แล้วสิ่งนั้นจะผ่านพ้นไป

หมวดหมู่ของบล็อก: 

สืบเนื่องจากงานพบปะสังสรรค์ชาวบ้านสวน กทม.ครั้งที่สอง ผมได้รับเมล็ดพันธุ์ต่างๆ พร้อมหนังสือธรรมะจากพี่ตั๊มอีกจำนวนสองเล่ม ซึ่งทุกอย่างที่ได้รับมาผมถือว่าเป็นการบ้านและมีความสำคัญเหมือนกันหมด แต่เนื่องด้วยความไม่อำนวยในชีวิต  จึงต้องขอทะยอยทำไปที่ละเรื่องทีละอย่าง ซึ่งสิ่งที่ง่ายสุดคือการอ่านหนังสือ ก็อ่านจบไปนานแล้วเพียงแต่ช่วงนี้เหตุการณ์ต่างๆ ดูไม่ค่อยจะมีความเป็นปกติสักเท่าไหร่ ทั้งเรื่องในบ้านสวนที่ผ่านมา วิกฤตการณ์ภัยธรรมชาติ ทั้งผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงและผู้พบเห็น ก็เลยขอหยิบยกเรื่อง "แล้วสิ่งนั้นจะผ่านพ้นไป" ซึ่งเป็นเนื่อหาบางส่วนจากหนังสือที่ได้รับมา มาฝากสมาชิกได้อ่านกัน

ในอดีตมีพระราชาผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักร ฮีบรูพระนามว่าโซโลมอน พระราชาได้สั่งให้เจ้าเมืองทุกเมืองทำของวิเศษให้อย่างหนึ่งโดยของสิ่งนั้นต้องมีคุณสมบัติพิเศษคือ…

...ของสิ่งนี้ จะสามารถเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกของพระราชาได้  “หากมีความทุกข์อยู่ก็จะหายจากทุกข์ หากมีความสุขอยู่ก็จะคลายความสุขลง  ไม่ว่ากำลังร้องไห้อยู่หรือหัวเราะอยู่ก็จะสามารถหยุดอารมณ์ทั้งสองอย่างนั้นได้”

เมื่อครบกำหนด เจ้าเมืองใหญ่เมืองใด ๆ ก็ไม่สามารถหาของตามที่พระราชาต้องการได้ แต่มีเจ้าเมืองเล็ก ๆ อยู่เมืองหนึ่งได้บอกว่ามีแหวนวิเศษมีคุณสมบัติอย่างที่พระราชาต้องการมาถวาย พระราชาจึงรีบให้มาเข้าเฝ้า เมื่อพระราชาได้เห็นแหวนวงนั้นแล้ว ปรากฏว่าเป็นเพียง แหวนทองธรรมดาเรียบ ๆ วงหนึ่ง พระราชาก็สงสัยว่าแหวนนี้จะมีความวิเศษได้อย่างไรกันเมื่อพระราชานำไปใช้ก็ปรากฏว่าแหวนวงนี้ สามารถเปลี่ยนอารมณ์ของพระองค์ได้จริง ๆ ไม่ว่าพระองค์จะกำลังมีความสุขอยู่ก็ตาม เพียงเพราะแหวนนั้นมีข้อความสั้นสลักไว้ว่า

“แล้วสิ่งนั้นจะผ่านพ้นไป”

ยามใดที่พระราชามีความสุข ความยินดีหรือมีความทุกข์ ความโกรธ ความกังวลไม่สบายใจใด ๆ ก็ตาม เมื่อมองไปที่แหวนนี้ซึ่งเตือนสติพระองค์ว่า “แล้วสิ่งนั้นจะผ่านพ้นไป” ทำให้พระองค์เข้าใจว่าสิ่งที่พระองค์กำลังประสบอยู่ไม่ว่าสุขไม่ว่าทุกข์มันไม่จีรังยั่งยืน เกิดขึ้นมาแล้วก็จากไป นับตั้งแต่นั้นมาพระราชาก็ไม่คิดที่จะนำความทุกข์มาเป็นกังวล มีความสุขก็ไม่ได้ยึดติดกับความสุขนั้น ทำให้พระราชาสามารถตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ
ได้อย่างถูกต้องและตั้งหน้าตั้งตาทำเพื่อประชาชนของพระองค์ จนได้ขื่อว่าเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ เป็นที่รักใคร่ของประชาชน

ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องประสบกับโลกธรรม 8 คือได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็ต้องมีเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์เป็นธรรมดา  หากเราสามารถเตือนสติตนเองได้ว่า  “แล้วสิ่งนั้นจะผ่านพ้นไป” ก็จะช่วยให้เราทำใจเป็นกลางทำใจเป็นปกติได้

เมื่อความรู้สึกต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น หงุดหงิด โกรธ น้อยใจ เสียใจ ขี้เกียจ วิตกกังวล หรือมีความรู้สึกตื่นเต้น ยินดีพอใจก็ตามให้เรามีสติ ปรับปรุงลมหายใจยาวๆ หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ ให้เกิดความรู้สึกตัว รักษาใจเป็นกลางๆ ทำใจสงบและทำใจปล่อยวางว่า “แล้วสิ่งนั้นจะผ่านพ้นไป”

เมื่อมีทุกข์ ทุกข์นั้นไม่ใช่สิ่งจีรังยั่งยืน ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะนำความทุกข์นั้นมาเป็นกังวล

เมื่อมีสุข สุขนั้นก็ไม่จีรังยั่งยืนเช่นกัน เราไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ทุกสิ่งล้วนไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง

จากหนังสือ โชคดี
พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

ความเห็น

อ่านเสร็จ แล้วสิ่งนั้น(ความจำ)ก็จะผ่านไป เกี่ยวกันมั๊ย

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

เป็นธรรมดาครับพี่เล็ก ทุกอย่างย่อมมีโอกาสเสื่อมครับ รวมทั้งความจำ

ขอบคุณครับ เป็นเช่นนั้นจริงๆ

ขอบคุณ สำหรับ ข้อความดีๆ ครับ คุณ วิทย์

ด้วยความยินดีครับคุณตุ้ย

K ซาโลมอน เป็น K ที่สร้างพระวิหารทองคำที่ยิ่งใหญ่


ข้อมูลจากวิกิพิเดียค่ะ 


โซโลมอน (ภาษาอังกฤษ: Solomon; ภาษาฮิบรู: שְׁלֹמֹה) มาจากราก S-L-M ที่แปลว่าความสงบ[1] เป็นบุคคลในคัมภีร์ฮิบรู (พันธสัญญาเดิม) และในอัลกุรอาน คัมภีร์กล่าวว่าพระเจ้าโซโลมอนเป็นลูกของเดวิด[2] ชื่ออีกชื่อหนึ่งที่ใช้กันคือ “Jedidiah” ในคัมภีร์ทานัคห์ (Tanakh) (พันธสัญญาเดิม) และกล่าวว่าเป็นกษัตริย์องค์ที่สามของสหราชอาณาจักรอิสราเอลและกษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนที่จะแยกเป็นราชอาณาจักรอิสราเอลทางเหนือและราชอาณาจักรจูดาห์ทางใต้ หลังจากการแยกตัวผู้ที่สืบเชื้อสายก็ปกครองแต่เพียงราชอาณาจักรจูดาห์เท่านั้น


พระคัมภีร์กล่าวว่าพระเจ้าโซโลมอนเป็นผู้สร้างพระวิหารโซโลมอน (Solomon's Temple) ในกรุงเยรุซาเล็มที่ถือกันว่าเป็นพระวิหารแห่งเยรุซาเล็มหลังแรก[2] และเป็นผู้มีความฉลาด, มั่งคั่ง และอำนาจ


#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

ขอบคุณครับยายอิ๊ด ชอบมากเลยของแถม แต่ชอบสุดๆ คือของฟรี

ขอบคุณค่ะ เราไม่ควรยึดติดกับอะไร ปล่อยวางทุกอย่าง

ปล่อยได้แหละดี

...แต่เจ้าเงาะอย่าปล่อยเชียวนะ

“แล้วสิ่งนั้นจะผ่านพ้นไป”

 

จะพยายามครับ

หน้า