้ น่าจะเป็นโอกาสดีให้เริ่มทดลองทำได้บ้าง


...ในเรื่องทางธรรม ที่คุณ 2s ได้บอกเล่ามา เป็นการเล่าที่เสมือนเตือนสติให้ส่วนตัวเองไม่ประมาทด้วย บางครั้งก็เผลอลืมเรื่องการศึกษาธรรมะอย่างต่อเนื่อง ถือว่าสติตกไปด้วย


ขอขอบพระคุณมากอีกครั้งค่ะ